[ตอนที่ 1] กล้องฟูลเฟรมพร้อมฟังก์ชั่น Wi-Fi! เรื่องราวเบื้องหลังที่ทำให้กล้อง EOS 6D
กล้อง EOS 6D มีเซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรมภายในตัวกล้องขนาดเล็ก เนื่องจากมีขนาดเล็กเทียบเท่ากับกล้องฟอร์แมต APS-C รุ่น EOS 70D และ EOS 60D กล้องรุ่นนี้จึงนับได้ว่าเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการพกพากล้องไว้คู่กายตลอดเวลา นอกจากนี้ กล้อง EOS 6D ยังมีฟังก์ชั่น Wi-Fi และ GPS อีกด้วย ในบทสัมภาษณ์นี้ นักพัฒนากล้อง EOS 6D จะเผยเรื่องราวการพัฒนา ซึ่งสามารถผลิตกล้องที่มีขนาดเล็กพร้อมทั้งใส่คุณสมบัติขั้นสูงต่างๆ เอาไว้ด้วยกันได้ในคราวเดียว พวกเขาจะบอกเล่าถึงแนวคิด การออกแบบบอดี้ และความพยายามต่างๆ ในการลดขนาดของกล้อง (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในเดือนตุลาคม 2012) (ผู้สัมภาษณ์: Ryosuke Takahashi/ ภาพผู้ให้สัมภาษณ์: Takehiro Kato)
หน้า: 1 2
(แถวหลัง จากซ้ายมือ)
Haruki Oota, ศูนย์การออกแบบ/ Toshifumi Urakami, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Satoshi Suzuki, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Yuka Minegishi, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Hajime Watanabe, ศูนย์พัฒนากล้อง
(แถวหน้า จากซ้ายมือ)
Takashi Ichimiya, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Kei Tohyama, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Shingo Nakano, ศูนย์พัฒนากล้อง/ Ken Hashimoto, กลุ่มผลิตภัณฑ์ภาพถ่าย
กล้อง DSLR ฟูลเฟรมขนาดเล็กที่คงความสมดุลได้อย่างดีเมื่อใช้กับเลนส์ชนิด L
― ก่อนอื่นเลย ช่วยเล่าเบื้องหลังความเป็นมาในการพัฒนากล้อง EOS 6D และแนวคิดพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ให้ฟังหน่อยครับ?
Hashimoto ตลาดมีความต้องการกล้องแบบฟูลเฟรมอย่างมาก ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มผู้ที่ใช้งานกล้องฟูลเฟรมอยู่แล้ว แต่รวมถึงผู้ใช้งานกล้องแบบ APS-C ด้วยครับ ขณะเดียวกัน ผู้ใช้งานก็คาดหวังการปรับปรุงเรื่องขนาด น้ำหนัก และราคาของกล้องฟูลเฟรมรุ่นต่างๆ ที่มีอยู่ในตลาด เราจึงพัฒนากล้อง EOS 6D ขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานกล้องของเราเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพคุณภาพสูงได้ง่ายและรวดเร็ว
Nakano ที่จริงแล้ว เราเริ่มต้นพัฒนาซีรีย์ EOS 5D ด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ การออกแบบกล้องที่ทำให้ผู้ใช้งานเพลิดเพลินกับกล้องฟูลเฟรมได้ไม่ยาก แต่ปรากฏว่ามีความต้องการจากกลุ่มช่างภาพอาชีพมากกว่า ผลตอบรับนี้เหนือความคาดหมายของเรามาก นอกจากนี้ ทั้งขนาดและราคากล้องก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อมีการเพิ่มคุณสมบัติล้ำสมัยต่างๆ เข้าไปในกล้องแต่ละรุ่น นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงตัดสินใจพัฒนากล้อง EOS 6D ที่เบาและมีขนาดเล็กขึ้นมาเป็นสายผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยอาศัยแนวคิดของกล้อง EOS 5D รุ่นแรก
EOS 6D
ขนาด: ประมาณ 69.0 x 33.0 x 93.0 มม. / 2.7 x 1.3 x 3.7 นิ้ว
นํ้าหนัก (EOS 6D (WG)):ประมาณ 680 กรัม / 24.0 ออนซ์ (บอดี้กล้อง)
― คุณคิดว่ากลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมายของกล้อง EOS 6D เป็นใครครับ?
Hashimoto กล้อง EOS 6D มุ่งเป้าไปยังผู้ที่ต้องการถ่ายภาพด้วยกล้องฟูลเฟรมได้รวดเร็วขึ้น ทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ เรายังคำนึงถึงกลุ่มผู้ใช้งานที่กำลังวางแผนจะเปลี่ยนจากกล้อง APS-C มาสู่รุ่นที่ให้คุณภาพภาพถ่ายที่สูงขึ้นด้วย เรายังวางตัวให้กล้อง EOS 6D เป็นกล้องสำรองสำหรับผู้ที่ใช้งานกล้อง DSLR ซีรีย์ EOS 5D หรือ EOS-1 อยู่แล้วด้วย
― เรื่องไหนที่คุณให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในการพัฒนากล้อง EOS 6D?
Nakano เรามุ่งมั่นอย่างมากกับการพัฒนากล้องที่เบาและมีขนาดเล็กครับ พูดได้ว่าข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก และเป็นตัวกำหนดสเปคหลายๆ อย่างของกล้องเลยทีเดียว แต่เราก็คอยระวังไม่ให้หมกมุ่นกับการลดขนาดกล้องมากเกินไป เพราะขนาดที่เล็กเกินจำเป็นอาจทำให้กล้องใช้งานยากขึ้น ในฐานะสมาชิกของทีมที่ดูแลการพัฒนากล้อง EOS 60D ด้วย ผมคำนึงถึงความสมดุลเมื่อใช้งานกล้องร่วมกับเลนส์ขนาดใหญ่อย่างเลนส์ชนิด L จึงได้ข้อสรุปที่ขนาดซึ่งเกือบเท่ากับกล้อง EOS 60D
กล้อง EOS 6D เมื่อต่อเข้ากับเลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM แม้ว่าตัวกล้องจะมีขนาดเล็ก แต่ยังรักษาสมดุลที่เหมาะสมไว้ได้แม้ในขณะที่สวมเลนส์ชนิด L ขนาดใหญ่
ชุดชัตเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ทำให้ถ่ายภาพได้เงียบเชียบ
― กล้อง EOS 6D ไม่มีหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้และตัวเลือก “ฟิลเตอร์สร้างสรรค์” มีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษไหมครับที่ตัดสิ่งเหล่านี้ออกไป?
Nakano ทีมผู้พัฒนากล้องมีความเห็นแตกต่างกัน ในเรื่องที่ว่าควรใช้หน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้หรือไม่ เราได้ข้อสรุปการออกแบบอย่างที่เห็น หลังจากพิจารณาสิ่งสำคัญที่สุดที่เราต้องการ คือ การพัฒนาบอดี้กล้องที่เบา และการใส่ฟังก์ชั่น LAN ไร้สายในตัวกล้อง EOS 6D ซึ่งทำให้สามารถใช้สมาร์ทโฟนแทนหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้
Hashimoto เป็นความจริงที่ฟิลเตอร์สร้างสรรค์ช่วยเพิ่มความหลากหลายให้กับผลงานของช่างภาพ แต่เนื่องจากเราคาดว่าผู้ใช้กล้อง EOS 6D ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้งานกล้องฟูลเฟรมเป็นครั้งแรก และเราต้องการให้พวกเขาใช้ประโยชน์คุณภาพภาพระดับสูงจากเซนเซอร์แบบฟูลเฟรมและประสิทธิภาพของเลนส์ EF ให้เต็มที่ เราจึงไม่ใส่ตัวเลือกฟิลเตอร์สร้างสรรค์
― มีเทคโนโลยีเฉพาะอะไรที่ทำให้บอดี้กล้องมีขนาดเล็กเท่ากับกล้อง EOS 60D หรือเปล่าครับ?
Toyama เป็นเรื่องท้าทายครับที่จะต้องบรรจุชิ้นส่วนกลไกและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดเข้าไปในบอดี้กล้องที่เล็กลง
โครงสร้างภายในของกล้อง EOS 6D บอดี้กล้องตัวเล็กๆ นี้อัดแน่นด้วยส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับกล้อง DSLR แบบฟูลเฟรม
- เลนส์วัดแสง
- เซนเซอร์วัดแสง
- เลนส์ใกล้ตา 1
- เลนส์ใกล้ตา 2
- เลนส์ใกล้ตา 3
- หน้าจอ LCD แสดงข้อมูล
- ปริซึม LCD แสดงข้อมูล
- แผงวงจรหลัก
- เซนเซอร์ภาพ
- หน้าจอ LCD
- กระจกรอง
- กระจกที่สะท้อนภาพทั้งหมด
- ฟิลเตอร์ป้องกันแสงอินฟราเรด
- เลนส์สร้างภาพชิ้นที่สอง
- เซนเซอร์ AF
- กระจกสะท้อนภาพหลัก 45 องศา
- หน้าจอโฟกัส
- แผ่นสะท้อน
- เพนทาปริซึม
Urakami ในบรรดาชิ้นส่วนกลไกทั้งหมด ชุดชัตเตอร์ถือว่าเป็นสิ่งท้าทายมากที่สุด ดีไซน์ที่ใช้ในกล้องซีรีย์ EOS 5D นั้นกว้างเกินไป เราจึงคิดหาวิธีทำให้ชุดชัตเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม แต่ยังคงสเปคไว้ในระดับที่น่าพอใจ โดยประสิทธิภาพการทำงานของชัตเตอร์อยู่ที่ 1/4,000 วินาที นอกจากนี้เรายังลดขนาดของชุดชัตเตอร์ลงโดยใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนที่เล็กลงด้วย
Nakano กล่องกระจกมีขนาดใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกล้องฟูลเฟรม ดังนั้นจะมีที่ว่างเหลือจำกัด หากเรากำหนดขนาดตัวกล้องภายนอกไว้ก่อนตั้งแต่ต้น การต้องใส่อุปกรณ์ทั้งหมดเข้าไปในพื้นที่เล็กๆ นี้เป็นงานที่ยากครับ ส่วนมอเตอร์ที่คุณ Urakami พูดถึงก่อนหน้านี้ ปกติแล้ว การลดขนาดมอเตอร์จะทำให้กำลังตกลง และทำให้อัตราเฟรมลดลง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราจึงปรับเปลี่ยนเลย์เอาต์ของชิ้นส่วนกลไกและเพิ่มประสิทธิภาพของกลไก เพื่อให้ทำงานได้ตามประสิทธิภาพที่ระบุในสเปคโดยใช้มอเตอร์ที่เล็กลง
― ชิ้นส่วนใดบ้างครับที่ปรับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น?
Nakano หลักๆ เลย คือ ระบบกลไกครับ เราปรับเปลี่ยนตั้งแต่ก้านเลื่อนกระจกขึ้นลงจนถึงเฟืองขับเคลื่อน อธิบายอย่างง่าย คือ เพื่อป้องกันไม่ให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงเมื่อใช้อุปกรณ์จำนวนมากขับเคลื่อนกลไก เราพยายามลดระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ลง
ชุดชัตเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ของ EOS 6D กล้องรุ่นนี้ใช้ระบบมอเตอร์คู่แบบใหม่โดยแยกมอเตอร์เฉพาะสำหรับชุดขับเคลื่อนชัตเตอร์และชุดขับเคลื่อนกระจก สปริงและระบบขับเคลื่อนได้รับการปรับให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อให้ทำงานอย่างเงียบเชียบและเกิดเสียงจากการเคลื่อนกระจกบานหลักน้อยที่สุด
- ระบบชาร์จชัตเตอร์
- มอเตอร์ชาร์จชัตเตอร์
- กระจกสะท้อนภาพหลัก
- ระบบขับเคลื่อนกระจก
- มอเตอร์ชาร์จกระจก
― การทำงานของชัตเตอร์เงียบมากนะครับ อันนี้เป็นเป้าหมายหนึ่งที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นในการพัฒนากล้องหรือเปล่าครับ?
Nakano ใช่ครับ เราต้องการพัฒนาระบบขับเคลื่อนและชุดชัตเตอร์ที่เงียบครับ ในยุคกล้องฟิล์ม Canon ได้ส่งกล้อง EOS 100 เข้าสู่ตลาดพร้อมด้วยสโลแกน “Silent EOS” ระบบขับเคลื่อนของกล้อง EOS 6D นั้นเงียบพอๆ กัน หรือเงียบกว่าของกล้อง EOS 100 ด้วยซ้ำ จึงช่วยลดการสั่นสะเทือนที่เกิดจากการทำงานของชัตเตอร์และการเคลื่อนที่ของกระจกให้น้อยที่สุด
ความลับของน้ำหนักเบาอยู่ที่การผสมผสานแมกนีเซียมอัลลอยเข้ากับเรซิ่นโพลีคาร์บอเนต
― บอดี้กล้อง EOS 6D ภายนอกใช้วัสดุผสมระหว่างแมกนีเซียมอัลลอยและโพลีคาร์บอเนต หากเป้าหมายคือดีไซน์ที่มีน้ำหนักเบา การใช้วัสดุเรซิ่นอย่างเดียวจะไม่ดีกว่าหรือครับ?
Urakami ในส่วนนี้เราเน้นที่การจับถือตัวกล้องครับ จริงๆ แล้ว เราจะใช้เรซิ่นสำหรับตัวกล้องภายนอกทั้งหมดก็ได้ แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องการ คือ ความรู้สึกว่าจับถือกล้องได้มั่นคงเมื่อกล้องอยู่ในมือ กล้องจะทำให้ผู้ใช้รู้สึกเชื่อมั่นไว้วางใจได้หรือไม่นั้น ที่สุดแล้วก็ขึ้นกับผิวสัมผัสภายนอกของกล้อง นอกจากบอดี้กล้องที่แข็งแรงแล้ว เรายังต้องการให้ผู้ใช้กล้องรู้สึกดีเมื่อถือกล้องไว้ในมือด้วย นี่เป็นเหตุผลที่เราเลือกใช้แมกนีเซียมอัลลอยสำหรับบอดี้กล้องด้านหน้าและด้านหลัง
ภาพตัวอย่างของกรอบด้านนอกของกล้อง EOS 6D
- กรอบด้านบน
- กรอบด้านหน้า
- กรอบด้านหลัง
― อะไรคือเหตุผลที่เลือกใช้โพลีคาร์บอเนตสำหรับชิ้นส่วนภายนอกด้านบนครับ?
Nakano อุปกรณ์ Wi-Fi และ GPS ถูกบรรจุไว้ข้างเพนทาปริซึม ดังนั้นหากใช้วัสดุที่เป็นโลหะกับบอดี้กล้องทั้งหมด ก็อาจจะบล็อคสัญญาณวิทยุได้ เราจึงเลือกใช้วัสดุที่ต่างออกไปสำหรับตัวกล้องภายนอกด้านบน แต่ก็คงความแข็งแรงทนทานไว้ด้วยในเวลาเดียวกัน
กล้องรุ่นนี้ใช้ระบบมอเตอร์คู่แบบใหม่โดยแยกมอเตอร์เฉพาะสำหรับชุดขับเคลื่อนชัตเตอร์และชุดขับเคลื่อนกระจก สปริงและระบบขับเคลื่อนได้รับการปรับให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อให้ทำงานอย่างเงียบเชียบและเกิดเสียงจากการเคลื่อนกระจกบานหลักน้อยที่สุด
― หากใช้เรซิ่นทำบอดี้กล้องทั้งตัวจะช่วยลดน้ำหนักของกล้องไปได้มากใช่ไหมครับ?
Urakami สิ่งที่เราเป็นห่วงมากที่สุดคือความเสียหายที่จะเกิดเมื่อทำกล้องตก ด้วยน้ำหนักของเลนส์ที่ต่อเข้ากับกล้อง DSLR ถ้าใช้เรซิ่นเป็นวัสดุสำหรับบอดี้กล้องอย่างเดียว จะทำให้ตัวกล้องด้านนอกหนามาก ซึ่งถ้าพิจารณาเฉพาะเรื่องน้ำหนัก ก็จะไม่ต่างอะไรกับการใช้แมกนีเซียมอัลลอยเพราะแมกนีเซียมอัลลอยมีความแข็งแรงสูงกว่าเมื่อเทียบกับเรซิ่นที่มีน้ำหนักเท่ากัน ดังนั้นเราจึงตัดสินใจใช้แมกนีเซียมอัลลอยแม้จะมีราคาสูงกว่า
งานออกแบบที่มุ่งหมายให้ผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างความคล่องตัวและความมีระดับ
― แนวคิดหรือคำสำคัญที่คุณยึดถือเป็นพิเศษในการออกแบบกล้องคืออะไรครับ?
Ota คำ