ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

[ตอนที่ 1] โลกของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ไม่เคยมีมาก่อนกับเลนส์ 11 มม.

2015-09-17
2
3.34 k
ในบทความนี้:

ขอแนะนำเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์รุ่นใหม่ EF11-24mm f/4L USM นักพัฒนาสามารถผลิตเลนส์นี้ให้เป็นได้ทั้งเลนส์ L ที่มอบคุณภาพภาพสวยและมีระยะกว้างสุดแบบมุมกว้างอัลตร้าไวด์ 11 มม. ได้อย่างไร ในบทความซีรีส์นี้ (4 ตอน) ผมจะพาผู้อ่านไปดูเบื้องหลังการพัฒนาให้ได้รู้จักกับเลนส์รุ่นนี้มากขึ้นกันครับ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

(จากซ้ายไปขวา)

ICP กลุ่ม 1: Shota Shimada

ศูนย์การพัฒนา ICP 1: Hideki Sakai

ศูนย์การพัฒนา ICP 1: Tadanori Okada

การพัฒนาชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมสำหรับการแก้ไขความบิดเบี้ยวครั้งสำคัญที่สุดของ Canon

- ก่อนอื่นเลย ผมอยากถามถึงคอนเซ็ปต์เบื้องต้นของการพัฒนาเลนส์ EF11-24mm f/4L USM

Shimada อย่างที่เห็นได้จากชื่อเลนส์ซึ่งระบุระยะโฟกัส คอนเซ็ปต์ของเลนส์ตัวนี้เริ่มจากความตั้งใจที่จะผลิตเลนส์ที่มี "มุมรับภาพกว้างที่สุดในโลก" แต่แทนที่จะผลิตแค่เลนส์ที่มีมุมรับภาพกว้างอย่างเดียว เราต้องการเลนส์ที่มอบระดับคุณภาพของภาพถ่ายที่สมกับเป็นเลนส์ขนาด L ด้วย นอกจากนี้ เลนส์นี้ยังมีความสามารถในการลดความบิดเบี้ยวที่มักเกิดกับเลนส์ซูมมุมกว้างได้อย่างทั่วถึง เลนส์ที่มีมุมกว้าง 11 มม. จะนำคุณสู่โลกมุมมองใหม่อย่างที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งคงดีมากหากช่วยให้ผู้ใช้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านภาพในรูปแบบใหม่ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่งหรือวิดีโอ

ในภาพนี้ ตึกทางขวามือดูเหมือนจะล้มมาที่กึ่งกลางภาพ ส่วนคนทางซ้ายลำตัวยืดไปทางขอบภาพ จะเห็นได้จากขาที่ดูยาวกว่าขาจริง ความบิดเบี้ยวประหลาดๆ แบบนี้เป็นเรื่องปกติของเลนส์มุมกว้างขนาด 11 มม.

EOS 5D Mark III/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 11 มม./ Aperture-Priority AE (f/8, 1/500 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

- ถ้าช่างภาพสมัครเล่นอยากจะลองใช้เลนส์รุ่นนี้ ภาพประเภทไหนถึงจะเหมาะ แล้วมีคุณสมบัติอะไรที่เพิ่มความสะดวกในการใช้งานได้บ้างครับ

Shimada ภาพที่เลนส์ EF11-24mm f/4L USM สามารถใช้ถ่ายได้ดีแบ่งได้เป็น 4 ประเภทคร่าวๆ ประเภทแรกคือภาพถ่ายมุมกว้างซึ่งแต่ก่อนไม่สามารถถ่ายแค่ภาพเดียวแล้วเก็บหมดได้ ประเภทที่สองคือภาพที่สามารถถ่ายได้แม้จากตำแหน่งที่แคบซึ่งช่างภาพขยับไปข้างหลังไม่ได้แล้ว ประเภทที่สามคือภาพที่ต้องใช้ระยะถ่ายภาพใกล้สุด เนื่องจากเลนส์นี้ระยะใกล้ที่สุดที่สามารถเข้าใกล้ตัวแบบได้คือ 0.32 ม. เมื่อถ่ายที่สุดระยะ 11 มม. คุณจึงสามารถใช้ระยะใกล้กับตัวแบบระดับนี้เพื่อถ่ายภาพมาโครมุมกว้างที่มีความชัดได้ ประเภทสุดท้ายคือแบบที่สามารถใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟที่โดดเด่นของเลนส์เพื่อให้ภาพที่ให้ความรู้สึกเหนือจริง

ภาพถ่ายที่ Alcázar de Segovia สเปน ผมพยายามจัดให้หุ่นนักรบเป็นแบบในภาพโคลสอัพขนาดใหญ่โดยอยู่ในส่วนโฟร์กราวด์ และรวมเอาภาพพื้นที่กว้างภายในห้องไว้ด้วยกัน การที่เราสามารถถ่ายภาพให้เห็นพื้นที่กว้างได้อย่างภาพนี้เป็นสิ่งที่ซึ่งทำได้ด้วยระยะโฟกัส 11 มม. เท่านั้น

EOS 5D Mark III/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 11 มม./ Aperture-Priority AE (f/5.6, 1/30 วินาที, EV+0.3)/ ISO 2000/ WB: อัตโนมัติ

- ระหว่างการพัฒนาเลนส์ให้มีทางยาวโฟกัสเพียง 11 มม. ผมเชื่อว่าทีมคงเจอปัญหาและความท้าทายหลายอย่าง เจอปัญหาแบบไหนบ้าง แล้วแก้ยังไงครับ

Sakai ถ้ามองในแง่ออพติคอล เลนส์ซูมตัวนี้มีมุมรับภาพกว้างแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ปัญหาที่เราพบขณะพัฒนาเลนส์คือจะทำยังไงให้ได้ภาพที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับมีความบิดเบี้ยวลดลง และการหาวิธีจัดการกับแสงหลอกแสงแฟลร์ เพื่อจัดการกับปัญหาแรก เราใช้ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมขนาดใหญ่สุดที่เคยใช้เป็นชิ้นเลนส์แรกในเลนส์ SLR แบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ในส่วนนี้เองที่เรานำเอาเทคโนโลยีชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่ผ่านการขัดผิวมาใช้ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทของเรา หนึ่งในความสำเร็จหลักๆ ของพวกเราคือความสามารถในการผลิตชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมที่ผ่านการขัดผิวและมีความโค้งมนมากและมีขนาดรูรับแสงกว้างกว่าเดิมในปริมาณมากได้

ภาพด้านบนนี้คือวิวเมืองจากที่ราบสูงใน Avila ในภาพนี้แม้จะถ่ายให้ดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง แต่กลับไม่มีแสงหลอกหรือแสงแฟลร์เลย และบริเวณที่มืดก็มีการปรับแสงอย่างพอเหมาะ เมฆที่แผ่เต็มภาพอาจทำให้ดูเหมือนเป็นภาพจอวิดีโอ แต่นี่คือความสามารถในการถ่ายทอดเฉพาะตัวของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

EOS 5D Mark III/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 11 มม./ Aperture Priority AE (f/8, 1/800 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

- เนื่องจาก Canon ได้วางขายเลนส์โฟกัสเดี่ยว 14 มม. และเลนส์มุมกว้าง 16-35 มม. ด้วย ถ้าว่ากันในเชิงเทคนิค เมื่อเทียบกับเลนส์พวกนี้การผลิตเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัส 11 มม. ยากกว่าไหมครับ

Sakai การเปลี่ยนแปลงมุมรับภาพด้วยการขยายระยะมุมกว้างเพิ่มอีก 1 มม. ต่างกันมากกับการขยายระยะเทเลโฟโต้เพิ่มอีก 1 มม. มีแนวโน้มที่จะต้องเพิ่มขนาดชิ้นเลนส์ด้านหน้าเพื่อให้ได้ระยะกว้างขึ้น หากเราใช้เทคโนโลยีการหล่อแก้วแบบเดิม อาจยุ่งยากที่จะต้องใช้เลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมเป็นชิ้นเลนส์ด้านหน้าที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างขนาดนี้ จึงเป็นไปไม่ได้เหมือนกันที่จะทำเลนส์ที่ให้คุณภาพของภาพสูงแล้วมีความบิดเบี้ยวต่ำ ไม่เพียงเท่านั้น ยิ่งมุมรับภาพกว้าง แหล่งแสงจากดวงอาทิตย์หรือแสงไฟอื่นๆ ที่เข้ามาในเลนส์จากทุกมุม ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดแสงหลอกและแสงแฟลร์สูงขึ้นอีกด้วย เราต้องตัดสินใจเรื่องรูปทรงของเลนส์และการจัดเรียงชิ้นเลนส์ที่จะช่วยป้องกันแสงแฟลร์แต่เนิ่นๆ ตั้งแต่ช่วงออกแบบเลนส์ ถึงกระนั้น ก็ยังมีแสงหลอกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ตอนแรกเราใช้ SWC (Subwavelength Structure Coating) ที่พื้นผิวด้านหลังของเลนส์ชิ้นแรกและเลนส์ชิ้นที่สอง นอกจากนี้ เรายังใช้ ASC (Air Sphere Coating) ที่พื้นผิวของเลนส์ชิ้นที่ 4 ด้วยวิธีเหล่านี้ เราจัดการลดแสงหลอกอย่างได้ผลและได้ประสิทธิภาพของเลนส์ที่น่าพอใจทุกด้าน

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา