ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

สีสันของทิวทัศน์: ความสวยงามที่ละเอียดอ่อนของน้ำตกสีน้ำเงินขาว

2021-11-30
2
666
ในบทความนี้:

น้ำตกทำให้คุณรู้สึกอย่างไร เมื่อคุณเห็นน้ำตก คุณตั้งใจจะถ่ายอะไร สำหรับช่างภาพคนหนึ่ง คำตอบคือแนวคิด yūgen ซึ่งเป็นสุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่นที่หมายถึงความสวยงามที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง และลึกลับ เขาจะมาแบ่งปันวิธีถ่ายทอดแนวคิดนี้ด้วยการสร้างสรรค์ภาพที่เต็มไปด้วยโทนสีน้ำเงินและสีขาว โดยใช้เพียงเทคนิคความเร็วชัตเตอร์ต่ำและการปรับแต่งขั้นพื้นฐานในกระบวนการปรับแต่งภาพเท่านั้น (เรื่องโดย: Yoshio Shinkai, Digital Camera Magazine)

บทความต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความต่อเนื่องที่ช่างภาพทิวทัศน์จะมาแบ่งปันวิธีที่พวกเขาจัดการและจัดองค์ประกอบฉาก ถ่ายภาพ และปรับแต่งภาพเพื่อถ่ายทอดความสวยงามของสีสันในฉาก

EOS 5DS R/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 47 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 10 วินาที)/ ISO 100/ WB: หลอดไฟทังสเตน
สถานที่: น้ำตกนะเอะบะ จังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น

 

แรงบันดาลใจเบื้องหลังภาพนี้

ยิ่งน้ำตกที่ไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ มีสีขาวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดูมีพลังมากเท่านั้น และความโดดเด่นเช่นนี้จะยิ่งดูน่าประทับใจมากขึ้นไปอีกเมื่อได้เห็นในระยะใกล้ คุณจะเห็นหยดน้ำสีขาวส่องประกายระยิบระยับจากแอ่งน้ำตก แล้วแตกกระเซ็นกลายเป็นหมอกสีขาวนวล เพิ่มความงามสง่าอันน่าพิศวงให้กับฉากนี้

เมื่อถ่ายภาพและปรับแต่งเพื่อแสดงสีที่สมจริงแล้ว คุณจะไม่รู้สึกถึงบรรยากาศที่เกิดจากหมอกเลย นั่นเป็นเพราะว่าสีที่สมจริงอาจทำให้ยากขึ้นที่จะไล่เฉดสีอ่อนเพื่อให้หมอกดูแตกต่างไม่เหมือนใคร

ผมต้องการให้ภาพผลลัพธ์สุดท้ายชวนให้นึกถึงความงามของเทคนิคโบกาชิ (การพิมพ์แบบไล่ระดับสี) ในงานศิลปะญี่ปุ่น และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ผมจึงถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานเพื่อจับภาพกระแสน้ำของน้ำตกให้เป็นสายน้ำที่ดูนุ่มนวลดุจแพรไหม และเพิ่มโทนสีน้ำเงินเพื่อเน้นบรรยากาศที่เกิดจากน้ำ ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพ yūgen ซึ่งสื่อถึงความงดงามที่ละเอียดอ่อน ลึกลับ สง่า และลึกซึ้ง

 

ขั้นตอนที่ 1: ถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อสร้างพื้นฐาน

น้ำตกอาจดูน่าประทับใจ แต่อารมณ์และความรู้สึกที่ถ่ายทอดผ่านภาพถ่ายนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณตัดสินใจถ่ายภาพอย่างไร


1/1500 วินาที

การใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อหยุดการไหลของน้ำจะเน้นให้เห็นถึงพลังของน้ำตก แต่ภาพจะดูเงียบสงบน้อยลง


10 วินาที

ผมเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ 10 วินาทีเพื่อทำให้น้ำตกและม่านหมอกดูนุ่มนวลขึ้น


เคล็ดลับระดับมือโปร: หลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนเพราะจะส่งผลต่อขั้นตอนต่อไปของคุณ

ผมใช้ความระมัดระวังมากเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแสงสว่างโพลนในน้ำ ในขั้นตอนต่อไป เราจะ “เพิ่ม” สีให้กับน้ำตกโดยใช้การปรับแต่งสีขั้นพื้นฐาน ซึ่งสีนี้จะไม่ติดในบริเวณที่มีแสงสว่างโพลน

ดูเคล็ดลับและไอเดียในการถ่ายภาพน้ำตกเพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพน้ำตก: ควรหยุดการเคลื่อนไหวหรือเบลอภาพดีกว่ากัน
การออกแบบและจัดองค์ประกอบภาพถ่ายน้ำตก: การกำหนดภาพ

 

ขั้นตอนที่ 2: ในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ ให้เพิ่มโทนสีน้ำเงินเข้าไป

ผมปรับแต่งภาพใน Adobe Lightroom Classic แต่ซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพใดก็ตามที่ช่วยให้คุณสามารถปรับอุณหภูมิสี เฉดสี และโทนสีได้นั้นถือว่าใช้ได้

เพื่อเน้นบรรยากาศที่ผมจินตนาการไว้ โทนสีของน้ำตกและหินบริเวณรอบๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และต่อไปนี้คือการปรับแต่งที่ผมทำ


1. ปรับค่าโปรไฟล์กล้องและ WB ให้เป็นค่าที่ช่วยเพิ่มสีน้ำเงิน

ผมเลือกโปรไฟล์ “Camera Landscape” ซึ่งสัมพันธ์กับโปรไฟล์ รูปแบบภาพ (ทิวทัศน์) ในกล้อง Canon และช่วยเน้นโทนสีน้ำเงินในภาพ จากนั้น ผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น “หลอดไฟทังสเตน” ซึ่งช่วยเพิ่มสีน้ำเงินให้กับภาพ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณทำได้ด้วยการลองเล่นกับสมดุลแสงขาวและรูปแบบภาพในบทความ:
วิธีการแสดงสีด้วยฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว
3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ


2. ลดสีขาวและไฮไลต์

การปรับแต่งสำคัญขั้นต่อไปที่ผมทำคือ ลดสีขาวและไฮไลต์ลง เนื่องจากโทนสีน้ำเงินที่คุณ “เพิ่ม” จะไม่ปรากฏขึ้นในบริเวณที่มีแสงสว่างโพลน


3. ใช้การปรับแต่งอื่นๆ ตามความจำเป็น

สำหรับขั้นตอนสุดท้าย ผมปรับความเปรียบต่าง การเปิดรับแสง ไฮไลต์ และส่วนที่มืดจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งการปรับแต่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับภาพและความชอบส่วนตัวของคุณ และเท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย!

 

ก่อน

หลัง


หากคุณอยากใช้เวลาถ่ายภาพมากขึ้นและใช้เวลาปรับแต่งภาพให้น้อยลง ลองหาแรงบันดาลใจจากภาพเหล่านี้ ซึ่งสามารถทำได้โดยอาศัยเพียงการตัดสินใจถ่ายภาพอย่างมีเป้าหมายและการปรับแต่งในกระบวนการปรับแต่งภาพขั้นพื้นฐาน:
ฉันถ่ายภาพอย่างไรให้เฉียบ: นกสีเขียวตัวน้อยท่ามกลางโบเก้สีชมพูสวยงาม
ท้องฟ้าสีครามอมทองตระการตายามอาทิตย์อัสดง: การประมวลผลในตัวกล้องและการปรับแต่งภาพ
การประมวลผลภาพ RAW: วิธีขับเน้นโทนสีน้ำเงินในภาพถ่ายช่วง Blue Hour

หากคุณเพิ่งหัดปรับแต่งภาพ ซอฟต์แวร์ฟรี Digital Photo Professional จาก Canon ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการปรับแต่งขั้นพื้นฐานเช่นนี้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
5 การปรับค่าสำคัญที่ควรทำด้วย Digital Photo Professional

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ
สีสันของทิวทัศน์: การจัดองค์ประกอบภาพท้องทะเลสีชมพูม่วงสุดโรแมนติก

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yoshio Shinkai

Shinkai เกิดในจังหวัดนากาโน่ เมื่อปี 1953 เขาเริ่มต้นเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับกล้องขนาดใหญ่เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในปี 1979 ปัจจุบัน เขาถ่ายภาพให้กับสื่อหลากหลายประเภท ตั้งแต่โปสเตอร์และปฏิทินไปจนถึงแผ่นพับด้านการท่องเที่ยวและนิตยสารถ่ายภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา