ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #17: คู่มือตามขั้นตอนสำหรับการถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นด้วยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สูง

2016-10-27
2
5.36 k
ในบทความนี้:

ในการถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นซึ่งหยุดการเคลื่อนไหว โดยปกติ คุณอาจใช้โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ (Shutter-priority AE) เพื่อปรับความเร็วชัตเตอร์ แต่อันที่จริงแล้วไม่เสมอไป! ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการในการใช้ประโยชน์จากทั้งเลนส์เทเลโฟโต้และความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นให้ดูโดดเด่นในภาพถ่ายอย่างคมชัดและมีมิติ (เรื่องโดย Minefuyu Yamashita)

EOS 7D Mark II/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM / FL: 234 มม. (เทียบเท่า 374 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5, 1/8,000 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม
ผมต้องการบันทึกภาพลักษณะของคลื่นที่สาดกระเซ็นในช่วงที่น้ำทะเลแตกกระจายเป็นฟองให้ดูงดงาม ดังนั้น ผมจึงตั้งใจถ่ายภาพจากตำแหน่งต่ำที่ห่างออกไปประมาณ 1.5 ถึง 2 ม. และใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อจับภาพช่วงเวลาที่คลื่นสาดกระเซ็นขึ้นมากระทบจอภาพของผม จากนั้นลงมือถ่ายภาพคลื่นตัดกับฉากหลังที่เต็มไปด้วยวงกลมโบเก้

 

ขั้นตอนที่ 1: ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดและความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อถ่ายภาพคลื่นโดยมีวงกลมโบเก้เป็นฉากหลัง

วิธีที่ดีในการถ่ายภาพคลื่นที่มีเอฟเฟ็กต์ "หยุดการเคลื่อนไหว" คือใช้โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถปรับความเร็วชัตเตอร์ไปพร้อมกับปรับค่า f ของกล้องโดยอัตโนมัติ เพื่อถ่ายทอดภาพที่คุณต้องการได้ หนึ่งใน หลักการทำงานของความเร็วชัตเตอร์ คือความเร็วชัตเตอร์สูงสามารถช่วยหยุดสิ่งที่เคลื่อนไหวได้ อย่างไรก็ดี การถ่ายภาพในครั้งนี้ผมยังต้องการถ่ายทอดลักษณะของคลื่นที่สาดกระเซ็นให้ดูโดดเด่นตัดกับฉากหลักที่เต็มไปด้วยวงกลมโบเก้อันงดงามอีกด้วย ดังนั้น ผมจึงใช้โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์โดยเลือกค่า f/5 (ค่า f ที่ต่ำที่สุดที่ผมสามารถเลือกได้ในโหมด) และถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์แบบเลือกอัตโนมัติที่ 1/8,000 วินาที

 โดยหลักการทั่วไป ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ความเร็วชัตเตอร์ที่ประมาณ 1/2000 วินาที น่าจะเพียงพอที่จะหยุดคลื่นที่สาดกระเซ็นได้ อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ที่ผมต้องถ่ายภาพในระยะใกล้ด้วยเลนส์เทเลโฟโต้นี้ ความเร็วชัตเตอร์ดังกล่าวอาจช่วยสร้างภาพเบลอที่สวยงามได้ ดังนั้น ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นจะใช้ถ่ายภาพคลื่นที่หยุดนิ่งอยู่กลางอากาศได้ดีกว่า

ตัวแบบที่ต่างกันจะใช้ความเร็วชัตเตอร์เพื่อหยุดการเคลื่อนไหวในระดับที่แตกต่างกัน หากต้องการอ่านเกี่ยวกับการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์อ้างอิงเพิ่มเติม โปรดดูที่บทความนี้:
การปรับความเร็วชัตเตอร์เพื่อผลภาพที่มีพลังยิ่งขึ้น
 

ภาพที่ยังไม่ดี: ถ่ายโดยใช้ความเร็ว 1/4,000 วินาที

ผมถ่ายภาพนี้โดยใช้ทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับระยะ 25 มม. และใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/4,000 วินาที เมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเช่นเดียวกับฉากที่คุณใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อทำให้ตัวแบบของคุณดูมีขนาดใหญ่ขึ้น เลนส์มุมกว้างทำให้ผมสามารถถ่ายภาพที่ช่วยสื่อถึงความรู้สึกมีชีวิตชีวาของหาดทรายได้ แต่ไม่สามารถสร้างวงกลมโบเก้ที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของเลนส์เทเลโฟโต้ได้

 

ขั้นตอนที่ 2: ใช้เลนส์เทเลโฟโต้เพื่อสร้างวงกลมโบเก้จากคลื่นที่สาดกระเซ็น

ผมใช้เลนส์เทเลโฟโต้เนื่องจากเลนส์ชนิดนี้มีมุมรับภาพแคบกว่าเลนส์มุมกว้างและเลนส์มาตรฐาน และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับค่ารูรับแสงกว้างสุดจะช่วยถ่ายทอดคลื่นที่สาดกระเซ็นให้เกิดเป็นวงกลมโบเก้ที่สวยสดงดงามได้ง่ายขึ้น สองประเด็นที่กล่าวมานี้ยังหมายความว่าคุณจะทำให้ฉากหลังของภาพเต็มไปด้วยวงกลมโบเก้ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ การใช้ทางยาวโฟกัสที่ 374 มม. ยังจำเป็นในการ 1. สร้างวงกลมโบเก้ที่นุ่มนวลจากคลื่นที่ถ่ายในระยะใกล้ 2. ถ่ายทอดรายละเอียดคลื่นที่สาดกระเซ็นได้อย่างประณีตงดงาม และในขณะเดียวกันยัง 3. ช่วยให้มั่นใจได้ว่าคลื่นจะดูโดดเด่นตัดกับฉากหลังที่เต็มไปด้วยวงกลมโบเก้ ในภาพนี้ ผมใช้เลนส์ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM

หากต้องการอ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีถ่ายภาพวงกลมโบเก้ ลองอ่านบทความนี้:
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่หายาก

 

ขั้นตอนที่ 3: ถ่ายภาพในสภาวะย้อนแสงเพื่อเก็บภาพประกายของคลื่นที่สาดกระเซ็น

ผมใช้สภาวะย้อนแสงเข้าช่วยในการถ่ายภาพเพื่อขับเน้นแสงประกายของคลื่นให้ดูโดดเด่น เมื่อถ่ายภาพจากตำแหน่งที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์โดยตรง แสงแดดจะส่องผ่านน้ำทะเลและช่วยเน้นรายละเอียดของคลื่นที่สาดกระเซ็นได้ อย่างไรก็ดี หากผมวางดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรม อาจเป็นการบดบังตัวแบบหลัก เช่น คลื่น ไป ดังนั้น ผมจึงเลือกถ่ายในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ายังไม่คล้อยต่ำมากนัก และจัดวางองค์ประกอบภาพโดยรวมพื้นผิวท้องทะเลไว้ในฉากหลังด้วย

 

ขั้นตอนที่ 4: ถ่ายจากตำแหน่งต่ำ

เล็งไปที่คลื่นที่อยู่ห่างจากชายทะเลไปประมาณ 1.5 ถึง 2 เมตร และถ่ายภาพโดยการเอนตัวนอนบนโขดหินที่ลาดชันเพื่อให้ใกล้กับพื้นดิน

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Minefuyu Yamashita

เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย

http://www.minefuyu-yamashita.com

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา