ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับที่มืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ต (2): 3 เคล็ดลับเพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ดีที่สุด

2016-11-24
1
12.75 k
ในบทความนี้:

เทคนิคที่คุณเรียนรู้จากการถ่ายภาพทั่วไปอาจไม่สามารถนำมาใช้กับการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ตได้เสมอไป ช่างภาพชื่อดังผู้มีชื่อเสียงด้านการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ต Hajime Kamiiisaka จะมาเผยเคล็ดลับบางอย่างจากประสบการณ์ที่ช่ำชองของเขา เพื่อให้ได้ภาพถ่ายเด็ดๆ ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต ทั้งในแง่การตั้งค่ากล้อง AF และจังหวะเวลา (เรื่องโดย Hajime Kamiiisaka)

f/3.2, 1/250 วินาที, ISO 3200

 

เคล็ดลับที่ 1: การตั้งค่ากล้องที่ใช้สำหรับถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ต

ผมจะเริ่มด้วยการแนะนำการตั้งค่าบางอย่างที่จำเป็นในระหว่างถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ต การตั้งค่านี้เป็นการตั้งค่าสามแบบเช่นเดียวกับที่ใช้ในการถ่ายภาพทั่วไป ได้แก่ ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และความไวแสง ISO

ดังที่อธิบายก่อนหน้านี้ในตอนที่ 1 แล้วว่าการตั้งค่าที่สำคัญที่สุดคือความเร็วชัตเตอร์ เนื่องจากบรรยากาศในงานคอนเสิร์ตส่วนใหญ่จะค่อนข้างมืด ดังนั้นเราจึงต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาทีหรือเร็วกว่านั้น เพื่อ "หยุด" การเคลื่อนไหวของศิลปินขณะทำการแสดง นอกจากนี้ ในหลายๆ กรณี เมื่อพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างความไวแสง ISO และจุดรบกวนแล้ว (ดูตอนที่ 1 เพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความไวแสง ISO สำหรับการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ต) ขนาดรูรับแสงในช่วงระหว่าง f/4-5.6 ก็น่าจะเพียงพอ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสงกำหนดค่าการเปิดรับแสง โปรดดูที่:
การเปิดรับแสงทำงานอย่างไร


สำหรับโหมดการถ่ายภาพ ส่วนตัวแล้วผมชอบใช้การเปิดรับแสงแบบแมนนวลด้วยโหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ แต่โหมดอื่นๆ ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นเดียวกัน และมีช่างภาพมืออาชีพที่ใช้โหมดอื่นๆ หลายโหมดในการถ่ายภาพ อย่างไรก็ดี เนื่องจากคุณต้องการที่จะควบคุมความเร็วชัตเตอร์ในกรณีดังกล่าว ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้โหมดอัตโนมัติเนื่องจากกล้องจะคำนวณการตั้งค่าให้ทั้งหมด

ความคิดที่ดีคือใช้ Shurtape ติดวงแหวนเลือกโหมดหรือสวิตช์ไว้ เพื่อไม่ให้เคลื่อนที่ในระหว่างการถ่ายภาพ

นอกจากนี้ โดยทั่วไปในระหว่างการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ต ผู้ชมคนอื่นอาจจะกระแทกเข้ากับคุณ ซึ่งอาจทำให้สวิตช์และวงแหวนที่คุณตั้งค่าไว้โดยเฉพาะสำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไปได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ผมใช้เทปกาว Shurtape* เพื่อยึดสวิตช์ AF และ MF หรือสวิตช์โหมดการถ่ายภาพให้อยู่กับที่

* Shurtape: เทปกาวที่ทำจากกระดาษและกาวคุณภาพสูง สามารถนำมาตัดและใช้งานได้ง่าย และไม่ทิ้งร่องรอยเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ นอกจากนี้ยังมีแรงยึดเกาะที่ช่วยให้ติดทนนาน

 

จุดที่ 2: ใช้ AF จุดเดียวเพื่อโฟกัสที่ตำแหน่งเป้าหมาย

f/4.5, 1/400 วินาที, ISO 1600
ฉากอาจเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วจนสร้างความสับสนได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องคว้าโอกาสการถ่ายภาพในสถานการณ์ดังกล่าวไว้อย่างรวดเร็ว เพราะเราจะไม่สามารถถ่ายซ้ำได้อีก

 

ต่อไป เราจะมาดูวิธีการใช้ AF ในการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ตกัน ผมคิดว่าการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ตมีความคล้ายคลึงกับการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีที่ฉากอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถกลับมาถ่ายซ้ำได้ คุณไม่มีทางทราบได้เลยว่าโอกาสการถ่ายภาพจะเกิดขึ้นเมื่อใด ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับว่าคุณสามารถตอบสนองต่อฉากนั้นๆ ได้ดีเพียงใด

ด้วย AF ประสิทธิภาพสูงที่พบได้ในกล้องรุ่นปัจจุบัน ทำให้มีโอกาสสูงที่คุณจะได้ภาพที่อยู่ในโฟกัสเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ในการถ่ายภาพทั่วไปได้ อย่างไรก็ดี ในการถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ต ไมโครโฟนอาจบดบังใบหน้าของศิลปิน หรือผู้ชมที่อยู่ข้างหน้าอาจกีดขวางภาพที่อยู่เบื้องหน้าคุณ ดังนั้น เราจะพบว่ามีหลายกรณีที่ภาพถ่ายอยู่นอกโฟกัสหากคุณปล่อยให้กล้องควบคุมการโฟกัส ในการแก้ไขปัญหานี้ คุณสามารถวางใจในคุณสมบัติ AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง) ได้

f/4, 1/400 วินาที, ISO 500
ภาพที่มีจุด AF ในกล้อง EOS 750D หากคุณสามารถเลื่อนจุด AF จุดเดียวได้ตามต้องการ คุณจะสามารถถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ตให้ออกมาใกล้เคียงกับที่จินตนาการไว้ได้

 

กล้อง เช่น EOS 5D Mark III (61 จุด), EOS 80D (45 จุด) และ EOS 750D (19 จุด) จะมีจุด AF เป็นจำนวนมาก แม้ว่าจุด AF ในกล้องรุ่นต่างๆ จะมีจำนวนแตกต่างกัน แต่ทุกรุ่นจะมี AF จุดเดียวที่ช่วยให้คุณสามารถเลือกจุดโฟกัสจุดเดียวได้

หากคุณสามารถเลื่อนจุด AF จุดเดียวนี้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ คุณจะสามารถถ่ายภาพออกมาใกล้เคียงกับที่จินตนาการไว้ และไม่ได้รับผลกระทบจากผู้คนหรือวัตถุที่อยู่ด้านหน้าซึ่งอาจบดบังภาพเบื้องหน้าคุณอยู่ นอกจากนี้ คุณไม่สามารถละสายตาจากการเคลื่อนไหวของศิลปินได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องสามารถสลับจุด AF ขณะดูภาพผ่านช่องมองภาพโดยไม่ต้องมองว่าคุณกำลังทำอะไรอยู่ได้ ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรปรับแต่งปุ่มต่างๆ ด้วยตัวเองเพื่อที่คุณจะสามารถสลับจุด AF ได้อย่างรวดเร็วหากจำเป็น

 

จุดที่ 3: จังหวะเวลาของภาพถ่ายเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อการแสดงคอนเสิร์ตเริ่มขึ้น พยายามมองหาฉากซึ่งใกล้เคียงกับฉากที่คุณคิดไว้ และเมื่อคุณขยับเข้าใกล้เวที อย่าลืมสังเกตการแสดงสีหน้าและเครื่องดนตรีว่าอยู่ในมุมที่เหมาะเจาะพอดีหรือไม่ เพื่อไม่พลาดการถ่ายภาพช็อตเด็ดต่างๆ ของศิลปิน (ดูตอนที่ 1)

นอกจากนี้ จังหวะเวลายังเป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณอยู่ไกลจากเวที หรือเมื่อคุณถ่ายภาพจากบริเวณด้านหลังงาน แม้ว่าคุณจะสามารถถ่ายภาพศิลปินซึ่งมองเห็นเป็นจุดเล็กๆ บนเวทีได้เท่านั้น แต่นั่นก็เป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะสามารถบันทึกเป็นภาพถ่ายได้ เมื่อคุณจัดวางผู้คนที่อยู่รวมกันหน้าเวทีไว้ในภาพและรอช่วงเวลาที่ทุกคนจะสนุกตื่นเต้น คุณจะสามารถเก็บภาพบรรยากาศของงานคอนเสิร์ตได้

f/10, 1/200 วินาที, ISO 3200
แม้ว่าคุณจะสามารถถ่ายภาพเวทีได้จากระยะไกลเท่านั้น แต่จังหวะเวลาก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ รอคอยจุดสำคัญของการแสดงหรือช่วงเวลาที่ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้น

 

ควรระมัดระวังอย่ารวมบริเวณที่มืดเกินไปไว้ในภาพ เช่น เงาของผู้ชมและกำแพง เนื่องจากมักจะทำให้ภาพโดยรวมขาดพลังไป รอคอยจังหวะเวลาที่ดีที่สุดพร้อมกับนึกถึงเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การจัดองค์ประกอบภาพแบบสามเหลี่ยม และการจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพ โปรดดูบทความต่อไปนี้:
[ตอนที่ 2] พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ! “ตัวแบบหลัก” “ตัวแบบรอง” และ “การจัดองค์ประกอบภาพรูปสามเหลี่ยม”
[ตอนที่ 4] พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ! "การจัดองค์ประกอบภาพตามเส้นแนวทแยงมุม" และ "การจัดองค์ประกอบภาพตามกฎสามส่วน"

 

สรุป: ถ่ายภาพสำคัญให้ได้ตามที่ตั้งใจ

เมื่องานคอนเสิร์ตเริ่มขึ้น การแสดงจะต่อเนื่องยาวนาน ดังนั้น ทั้งหมดที่คุณต้องทำคือรอคอยฉากที่ใกล้เคียงกับที่คุณนึกไว้ในใจ ดังนั้น การเตรียมพร้อมและจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อถ่ายภาพเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ควรเตรียมแบตเตอรี่สำรองและการ์ดหน่วยความจำไปด้วยเสมอ และพกเลนส์สำหรับเปลี่ยนติดตัวไว้ตลอดเวลา การแสดงคอนเสิร์ตเป็นงานที่เราจะพบเพียงแค่หนึ่งครั้งในชีวิต ดังนั้น คุณจะไม่สามารถถ่ายฉากเดียวกันซ้ำอีกครั้งได้

ช่างภาพมืออาชีพส่วนใหญ่จึงมักพกกล้องสำรองติดตัวเสมอ โดยตัวหนึ่งจะติดตั้งเลนส์มุมกว้าง ส่วนอีกตัวหนึ่งติดตั้งเลนส์เทเลโฟโต้ และสลับใช้งานกล้องหลายตัวระหว่างการถ่ายภาพ นั่นเป็นเพราะว่าเราไม่มีเวลาสำหรับเปลี่ยนเลนส์ นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าไปในกล้องอีกด้วย สำหรับตัวผมเอง ผมเลือกใช้กล้องทั้งหมดสี่ตัวเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด

การเตรียมตัวล่วงหน้าจะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาได้ และการศึกษาว่าช่างภาพมืออาชีพให้ความสำคัญกับสิ่งใดบ้างเพื่อให้การใช้งานกล้องราบรื่น และพวกเขารับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างยืดหยุ่นได้อย่างไร จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพการแสดงคอนเสิร์ตได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นเดียวกัน

Kamiiisaka ให้ความสำคัญแม้แต่กับเสื้อผ้าที่เขาสวมใส่ เขามักใส่เสื้อผ้าสีเข้มในการถ่ายภาพเพื่อไม่เป็นการหันเหความสนใจจากผู้ชมหรือศิลปิน

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

Hajime Kamiiisaka

 

เข้าทำงานที่ Epic/Sony Records ในปี 1993 โดยทำงานในฝ่ายผลิตการออกแบบหลังจากสั่งสมประสบการณ์ในฐานะผู้จัดคอนเสิร์ตและในฝ่ายคัดสรรและพัฒนาศิลปิน เขาลาออกในปี 2002 เพื่อมาเป็นผู้ช่วยของช่างภาพแฟชั่นอย่าง JFKK ก่อนที่จะออกมารับงานถ่ายภาพด้วยตัวเอง นับแต่นั้นมา เขามีผลงานในวงการแฟชั่นเชิงพาณิชย์ ภาพยนตร์ ดนตรี และทัศนศิลป์เป็นหลัก

http://www.kamiiisaka.com/profile.html

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา