ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ทำความเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์: วิธีหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น

2020-04-28
0
2.11 k
ในบทความนี้:

เคยไหมที่คุณถ่ายภาพส่วนที่สว่างในท้องฟ้าแล้วภาพออกมาดูขาวโพลนและสว่างจ้า แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วไม่ได้สว่างขนาดนั้น นั่นเป็นเพราะว่าช่วงสีและโทนที่กล้องสามารถจับภาพได้ (หรือที่เรียกกันว่า “ช่วงไดนามิกเรนจ์”) นั้นแคบกว่าช่วงไดนามิกเรนจ์ของสายตามนุษย์ มาดู 4 บทเรียนสั้นๆ ต่อไปนี้ ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์ได้ดีขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแสงสว่างโพลนและรักษารายละเอียดได้มากขึ้น (เรื่องโดย Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/2.8L USM/ FL: 150 มม./ โหมด Aperture-priority (f/6.3, 5 วินาที, EV ±0)/ ISO 100/ WB: แสงในร่ม

 

บทเรียนที่ 1: เรียนรู้การระบุบริเวณที่สามารถมีแสงสว่างโพลนได้

โดยทั่วไป ภาพถ่ายที่มีการเปิดรับแสงเหมาะสมจะไม่มีแสงสว่างโพลนหรือส่วนที่มืดเกินไป แต่จะมีโทนสีต่างๆ ภายในช่วงไดนามิกเรนจ์ของกล้อง อย่างไรก็ตาม มีฉากบางประเภทที่สามารถมีแสงสว่างโพลนได้บ้าง

ตัวอย่างเช่น เมื่อถ่ายภาพโดยหันเข้าหาดวงอาทิตย์โดยตรง ไม่มีทางที่คุณจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแสงสว่างโพลนบนดวงอาทิตย์ได้ หากคุณพยายามลดแสงสว่างโพลน ภาพโดยรวมจะขาดสมดุล

ในขณะเดียวกัน แม้ว่าตัวแบบอื่นๆ เช่น น้ำตก ลำธาร หรือ ทะเลหมอก จะเกิดแสงสว่างโพลนได้ง่ายเช่นกัน แต่ยังคงรายละเอียดในส่วนที่สว่างซึ่งสำคัญต่อฉากนั้นๆ สำหรับฉากดังกล่าว คุณจะต้องระมัดระวังในการเปิดรับแสงและถ่ายให้มืดกว่าระดับแสงที่ “เหมาะสม” ตามปกติเล็กน้อย


ตัวอย่างที่ 1: ทะเลหมอกท่ามกลางแสงอาทิตย์ยามเช้า

ภาพทะเลหมอกที่มีการทำเครื่องหมาย

1) ดวงอาทิตย์: แสงสว่างโพลนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
2) ทะเลหมอก: หลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนในตำแหน่งนี้

มีการไล่สีอย่างเป็นธรรมชาติรอบๆ ดวงอาทิตย์ ปล่อยแสงสว่างโพลนไว้ตามปกติเพื่อรักษาสมดุล อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของก้อนเมฆคือสิ่งที่ทำให้ทะเลหมอกน่าประทับใจมาก ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการรักษารายละเอียดส่วนนี้ไว้


ตัวอย่างที่ 2: แสงอาทิตย์ในป่า

Alt:ภาพแสงอาทิตย์ในป่าที่มีการทำเครื่องหมาย

1) ใบไม้และใยแมงมุมที่ถูกแสงอาทิตย์ส่องโดยตรง: แสงสว่างโพลนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
2) แสงอาทิตย์ หลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนในตำแหน่งนี้

ภาพนี้สื่ออารมณ์ได้ดีเนื่องจากแสงที่ตกกระทบลงบนหมอก ตรวจดูให้แน่ใจว่ารายละเอียดในแสงอาทิตย์ยังคงอยู่ แสงสว่างโพลนในข้อ 1) แสดงให้เห็นรูปทรงของใยแมงมุม ดังนั้น แสงสว่างโพลนจึงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้

เรียนรู้วิธีใช้ร่มสีดำธรรมดาเพื่อช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับภาพถ่ายแสงอาทิตย์ใน:
2 สิ่งในชีวิตประจำวันที่สามารถเปลี่ยนโฉมภาพถ่ายของคุณ
ดูเพิ่มเติมได้ที่: พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง

 

บทเรียนที่ 2: ใช้ฮิสโตแกรมเพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวการเปิดรับแสง

ฮิสโตแกรม หมายถึง กราฟที่แสดงการกระจายตัวของพิกเซลในภาพถ่ายตามความสว่างของพิกเซล หากภาพของคุณมีหลายพิกเซลที่สว่างและได้รับแสงมากเกินไป จุดสูงสุดของฮิสโตแกรมจะอยู่ทางขวาสุด พยายามอย่าปล่อยให้ฮิสโตแกรมถูกตัดออกที่ด้านขวา


แสงสว่างโพลน

ภาพบอลลูนที่สว่างเกินไป

ฮิสโตแกรมของภาพถ่ายที่สว่างเกินไป

ภาพนี้ถ่ายโดยเปิดรับแสงสำหรับบอลลูน แต่ภาพที่ได้ดูสว่างเกินไป ซึ่งดูได้จากฮิสโตแกรม สังเกตว่าฮิสโตแกรมเอียงไปทางด้านขวา จุดสูงสุดถูกตัดออกที่ด้านขวา ซึ่งหมายความว่ามีพิกเซลสีขาวจำนวนมากและมีแสงสว่างโพลนเกิดขึ้น


ไม่มีแสงสว่างโพลน

บอลลูนบนท้องฟ้าที่มีรายละเอียดของก้อนเมฆ

ฮิสโตแกรมแสดงระดับแสงมาตรฐาน

ภาพถ่ายนี้เปิดรับแสงสำหรับท้องฟ้า รายละเอียดของก้อนเมฆยังคงอยู่ จุดสูงสุดของฮิสโตแกรมไม่ได้อยู่ใกล้ทางขวาสุด ที่จริงแล้ว พิกเซลทั้งหมดอยู่ห่างจากมุมต่างๆ อย่างชัดเจน เรียกได้ว่าเป็นระดับแสง “มาตรฐาน”


เคล็ดลับ: ใช้ขาตั้งกล้อง

หากคุณถ่ายภาพโดยถือกล้องด้วยมือ อาจเป็นเรื่องยากที่จะจัดองค์ประกอบภาพไปพร้อมกับการใช้ฮิสโตแกรมเพื่อแก้ไขการเปิดรับแสง ควรใช้ขาตั้งกล้องช่วย

ขาตั้งกล้องบนพื้นหญ้า

 

บทเรียนที่ 3: ใช้ระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติเพื่อถ่ายภาพเดียวกันแต่มีความสว่างแตกต่างกัน

เมื่อใช้ฟังก์ชันระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติ (AEB) จะสามารถถ่ายภาพเดียวกันโดยเปิดรับแสงสามระดับและมีความสว่างต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เพียงกดปุ่มเดียว ฟังก์ชันนี้เหมาะสำหรับฉากที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อคุณไม่แน่ใจว่าค่าการเปิดรับแสงระดับใดจะให้ผลดีที่สุด  จากนั้น คุณสามารถเลือกภาพถ่ายที่มีระดับแสดงเหมาะสมที่สุด


EV -1

สนามที่ปกคลุมด้วยหิมะที่ EV -1.0


EV ±0

สนามที่ปกคลุมด้วยหิมะที่ EV±0


EV +1

สนามที่ปกคลุมด้วยหิมะที่ EV+1.0

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #4: การชดเชยแสง

ข้อควรรู้: คุณสามารถผสานภาพที่เปิดรับแสงแบบ AEB ในซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพเพื่อสร้างภาพ HDR (High Dynamic Range) ได้ 

 

บทเรียนที่ 4: ถ่ายภาพในรูปแบบ RAW แล้วปรับเปลี่ยนในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ

ไฟล์ภาพ RAW มีข้อมูลมากกว่าที่คุณเห็นจากภาพตัวอย่างใน Live View/EVF อยู่มาก คุณสามารถฟื้นฟูรายละเอียดจำนวนมากจากไฟล์รูปแบบนี้ในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ แต่ในขอบเขตที่ขึ้นอยู่กับสภาพการถ่ายภาพด้วย อย่าลืมดูฮิสโตแกรมขณะแก้ไขภาพถ่าย!


การแก้ไขแสงสว่างโพลน

ขั้นตอนที่ 1: ตรวจดูฮิสโตแกรมว่ากราฟถูกตัดออกทางด้านขวาสุดหรือไม่
ขั้นตอนที่ 2: ลดพารามิเตอร์ “ไฮไลต์” และ/หรือ “สีขาว” ลง

คุณเคยได้ยินเกี่ยวกับรูปแบบ HDR PQ HEIF บ้างไหม ดูเหตุผลที่ทำให้รูปแบบนี้เป็นรูปแบบภาพแห่งอนาคตได้ใน:
HDR PQ HEIF: ก้าวข้ามขีดจำกัดของภาพแบบ JPEG

 

วิธีตรวจสอบว่ามีแสงสว่างโพลนหรือไม่

1. แสดงฮิสโตแกรมในระหว่างเปิดดูภาพ

หน้าจอดูภาพที่แสดงตารางฮิสโตแกรมและ RGB

คุณสามารถแสดงตารางฮิสโตแกรมและ RGB เมื่อเปิดดูภาพ วิธีนี้จะช่วยให้เห็นว่าภาพของคุณมีแสงสว่างโพลนจากการเปิดรับแสงมากเกินไปหรือไม่

เคล็ดลับ: โดยปกติแล้วคุณสามารถสลับหน้าจอดูภาพต่างๆ ด้วยการกดปุ่ม “INFO” ที่ด้านหลังกล้อง หากยังไม่สามารถแสดงฮิสโตแกรมได้ ให้กดปุ่ม “MENU” ไปที่แท็บ “ดูภาพ” (สีฟ้า) แล้วมองหาข้อความ “แสดงข้อมูลการดูภาพ” เพื่อให้แน่ใจว่าหน้าจอฮิสโตแกรมเปิดใช้งานอยู่


2. ใช้ประโยชน์จากการเตือนบริเวณสว่างโพลน

หน้าจอดูภาพที่แสดงการเตือนบริเวณสว่างโพลน

หากกล้องของคุณมีฟังก์ชันเตือนบริเวณสว่างโพลน ให้เปิดใช้งาน บริเวณที่มีแสงสว่างโพลนในภาพถ่ายจะกะพริบเป็นสีดำเมื่อดูภาพ (ด้วยเหตุนี้ บริเวณดังกล่าวจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แสงกะพริบ” หรือ “ลายม้าลาย”) ในกล้องรุ่นที่ไม่มีฟังก์ชัน “เตือนบริเวณสว่างโพลน” บริเวณที่มีแสงสว่างโพลนจะกะพริบเป็นสีดำเช่นกันในหน้าจอดูภาพที่แสดงฮิสโตแกรม

หากบริเวณส่วนใหญ่ของภาพกะพริบเป็นสีดำ แสดงว่าควรถ่ายภาพใหม่โดยเปิดรับแสงให้มืดลง

 

การถ่ายภาพสะท้อนอาจเป็นการทดสอบทักษะของคุณเกี่ยวกับจุดที่ควรเปิดรับแสงและวิธีเปิดรับแสงที่เหมาะสม เรียนรู้วิธีถ่ายภาพของช่างภาพมืออาชีพได้ที่นี่:
ภาพสะท้อน: ปราสาทยามค่ำคืนพร้อมเอฟเฟ็กต์ภาพทรอมพลุยล์
ภาพสะท้อน: ภูเขาไฟฟูจิสีแดงเจิดจ้า (พร้อมเคล็ดลับการรีทัช)
ภาพสะท้อน: รถจักรไอน้ำเคลื่อนที่ผ่านพระอาทิตย์ตกอันงดงาม

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Chikako Yagi

Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club

www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา