ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

วิธีการแสดงสีด้วยฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

2016-10-06
10
15.15 k
ในบทความนี้:

ช่างภาพผู้มีประสบการณ์ไม่เพียงเผยให้เห็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวผ่านความสามารถในการถ่ายทอดตัวแบบหรือจัดองค์ประกอบภาพที่ดีเท่านั้น แต่ยังสามารถแสดงสไตล์ส่วนตัวผ่านวิธีเลือกการแสดงสีได้อีกด้วย ซึ่งเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว ซึ่งใช้เพื่อปรับแก้ความเพี้ยนของสีให้เป็นสีขาวกลางๆ บทความนี้จะแสดงวิธีใช้งานฟังก์ชั่นดังกล่าวสำหรับการแสดงสี (บรรณาธิการโดย studio9)

 

อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างสมดุลแสงขาว (WB) และการแก้ไขสมดุลแสงขาว

เราจะมาสรุปเนื้อหาของ บทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นสมดุลแสงขาว กันอีกครั้ง สมดุลแสงขาวเป็นการตั้งค่าที่ใช้เพื่อเปลี่ยนสมดุลสีในภาพถ่ายของคุณเพื่อให้ภาพดูอบอุ่นหรือเย็นขึ้น หากคุณใช้โหมด "เมฆครึ้ม, แสงยามเย็น, พระอาทิตย์ตกดิน" ภาพถ่ายของคุณจะมีโทนสีแดง และหากใช้โหมด "หลอดไฟทังสเตน" ภาพจะมีโทนสีน้ำเงิน การตั้งค่าพื้นฐานสำหรับสมดุลสีจะเป็นตามที่แสดงด้านล่างนี้

อย่างไรก็ดี การตั้งค่านี้จะส่งผลให้ภาพของคุณมีโทนสีน้ำเงินหรือสีแดงเท่านั้น

แล้วถ้าหากคุณต้องการทำให้ภาพถ่ายดูเป็นสีเขียวๆ เพื่อเน้นถึงความเขียวชอุ่มสดชื่นของต้นไม้ล่ะ หรือหลายครั้งคุณอาจต้องการสร้างสีที่อยู่ระหว่างโทนสีของโหมด "แสงแดด" และ "เมฆครึ้ม, แสงยามเย็น, พระอาทิตย์ตกดิน" โดยการทำให้สีเป็นโทนอบอุ่นหรือเยือกเย็นขึ้นล่ะ

เมื่อนั้นเองที่ฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาวจะเข้ามามีบทบาทที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างโทนสีต่างๆ ที่ไม่ปรากฏในฉากจริงได้

 

วิธีการเข้าใช้งานฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

ไม่ว่าคุณจะกำลังใช้กล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสอยู่ คุณสามารถตั้งค่าฟังก์ชั่นสมดุลแสงขาวด้วยวิธีเดียวกันได้

กล้องของคุณควรมีตัวเลือก [ปรับ/คร่อมแสงขาว] อยู่ในเมนู

หากคุณเลือกตัวเลือก [ปรับ/คร่อมแสงขาว] หน้าจอดังเช่นภาพตัวอย่างด้านล่างจะปรากฏขึ้น

 

จากนั้น แกน G (สีเขียว), A (สีแดง), M (สีม่วงแดง), B (สีน้ำเงิน) จะแสดงขึ้น แกน B (สีน้ำเงิน) - A (สีแดง) ในแนวนอนใช้เพื่อปรับสมดุลแสงขาว เพื่อทำให้โทนสีอบอุ่นหรือเย็นขึ้น ขณะเดียวกัน แกน G (สีเขียว) - M (สีม่วงแดง) ในแนวตั้งใช้เพื่อทำให้ภาพดูเป็นสีเขียวหรือชมพู

 

3 ขั้นตอนในการแสดงสีในสไตล์ของคุณเอง

ถึงตอนนี้ คุณได้เข้าใจแล้วว่าการแก้ไขสมดุลแสงขาวคืออะไร ต่อไปผมจะแนะนำเคล็ดลับบางประการเกี่ยวกับการตั้งค่าที่ควรใช้ขณะถ่ายภาพจริง ซึ่งหากคุณทำตามขั้นตอนด้านล่าง คุณควรจะค้นพบสไตล์ในการแสดงสีในแบบของคุณเองได้อย่างง่ายดาย (ป.ล. การลองใช้แนวคิดต่อไปนี้กับกล้องของคุณเองอาจจะช่วยให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้น)

ผมจะแนะนำขั้นตอนเหล่านี้โดยแสดงภาพถ่ายจริงเป็นตัวอย่างประกอบ (โปรดทราบว่าการแก้ไขตัวอย่างถูกจำลองขึ้นในไฟล์ RAW โดยใช้ Digital Photo Professional) ผมแก้ไขสมดุลแสงขาวในภาพให้ดูเกินจริงเล็กน้อยเพื่อให้เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ f/5.6/ 1/1250 วินาที/ ISO 200
ผมถ่ายภาพนี้ด้วยโหมด "แสงแดด" (โดยไม่แก้ไขสมดุลแสงขาว)

 

ขั้นตอนที่ 1: กำหนดการตั้งค่าสมดุลแสงขาวพื้นฐาน

ผมต้องการให้ภาพดูชัดและคมเล็กน้อยจึงเปลี่ยนสมดุลแสงขาวเป็น "หลอดไฟทังสเตน" ดังนั้น ภาพจึงมีโทนสีที่เยือกเย็นขึ้น

เปลี่ยนสไตล์ของภาพไปโดยสิ้นเชิง ดังนั้น อย่าลืมกำหนดการปรับเปลี่ยนสมดุลแสงขาวพื้นฐานไว้ล่วงหน้า เนื่องจากค่าพื้นฐานดังกล่าวจะส่งผลต่อโทนสีอย่างชัดเจนที่สุด

 

ขั้นตอนที่ 2: ปรับการแก้ไขสมดุลแสงขาวไปตามแกน G (สีเขียว) - M (สีม่วงแดง)

ผมปรับแกน G (สีเขียว) ในการแก้ไขสมดุลแสงขาวเพิ่มเติม เพราะผมต้องการเน้นให้ดอกไม้มีสีเขียวมากขึ้นอีกเล็กน้อย ในตัวอย่างนี้ ผมเลื่อนเครื่องหมายสี่เหลี่ยมไปประมาณ 8 ช่องในแนว G บนตาราง

คุณจะเห็นว่าสีเขียวของก้านดอกไม้ดูเด่นขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ท้องฟ้ายังดูเป็นสีเขียวเล็กน้อย ภาพจึงมีบรรยากาศที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร

 

ขั้นตอนที่ 3: ปรับการแก้ไขสมดุลแสงขาวไปตามแกน B (สีน้ำเงิน) - A (สีแดง)

ขณะที่การปรับค่าไปตามแกน G - M จะเป็นการกำหนดสีอ่อนจางในภาพถ่ายโดยรวม แต่ควรใช้แกน B - A หากคุณต้องการปรับอุณหภูมิสีเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
ในตัวอย่างนี้ ผมคิดว่าภาพถ่ายดูเย็นตาเกินไปเล็กน้อย ผมจึงเพิ่มความอบอุ่นเข้าไปในภาพนิดหน่อยโดยการเลื่อนเครื่องหมายสี่เหลี่ยมไปประมาณ 4 ช่องในแนว A (สีแดง)

ในจอภาพบางรุ่นความแตกต่างอาจไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก แต่ภาพที่ออกมาจะมีลักษณะเหมือนในภาพนี้หลังจากที่คุณได้ปรับไปตามแนว B - A แล้ว

ซึ่งจะทำให้คุณได้โทนสีตามที่ตั้งใจไว้

เมื่อใช้การแก้ไขสมดุลแสงขาว สิ่งสำคัญอันดับแรกคือการปรับไปตามแกน G (สีเขียว) - M (สีม่วงแดง) ในแนวตั้ง หากคุณเลื่อนเครื่องหมายสี่เหลี่ยมไปตามแกนประมาณ 3 - 4 ช่อง ความเปลี่ยนแปลงของโทนสีจะชัดเจนขึ้น หรือคุณอาจอยากทดลองใช้เคล็ดลับต่อไปนี้หลังจากคุ้นเคยกับการปรับค่าไปตามแกน B (สีน้ำเงิน) - A (สีแดง) แล้ว (หรือข้ามไปเลยหากคุณไม่จำเป็นต้องใช้)

 

4 เคล็ดลับสำหรับการแก้ไขสมดุลแสงขาว

เมื่อใช้ฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว วิธีที่ดีที่สุดคือทดลองตั้งค่าหลายๆ แบบในขณะที่ถ่ายภาพ อย่างไรก็ดี ผมอยากจะแนะนำเคล็ดลับพื้นฐาน 4 ประการที่อาจช่วยได้

1. ในวันที่แดดจ้า ให้เพิ่มค่า G เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดขึ้นพร้อมโทนสีที่ดูผ่อนคลาย
ในภาพน้ำตกด้านล่างนี้ ผมสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ขึ้นที่โฟร์กราวด์ และเพิ่มค่า G เป็น +2 เพื่อให้ภาพโดยรวมมีโทนสีที่เป็นกลางและผ่อนคลายมากขึ้น

EOS 5D Mark II/ EF70-200mm f/4L IS USM/ f/8.0/ 1/5000 วินาที/ ISO 400
เมื่อถ่ายภาพในโหมด "แสงแดด" ผลภาพที่ได้จึงเป็นเช่นนี้

 

ผมใช้โหมด "แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว" ซึ่งดึงเอาสีที่งดงามของท้องฟ้าออกมาและทำให้ภาพดูโปร่งแสงมากขึ้น เพื่อช่วยขับเน้นความโปร่งแสงของน้ำ

 

นอกจากนี้ ผมยังลองเพิ่มค่า G (สีเขียว) ไปที่ประมาณ G+7 ซึ่งการทำเช่นนั้นช่วยให้ผมสามารถสร้างโทนสีที่ผ่อนคลายพร้อมสร้างบรรยากาศแนวเรโทรเพิ่มเติมได้ด้วย

 

2. ลองเพิ่มค่า M สำหรับถ่ายภาพต้นซากุระในวันที่เมฆครึ้ม
หากคุณถ่ายภาพต้นซากุระโดยใช้โหมด "แสงแดด" ในวันที่เมฆครึ้ม ภาพที่ได้จะเป็นเช่นนี้ เนื่องจากต้นซากุระมีโทนสีที่ค่อนข้างซีด ภาพจึงไม่ดูโดดเด่นแต่กลับกลมกลืนไปกับท้องฟ้า

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ f/8.0, 1/320 วินาที/ ISO 200
ต้นซากุระเป็นโทนสีขาวและดูทึมๆ ลองใช้โหมด "เมฆครึ้ม, แสงยามเย็น, พระอาทิตย์ตกดิน" เพื่อดึงเอาความอบอุ่นในภาพออกมา

 

หลังจากเปลี่ยนไปใช้โทนสีที่อุ่นขึ้นแล้ว สีของต้นซากุระจะโดดเด่นขึ้นเล็กน้อย

 

นอกจากนี้ ผมยังเพิ่มค่า M (สีม่วงแดง) ไปที่ M+5 สีของต้นซากุระที่ได้จึงเหมือนภาพที่ปรากฏเมื่อเห็นด้วยตาตนเอง

 

3. เพิ่มค่า M ในโหมด "หลอดไฟทังสเตน" เพื่อสร้างวิวทิวทัศน์ของเมืองยามค่ำคืนที่ดู "เก๋ไก๋" ทั้งตามที่เป็นจริงและโดยอุปมา
เมื่อถ่ายภาพวิวเมืองยามราตรี ผมขอแนะนำให้ใช้การแก้ไขสมดุลแสงขาวเพื่อสร้างโทนสีเย็นมากขึ้น หากคุณใช้โหมด "แสงแดด" ภาพถ่ายจะไม่ให้ความรู้สึกของความเป็นเมืองใหญ่

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ f/11/ 6 วินาที/ ISO 200

 

ผมปรับสมดุลแสงขาวไปที่โหมด "หลอดไฟทังสเตน" เพื่อสร้างบรรยากาศในภาพให้ดูเยือกเย็นขึ้น จึงสามารถสื่อถึงความเป็นเมืองใหญ่ได้อย่างน่าประทับใจทีเดียว

 

นอกจากนี้ ผมยังเพิ่มค่า M (สีม่วงแดง) ไปที่ M+10 เพื่อให้ภาพทิวทัศน์ของเมืองดูเย็นตาและสง่างามยิ่งขึ้น ท้องฟ้าจึงมีโทนสีม่วงเล็กน้อย ทำให้ภาพมีบรรยากาศขององค์ประกอบภาพที่ดูสง่างาม

 

4. การเพิ่มค่า G ช่วงดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้าทำให้ภาพมีบรรยากาศแนวโรโทรในทันที
ช่วงเวลาที่น่าทึ่งมากที่สุดของวันคือช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ตกดินในวันที่มีแสงแดดจ้า อย่างไรก็ดี หากต้องการถ่ายทอดบรรยากาศอันน่าทึ่งดังกล่าว โหมด "แสงแดด" อาจไม่ให้ผลภาพที่ดีมากนัก

EOS 5D Mark II/ EF24-105mm f/4L IS USM/ f/5,6/ 1/1000 วินาที/ ISO 250

 

หากต้องการให้ภาพมีโทนสีที่อบอุ่นยิ่งขึ้น ให้ลองใช้โหมด "แสงในร่ม" แทน เพื่อดึงเอาบรรยากาศของภาพที่สวยงามออกมา

 

นอกจากนี้ ผมยังลองเพิ่มค่า G (สีเขียว) ไปที่ประมาณ G+6 ซึ่งจะช่วยเน้นความลึกของสีเพื่อให้ภาพสื่อถึงบรรยากาศแนวเรโทร! (ผมยังเพิ่มค่า A ขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ +4 อีกด้วย เนื่องจากภาพยังขาดโทนสีแดงไปพอสมควร เพื่อให้เกิดความสมดุลกับค่า G ที่เพิ่มขึ้น)

 

ผมได้แนะนำแนวทาง 4 ข้อที่คุณสามารถทำได้ในสามขั้นตอนไปแล้ว สำหรับทั้ง 4 แนวทางนี้ ทั้งหมดที่ผมทำคือเปลี่ยนสมดุลแสงขาวของภาพต้นฉบับโดยไม่ปรับเปลี่ยนค่าความสว่างหรือความเปรียบต่างใดๆ ซึ่งคุณจะเห็นว่าบรรยากาศของภาพจะเปลี่ยนไปเพียงแค่คุณเลือกการแสดงสีที่แตกต่างออกไปเท่านั้น

ตอนนี้ คุณสนใจที่จะใช้สมดุลแสงขาวและการแก้ไขสมดุลแสงขาวเพื่อทดลองเฟ้นหาการแสดงสีในแบบของคุณเองดูหรือไม่

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

studio9

 

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา