การถ่ายภาพตัวแบบที่คาดเดาไม่ได้ - การเคลื่อนที่รวดเร็ว
บางครั้งความเร็วชัดเตอร์สูง ค่ารูรับแสง และโฟกัสที่เหมาะสมไม่ช่วยให้คุณถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนที่รวดเร็วได้ดีเสมอไป
เครดิตภาพ: Stanley Cheah
ผู้ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นช่างภาพต้องทำอะไรบ้างเพื่อจับภาพตัวแบบที่เคลื่อนที่รวดเร็วสุดๆ หัวใจสำคัญคือ การสังเกตมุมและระยะห่างของตัวแบบจากเลนส์ของคุณเป็นอันดับแรก
ตัวแบบที่ขนานกับคุณซึ่งเคลื่อนที่โดยตรงจากด้านหนึ่งของเฟรมไปยังอีกด้านหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุด เพราะเหตุนี้ช่างภาพมืออาชีพมากมายจึง “แพน” กล้องไปตามตัวแบบแม้ว่าจะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ไม่ใช่เพียงเพราะวิธีนี้ทำให้ได้ฉากหลังที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบสั่นเบลอสวยๆ เท่านั้น แต่เพราะในบางครั้งเป็นไม่ได้เลยที่จะจับภาพตัวแบบที่เคลื่อนที่รวดเร็วโดยไม่ใช้เทคนิคนี้
เมื่อมุมกล้องอยู่ที่ประมาณ 45 องศา ความเร็วของตัวแบบจะถูกแบ่งครึ่ง ซึ่งช่วยให้จับภาพได้ง่ายขึ้นมากโดยไม่ต้องแพนกล้อง
เครดิตภาพ: Stanley Cheah
เมื่อตัวแบบกำลังเข้าหาคุณโดยตรง วิธีนี้จะทำได้ง่ายยิ่งขึ้นถ้าคุณตั้งค่าโฟกัสที่จุดนั้นไว้ล่วงหน้า แน่นอนว่าแต่ละมุมให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและ ขึ้นอยู่กับชนิดกีฬาและตัวแบบ
เครดิตภาพ: Stanley Cheah
หมั่นคำนึงถึงข้อนี้และทดลองเล่นกับความเร็วชัตเตอร์ต่างๆ กันในสถานที่หลายจุด แล้วคุณจะสามารถค้นพบ “จุดสมบูรณ์แบบ” ที่จะทำให้คุณได้ถ่ายภาพที่น่าทึ่ง ตัวอย่างเช่น แม้ว่ารถฟอร์มูล่าวันเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเกือบ 370 กม./ชม. แต่ก็จำเป็นต้องชะลอตัวที่มุมสนาม ซึ่งมักเป็นจุดหลักที่รถแข่งแซงกันด้วย ทำความรู้จักกีฬาที่คุณจะถ่ายภาพ แล้วคุณจะได้ประโยน์สูงสุดจากเวลาที่ใช้ไป ณ สถานที่จุดนั้นๆ
ปัจจัยอื่นๆ ที่ควรทราบเมื่อถ่ายภาพตัวแบบที่คาดเดาไม่ได้ เช่น นกที่บินอยู่ คือ ต้องอดทนและเตรียมพร้อมเสมอ ช่างภาพสัตว์ป่าใช้เวลาหลายวันนอกสถานที่เพียงเพื่อถ่ายภาพที่ได้รับรางวัลภาพเดียว ถ้าคุณมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสถานที่ที่จะถ่ายสัตว์ชนิดนั้นๆ และรู้ว่าพวกมันจะมีปฏิกิริยาอย่างไร คุณจะสามารถจับภาพการเคลื่อนไหวของสัตว์ในจังหวะเหมาะๆ ได้สำเร็จ
เครดิตภาพ: Daryl Yeo
Isaiah Tan โปรไฟล์ผู้เขียน ช่างภาพวิดีโอมืออาชีพผู้รักในการถ่ายภาพ Isaiah มีบริษัทวิดีโอโปรดักชั่นและยังเปิดบาร์ขนาดย่อมในสิงคโปร์ ตลอดจนธุรกิจอื่นๆ ด้วย เขาสนุกกับการทดลองเทคนิคการถ่ายภาพที่หลากหลาย และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และค้นหาสิ่งใหม่ๆ รอบตัวอยู่เสมอ |
|
Stanley Cheah โปรไฟล์ช่างภาพ ความหลงใหลในการถ่ายภาพของ Stanley เริ่มต้นจากการชื่นชมภาพทิวทัศน์ที่สวยงามในโปสการ์ด “ผมอยากถ่ายภาพให้ได้แบบนั้น” เขานึกถึงความหลัง ในปี 1992 เขาซื้อ SLR Minolta X7 กล้องแมนนวลแบบเต็มรูปแบบตัวแรกของตัวเองเพื่อเรียนถ่ายภาพ แต่จนกระทั่ง 15 ปีต่อมาเท่านั้นที่เขาเริ่มเอาจริงเอาจังและเข้าเรียนวิชาต่างๆ ที่ Photography Society of Singapore ในปี 2007 ปัจจุบัน Stanley เดินทางไปสถานที่แปลกใหม่น้อยลงเนื่องจากติดภารกิจการทำงาน โดยมุ่งความสนใจไปที่การแข่งขันกีฬาและงานกิจกรรมศิลปะในสิงคโปร์มากกว่า |
|
Daryl Yeo โปรไฟล์ช่างภาพ ในฐานะตากล้องที่ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก Daryl เริ่มเข้าสู่โลกของการถ่ายภาพดิจิตอลในปี 2006 นับแต่นั้นมา เขาได้ถ่ายภาพหลากหลายแนวจนค้นพบความหลงใหลที่แท้จริงของตัวเองในการถ่ายภาพสัตว์ป่า Daryl ได้เดินทางไปยังสถานที่ห่างไกลหลายต่อหลายแห่ง เช่น แอฟริกา เพื่อติดตามบันทึกภาพสารคดีพฤติกรรมสัตว์อย่างมีศิลปะ ในการประเมินความสามารถของตัวเอง เขาได้เข้าร่วมการแข่งขันถ่ายภาพแบบ Salon หลายรายการทั่วโลกโดยใช้ภาพถ่ายสัตว์ป่าเป็นหลัก ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา Daryl ชนะเหรียญรางวัลมากมายในการแข่งขันนานาชาติเหล่านี้ ต่อมาในปี 2014 เขาได้รับรางวัล Associateship of the Royal Photographic Society (ARPS) จากสหราชอาณาจักร อีกทั้งยังได้รับรางวัล Fellowship จากสมาคมช่างภาพหลายแห่ง เช่น Photographic Society of Singapore, Photographic Society of Malaysia, Singapore Colour Photographic Society และ SAFRA Photographic Club นอกจากสัตว์ป่าแล้ว Daryl ยังชื่นชอบการถ่ายภาพการท่องเที่ยว การเต้นรำ และกีฬา เขาเป็นสมาชิกทีมช่างภาพอย่างเป็นทางการในงานพาเหรด Chingay ปี 2012 และ 2014 และยังเป็นช่างภาพอาสาสมัครในงาน National Day Parade ปี 2014 สุดท้าย อาชีพหลักของ Daryl คือ ผู้จัดการฝ่ายไอทีในบริษัทข้ามชาติสัญชาติอเมริกันขนาดใหญ่ |