การถ่ายภาพคลื่น: ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดเพื่อถ่ายทอดพลังและการเคลื่อนไหว
ภาพคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเลตามแนวชายฝั่งสื่อให้เห็นถึงพลังการเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่ง หากคุณต้องการถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของคลื่นนี้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความเร็วชัตเตอร์และจังหวะเวลาที่ลั่นชัตเตอร์คือสิ่งสำคัญ ในส่วนต่อไป ผมจะอธิบายถึงปัจจัยต่างๆ ที่ช่างภาพมืออาชีพพิจารณาซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจถ่ายภาพ (เรื่องโดย: Yoshiteru Takahashi)
EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/2 วินาที, EV-0.7)/ ISO 50/ WB: แสงแดด
ท้องฟ้าสีเทาและคลื่นสีขาวทำให้ผมรู้สึกประทับใจอย่างมาก ผมต้องการถ่ายทอดลักษณะอันนุ่มนวลของคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเล พร้อมกับรักษาความสมดุลระหว่างท้องฟ้ากับคลื่นไว้ ดังนั้น ผมจึงเพิ่มความเปรียบต่างโดยใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์
เทคนิคที่ 1: ถ่ายภาพคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเลเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์พลังการเคลื่อนไหว
เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพคลื่น ส่วนตัวแล้วผมชอบถ่ายภาพคลื่นที่กำลังไหลกลับลงสู่ทะเล เพราะสามารถเห็นความละเอียดนุ่มนวลและพลังการเคลื่อนไหวของคลื่นที่ไหลผ่านก้อนกรวดบริเวณชายฝั่ง และเมื่อคลื่นที่กำลังไหลกลับสู่ทะเลกระทบคลื่นที่กำลังซัดเข้ามา หลังจากคลื่นแตกฟอง ผมรอคอยจังหวะเวลาที่เหมาะสมแล้วลั่นชัตเตอร์ในช่วงเวลาที่คลื่นถอยร่นกลับไป
EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/2 วินาที, EV-0.7)/ ISO 50/ WB: แสงแดด
คลื่นที่ซัดสาด
แม้ว่าการเคลื่อนไหวของคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งจะส่งผลกระทบทางอารมณ์ แต่ยังไม่สามารถสร้างเอฟเฟ็กต์ที่ละเอียดนุ่มนวลได้ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของคลื่นดูธรรมดาเกินไป
เทคนิคที่ 2: ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่สร้างความเปรียบต่างด้านความสว่างระหว่างท้องฟ้ากับผิวน้ำอย่างเพียงพอ
จุดสำคัญของภาพนี้อยู่ที่ความสามารถในการถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของคลื่นได้อย่างงดงาม หากคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของคลื่น จะเป็นการลดความสดใสและมีชีวิตชีวาของภาพถ่าย ซึ่งเป็นแง่มุมที่คุณต้องการถ่ายทอดออกมามากที่สุด ในทางตรงกันข้าม หากคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมาก จะมีเพียงความขาวของคลื่นเท่านั้นที่โดดเด่นออกมา ผมจึงเลือกความเร็วชัตเตอร์ตามความสมดุลของความเปรียบต่างระหว่างสีของท้องฟ้ากับบริเวณที่มืดของผืนทะเล ในกรณีนี้ ผมตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 1/2 วินาที
สำหรับรูปแบบของความเปรียบต่างในการถ่ายภาพคลื่น โปรดดูที่:
การถ่ายภาพคลื่น: การถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำและนุ่มนวลให้มีสีสันสวยงาม
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่จังหวัดชิบะเมื่อปี 1965 Yoshiteru Takahashi เริ่มต้นถ่ายภาพเมื่อเขาเกิดความหลงใหลในนกกระเรียนมงกุฎแดงที่พบในระหว่างการเดินทางไปบึงคุชิโระ (ฮอกไกโด ญี่ปุ่น) ขณะอายุ 16 ปี หลังจบการศึกษาจากวิทยาลัยการอาชีพด้านการถ่ายภาพ เขาเริ่มต้นถ่ายภาพระดับอาชีพในวงการภาพพิมพ์ ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพธรรมชาติสี่ฤดูและสัตว์ป่าอย่างแข็งขันทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ ซึ่งไปปรากฏอยู่ตามหน้าปฏิทิน โปสเตอร์ และปกนิตยสารมากมาย