ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 2

2017-05-18
0
3.31 k
ในบทความนี้:

ปริภูมิสีคืออะไรและเพราะเหตุใดจึงมีความสำคัญ ในตอนที่ 1 เราได้พูดคุยเกี่ยวกับเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์กันไปแล้ว ในตอนที่ 2 นี้ เราจะไปทำความรู้จักกับโลกของปริภูมิสีและผลกระทบต่อการรับรู้ของเราและการแสดงสีในขั้นตอนการพิมพ์

 

ปริภูมิสี (colour space) คืออะไร

ลองคิดถึงว่าปริภูมิสีนั้นเป็นเสมือนคลังสีต่างๆ จำนวนมาก โดยปกติเรามีคลังสีต่างๆ สำหรับแสงที่สามารถมองเห็นได้ (สีแดง เขียว และน้ำเงิน ซึ่งก็คือ RGB) และคลังสีที่ใช้ในงานพิมพ์ (สีน้ำเงินเขียว ม่วงแดง เหลือง และดำ ซึ่งก็คือ CMYK)

คลังสี RGB และ CMYK มีสีขั้นที่ 2 ที่เหมือนกันอยู่มากมาย แต่มีบางสีที่มีเฉพาะสำหรับแต่ละคลังเท่านั้น ความแม่นยำในการแสดงสีสันอาจลดน้อยลง เมื่อคุณถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR โดยใช้คลังแสงที่มองเห็นได้ นำภาพถ่ายไปพิมพ์โดยใช้คลังสีสำหรับงานพิมพ์ ซึ่งบ่อยครั้งเครื่องพิมพ์มักมีจำนวนหมึกสีที่ใช้ค่อนข้างจำกัด

 

ปริภูมิสี RGB คืออะไร

RGB ย่อมาจากแสงสีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) แสงที่เราสามารถมองเห็นได้นี้ ไม่ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์หรือจากโคมไฟ ล้วนเกิดจากสีทั้ง 3 สีเหล่านี้ เมื่อนำสีพื้นฐานทั้ง 3 สีมารวมกันเราจะได้แถบสีขั้นที่ 2 มากมาย เช่น เมื่อเราเปิดดูบทความนี้บนจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน ภาพที่ปรากฏจะแสดงโดยใช้สีจากปริภูมิสี sRGB ซึ่งเป็นหนึ่งในคลังสี RGB

ในบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ เราอธิบายว่าการแสดงผลแบบดิจิตอลมักจะแสดงบนอุปกรณ์ RGB แบบ 16 บิตที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง และสามารถแสดงสีจากสีสันต่างๆ ที่มีมากมายถึง 16.8 ล้านสี อย่างไรก็ดี ตาของคุณสามารถมองเห็นสีที่หลากหลายกว่าสีที่แสดงในปริภูมิสี sRGB บนจอภาพ อย่างไรก็ดี เพื่อที่จะแสดงสีสันได้สอดคล้องกับการแสดงผลแบบดิจิตอล sRGB นับล้านๆ สี และการแชร์ภาพทางออนไลน์ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้มาตรฐาน sRGB กันมาก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแสดงสีที่จะเกิดขึ้นเมื่อทำการแปลงปริภูมิสีหนึ่งไปเป็นอีกสีหนึ่ง

มาตรฐานหรือปริภูมิสี sRGB ที่ใช้กันโดยทั่วไปนี้เป็นระบบที่ช่วยให้การแสดงผลแบบดิจิตอลเข้าใจข้อมูลภาพที่จัดเก็บไว้ในการ์ด SD ของกล้องดิจิตอลได้

 

เลือกใช้ระหว่างปริภูมิสี sRGB กับ Adobe RGB

หากคุณใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ในการพิมพ์ภาพถ่ายคุณภาพสูง ซึ่งให้ความสำคัญสูงสุดกับความถูกต้องของสี ผมขอแนะนำให้ตั้งค่าปริภูมิในกล้องเป็น Adobe RGB ผ่านระบบเมนูของกล้อง Adobe RGB คือปริภูมิสีที่เหมาะแก่การถ่ายภาพสำหรับนำไปพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ เนื่องจากมีช่วงสีที่กว้างกว่าอย่างเห็นได้ชัด คือมากกว่า sRGB ประมาณ 35%

ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้เน้นความสำคัญของการถ่ายภาพในรูปแบบไฟล์ RAW ของผู้ผลิตกล้อง เนื่องจากจะช่วยรักษาข้อมูลทั้งหมดที่เซนเซอร์กล้องบันทึกไว้ การผสมผสานระหว่างการถ่ายภาพโดยใช้ปริภูมิสี Adobe RGB กับไฟล์รูปแบบ RAW ช่วยให้สามารถจัดการข้อมูลภาพในกล้องได้โดยไม่สูญเสียข้อมูลไป และทำให้เครื่องพิมพ์ระดับมืออาชีพ เช่น Canon imagePROGRAF PRO-500 ถ่ายทอดสีสันได้ดียิ่งขึ้นและสร้างโทนสีเทาได้เรียบเนียนยิ่งขึ้น

 

ปริภูมิสี CMYK คืออะไร

ปริภูมิสีที่ใช้ในงานพิมพ์ใช้ระบบจำลองสีและสีที่เป็นส่วนประกอบแตกต่างออกไป ดังนั้น จึงมีปริภูมิสีที่ต่างออกไปด้วย

เครื่องพิมพ์สีรุ่นเริ่มต้นใช้งานมักใช้หมึกผสมกัน 4 สี อันได้แก่ น้ำเงินเขียว (Cyan) ม่วงแดง (Magenta) เหลือง (Yellow) และดำ (Black) เพื่อสร้างสีขั้นที่ 2 หลากหลายสีบนกระดาษ แต่ละสีสามารถปรับความเข้มได้ตั้งแต่ศูนย์ถึงหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น สีแดงสดอาจประกอบด้วยสีน้ำเงินเขียว 2%, สีม่วงแดง 93%, สีเหลือง 90% และสีดำ 0%

เครื่องพิมพ์ภาพถ่ายแบบวิจิตรศิลป์อย่างเช่น รุ่น Canon imagePROGRAF PRO-500 ใช้ระบบหมึก 12 สีซึ่งมีหมึกสีเดียว 4 สี สีสันที่ได้จึงหลากหลายเหนือกว่าเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทแบบธรรมดา และจะแสดงสีของฉากที่คุณถ่ายได้อย่างแม่นยำ

 

การนำปริภูมิสี RGB และ CMYK มาใช้งานร่วมกัน

ภาพรุ้งกินน้ำดูยอดเยี่ยม เมื่อถ่ายด้วยกล้อง DSLR และเปิดดูจากจอภาพดิจิตอล แต่เมื่อถ่ายทอดด้วยปริภูมิสี RGB และพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์ที่ใช้กระบวนการพิมพ์ CMYK สีสันของรุ้งกินน้ำอาจไม่ถูกต้องแม่นยำเท่าใดนัก นั่นเป็นเพราะว่าสีที่ถ่ายทอดออกมาจากรุ้งกินน้ำของจริงนั้นอยู่นอกช่วงหรือขอบเขตของระบบสี CMYK

ในทำนองเดียวกัน จอภาพดิจิตอลสามารถแสดงสีสันได้ เช่น โทนสีส้ม แต่เครื่องพิมพ์ระบบ CMYK จะถ่ายทอดออกมาได้ยาก

แผนภาพจำลองด้านล่างนี้แสดงความแตกต่างระหว่างช่วงสีที่แสดงโดยปริภูมิสี sRGB, Adobe RGB และ CMYK

 

ดังนั้น เราจะมีวิธีใดบ้างที่จะลดช่องว่างระหว่างปริภูมิสีเหล่านี้ในระหว่างขั้นตอนการพิมพ์สี วิธีง่ายๆ ก็คือ การใช้มาตรฐานคำอธิบายสีอิสระที่เรียกว่า ปริภูมิสีของ CIE

ปริภูมิสีของ CIE จะแสดงสีที่ตามนุษย์สามารถรับรู้ได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น วิธีที่ตารับรู้สีคราม (indigo) หรือสีแดงม่วงเข้มอมน้ำตาล (maroon) สามารถอ้างอิงทางคณิตศาสตร์ได้ในปริภูมิสีของ CIE ค่า CIE สำหรับสีครามและสีแดงม่วงเข้มอมน้ำตาลคือ วิธีระบุสีที่ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้สี RGB และ CMYK สามารถอ้างอิงได้ การอธิบายสีในทางคณิตศาสตร์ในแบบที่ตาของเรามองเห็นนั้น ทำให้กระบวนการแปลงสีจากอุปกรณ์ที่ใช้สี RGB (เช่น กล้อง DSLR) เป็นอุปกรณ์สี CMYK (เช่น เครื่องพิมพ์) เชื่อถือได้และสม่ำเสมอยิ่งขึ้น

ในบทความต่อไป เราจะมาดูวิธีใช้โปรไฟล์สีเพื่อการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา