ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 เคล็ดลับในการค้นหาและถ่ายภาพลำแสงอาทิตย์

2024-01-23
0
170

การถ่ายภาพธรรมชาตินั้นไม่ได้มีแต่สัตว์ป่า พืชพรรณ หรือโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ที่น่าทึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะบ่อยครั้ง แสงเองก็เป็นตัวแบบในภาพถ่ายได้ เช่น เวลาที่เราเห็นลำแสงอาทิตย์นุ่มละมุนชวนฝันสาดส่องผ่านใบไม้หรือต้นไม้หนาทึบลงมา คำถามคือ เราจะหาแสงเช่นนี้ได้จากที่ไหน และถ่ายภาพให้ออกมาดูดีได้อย่างไร ช่างภาพทิวทัศน์ Jiro Tateno จะมาแบ่งปันเคล็ดลับส่วนหนึ่งในบทความนี้ (เรื่องโดย Jiro Tateno, Digital Camera Magazine)

EOS R5/ RF15-35mm f/2.8L IS USM/ FL: 24 มม. / Manual exposure (f/16, 1/4 วินาที)/ ISO 50/ WB: 4,900K
สถานที่: น้ำตกคาเมดะ ฟูโดะ เมืองยูริฮนโจ จังหวัดอากิตะ

น้ำตกแห่งนี้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการถ่ายลำแสงอาทิตย์ให้สวยขึ้นกล้อง เมื่อละอองน้ำความหนาแน่นสูงที่ลอยฟุ้งออกมาจากน้ำตกสูง 25 เมตร กระทบกับแสงแดดที่เล็ดลอดผ่านต้นไม้ด้านบนลงมา ลำแสงที่เห็นจึงดูราวกับแสงสว่างที่ส่องมาจากสรวงสวรรค์

ในบทความนี้:

 

1. สำรวจน้ำตก แม่น้ำ และสถานที่ที่มีหมอกปกคลุม

ลำแสงอาทิตย์จะปรากฏขึ้นเมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนจากอนุภาคต่างๆ ในอากาศ อนุภาคดังกล่าวนี้อาจเป็นฝุ่นละออง ทราย ควัน หรือความชื้น ดังนั้น แม่น้ำ น้ำตก และสถานที่อื่นๆ ที่ชื้นแฉะหรือมีหมอกปกคลุมจึงเป็นที่ที่ควรไปสำรวจ! หากไปเที่ยวชมแม่น้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ คุณจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะได้เห็นลำแสงอาทิตย์ในวันแดดจ้าหลังจากช่วงฝนตกชุกทันที เพราะมีความชื้นในอากาศมากขึ้น

และจะยิ่งดีขึ้นไปอีกหากสถานที่นั้นมีต้นไม้ห้อมล้อม เพราะลำแสงอาทิตย์ที่ตัดกับความมืดจะเห็นได้ชัดขึ้น นอกจากนี้ แสงสว่างที่ส่องผ่านต้นไม้และใบไม้จะดูสวยขึ้นกล้องเป็นพิเศษ

เคล็ดลับ: คุณจะต้องถ่ายภาพย้อนแสง ดังนั้น ให้ตั้งค่ากล้องตามความเหมาะสม ตรวจดูให้แน่ใจว่าเลนส์ของคุณสะอาดเพื่อลดแสงแฟลร์และเงาที่ไม่พึงประสงค์

เงื่อนไขเบื้องต้นที่จะทำให้ลำแสงอาทิตย์ดูสวยงาม

สถานที่
- ที่ที่มีหมอกหนาหรือหมอกเบาบางปกคลุม (ใกล้แหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำ!)
- น้ำตกหรือที่ที่มีละอองน้ำ
- ถ้าจะให้ดีที่สุด ควรมีต้นไม้ล้อมรอบ

ช่วงเวลา
- ในวันที่มีอากาศแจ่มใส (ลำแสงอาทิตย์จะปรากฏเป็นแสงย้อน)
- (สำหรับแม่น้ำ ฯลฯ) ในวันแดดจัดหลังฝนตก
- ช่วงเวลาของปีที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิครั้งใหญ่

 

2. ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ: 1/4 วินาทีหรือช้ากว่านั้น

EOS R5/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 74 มม. / Manual exposure (f/8, 1/4 วินาที)/ ISO 500/ WB: 4,900K

หมอกเบาบาง หมอกหนา และละอองจากน้ำตกจะเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา หากความเร็วชัตเตอร์ของคุณสูงเกินไป ลำแสงอาทิตย์จะดูบางลง ไม่สม่ำเสมอ หรือเห็นรูปทรงไม่ชัดนัก เพราะมีเวลาไม่มากพอให้อนุภาคน้ำกระทบกับแสง ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ผมขอแนะนำให้เริ่มต้นที่ 1/4 วินาทีแล้วปรับจากจุดนั้น

เคล็ดลับ: อย่าลืมพกฟิลเตอร์ ND ติดตัวไปด้วย เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่าจะต้องใช้สำหรับการเปิดรับแสงนานๆ เมื่อใด!

 

3. ยิ่งมีละอองจากน้ำตกมาก ลำแสงอาทิตย์จะยิ่งหนาแน่นมาก

ภาพเสีย

EOS R5/ RF15-35mm f/2.8L IS USM/ FL: 29 มม. / Manual exposure (f/11, 1/4 วินาที)/ ISO 100/ WB: 4,900K

ลองมองหาส่วนต่างๆ ของน้ำตกที่มีละอองน้ำหนาแน่นกว่าเดิม หากมีไอน้ำมากขึ้นในอากาศ อนุภาคที่สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ก็จะมีมากขึ้น ซึ่งทำให้ลำแสงอาทิตย์หนาแน่นยิ่งขึ้น ในภาพด้านบน คุณแทบจะมองไม่เห็นลำแสงอาทิตย์ในบริเวณน้ำตกเลย นั่นเป็นเพราะไม่มีละอองน้ำมากนัก

แต่อย่าเพิ่งถอดใจกับน้ำตกที่โปรดของคุณ แม้ดูเหมือนว่าน้ำจะไหลไม่ค่อยแรง เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังฝนตกหนัก!


หาคำตอบว่าร่มสีดำจะช่วยเรื่องภาพถ่ายลำแสงอาทิตย์ได้อย่างไรใน
2 สิ่งในชีวิตประจำวันที่สามารถเปลี่ยนโฉมภาพถ่ายของคุณ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 
ปรับแต่งภาพถ่ายใน 3 นาที: แสงอาทิตย์ที่น้ำตก

ดูเคล็ดลับเพิ่มเติมสำหรับการถ่ายและปรับแต่งภาพธรรมชาติให้ดูงดงามชวนฝันได้ที่
สีสันของทิวทัศน์: ความสวยงามที่ละเอียดอ่อนของน้ำตกสีน้ำเงินขาว
เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่ทำให้หมอกสวยงามเตะตา
การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพแม่น้ำและลำธารในม่านหมอก

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Jiro Tateno

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1975 ตั้งแต่ราวปี 1990 เขาสัมผัสธรรมชาติผ่านทางการตกปลา และเริ่มถ่ายภาพ เขาเดินทางถ่ายภาพไปทั่วประเทศในหัวข้อ "ความงดงามของธรรมชาติ” ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา ปัจจุบัน เขาเป็นผู้จัดส่งภาพถ่ายเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร หนังสือ โปสเตอร์ ปฏิทิน และอื่นๆ อีกมากมาย เขาจัดงานนิทรรศการภาพถ่าย "Okinawa" ขึ้นในปี 2010 และจัดนิทรรศการภาพถ่าย "Northern Lights - Journey of Light/ Iceland" ในปี 2017

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา