ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

7 เคล็ดลับที่เป็นประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพสวนสัตว์ด้วยกล้องมิเรอร์เลสและ DSLR

2016-06-16
4
8.82 k
ในบทความนี้:

บ่อยครั้ง คุณจะพบว่าคนเลือกไปเที่ยวชมสวนสัตว์ในวันหยุดที่อากาศแจ่มใส ในบทความนี้ เราจะรวบรวมเคล็ดลับ 7 ข้อสำหรับการถ่ายภาพสัตว์ในสวนสัตว์ที่ใช้ได้กับทั้งกล้องมิเรอร์เลสและ DSLR  (บรรณาธิการโดย: studio9)

 

เคล็ดลับที่ 1: เตรียมเลนส์เทเลโฟโต้ติดตัวไปด้วย

เลนส์เทเลโฟโต้สำคัญมากหากคุณต้องการถ่ายภาพสัตว์ในระยะใกล้ ไม่ว่าคุณจะเข้าไปใกล้แค่ไหนเพื่อให้เห็นสัตว์ได้ ก็ยังคงมีระยะห่างระหว่างกล้องของคุณกับสัตว์อยู่ดี วิธีที่ดีก็คือเตรียมเลนส์เทเลโฟโต้ระยะ 300 มม. ซึ่งเทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ไปด้วย หากเป็นไปได้ ผมขอแนะนำเลนส์ที่มีระยะประมาณ 400-500 มม.

หากคุณใช้กล้อง APS-C ทางยาวโฟกัสจะเพิ่มขึ้นอีก 1.6 เท่า ดังนั้น เลนส์ที่มีระยะราว 200 มม. ก็น่าจะเพียงพอ คุณควรมีเลนส์คิทที่มีระยะ 55-250 มม. ไว้ให้พร้อมด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าคุณไม่มีเลนส์เทเลโฟโต้หรือกำลังคิดจะซื้อสักตัว ผมขอแนะนำให้ซื้อเป็นเลนส์ 70-300 มม.

 


สำหรับกล้อง EOS APS-C

EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM

 

เลนส์ซูม EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM ให้คุณใช้ระยะเทเลโฟโต้ที่ประมาณ 400 มม. ซึ่งเทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.

 

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 


สำหรับกล้อง EOS ฟูลเฟรม

EF70-300mm f/4-5.6 IS USM

 

หากคุณมีกล้อง EOS ฟูลเฟรม เลนส์เทเลโฟโต้มาตรฐานคือเลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS USM

 

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

 


 

เคล็ดลับที่ 2: ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง!

ยิ่งใช้ระยะเทเลโฟโต้ไกลเท่าไหร่ ปัญหากล้องสั่นไหวก็ยิ่งเห็นชัดขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ คุณกำลังจะถ่ายภาพสัตว์ที่ไม่อยู่นิ่งๆ รอให้คุณกดชัตเตอร์อีกต่างหาก ดังนั้น หากเป็นไปได้ ลองใช้ความเร็วชัตเตอร์อย่างน้อย 1/300 วินาที ผมแนะนำให้ตั้งค่าโหมดการถ่ายภาพไปที่ Aperture-Priority AE (Av) และใช้ค่า f ต่ำที่สุด (รูรับแสงกว้างสุด) เมื่อคุณตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุดในโหมด Av แล้ว กล้องจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ค่าสูงสุดที่มีสำหรับการถ่ายภาพในเงื่อนไขนี้โดยอัตโนมัติ หากความเร็วชัตเตอร์ยังไม่เร็วดั่งใจล่ะก็ คุณยังสามารถลองเพิ่มความไวแสง ISO ขึ้นได้

วิธีใช้โหมด Aperture-priority *สำหรับ EOS 700D

1.ตั้งค่ากล้องไปที่โหมด [Av]

หมุนวงแหวนไปที่ปุ่ม [ON] เพื่อเปิดกล้องแล้วปรับวงแหวนปรับโหมดไปที่โหมด [Av]

 

2. หมุนวงแหวนควบคุมหลัก

หมุนวงแหวนควบคุมหลักด้วยนิ้วชี้เพื่อเปลี่ยนค่า f หมุนวงแหวนไปทางซ้ายเพื่อลดค่า f และปรับขนาดรูรับแสงให้กว้างสุด หมุนวงแหวนไปทางขวาเพื่อเพิ่มค่า f

 

3. ตรวจสอบว่าค่า f เปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว

ค่า f ปัจจุบันจะแสดงบนจอ LCD ด้านหลังในวงกลมบนภาพด้านบน หมุนวงแหวนควบคุมหลักและดูว่าค่า f เปลี่ยนแล้วก่อนที่จะถ่ายภาพ

 

เคล็ดลับที่ 3: ขยับเข้าใกล้กรงหรือรั้วให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้

โดยปกติ กรงหรือรั้วจะกั้นกลางระหว่างกล้องกับสัตว์อยู่แล้ว พยายามเลี่ยงไม่ให้ถ่ายติดกรงหรือรั้ว ซึ่งทำได้โดยการขยับชิดกรงหรือรั้วให้มากที่สุดเมื่อถ่ายภาพ คุณจะพบว่ากรงหายไปอย่าง "อัศจรรย์" เมื่อใช้วิธีนี้

ใช้เลนส์เทเลโฟโต้ ตั้งค่า f ให้ต่ำ และอย่าเข้าใกล้หรืออยู่ห่างจากวัตถุที่ต้องการเบลอ เมื่อทำเช่นนี้ คุณจะสามารถเบลอกรงหรือรั้วที่ต้องการจะเอาออกจากภาพ เพื่อจะได้ไม่ดูเด่นจนเกินไป นี่เป็นวิธีทำให้กรงหรือรั้วในภาพหายไป

เช่นในภาพด้านล่าง ทีแรกนั้นมีกรงอยู่ระหว่างลิงกับผม แต่คุณมองไม่เห็นเลย คุณสามารถทำให้กรงลวดดูบางลงจนเกือบเลือนไปหมดอย่างนี้ได้ อย่างไรก็ดี พึงสังเกตว่าถ้ากรงลวดหนาหรือสัตว์ที่ถ่ายอยู่ใกล้กรง คุณอาจจะไม่สามารถทำให้กรงเลือนจากภาพได้

นอกจากนี้หากกล้องของคุณตั้งค่าไว้ให้เลือกโฟกัสอัตโนมัติ (AF) โดยอัตโนมัติ กล้องอาจลงเอยด้วยการโฟกัสกรงในระยะโฟร์กราวด์ หากเป็นอย่างนั้น ลองใช้การโฟกัส AF แบบจุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง) หรือแมนนวลโฟกัส (MF)

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM +Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/500 วินาที/ ISO 1600

 

เคล็ดลับที่ 4: กล้าเข้าใกล้

เวลาถ่ายภาพสัตว์ที่สวนสัตว์ แทนที่จะถ่ายสัตว์ทั้งตัวในเฟรมภาพเดียว การถ่ายภาพโคลสอัพอาจทำให้คุณได้บรรยากาศที่แปลกออกไป แม้ว่าการถ่ายภาพสัตว์ทั้งตัวก็ไม่ได้เสียหายอะไร แต่คุณอาจได้โครงสร้างสิ่งก่อสร้างเกินเข้ามาในส่วนของแบ็คกราวด์ ซึ่งหลายครั้งทำให้ภาพถ่ายของคุณดูเหมือนเป็นแค่ภาพที่ถ่ายแค่ให้รู้ว่าได้มาสวนสัตว์ นอกจากนี้ เมื่อคุณถ่ายภาพโคลสอัพที่ใบหน้าของสัตว์ จะเป็นการถ่ายทอดบุคลิกของสัตว์ตัวนั้นๆ และทำให้ภาพดูมีเสน่ห์น่ารักยิ่งขึ้น

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/500 วินาที/ ISO 250

 

EOS 7D/ EF70-200mm f4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/800/ ISO 200

 

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/800 วินาที/ ISO 200

 

เคล็ดลับที่ 5: โฟกัสที่อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์

เมื่อถ่ายภาพสัตว์ เรามักจะถ่ายด้านหน้าของมัน แต่สัตว์ต่างๆ จะมีส่วนที่โดดเด่นเฉพาะตัวให้เราโฟกัสได้ คุณจะได้ภาพที่น่าสนใจเมื่อถ่ายภาพโคลสอัพเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ที่คุณเห็นว่าน่ารักและทำให้มันแตกต่างจากสัตว์อื่นๆ

บอกได้ไหมว่าลักษณะอย่างนี้เป็นของสัตว์ชนิดใด

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 208 มม./ f/5.6/ 1/640 วินาที/ ISO 200

 

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/1000 วินาที/ ISO 640

 

เคล็ดลับที่ 6: ให้เวลาให้กับสัตว์ที่ดึงดูดสายตาคุณ

สัตว์มักทำตัวตามสบาย พวกมันไม่ได้ทำสีหน้าท่าทางอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลา หากคุณเจอสัตว์สักตัวที่เห็นแล้วเกิดความสนใจ ลองให้เวลาคอยเฝ้าดูและอยู่กับมันจนเริ่มเห็นสีหน้าที่ถ่ายทอดอารมณ์ดีๆ เมื่อคุณใช้เวลาติดตามสัตว์อย่างนี้ คุณอาจได้เห็นใบหน้าที่น่าสนใจที่ไม่คาดคิดมาก่อนก็ได้

นอกจากนี้ สัตว์อาจจะไม่เคลื่อนไหวไปไหนไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น บางที คุณอาจต้องลองกลับมาใหม่เวลาอื่น หรือรอจังหวะให้อาหาร ในการถ่ายภาพที่ดี คุณจะต้องอดทนรอเหมือนปาปารัสซี

อีกข้อที่สำคัญคือถ่ายภาพไว้เยอะๆ เพราะอาจมีเพียงจังหวะแวบเดียวเท่านั้นที่คุณจะได้ใบหน้าสัตว์ที่น่าพอใจ อย่ากลัวที่จะถ่ายภาพไว้เยอะๆ หรือในบางกรณี คุณอาจจะถ่ายจุดเดียวกันไว้เป็นโหลเลยก็ได้

 

EOS 7D / EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/1000 วินาที/ ISO 200

เมียร์แคทอาบแดด ดูน่ารักไหมล่ะ อย่างกับมันกำลังบอกว่า "ดูฉันซิ" 
ผมถ่ายภาพนี้ไว้หลายช็อต แต่นี่เป็นช็อตเดียวที่สายตาของมันมองตรงมาที่กล้อง

 

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/1600 วินาที/ ISO 800
"ดูสิว่าฉันเจออะไรมา!" ทีแรกเจ้าบีเวอร์ตัวนี้ว่ายน้ำไปเรื่อยๆ และไม่มีท่าทางอะไรที่น่าสนใจนัก หลังจากเฝ้าดูด้วยความอดทนสักพัก บีเวอร์ก็เริ่มคุ้ยควานไปทั่วเพราะอะไรสักอย่าง แล้วจู่ๆ มันก็เอาใบไม้มาให้ผม!

 

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/500/ ISO 200
ลูกลิงกับอารมณ์ประหลาดใจที่ดูเหมือนกำลังร้อง "ว้าว! ดูนั่นสิ!"
ผมคิดว่าลูกลิงน้อยตัวนี้น่ารักดี ผมจึงเฝ้าดูสักระยะหนึ่ง ภาพนี้เป็นช่วงเวลาเดียวที่มันทำท่าทางแบบนี้ แล้วก็เฉพาะจังหวะนั้นเลยจริงๆ

 

เคล็ดลับที่ 7: ลองครอปภาพ

แม้ว่าคุณจะถ่ายภาพด้วยเลนส์เทเลโฟโต้ สัตว์ที่เล็งไว้อาจอยู่ไกลเกินกว่าที่จะถ่ายภาพซูมได้ แทนที่จะยอมแพ้ ลองครอปภาพหลังถ่ายดู กล้องรุ่นใหม่ๆ มีความละเอียดสูง ดังนั้นการครอปตัดนิดหน่อยจะไม่มีผลต่อคุณภาพของภาพถ่ายมากนัก อย่างไรก็ตาม การครอปภาพที่อยู่นอกโฟกัสหรือที่มีปัญหาจากอาการกล้องสั่นไหวจะยิ่งทำให้อาการเบลอหรืออาการสั่นไหวในภาพเด่นชัดขึ้น เมื่อถ่ายภาพ ลองปรับค่ากล้องให้ได้คุณภาพภาพถ่ายที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

เช่น ภาพสิงโตภาพนี้ก็ผ่านการครอปตัดมาเหมือนกัน

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII/ FL: 280 มม. /f/5.6(ครอปตัด)/ 1/500 วินาที/ ISO 1600

ด้านล่างคือภาพต้นฉบับ ซึ่งเป็นระยะใกล้สุดที่ผมสามารถซูมได้ด้วยเลนส์ที่มี อย่างที่คุณเห็น บรรยากาศรอบๆ ไม่แย่ และไม่ได้ผิดพลาดอะไร เพียงแต่ส่งอารมณ์ภาพได้ไม่ดีเท่านั้น

 

EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4xII / FL: 280 มม./ f/5.6/ 1/500 วินาที/ ISO 1600
การที่จะถ่ายภาพสิงโตให้ใหญ่อย่างที่เห็นในภาพที่ครอปตัดแล้วโดยไม่ต้องครอปตัดนั้น คุณจะต้องใช้เลนส์ 500-600 มม. ซึ่งอาจจะมีน้ำหนักเยอะมาก ที่สำคัญกว่านั้น อาจมีราคาแพง จึงไม่ใช่เลนส์ที่ใครๆ จะนิยมพกพา หากคุณมีปัญหาในการโคลสอัพภาพให้ได้ระยะที่เพียงพอ สามารถครอปภาพหลังถ่ายได้

และนี่แหละคือ 7 เคล็ดลับในการถ่ายภาพสวนสัตว์ของผม!
เนื่องจากสัตว์จะไม่อยู่นิ่งๆ จึงอาจเป็นเรื่องท้าทายที่จะถ่ายภาพให้ได้ตามต้องการ แต่การมองดูการแสดงสีหน้าท่าทางต่างๆ ที่มันทำจะทำให้คุ้มค่าการรอคอยของคุณในวันนั้น

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ลองคว้ากล้องไปสวนสัตว์แล้วฝึกใช้เทคนิคพวกนี้ด้วยตัวเองดูสิ

 

 

studio9

เว็บไซต์ด้านการถ่ายภาพของญี่ปุ่นที่เริ่มต้นเมื่อปี 2011 ด้วยสโลแกนว่า "ให้การถ่ายภาพใกล้ตัวคุณยิ่งขึ้น" เว็บไซต์นี้นำเสนอเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับทุกคนที่ชอบการถ่ายภาพ นอกจากเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้ว studio9 ยังมีการจัดสัมมนาและเวิร์กช็อปอีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา