Minefuyu Yamashita ช่างภาพทิวทัศน์ท้องทะเลได้พบกับโอกาสอันสมบูรณ์แบบสำหรับการถ่ายภาพสะท้อนในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีทองของเย็นวันหนึ่ง เมื่อน้ำลงและมีเมฆก้อนใหญ่ประดับประดาอยู่เต็มท้องฟ้า เขาจะมาเล่าเรื่องราวและการตัดสินใจที่อยู่เบื้องหลังภาพนี้ให้เราฟัง (เรื่องโดย Minefuyu Yamashita, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/250 วินาที, EV -0.3)/ ISO 250/ WB: แสงในร่ม
ฤดู: ฤดูร้อน/ ช่วงเวลาของวัน: ตอนเย็น
สถานที่: อ่าวนางุระ เกาะอิชิงากิ โอกินาวา
การตัดสินใจที่สำคัญในการถ่ายภาพ
- มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ 16 มม.: เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ
- การจัดองค์ประกอบภาพแบบสมมาตร: เพื่อให้รู้สึกถึงความกว้างใหญ่
- คอยสังเกตกระแสน้ำในยามเย็นให้ดี: เพื่อน้ำที่นิ่งขึ้นและภาพสะท้อนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
(คลิกที่ลิงก์เพื่อดูรายละเอียดการตัดสินใจในแต่ละข้อ เลื่อนลงไปท้ายสุดเพื่อดูเคล็ดลับพิเศษ!)
การตั้งค่าอื่นๆ:
- สมดุลแสงขาว: ‘แสงในร่ม’ เพื่อให้สีสันของพระอาทิตย์ตกเด่นชัดขึ้น
มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ 16 มม.: เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟ
27 มม.: ก้อนเมฆดูใหญ่ขึ้นแต่ไม่กว้างขวางเท่าใดนัก
การถ่ายภาพด้วยมุมแคบลงเล็กน้อยที่ 27 มม. ทำให้ก้อนเมฆทั้งในท้องฟ้าและเงาสะท้อนดูใหญ่ขึ้นและเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนขึ้น การดึงเอาความสนใจไปยังองค์ประกอบเดียวเช่นนี้จะได้ผลดีถ้าเมฆดูธรรมดา แต่เมฆในฉากนี้มีลักษณะพิเศษ เอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเป็คทีฟเกินจริงที่มุมกว้าง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนกว่าที่ระยะ 16 มม. ช่วย “ยืดขยาย” ก้อนเมฆออกและทำให้ทิวทัศน์โดยรวมดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น
การจัดองค์ประกอบภาพ: มีความสมมาตรทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง
ผมอดสังเกตเห็นไม่ได้ว่าก้อนเมฆขนาดใหญ่ทางด้านซ้ายและขวาของอ่าวมีรูปร่างที่คล้ายกัน ซึ่งทำให้เกิดความสมมาตรตามแกนในแนวตั้ง ผมจัดให้เส้นขอบฟ้าอยู่ตรงกึ่งกลางภาพเพื่อสร้างความสมมาตรในแนวนอนระหว่างท้องฟ้าด้านบนและภาพสะท้อนด้านล่าง การจัดองค์ประกอบภาพเช่นนี้ได้ผลดีกับเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่มุมกว้างอัลตร้าไวด์เพื่อสร้างภาพลวงตาว่าทะเลและท้องฟ้าทอดตัวไกลออกไปไม่มีที่สิ้นสุด
เคล็ดลับ:
- ภาพสะท้อนบนผืนน้ำจะดูมืดกว่าทิวทัศน์จริงที่ถูกสะท้อนออกมาเล็กน้อย หากคุณเปิดรับแสงสำหรับภาพสะท้อน ท้องฟ้าจริงอาจได้รับแสงมากเกินไป
ดูเพิ่มเติมได้ที่:
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: ควรใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรมภาพดีหรือไม่
จังหวะเวลา: ยามเย็น + คอยสังเกตกระแสน้ำให้ดี
ช่วงเวลาของวัน: ส่งผลต่อตำแหน่งการถ่ายภาพของคุณ
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้ามีผลต่อความชัดเจนของภาพสะท้อน และคุณจะต้องปรับมุมในการถ่ายภาพหรือความสูงของกล้องตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์
สำหรับสถานที่แห่งนี้ เมื่อดวงอาทิตย์อยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า ผมพบว่าหาตำแหน่งถ่ายภาพที่เหมาะสมในการจับภาพสะท้อนให้ชัดเจนได้ค่อนข้างยาก การถ่ายภาพในตอนเย็นจะทำให้ได้ภาพสะท้อนที่ชัดเจนง่ายกว่า การที่ไม่ต้องกังวลถึงคุณภาพของภาพสะท้อนจะช่วยให้คุณมีสมาธิกับสิ่งอื่นได้มากขึ้น เช่น การจัดองค์ประกอบภาพหรือสังเกตการเคลื่อนไหวของผิวน้ำ
สถานที่เดียวกัน ถ่ายในเวลากลางวัน
อย่าลืม: ถอดฟิลเตอร์ CPL ของคุณออก! คุณไม่ต้องการให้น้ำดูใสในการถ่ายภาพเช่นกรณีนี้
กระแสน้ำขึ้นลงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของน้ำ
เมื่อต้องถ่ายภาพท้องทะเล ให้ตรวจดูกระแสน้ำอยู่เสมอ สีของท้องฟ้าจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในขณะพระอาทิตย์ตก ซึ่งจะทำให้คุณสามารถถ่ายภาพสถานที่เดียวกันได้หลากหลายแบบ แต่น้ำอาจเริ่มขึ้นเมื่อคุณถ่ายภาพ ซึ่งจะทำให้ผิวน้ำดูไม่ราบเรียบ
ผมถ่ายภาพนี้เพียง 30 นาทีให้หลัง จากจุดเดียวกับที่ถ่ายภาพบนสุด (ค่อนมาทางขวาเล็กน้อย) น้ำเริ่มขึ้นแล้ว จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวบนผิวน้ำ
เคล็ดลับพิเศษ: การประเมินสถานที่
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่ออารมณ์ภาพที่ได้จากกระแสลมและคลื่น
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแหล่งน้ำสามารถบอกคุณได้ว่าน้ำจะนิ่งแค่ไหน อ่าวต่างๆ เช่น อ่าวนางุระนั้นเว้าเข้ามาในแผ่นดิน ซึ่งทำให้ได้รับผลกระทบจากกระแสลมและคลื่นน้อยกว่า ดังนั้น จึงมักจะมีผิวน้ำที่สงบนิ่งกว่าหากเทียบกับทะเลเปิด
นอกจากนั้น ควรดูด้วยว่าปากอ่าวอยู่ที่ใด อ่าวนางุระมีปากอ่าวอยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งหมายความว่าการถ่ายภาพสะท้อนจะทำได้ยากขึ้นในวันที่มีกระแสลมพัดมาจากทิศตะวันตก
สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพสะท้อน โปรดดูที่:
ภาพสะท้อน: รถจักรไอน้ำเคลื่อนที่ผ่านพระอาทิตย์ตกอันงดงาม
เคล็ดลับในการถ่ายภาพสะท้อนบนผิวน้ำ: เพลิดเพลินกับแอ่งน้ำ!
ดูเคล็ดลับการถ่ายภาพท้องทะเลและคลื่นเพิ่มเติมได้ที่:
การถ่ายภาพภูมิทัศน์: การถ่ายภาพทะเล
การถ่ายภาพคลื่น: การถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำและนุ่มนวลให้มีสีสันสวยงาม
คู่มือตามขั้นตอนสำหรับการถ่ายภาพคลื่นที่สาดกระเซ็นด้วยการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์สูง
การถ่ายภาพคลื่น: ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ระดับใดเพื่อถ่ายทอดพลังและการเคลื่อนไหว
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย