ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพสะท้อน: ท้องทะเลไกลสุดสายตาในยามอาทิตย์อัสดง

2020-03-18
4
2.13 k
ในบทความนี้:

Minefuyu Yamashita ช่างภาพทิวทัศน์ท้องทะเลได้พบกับโอกาสอันสมบูรณ์แบบสำหรับการถ่ายภาพสะท้อนในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีทองของเย็นวันหนึ่ง เมื่อน้ำลงและมีเมฆก้อนใหญ่ประดับประดาอยู่เต็มท้องฟ้า เขาจะมาเล่าเรื่องราวและการตัดสินใจที่อยู่เบื้องหลังภาพนี้ให้เราฟัง (เรื่องโดย Minefuyu Yamashita, Digital Camera Magazine)

ทิวทัศน์ท้องทะเลที่มีเงาสะท้อนในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีทอง

EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/250 วินาที, EV -0.3)/ ISO 250/ WB: แสงในร่ม 
ฤดู: ฤดูร้อน/ ช่วงเวลาของวัน: ตอนเย็น
สถานที่: อ่าวนางุระ เกาะอิชิงากิ โอกินาวา

 

การตัดสินใจที่สำคัญในการถ่ายภาพ 

- มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ 16 มม.: เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ
- การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร: เพื่อให้รู้สึกถึงความกว้างใหญ่
- คอยสังเกตกระแสน้ำในยามเย็นให้ดี: เพื่อน้ำที่นิ่งขึ้นและภาพสะท้อนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

(คลิกที่ลิงก์เพื่อดูรายละเอียดการตัดสินใจในแต่ละข้อ เลื่อนลงไปท้ายสุดเพื่อดูเคล็ดลับพิเศษ!)

การตั้งค่าอื่นๆ: 

- สมดุลแสงขาว: ‘แสงในร่ม’ เพื่อให้สีสันของพระอาทิตย์ตกเด่นชัดขึ้น

 

มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ 16 มม.: เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ

27 มม.: ก้อนเมฆดูใหญ่ขึ้นแต่ไม่กว้างขวางเท่าใดนัก

ภาพสะท้อนของท้องทะเลที่ 27 มม.

การถ่ายภาพด้วยมุมแคบลงเล็กน้อยที่ 27 มม. ทำให้ก้อนเมฆทั้งในท้องฟ้าและเงาสะท้อนดูใหญ่ขึ้นและเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนขึ้น การดึงเอาความสนใจไปยังองค์ประกอบเดียวเช่นนี้จะได้ผลดีถ้าเมฆดูธรรมดา แต่เมฆในฉากนี้มีลักษณะพิเศษ เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเป็คทีฟเกินจริงที่มุมกว้าง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนกว่าที่ระยะ 16 มม. ช่วย “ยืดขยาย” ก้อนเมฆออกและทำให้ทิวทัศน์โดยรวมดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น

 

การจัดองค์ประกอบภาพ: มีความสมมาตรทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง

ผมอดสังเกตเห็นไม่ได้ว่าก้อนเมฆขนาดใหญ่ทางด้านซ้ายและขวาของอ่าวมีรูปร่างที่คล้ายกัน ซึ่งทำให้เกิดความสมมาตรตามแกนในแนวตั้ง ผมจัดให้เส้นขอบฟ้าอยู่ตรงกึ่งกลางภาพเพื่อสร้างความสมมาตรในแนวนอนระหว่างท้องฟ้าด้านบนและภาพสะท้อนด้านล่าง การจัดองค์ประกอบภาพเช่นนี้ได้ผลดีกับเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่มุมกว้างอัลตร้าไวด์เพื่อสร้างภาพลวงตาว่าทะเลและท้องฟ้าทอดตัวไกลออกไปไม่มีที่สิ้นสุด

เคล็ดลับ:
- ภาพสะท้อนบนผืนน้ำจะดูมืดกว่าทิวทัศน์จริงที่ถูกสะท้อนออกมาเล็กน้อย หากคุณเปิดรับแสงสำหรับภาพสะท้อน ท้องฟ้าจริงอาจได้รับแสงมากเกินไป

ดูเพิ่มเติมได้ที่:
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ควรใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรมภาพดีหรือไม่

 

จังหวะเวลา: ยามเย็น + คอยสังเกตกระแสน้ำให้ดี

ช่วงเวลาของวัน: ส่งผลต่อตำแหน่งการถ่ายภาพของคุณ

ตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามีผลต่อความชัดเจนของภาพสะท้อน และคุณจะต้องปรับมุมในการถ่ายภาพหรือความสูงของกล้องตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์

สำหรับสถานที่แห่งนี้ เมื่อดวงอาทิตย์อยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า ผมพบว่าหาตำแหน่งถ่ายภาพที่เหมาะสมในการจับภาพสะท้อนให้ชัดเจนได้ค่อนข้างยาก การถ่ายภาพในตอนเย็นจะทำให้ได้ภาพสะท้อนที่ชัดเจนง่ายกว่า การที่ไม่ต้องกังวลถึงคุณภาพของภาพสะท้อนจะช่วยให้คุณมีสมาธิกับสิ่งอื่นได้มากขึ้น เช่น การจัดองค์ประกอบภาพหรือสังเกตการเคลื่อนไหวของผิวน้ำ

ภาพสะท้อนของท้องทะเลและท้องฟ้าสีฟ้า

สถานที่เดียวกัน ถ่ายในเวลากลางวัน

อย่าลืม: ถอดฟิลเตอร์ CPL ของคุณออก! คุณไม่ต้องการให้น้ำดูใสในการถ่ายภาพเช่นกรณีนี้


กระแสน้ำขึ้นลงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของน้ำ

เมื่อต้องถ่ายภาพท้องทะเล ให้ตรวจดูกระแสน้ำอยู่เสมอ สีของท้องฟ้าจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในขณะพระอาทิตย์ตก ซึ่งจะทำให้คุณสามารถถ่ายภาพสถานที่เดียวกันได้หลากหลายแบบ แต่น้ำอาจเริ่มขึ้นเมื่อคุณถ่ายภาพ ซึ่งจะทำให้ผิวน้ำดูไม่ราบเรียบ

ทิวทัศน์ของท้องทะเลที่มีพระอาทิตย์ตกสีแดง

ผมถ่ายภาพนี้เพียง 30 นาทีให้หลัง จากจุดเดียวกับที่ถ่ายภาพบนสุด (ค่อนมาทางขวาเล็กน้อย)  น้ำเริ่มขึ้นแล้ว จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวบนผิวน้ำ 

 

เคล็ดลับพิเศษ: การประเมินสถานที่

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่ออารมณ์ภาพที่ได้จากกระแสลมและคลื่น

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแหล่งน้ำสามารถบอกคุณได้ว่าน้ำจะนิ่งแค่ไหน อ่าวต่างๆ เช่น อ่าวนางุระนั้นเว้าเข้ามาในแผ่นดิน ซึ่งทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสลมและคลื่นน้อยกว่า ดังนั้น จึงมักจะมีผิวน้ำที่สงบนิ่งกว่าหากเทียบกับทะเลเปิด

นอกจากนั้น ควรดูด้วยว่าปากอ่าวอยู่ที่ใด อ่าวนางุระมีปากอ่าวอยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งหมายความว่าการถ่ายภาพสะท้อนจะทำได้ยากขึ้นในวันที่มีกระแสลมพัดมาจากทิศตะวันตก

 

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพสะท้อน โปรดดูที่:
ภาพสะท้อน: รถจักรไอน้ำเคลื่อนที่ผ่านพระอาทิตย์ตกอันงดงาม
เคล็ดลับในการถ่ายภาพสะท้อนบนผิวน้ำ: เพลิดเพลินกับแอ่งน้ำ!

ดูเคล็ดลับการถ่ายภาพท้องทะเลและคลื่นเพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพภูมิทัศน์: การถ่ายภาพทะเล
การถ่ายภาพคลื่น: การถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำและนุ่มนวลให้มีสีสันสวยงาม
คู่มือตามขั้นตอนสำหรับการถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นด้วยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สูง
การถ่ายภาพคลื่น: ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดเพื่อถ่ายทอดพลังและการเคลื่อนไหว

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Minefuyu Yamashita

เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย

http://www.minefuyu-yamashita.com

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา