ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ท้องฟ้าสีครามอมทองตระการตายามอาทิตย์อัสดง: การประมวลผลในตัวกล้องและการปรับแต่งภาพ

2020-06-22
1
2.55 k
ในบทความนี้:

การตัดสินใจที่ดีตั้งแต่ในกล้องช่วยให้คุณได้ภาพถ่ายที่สวยงาม ส่วนการปรับแต่งภาพที่ดีสามารถยกระดับการสื่ออารมณ์ของภาพที่สวยงามภาพนั้นให้กลายเป็นผลงานชิ้นเอกได้ ในบทความนี้ ช่างภาพทิวทัศน์รายหนึ่งจะมาอธิบายการตัดสินใจหลักๆ ที่ทำให้ได้ภาพอันน่าทึ่งนี้ ตั้งแต่การจัดองค์ประกอบภาพไปจนถึงการเลือกใช้ฟิลเตอร์ และสุดท้ายคือ การปรับปรุงภาพด้วยกระบวนการปรับแต่งเพื่อให้ออกมาดูดีที่สุด (เรื่องโดย: Jiro Tateno, Digital Camera Magazine)

พระอาทิตย์ตกดินสีน้ำเงินอมทองที่มีเงาสะท้อนบนผิวน้ำ

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 19 มม./ Manual exposure (f/14, 1 วินาที)/ ISO 100/ WB: 4,800K/ ฟิลเตอร์ GND
สถานที่: อ่าวนางุระ เกาะอิชิงากิ (ฉบับภาษาอังกฤษ) จังหวะโอกินาวา/ เวลา: 18:59 น. ต้นเดือนมิถุนายน

อ่าวนางุระซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายภาพนี้มีน้ำที่ตื้นมาก เนื่องจากอ่าวเว้าเข้ามาในแผ่นดิน น้ำจึงมีความสงบนิ่งกว่าในทะเลเปิดมาก โดยปกติแล้วจะไม่มีคลื่นเลยหากสภาพอากาศไม่ย่ำแย่จริงๆ

ภาพนี้ถ่ายหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปเพียงเล็กน้อย ก้อนเมฆที่ยังคงอยู่บนท้องฟ้าสว่างเรืองรองด้วยแสงอาทิตย์ที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เกิดเป็นการไล่ระดับสีน้ำเงินอมส้มที่งดงาม

 

ขั้นตอนที่ 1: เลือกการจัดองค์ประกอบภาพที่ดีที่สุดสำหรับการแสดงสีสัน

สำหรับภาพนี้: รวมเงาสะท้อนบนผิวน้ำไว้ในภาพ และใช้การจัดองค์ประกอบแบบใช้คู่สีตรงข้าม

ผมรู้สึกว่าการจะแสดงให้เห็นถึงความงดงามของท้องฟ้าให้ได้ดีที่สุดนั้น จะต้องถ่ายภาพออกมาในรูปแบบสมมาตรโดยให้มีเงาสะท้อนบนผิวน้ำอยู่ด้วย การจัดองค์ประกอบภาพแบบใช้สีคู่ตรงข้าม เหมาะที่จะใช้กับภาพนี้มากที่สุด

เพื่อให้แน่ใจว่าภาพของผมจะมีปริมาณเงาสะท้อนของท้องฟ้าในส่วนที่มีสีสันสวยงามบนผิวน้ำเท่าๆ กันกับตัวท้องฟ้าเอง ผมจึงถ่ายภาพนี้จากมุมสูง


หากผมใช้กฎสามส่วน

ท้องทะเลสีน้ำเงิน พร้อมด้วยพระจันทร์และอาทิตย์อัสดงสีแดงเล็กน้อย

องค์ประกอบภาพที่แตกต่างกันสามารถเปลี่ยนแปลงเรื่องราวที่ภาพจะสื่อได้ ผมถ่ายภาพด้านบนภายใต้สภาวะเช่นเดียวกันกับภาพหลักในบทความนี้เกือบทุกอย่าง ความแตกต่างเพียงประการเดียวคือ ผมจัดเฟรมภาพนี้โดยใช้กฎสามส่วน และรวมเอาพระจันทร์ พระอาทิตย์ตก และท้องทะเลเข้ามาในภาพด้วย ด้วยการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ภาพใหม่จึงกำลังบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของช่วงเวลาจากยามเย็นเป็นกลางคืน

 

ขั้นตอนที่ 2: ใช้ฟิลเตอร์ Graduated ND เพื่อปรับความแตกต่างของความสว่างให้เสมอกัน

สำหรับภาพนี้: ใช้ฟิลเตอร์ ND4 ซึ่งช่วยลดส่วนที่สว่างในฉากลงได้ 2 สต็อป

เมื่อผมถ่ายภาพนี้ในเวลาใกล้ค่ำ ท้องฟ้าและทะเลก็เกือบมีความสว่างที่เท่ากันแล้ว แต่ท้องฟ้ายังคงสว่างกว่าเล็กน้อย

ฟิลเตอร์ Graduated ND (ฟิลเตอร์ GND) เหมาะสำหรับการปรับให้ความสว่างที่แตกต่างกันเล็กน้อยดูเสมอกันมากขึ้นได้ แน่นอนว่าผมสามารถแก้ไขจุดนี้ได้ในกระบวนการปรับแต่งภาพ แต่ผมชอบการที่สามารถตรวจดูภาพที่ได้ทันทีเลยมากกว่า

สำหรับภาพนี้ ผมใช้ฟิลเตอร์ ND4 โดยใส่ลงไปให้ส่วนที่มืดของฟิลเตอร์ครอบคลุมภาพขึ้นไปจากส่วนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้าลงมาเล็กน้อย


ภาพตัวอย่างที่ “ไม่ใช้ฟิลเตอร์” เปิดรับแสงสำหรับเงาสะท้อนของพระอาทิตย์ตก ท้องฟ้าดูสว่างเกินไป และความเปรียบต่างของสีสันก็ดูไม่ชัดเจน ส่วนที่สว่างที่สุดในภาพกลายเป็นแสงสว่างโพลน

ภาพ GIF ด้านล่างแสดงให้เห็นว่าการใช้ฟิลเตอร์ GND สามารถรักษารายละเอียดของท้องฟ้าไว้ได้มากขึ้นและเพิ่มความเปรียบต่างสีได้อย่างไร

ดูอีกตัวอย่างสำหรับการใช้ฟิลเตอร์ GND ได้ที่บทความ:
6 คุณสมบัติของกล้อง EOS R ที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพภูเขาและก้อนเมฆ

 

ขั้นตอนที่ 3: เสริมการไล่ระดับสีให้งดงามยิ่งขึ้นในกระบวนการปรับแต่งภาพ RAW

ขั้นตอนสุดท้ายของผมคือการเก็บรายละเอียดของภาพในกระบวนการปรับแต่งภาพ เพื่อให้การไล่สีของท้องฟ้าและผิวน้ำดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น


กระบวนการปรับแต่งภาพขั้นตอนที่ 1: ปรับความสว่างให้สม่ำเสมอยิ่งขึ้นด้วยฟิลเตอร์ไล่ระดับ

แม้ผมจะปรับลดความสว่างของท้องฟ้าลงด้วยฟิลเตอร์ GND แล้ว แต่ท้องฟ้าก็ยังคงสว่างกว่าที่ต้องการ คุณสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้หากพอใจกับภาพที่ได้จากฟิลเตอร์ GND แล้ว

ผมใช้เครื่องมือฟิลเตอร์ไล่ระดับในจุดที่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้าเล็กน้อย (ในจุดที่เงาสะท้อนบนผิวน้ำมีความสว่างมากที่สุด) และลดความสว่างลงจนกระทั่งเท่ากับผิวน้ำในส่วนอื่นๆ จากนั้นจึงเพิ่มความเปรียบต่างจนกระทั่งเห็นรายละเอียดต่างๆ ได้ชัดเจนพอ

ภาพแสดงให้เห็นว่าใช้ฟิลเตอร์ไล่ระดับที่จุดใด

การใช้เครื่องมือฟิลเตอร์ไล่ระดับและการปรับความสว่างไปที่ “-0.15” และความเปรียบต่างไปที่ “+18” นั้น ช่วยปรับสมดุลความสว่างระหว่างท้องฟ้ากับทะเลในภาพนี้


กระบวนการปรับแต่งภาพขั้นตอนที่ 2: ใช้เครื่องมือฟิลเตอร์วงกลมเพื่อดึงความสนใจไปยังสีสันของพระอาทิตย์ตก

ในขั้นตอนถัดมา ผมใช้เครื่องมือฟิลเตอร์วงกลมเพื่อเลือกพื้นที่ในภาพที่มีอาทิตย์อัสดงสีสันสวยงาม จากนั้นจึงลดความสว่างในพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งเป็นการดึงเส้นนำสายตาของผู้ชมไปยังกึ่งกลางภาพ ทำให้สีที่ไล่ระดับกันของพระอาทิตย์ตกดูน่าประทับใจมากขึ้นอีก

ภาพแสดงให้เห็นว่าใช้ฟิลเตอร์วงกลมในตำแหน่งใด

เพื่อให้การไล่ระดับสีดูสวยงามมากขึ้นและดึงความสนใจของผู้ชมไปยังกึ่งกลางภาพ ผมจึงใช้ฟิลเตอร์วงกลมเพื่อเลือกพื้นที่ดังแสดงและลดความสว่างลง ค่าที่ใช้ในภาพนี้คือ “-0.20”


---

ศึกษาบทเรียนอื่นเกี่ยวกับการถ่ายภาพเงาสะท้อนบนผิวน้ำของท้องฟ้าและพระอาทิตย์ตก พร้อมทั้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพเงาสะท้อนได้ที่:
ภาพสะท้อน: ท้องทะเลไกลสุดสายตาในยามอาทิตย์อัสดง

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
การประมวลผลภาพ RAW: วิธีขับเน้นโทนสีน้ำเงินในภาพถ่ายช่วง Blue Hour
การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Jiro Tateno

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1975 ตั้งแต่ราวปี 1990 เขาสัมผัสธรรมชาติผ่านทางการตกปลา และเริ่มถ่ายภาพ เขาเดินทางถ่ายภาพไปทั่วประเทศในหัวข้อ "ความงดงามของธรรมชาติ” ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา ปัจจุบัน เขาเป็นผู้จัดส่งภาพถ่ายเพื่อเผยแพร่ในนิตยสาร หนังสือ โปสเตอร์ ปฏิทิน และอื่นๆ อีกมากมาย เขาจัดงานนิทรรศการภาพถ่าย "Okinawa" ขึ้นในปี 2010 และจัดนิทรรศการภาพถ่าย "Northern Lights - Journey of Light/ Iceland" ในปี 2017

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา