[ตอนที่ 2] ระบบโฟกัสอัตโนมัติความหนาแน่นสูงและความแม่นยำสูงของกล้อง EOS 7D Mark II ทำงานดีเยี่ยมสำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว
ในเดือนกันยายน 2014 ได้มีการเปิดตัวกล้อง Canon EOS 7D Mark II หลังจากเงียบหายไปนานถึง 5 ปี ซีรีย์นี้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างและมีการพัฒนาไปอย่างไรบ้าง? ในบทความนี้ ผมจะพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจของกล้อง EOS 7D Mark II โดยเน้นที่คุณสมบัติ 6 อย่าง (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
หน้า: 1 2
คุณสมบัติที่ 1
ครอบคลุมพื้นที่โฟกัสกว้างด้วยจุดโฟกัสอัตโนมัติ (แบบ Cross-type ทั้งหมด) 65 จุด
EOS 7D Mark II มาพร้อมเซนเซอร์แบบ Cross-type 65 จุดขนาด f/5.6 เช่นเดียวกับเลย์เอาต์จุดโฟกัสอัตโนมัติของกล้อง EOS-1D X และมีเซนเซอร์แบบ Cross-type ที่จุดกึ่งกลางรองรับการใช้งานที่ขนาด f/2.8 ซึ่งมีรูปแบบกากบาทแนวทแยง จุดโฟกัสที่เพิ่มเข้ามาเพื่อครอบคลุมที่มุมภาพทั้งสี่มุมช่วยให้ช่างภาพจับโฟกัสตัวแบบได้ง่ายขึ้น เซนเซอร์ AF ในเฟรมภาพครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้นกว่าของกล้อง EOS-1D X โดยมีขีดจำกัดความไวแสงต่ำสุด -3EV (ที่จุด AF กึ่งกลาง) ซึ่งทำได้ดีกว่า EOS 7D และ EOS-1D X
EOS 7D Mark II
สีแดง: ใช้เซนเซอร์แบบ Cross-type ขนาด f/5.6 กับจุดโฟกัสทั้งหมด 65 จุด
สีน้ำเงิน: จุดโฟกัส 5 จุดที่กึ่งกลาง (แบบ f/5.6) เรียงกันในแนวตั้ง แต่ละจุดเป็นรูปแบบซิกแซก
สีเขียว: ใช้เซนเซอร์แบบ Dual Cross-type ขนาด f/2.8 เป็นรูปแบบซิกแซกที่จุดโฟกัสกึ่งกลาง
EOS 7D
สีแดง: ใช้เซนเซอร์แบบ Cross-type กับจุดโฟกัสทั้งหมด 19 จุดที่ f/5.6
สีน้ำเงิน: จุดโฟกัส 3 จุดที่กึ่งกลาง (แบบ f/5.6) เรียงกันในแนวตั้ง แต่ละจุดเป็นรูปแบบซิกแซก
สีเขียว: ใช้เซนเซอร์แบบ Dual Cross-type ขนาด f/2.8 เป็นรูปแบบซิกแซกที่จุดโฟกัสกึ่งกลาง
EOS-1D X
สีแดง: เซนเซอร์แบบ Cross-type ขนาด f/5.6
สีน้ำเงิน: เซนเซอร์ขนาด f/5.6 สำหรับตรวจจับเส้นแนวนอน
สีเขียว: การโฟกัสแบบ Dual Cross-type ด้วยเซนเซอร์แบบ Cross-type ขนาด f/2.8 และ f/5.6
สีส้ม: การโฟกัสแบบ Cross-type ด้วยเซนเซอร์ขนาด f/4 (สำหรับตรวจจับเส้นแนวตั้ง) + f/5.6 (สำหรับตรวจจับเส้นแนวนอน)
คุณสมบัติที่ 2
EOS iTR AF สำหรับตรวจจับใบหน้าและสี
เทคโนโลยี EOS iTR AF (การจดจำและติดตามวัตถุอัจฉริยะ) ทำงานประสานกับระบบ EOS iSA (การวิเคราะห์ตัวแบบอัจฉริยะ) เพื่อตรวจจับคนหรือวัตถุเฉพาะอื่นๆ ในเฟรมภาพและติดตามโดยใช้จุด AF ระบบเดียวกันนี้มีในกล้อง EOS-1D X เช่นกัน แต่ใน EOS 7D Mark II ได้พัฒนาอัลกอริทึมใหม่สำหรับการติดตาม นับว่าเป็นตัวแรกในกล้องซีรีย์ EOS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามตัวแบบให้ดียิ่งกว่าเดิม ระบบ EOS iSA เป็นระบบ AE ใหม่ที่จะวิเคราะห์ตัวแบบเพื่อให้ได้แสงและสีที่เหมาะสมที่สุด
A: เซนเซอร์ AE
เซนเซอร์วัดแสง RGB+IR 150,000 พิกเซลเพิ่งได้รับการพัฒนาใหม่เพื่อการควบคุม EOS iTR AF ด้วยจำนวนพิกเซลที่สูงกว่ากล้อง EOS-1D X จำนวนโซนสำหรับการวัดแสงในที่แสงน้อยก็เพิ่มขึ้นเป็น 252 โซนจากที่มีเพียง 35 โซนในกล้อง EOS-1D X
คุณสมบัติที่ 3
Large Zone AF โหมดใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในโหมดการเลือกพื้นที่ AF
โหมดการเลือกพื้นที่ AF สืบทอดระบบมาจากกล้อง EOS-1D X โดยมีให้เลือกทั้งหมด 7 โหมด รวมถึงโหมด [Large Zone AF] ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ แบ่งคร่าวๆ ได้เป็น โหมด "AF แบบจุดเดียว" ซึ่งจะถ่ายภาพวัตถุต่างๆ ด้วยจุด AF เพียงจุดเดียวและโหมด "โซน AF" ซึ่งถ่ายภาพวัตถุต่างๆ โดยใช้โซนที่มีจุด AF หลายจุด ด้วยจำนวนจุดโฟกัสที่เพิ่มขึ้นบนกล้อง EOS 7D Mark II โซนกึ่งกลางจะครอบคลุมพื้นที่แนวนอนที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับกล้อง EOS-1D X
โซน AF
ใหม่ Large Zone AF
Large Zone AF แบ่งพื้นที่การโฟกัสอัตโนมัติเป็นสามโซน ช่วยยกระดับความสามารถในการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวอย่างที่คาดเดาล่วงหน้าไม่ได้ให้ดีกว่าโหมดโซน AF แบบเดิม
การทดสอบ: กล้อง EOS 7D Mark II มีความสามารถในการติดตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบแค่ไหน?
เครื่องมือปรับแต่ง AF
"กรณีที่ 2: ติดตามตัวแบบอย่างต่อเนื่องโดยไม่สนใจสิ่งที่อาจเป็นสิ่งกีดขวาง"
แม้ว่าตัวมาสคอตกระต่ายจะโผล่เข้ามาในเฟรมภาพแบบปุบปับทั้งที่กำหนดโฟกัสไว้ที่ตัวแพนด้าแล้ว โฟกัสก็ไม่เปลี่ยนจากแพนด้าไปที่กระต่าย ถึงตัวกระต่ายจะอยู่ใกล้กล้องมากกว่า แม้ว่าการโฟกัสอัตโนมัติโดยปกติจะใช้อัลกอริทึมที่ให้ความสำคัญกับวัตถุที่อยู่ใกล้สุดก่อน แต่คุณสามารถปรับตั้งค่าให้กล้องจัดการกับการดึงจุดสนใจอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเพราะสิ่งกีดขวาง อย่างในภาพนี้ ความไวในการติดตามของโฟกัสอัตโนมัตินี้ทำได้ดีเท่าๆ กับกล้อง EOS-1D X และยังสามารถเปลี่ยนคุณสมบัติการโฟกัสอัตโนมัติในการตั้งค่าอย่างละเอียดได้ (*ตัวอย่างนี้ใช้ Large Zone AF)
เครื่องมือการปรับแต่ง AF
"กรณีที่ 3: โฟกัสทันทีที่ตัวแบบเข้ามาในจุดโฟกัสอัตโนมัติ"
ในเฟรมภาพแรก โฟกัสอยู่ที่ตัวแพนด้า แต่เมื่อกระต่ายเข้ามาและเริ่มยืนซ้อนกับแพนด้า โฟกัสจึงเปลี่ยนไปอยู่ที่กระต่าย คุณสมบัติหนึ่งที่น่าสนใจที่สุดของกล้อง EOS 7D Mark II คือ ความสามารถในการติดตามตัวแบบของจุด AF ในแนวนอน โดยกำหนดโฟกัสที่วัตถุที่ใกล้ที่สุดเสมอ แม้ว่าตัวแบบในภาพเหล่านี้จะใส่หน้ากากมาสคอตรูปสัตว์อยู่ ระบบก็ตอบสนองเช่นเดียวกับใบหน้าคน การทดสอบนี้แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการตรวจจับตัวแบบของกล้อง EOS 7D Mark II นั้นมีความโดดเด่นและทำได้ดีเท่ากับกล้องสำหรับมืออาชีพ (*ในภาพนี้ใช้การเลือก AF 65 จุดอัตโนมัติ)
คุณสมบัติที่ 4
ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องสูงประมาณ 10 เฟรมต่อวินาที
ชัตเตอร์และชุดกระจกใหม่รองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูง 10 เฟรมต่อวินาที และกำลังการประมวลผลที่ดีขึ้นของระบบ Dual DIGIC 6 นอกจากการใช้มอเตอร์ใหม่แล้ว การออกแบบที่ใช้ตลับลูกปืนกลมถูกนำมาใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนชุดชัตเตอร์ ขณะเดียวกัน ก็มีการนำกลไกใหม่ที่ใช้เคลื่อนกระจกมาใช้ด้วย การออกแบบเชิงกลไกเหล่านี้ทำงานร่วมกันกับ DIGIC 6 เพื่อให้ได้ "ความเร็ว" และ "ความสบาย" ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนมักพูดถึงเกี่ยวกับซีรีย์ EOS
กล้อง EOS 7D Mark II มาพร้อมกับชิปประมวลผล DIGIC 6 สองชุด พัฒนาขึ้นจากการออกแบบ Dual DIGIC 4 ของกล้อง EOS 7D ระบบนี้สามารถประมวลผลข้อมูลทุกประเภท รวมถึงรองรับการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงที่ประมาณ 10 เฟรมต่อวินาที
จำนวนชิ้นส่วนอุปกรณ์ในระบบขับเคลื่อนลดลงเพื่อลดกำลังไฟฟ้าสูงสุดระหว่างการชาร์จชัตเตอร์ให้ต่ำลง นอกจากนี้ ความเร็วของเฟรมภาพยังเพิ่มขึ้นด้วยเวลาชาร์จที่น้อยลง ชัตเตอร์มีความทนทานสูง สามารถรองรับการถ่ายภาพได้ยาวนานถึงประมาณ 200,000 ครั้ง
คุณสมบัติที่ 5
ให้คุณภาพของภาพถ่ายสูงที่ความไวแสง ISO สูง ตอนนี้ ISO 16000 เข้ามาอยู่ในช่วงมาตรฐานแล้ว
ช่วงความไวแสง ISO มาตรฐานบนกล้อง EOS 7D Mark II ขยายสูงถึง ISO 16000 ทั้งสำหรับภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ทำให้การสั่นไหวของกล้องและความเบลอของวัตถุลดลงเมื่อถ่ายภาพในสภาพที่มีแสงน้อย เซนเซอร์ Dual Pixel CMOS ที่พัฒนาใหม่ทำให้ประสิทธิภาพในด้านนี้สูงขึ้น และยังเพิ่มกำลังในการประมวลผลภาพของ Dual DIGIC 6 ขึ้นด้วย ด้วยความไวแสง ISO มาตรฐานที่สูงกว่ากล้อง EOS 7D ตอนนี้คุณสามารถนำเลนส์ f/4 และท่อต่อเลนส์มาต่อเพื่อการใช้งานที่ดีขึ้น โดยจะทำให้สัดส่วนระหว่างความเร็วชัตเตอร์และค่ารูรับแสงมีตัวเลือกมากขึ้น และรองรับการตั้งค่าความไวแสง ISO แบบละเอียดด้วย
EF-S15-85mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL:80mm (เทียบเท่า 128 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (1/640 วินาที, f/5.6, -1EV)/ ISO 16000/ WB: อัตโนมัติ
ฝูงลูกปลาที่พุ่งตัวอย่างรวดเร็วในตู้ "หยุดนิ่ง" ที่ความเร็วชัตเตอร์ 1/640 วินาที แม้ใช้ความไวแสง ISO สูงถึง 16000 แต่กลับพบจุดรบกวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงสามารถใช้ในการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหวในสภาวะแสงน้อยได้หลากหลายมากขึ้น
คุณสมบัติที่ 6
ควบคุมการตั้งค่าต่างๆ ได้ขณะมองผ่านเลนส์ใกล้ตาของช่องมองภาพ Intelligent Viewfinder II
นอกจากเส้นตารางและระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์แล้ว การตั้งค่าหลายอย่าง เช่น โหมดการถ่ายภาพและสมดุลแสงขาวก็แสดงผลในช่องมองภาพได้เช่นกัน ผู้ใช้จึงปรับหรือตรวจสอบการตั้งค่าได้ง่ายๆ ด้วยการใช้ปุ่มต่างๆ ในขณะที่มองผ่านช่องมองภาพ นอกจากนี้ รายการที่แสดงผลยังปรับแต่งได้เช่นกัน แม้จะใช้จอ LCD โปร่งแสง แต่หน้าจอโฟกัสของกล้องก็สามารถสลับเปลี่ยนได้
สีแดง: ระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์
สีน้ำเงิน: เส้นตาราง
สีเขียว: ระดับแสง
สีส้ม: ข้อมูลการถ่ายภาพ
เป็นครั้งแรกสำหรับกล้องซีรีย์ EOS ที่ข้อมูลการถ่ายภาพแสดงผลบนหน้าจอช่องมองภาพได้ การที่สามารถดูข้อมูล เช่น สถานะการโฟกัสอัตโนมัติและรูปแบบการบันทึก จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับช่างภาพในขณะถ่ายภาพได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบ "การตรวจจับแสงแลบ" ซึ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกในกล้อง EOS ช่วยสนับสนุนการถ่ายภาพที่ใช้แหล่งกำเนิดแสงเทียม
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย