ไม่เพียงแค่แฟลชจะมีประโยชน์ต่อการถ่ายภาพยามค่ำคืนและการถ่ายภาพในร่มเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว เอฟเฟ็กต์นี้ยังใช้ได้ผลดีกับการถ่ายภาพกลางแจ้งหรือแม้แต่การถ่ายภาพมาโคร ในบทความนี้ ผมจะอธิบายวิธีการใช้แฟลชในรูปแบบต่างๆ ตามที่มืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพมาโคร (เรื่องโดย: Masayuki Kato)
ทำให้แบ็คกราวด์ที่คาดว่าจะดำมืดให้กลับดูสว่างขึ้น
สำหรับคนที่มักถ่ายภาพกลางแจ้งในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติอย่างผม แฟลชเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับใช้เป็นแหล่งแสงเทียม นอกจากการใช้แฟลชที่มีค่าไกด์นัมเบอร์น้อยๆ เมื่อถ่ายภาพต้นไม้หรือสัตว์ตัวเล็กๆ แล้ว ผมเคยใช้แฟลช 5 ถึง 6 ตัวในการถ่ายภาพยามค่ำคืนเพื่อทำให้ฉากดูเหมือนกับว่าเป็นการถ่ายภาพตอนกลางวัน ฟังก์ชั่นสเลฟเป็นสิ่งสำคัญมากในการถ่ายภาพลักษณะนี้ และถ้าหากคุณมีกล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ ก็จะสามารถถ่ายภาพที่งดงามได้ง่ายๆ โดยที่แบ็คกราวด์จะไม่ออกมาดำมืดไม่ว่าจะใช้แฟลชหรือไม่ก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว มักไม่ค่อยมีการใช้แฟลชในการถ่ายภาพมาโคร แต่ผมขอแนะนำให้ทดลองใช้
EOS 5D Mark II/ MP-E65mm f/2.8 1-5x Macro Photo/ Aperture-priority AE mode (f/2.8, 1/10 วินาที, EV+0.3)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ *แฟลชที่ใช้: Macro Twin Lite MT-24EX (EV-0.3)/ อัตราส่วนแฟลชบน(A)-ล่าง(B) : 1:2 (A:B)
มีหยดน้ำอยู่บนเกสรดอกแดนดิไลออน ผมจึงใช้ MP-E65mm f/2.8 1-5x Macro Photo ในการถ่ายภาพโดยใช้กำลังขยาย 5 เท่า การเพิ่มกำลังขยายจะทำให้ผมสามารถถ่ายภาพโลกที่ไม่เคยเห็นมาก่อนได้ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างด้านล่างที่ไม่ใช่แฟลช ในภาพนี้จะเห็นแสงสว่างในแบ็คกราวด์ได้อย่างชัดเจน
คำอธิบายในการตั้งค่า
ต้องเพิ่มกำลังขยายขึ้นอย่างมากเมื่อถ่ายภาพเกสรเล็กๆ เช่นนี้ ซึ่งอาจทำให้แบ็คกราวด์ดำมืดได้ ให้ใช้มือจับหัวแฟลช A ของ Macro Twin Lite จากด้านบนเพื่อให้แสงไม่ทอดเงาไปที่เกสรโดยตรง และใช้ขาตั้งกล้องตั้งหัวแฟลช B ให้ส่องแสงจากด้านล่างโดยให้แสงส่องไปทางแบ็คกราวด์
ไม่ใช่แฟลช
แฟลชที่ใช้ในตัวอย่าง
Macro Twin Lite MT-24EX
ค่าไกด์นัมเบอร์สูงสุด: 24 สำหรับหัวแฟลชทั้งสองตัว, 26 สำหรับหัวแฟลชตัวเดียว (ISO 100 ในหน่วยเมตร)/ แหล่งจ่ายไฟหลัก: แบตเตอรี่ AA 4 ก้อน/ ขนาด: หน่วยควบคุม 74×125.9×97.4 มม., แฟลช + แหวนคอลลาร์ 235×90.4×49 มม./ น้ำหนัก: ประมาณ 585 กรัม (ไม่รวมแบตเตอรี่)
Macro Twin Lite MT-24EX จะช่วยให้คุณถ่ายภาพที่มีเงาทอดบนตัวแบบได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยคุณสามารถเปลี่ยนตำแหน่ง มุม และความเข้มของแฟลชแต่ละตัวที่อยู่ด้านซ้ายและขวาได้
สิ่งสำคัญในการเลือกและการใช้แฟลช
จุดที่ 1
การเปลี่ยนอัตราส่วนแฟลชซ้าย:ขวาจะทำให้คุณสามารถปรับส่วนเงามืดได้ดียิ่งขึ้น
จุดที่ 2
ค่าไกด์นัมเบอร์น้อยๆ เหมาะสำหรับกับการถ่ายภาพมาโคร
จุดที่ 3
ซิงค์แฟลชหลายๆ ตัวด้วยฟังก์ชั่นสเลฟ
เกิดที่จังหวัดคานากาวะเมื่อปี 1952 ส่วนใหญ่เขาจะถ่ายภาพทิวทัศน์และสัตว์ในประเทศญี่ปุ่น เขามีผลงานถ่ายภาพธรรมชาติทั้งต่างประเทศและในญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้ถูกนำไปเผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น Mainichi Shimbun, Nihon Keizai Shimbun และ Kanagawa Shimbun นอกจากนี้ เขายังให้คำแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพในงานสัมมนาเกี่ยวกับกล้องดิจิตอลทั่วญี่ปุ่น Hayashi no Ichinen (ตีพิมพ์โดย Froebel-kan) เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อของเขา
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation