ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์ - ตอนที่ 4: แสงส่งผลต่อสีสันอย่างไร

2017-07-20
1
3.12 k
ในบทความนี้:

ในส่วนของซีรีย์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพิมพ์ภาพแบบวิจิตรศิลป์นี้ เราจะเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแสงที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการประเมินสีของหน้าจอและการพิมพ์ภาพได้อย่างถูกต้อง

แสงส่งผลต่อสีสันอย่างไร

 

ความสำคัญของแสงสว่างโดยรอบที่มีการควบคุม

การประเมินและการตีความสีของเราขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดแสงที่เราใช้เป็นอย่างมาก ในสภาพแวดล้อมที่เรากำหนดอาจมีแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ มากมาย ซึ่งแต่ละแหล่งจะมีลักษณะของสีเฉพาะตัวที่ต่างกันออกไป ลองนึกภาพห้องที่สว่างไสวด้วยแสงจากหน้าต่างและหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ การรับรู้สีของคุณอาจต่างออกไปอย่างชัดเจน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่คุณวางหน้าจอหรืองานพิมพ์ เช่น ถัดจากหน้าต่างหรือภายใต้แสงไฟฟลูออเรสเซนต์ นี่เป็นเพราะความแตกต่างของอุณหภูมิสีระหว่างแสงโทนอุ่นกับแสงโทนเย็น ซึ่งเปลี่ยนการรับรู้สีของเรา

อุณหภูมิสี: โทนเย็น

โทนเย็น

อุณหภูมิสี: โทนอุ่น

โทนอุ่น

 

อุณหภูมิสีคืออะไร

อุณหภูมิสีคือวิธีการอธิบายลักษณะสีที่มาจากแสง แสงอาจเป็นโทนสีอุ่น (โทนสีเหลือง) หรือเย็น (โทนสีฟ้า) และมีหน่วยวัดระดับเป็นเคลวิน (K) ระบบการวัดอุณหภูมิสีเป็นเคลวินนี้จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสีที่มาจากแสงของวัตถุสีดำขณะเปล่งแสงออกมา เช่น ไส้หลอดไฟที่ร้อนขึ้น เมื่อไส้หลอดร้อนขึ้นจะเปล่งสีสัน และแปรเปลี่ยนจากสีแดงเข้มไปเป็นสีส้ม สีเหลือง และสีขาวในท้ายที่สุด แหล่งกำเนิดแสงที่เปล่งแสงสว่างในลักษณะนี้เราเรียกว่า "วัตถุที่ให้ความร้อนแบบหลอดไส้" ซึ่งจะแผ่พลังงานแสงในทุกความยาวคลื่นของสเปกตรัม และแสดงสีทุกสีในฉากเท่าๆ กัน

 

แถบสี

 

ดัชนีการเปล่งสีคืออะไร

ดัชนีการเปล่งสี (CRI) จะจัดอันดับความสามารถของแหล่งกำเนิดแสงเพื่อระบุสี และวัดที่ค่าตั้งแต่ 1 - 100 ในการวัดนี้ หากสีมีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่าเป็นแสงที่มีความยาวคลื่นเดียว และหากค่าเท่ากับ 100 แสดงว่าเป็นแสงแดดตามธรรมชาติ ระบบการวัดนี้จะทำการวัดคุณภาพแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสง ดังนั้น หลอดโซเดียมตามถนนจึงให้แสงปริมาณมาก แม้ว่า CRI จะต่ำก็ตาม (ประมาณ 40) เนื่องจากไม่สามารถแสดงสีของวัตถุที่แสงส่องกระทบได้อย่างถูกต้อง ในทางตรงกันข้าม ค่า CRI ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ดีอาจสูงกว่า 95 นั่นหมายความว่าหลอดไฟชนิดนี้สามารถปล่อยแสงที่มีคุณภาพและถ่ายทอดสีได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้ ค่าดัชนี CRI ยังเรียกว่าค่า Ra หรือ CIE Ra ได้อีกด้วย ต่อไปนี้คือชื่อตามมาตรฐานสากลของค่า CRI

CRI=51

CRI=51

CRI=80

CRI=80

CRI=90

CRI=90

 

การควบคุมแสงสว่างโดยรอบ

เมื่อเรามีความรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิสีและดัชนีการเปล่งสีแล้ว ตอนนี้เราจะมาเลือกแหล่งกำเนิดแสงที่ทำให้สภาพแวดล้อมมีแสงสว่างโดยรอบที่ดีที่สุดสำหรับการพิมพ์ภาพกัน

 

การขจัดแสงแดดออกจากห้องของคุณ

อุณหภูมิสีของแสงธรรมชาติที่มาจากหน้าต่างจะเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างวัน ซึ่งอาจมีตั้งแต่ 4000K ที่เป็นโทนสีอบอุ่นในช่วงพระอาทิตย์ตก/พระอาทิตย์ขึ้น ไปจนถึง 8000K ที่เป็นโทนสีเย็นในวันที่ฟ้ามืดครื้ม ดังนั้น คุณจึงควรทำงานที่เน้นสีสันเป็นพิเศษในห้องซึ่งไม่ได้รับอิทธิผลจากการเปลี่ยนแปลงของแสงแดด

 

ไฟบนเพดาน

สิ่งสำคัญคือควรตรวจดูให้แน่ใจว่าแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างที่สุดในห้อง เช่น ไฟบนเพดาน มีอุณหภูมิสีเท่ากับจอภาพของคุณ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5000K และมีค่า CRI ที่ 95 วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้อุณหภูมิสีเท่ากันคือ การใช้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ให้แสงครบช่วง เช่น PHILIPS TL 950 - T8 เนื่องจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดนี้มีอุณหภูมิสีที่ 5000k และมีค่า CRI สูงมากที่ 98 หลอดฟลูออเรสเซนต์หนึ่งคู่จะให้ความสว่างประมาณ 200 ลักซ์ในที่ทำงาน (จากความสูงเพดาน 2.5 เมตร) ซึ่งให้คุณภาพแสงที่ดีสำหรับใช้ตรวจสอบสีสันทั้งบนจอภาพและในงานพิมพ์ ลักซ์ คือ หน่วยที่ใช้วัดความสว่าง และมีความสว่างเท่ากับเทียนหนึ่งเล่มโดยประมาณ ดังนั้น 200 ลักซ์ จึงมีค่าเท่ากับกำลังความสว่างของเทียน 200 เล่ม

 

การปรับความสว่างของจอภาพ

ความสว่างของจอภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสีและการนำเสนอโทนสีที่ถูกต้องแม่นยำ ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังมองภาพทิวทัศน์ที่มีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของก้อนเมฆทั้งในส่วนสว่างและส่วนที่เป็นเงา จอภาพที่มีแสงสลัวหรือสว่างจนเกินไปจะไม่สามารถแสดงช่วงที่มีโทนน้ำหนักกลางได้อย่างถูกต้อง จึงควรปรับตั้งค่าความสว่างของจอภาพที่เหมาะสมที่แกมมา 2.2 หากภาพที่แสดงดูมืดหรือสว่างเกินไป ให้ตรวจสอบค่าแกมมาที่แท็บการตั้งค่าการแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows หรือใต้ไอคอนการแสดงผลในส่วนปรับแต่งการใช้งานของคอมพิวเตอร์ Mac OS

 

ไฟตั้งโต๊ะ

เมื่อคุณนำภาพพิมพ์แบบวิจิตรศิลป์กับอุปกรณ์แสดงผลคอมพิวเตอร์ของคุณมาเปรียบเทียบข้างๆ กัน คุณจะต้องใช้ไฟตั้งโต๊ะที่สามารถให้แสงครบช่วงที่ 5000K ได้ ระดับความสว่างที่เหมาะสมสำหรับพื้นผิวของงานพิมพ์ควรอยู่ที่ประมาณ 650 ลักซ์ เพื่อให้ตรงกับความสว่างของจอคอมพิวเตอร์ ช่างภาพมืออาชีพบางคนใช้โคมไฟ เช่น Eizo Z80 Pro ในงานนี้ แต่มีอีกหลากหลายรุ่นให้เลือกใช้งานได้

 

สีของกำแพง

เมื่อคุณต้องแก้ไขโทนสีในงาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ห้องที่ทาสีบนกำแพงหรือติดวอลเปเปอร์ เพราะพื้นผิวขนาดใหญ่ที่มีสีสันเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการรับรู้สีสัน สีที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับกำแพงและพื้นผิวต่างๆ คือสีเทากลางๆ หากคุณกำลังใช้วอลเปเปอร์สีขาว โปรดเลือกชนิดที่ไม่มีสารเรืองแสง เพราะจะเป็นการเพิ่มสีในโทนเย็น ซึ่งทำให้มองเห็นสีที่ถูกต้องได้ยากขึ้น

 

แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดเมื่อคุณอยู่ในที่ทำงาน

1. จัดตำแหน่งที่ทำงานโดยให้ไฟบนเพดานอยู่ด้านหลังเก้าอี้ของคุณ เพื่อป้องกันไม่ให้แสงโดยตรงส่องเข้ามาที่ตาของคุณ วิธีนี้จะช่วยลดอาการสายตาล้าและเพิ่มความสามารถในการรับรู้สี

2. สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องลดแสงสะท้อนของแบ็คกราวด์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการรับรู้สีบนภาพที่แสดง เราสามารถขจัดแสงสะท้อนของแบ็คกราวด์ได้ง่ายๆ ด้วยการแขวนฉากหลังขนาดใหญ่ที่มีโทนสีเทาไว้ด้านหลังที่นั่งของคุณ

3. สวมเสื้อผ้าที่มีโทนสีกลางๆ เช่น เสื้อสีเทาหรือขาวนวล เมื่อทำงานกับภาพสี ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าที่มีโทนสีสว่าง เนื่องจากอาจทำให้เกิดแสงสะท้อนที่ไม่พึงประสงค์บนจอภาพของคุณ และยากที่จะประเมินสีได้แม่นยำ

4. หลีกเลี่ยงการใช้ภาพพื้นหลังที่สีสันต่างๆ สำหรับหน้าจอเดสก์ท็อปในคอมพิวเตอร์ เนื่องจากสีสันที่สดใสอาจทำให้การรับรู้สีผิดเพี้ยนไป วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ภาพพื้นหลังสีเทาสำหรับหน้าจอเดสก์ท็อปของคุณ

5. หลีกเลี่ยงการใส่วัตถุที่มีสีสว่าง เช่น ตุ๊กตาและของเล่น ไว้ในเส้นนำสายตาของคุณ เนื่องจากอาจส่งผลต่อการรับรู้สี

6. เพื่อลดผลกระทบจากแสงสว่างโดยรอบต่อความสามารถในการแสดงสีและโทนสีของจอภาพ เราแนะนำให้วางที่บังแสงไว้รอบจอภาพ ที่บังแสงควรลึกประมาณ 4 ถึง 6 ซม. เพื่อป้องกันแสงโดยรอบที่หักเหเข้ามาได้อย่างเพียงพอ

 

ในบทความต่อไป เราจะพูดคุยกันต่อเกี่ยวกับการรับรู้สีและการจัดการสี

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา