2 เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการถ่ายภาพเด็กๆ ในที่ร่มให้สวยงามและไม่พร่ามัว
การถ่ายภาพผู้คนในที่ร่มตอนกลางวันซึ่งมีแสงสว่างส่องเข้ามาให้ดูสวยงามนั้นทำได้ไม่ยาก อย่างไรก็ดี ความยากอย่างหนึ่งที่คุณอาจพบก็คือ แสงในที่ร่มมีน้อยกว่าแสงกลางแจ้ง ดังนั้น ภาพถ่ายของคุณจึงมีแนวโน้มที่จะออกมาเบลอได้ ในกรณีเช่นนี้ การควบคุมขนาดรูรับแสงจึงเป็นวิธีที่ดีในการถ่ายภาพให้สวยงามพร้อมกับมีเอฟเฟ็กต์โบเก้พอประมาณในส่วนแบ็คกราวด์ (เรื่องโดย: Teppei Kohno)
1. ลองถ่ายภาพด้วยค่า f ที่ต่ำลง
ตัวอย่างที่ 1:
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/2.5, 1/250 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
*ขั้นตอนการถ่ายภาพ
1: ตั้งกล้องไว้ที่โหมด Aperture-Priority AE
2: ตั้งค่า f ให้ต่ำลง
3: ใช้ประโยชน์จากแสงที่ส่องผ่านหน้าต่างให้เต็มที่
4: ตั้งค่าความไวแสง ISO ให้สูงขึ้น
การถ่ายภาพในที่ร่มแตกต่างจากการถ่ายภาพกลางแจ้งตรงที่แสงในที่ร่มนั้นมักไม่เพียงพอ ดังนั้น ความพยายามที่จะถ่ายภาพลูกของคุณขณะเล่นอย่างมีความสุขนั้น อาจลงเอยด้วยการได้ภาพที่ออกมาเบลอ ในกรณีเช่นนี้ คุณสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้โดยการตั้งค่า f ให้ต่ำลง และยิ่งค่ารูรับแสงกว้างมากเท่าไหร่ (= ค่า f ต่ำลง) ความเร็วชัตเตอร์ก็จะยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น
มองหาสถานที่ถ่ายภาพที่ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้ การให้เด็กๆ เล่นในบริเวณที่มีแสงสว่างใกล้หน้าต่างในขณะถ่ายภาพนับเป็นความคิดที่ดี เนื่องจากปริมาณแสงที่มากขึ้นจะช่วยให้คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นได้ อย่างไรก็ดี หากความเร็วชัตเตอร์ยังต่ำเกินไปและภาพที่ออกมาดูเบลอ ให้ลองเพิ่มความไวแสง ISO ให้สูงขึ้น แต่ข้อเสียของการเพิ่มความไวแสง ISO คือ ภาพจะเกิดจุดรบกวนมากขึ้น ดังนั้น จึงควรตั้งค่าความไวแสง ISO ให้ต่ำสุดเท่าที่จำเป็นต่อการถ่ายภาพเท่านั้น
นอกจากนี้ ข้อดีที่สำคัญคือการเพิ่มค่ารูรับแสงให้กว้างขึ้น (= ค่า f ต่ำลง) ซึ่งจะทำให้คุณสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ที่ส่วนแบ็คกราวด์ได้ โดยปกติ ในบ้านจะมีสิ่งของอื่นๆ มากมายที่มักปรากฏอยู่ในส่วนแบ็คกราวด์ด้านหลังตัวแบบด้วย เมื่อใช้วิธีดังกล่าวนี้ คุณจะสามารถเบลอสิ่งของเหล่านั้น และสร้างภาพถ่ายที่จับโฟกัสเฉพาะที่ตัวแบบ รวมถึงแสดงสีหน้าของเด็กๆ ได้ดีอีกด้วย
2. ใช้เลนส์เดี่ยว
ตัวอย่างที่ 2:
EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ (f/2.5, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
ตัวอย่างที่ 3:
EOS 760D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม. (เทียบเท่า 80 มม.)/ Manual exposure (f/1.8, 1/160 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ตัวอย่างที่ไม่ดี:
EOS 750D/ EF-S18-55mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 55 มม. (เทียบเท่า 88 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
คุณสามารถถ่ายทอดสีหน้าของเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติหากตั้งค่าเลนส์ไปที่ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้และถ่ายภาพจากระยะไกลเล็กน้อย อย่างไรก็ดี แม้ว่าคุณจะใช้ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้ของเลนส์ซูมมาตรฐานแล้วก็ตาม ค่า f ที่รูรับแสงกว้างสุดจะอยู่ที่ f/5.6 เท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อถ่ายภาพในที่ร่ม ความเร็วชัตเตอร์จะช้าลง ซึ่งอาจทำให้ภาพเบลอได้ ดังนั้น หากคุณต้องการถ่ายภาพในที่ร่มที่ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้ ขอแนะนำให้ใช้เลนส์เดี่ยวเนื่องจากมีรูรับแสงที่ให้ความสว่าง
อย่าลืม: แนะนำให้ใช้เลนส์เดี่ยวที่ให้ความสว่างสำหรับถ่ายภาพในที่ร่ม
เนื่องจากเลนส์เดี่ยวหลายตัวมีรูรับแสงกว้างสุดที่ให้ความสว่าง ดังนั้น เมื่อถ่ายภาพในที่ร่มที่มีแสงน้อย โอกาสที่ภาพจะเบลอจึงมีน้อยลง และเนื่องจากสีหน้าท่าทางของตัวแบบจะแตกต่างกันไปตามทางยาวโฟกัส ดังนั้น หากคุณมีเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์เทเลโฟโต้ติดตัวไว้ จะช่วยให้สามารถถ่ายภาพได้หลากหลายประเภท
EF-S24mm f/2.8 STM
เมื่อคุณถ่ายภาพเด็กในระยะใกล้ คุณจะได้มุมมองภาพที่ทรงพลังและสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ส่วนของแบ็คกราวด์ได้ ซึ่งจะช่วยให้ได้ภาพถ่ายที่แสดงถึงธรรมชาติที่เปี่ยมด้วยพลังและความมีชีวิตชีวาของเด็ก อ่านได้ที่นี่
EF50mm f/1.8 STM
เลนส์ชนิดนี้มีความใกล้เคียงกับขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์ จึงทำให้สามารถถ่ายภาพที่ดูเป็นธรรมชาติได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ค่ารูรับแสงกว้างสุดยังมีค่าต่ำ คุณจึงสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย
EF85mm f/1.8 USM
เลนส์นี้มีความน่าสนใจตรงที่นอกจากจะสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขนาดใหญ่ที่ส่วนแบ็คกราวด์ได้แล้ว ยังช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพจากระยะไกล ซึ่งสามารถถ่ายทอดสีหน้าของเด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติอีกด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ใน 4 เคล็ดลับสำหรับภาพถ่ายครอบครัวสุขสันต์
สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพเด็กๆ โปรดดูที่:
[เด็กๆ ตอนที่ 1] ถ่ายภาพจากมุมมองต่างๆ
[เด็ก ตอนที่ 2] ใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อจับภาพลูกๆ เล่นตามประสาเด็กๆ
3 วิธีในการเก็บภาพพี่น้องที่แสนน่ารัก
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย