ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

Inspirations >> Photos & People

การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์: สัมภาษณ์ Mark Gee

2016-10-06
9
3.4 k
ในบทความนี้:

นักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ Mark Gee ตื่นตาตื่นใจเสมอมากับความเร้นลับของท้องฟ้ายามค่ำคืน นับตั้งแต่วัยเด็ก เขาพักอาศัยอยู่ที่นิวซีแลนด์ หนึ่งในที่ซึ่งมีท้องฟ้ายามค่ำคืนมิดมิดที่สุดในโลก มีกาแลคซี่ครอบจักรวาลของเขา

EOS 6D, EF24-70mm f/2.8L USM, f/2.8, 25mm, 30.0secs, ISO6400
หุบเขาทาสมัน ณ โออากิ/อุทยานแห่งชาติเมาท์คุ๊ก นิวซีแลนด์

‘สำหรับผม การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เท่าที่ผ่านมา เป็นเส้นทางที่สุดยอด ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวตนและฝีมือของเรา รวมถึงฟากฟ้ายามค่ำคืน’ Mark กล่าว ‘นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในการถ่ายภาพที่น่าท้อแท้ที่สุด เพราะมีอุปสรรคมากมายให้ฟันฝ่ากว่าจะได้ภาพที่สมบูรณ์’ ตามปกติแล้ว นักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์จะใช้เวลาหลายชั่วโมงตามลำพัง ภายใต้ท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว โดยกล้าเสี่ยงออกไปยังที่ห่างไกลและมืดมิดที่สุด ถ้าเป็นบริเวณที่มีมีมลภาวะทางแสงน้อยมากก็ยิ่งดี ‘นิวซีแลนด์เหมาะมากกับการถ่ายภาพแบบนี้ เรามีเขตอนุรักษ์ฟ้ามืดโออากิแมคเกนซี ที่เกาะใต้ด้วย’ เขากล่าว ‘เขตอนุรักษ์แห่งนี้จัดว่าถ่ายภาพได้ถึงระดับโกลด์ เพราะท้องฟ้าเกือบปลอดมลภาวะทางแสง ในภูมิภาค’

EOS 6D, EF14mm f/2.8L II USM, f/4.0, 14mm, 30.0secs, ISO3200
โบสถ์เชิร์ชออฟเดอะกู๊ดเชฟเปิร์ด ณ ชายฝั่งทะเลสาบเทคาโป นิวซีแลนด์

นอกเหนือจากสถานที่ การรู้ว่าเวลาใดเหมาะที่จะถ่ายภาพก็มีความสำคัญพอๆ กัน ‘สองสัปดาห์ก่อนและหลังช่วงเดือนมืด เป็นเวลาเหมาะที่สุดที่จะถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ ถ้าหากมีดวงจันทร์บนท้องฟ้า แสงจะกลบรายละเอียดมากมายจากภาพ โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซในเนบิวลา และรายละเอียดปลีกย่อยของทางช้างเผือก’ Mark แนะนำ ฤดูกาลของทางช้างเผือกในซีกโลกทางใต้ เหมาะที่สุดกับการถ่ายภาพศูนย์กลางกาแล็คซี่ โดยมีระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน

การที่จะถ่ายภาพได้สมบูรณ์แบบ นักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ต้องคำนึงถึงหลายสิ่ง การถ่ายภาพแบบ Long exposure หมายถึงการใช้สายลั่นไก หรือกล้องที่มีเครื่องตั้งเวลาในตัว เพื่อลดการสั่นไหวที่ไม่พึงประสงค์ ‘ถ่ายทุกภาพด้วยโหมด manual ซึ่งรวมถึงการโฟกัสแบบ manual’ ‘ขอให้ใช้โหมด ดูภาพจากจอ เมื่อเล็งกล้องไปที่ดาวดวงที่สว่างที่สุด และขยายภาพจากจอที่ด้านหลัง LCD ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หมุนแป้นปรับโฟกัสจนภาพดวงดาวชัดแจ๋ว เพื่อตั้งโฟกัส’

EOS 5D Mark III, EF14mm f/2.8L II USM, f/2.8, 14mm, 30.0secs, ISO3200
ประภาคาร ณ แหลมปาลไลเซอร์ ที่เกาะเหนือ นิวซีแลนด์ ภาพทางช้างเผือกเหนือฟากฟ้า

ถึงแม้ว่า Mark ไม่เคยเห็นยานลึกลับ UFO ในระหว่างการผจญภัยยามค่ำคืน (เป็นคำถามที่เขาข้องใจหลายครั้งหลายครา) ทว่าเขาเจอะเจอแมวน้ำตัวหนึ่งที่ไม่ยอมไปไหน มันถูกนักล่ายิง และตกใจกับนกเพนกวินที่ส่งเสียงร้องตอนผสมพันธุ์ เป็นเสียงที่ฟังแล้วน่ากลัวเกินจินตนาการ Mark ตื่นตาตื่นใจกับทุกสิ่งที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ แต่ข้อเท็จจริงที่เหลือเชื่อที่สุดยังคงเป็นทางช้างเผือก ‘เกลียวกาแล็กซีที่สว่างไสวที่สุดของทางช้างเผือก อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 27,000 ปีแสง ซึ่งหมายความว่าแสงที่เราจับภาพทางช้างเผือกอยู่นี้ เดินทางจากเกลียวกาแล็กซีตอนปลายยุคหินในช่วงบนโลกนี้’ เขากล่าวด้วยความทึ่งใจ

EOS 6D, EF24-70mm f/2.8L USM, f/3.2, 24mm, 30.0secs, ISO3200
สานสัมพันธ์ครอบจักรวาล: การเดินทางช่วงสั้นๆ กับบุตรชาย ที่เกาะใต้ นิวซีแลนด์

ชีวิตในแต่ละวันของ Mark เป็นอย่างไร ถ้าจะจับภาพให้สมบูรณ์แบบ เขาเริ่มต้นวันใหม่ตอนบ่าย 2 โมง

บ่าย 2 โมง
หลังมื้อเที่ยง เราออกไปที่ชายฝั่งเวลลิงตันทางตอนใต้ ผมกะว่าจะไปถ่ายภาพที่มีองค์ประกอบแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน ผมจึงอยากจะจัดฉากให้ได้ตอนกลางวัน ก่อนที่จะพร้อมถ่ายภาพตอนกลางคืน

บ่าย 2 โมงครึ่ง
ออกเดินทางไปสถานที่ถ่ายภาพ ผมสังเกตเห็นว่าพายุทำความเสียหายบนเส้นทางรถ 4WD ที่ผมต้องใช้ ผมขับไปถึงช่วงที่ทางขาด แต่ยังตั้งใจแน่วแน่ที่จะไปให้ถึงจุดหมาย ผมขับต่อไปจนล้อติดพื้นทรายนุ่มๆ

บ่าย 3 โมง
หลังจากพยายามขึ้นจากหลุมทราย มีรถ 4WD อีกคันขับมาถึง โชคดีที่เขามีเชือกดึงติดรถมาด้วย เขาสอนผมเรื่องการขับรถเลียบชายฝั่งทางใต้หลังจากเกิดพายุ และลากผมขึ้นมา ผมให้เขา 20 ดอลล่าร์ เป็นค่าเสียเวลา และบ่ายหน้าไปสู่จุดหมาย

บ่าย 3 โมง 45 นาที
ผมมาถึงจุดหมาย เจอพื้นที่ถูกการกัดเซาะ และเศษซากเกลื่อนกลาดองค์ประกอบภาพที่ผมวางแผนไว้ ผมใช้เวลาถึง 15 นาที เพื่อจัดฉาก และพยายามให้องค์ประกอบภาพอยู่ถูกตำแหน่ง ก่อนที่จะตัดสินใจว่าคงไม่ได้ผล เพราะเศษซากทำลายเส้นนำสายตาขอผมไปเสียแล้ว ผมจึงเลือกจุดใหม่เพื่อหามุมที่ใช้ได้

4 โมงเย็น 30 นาที
ผมมองไปทางทิศใต้ และสังเกตเห็นหมู่เมฆเคลื่อนตัวมาทางผม นี่คือหนึ่งในส่วนที่น่าท้อใจมากที่สุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ คือ เมื่อเราจัดฉากไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ภูมิอากาศกลับไม่เป็นใจ และทำลายค่ำคืนนั้นเสีย แต่ผมยังคิดบวก และหวังว่าจะเป็นไปตามพยากรณ์อากาศที่บอกว่าท้องฟ้าจะแจ่มใส

5 โมงเย็น 15 นาที
ผมกลับถึงบ้าน และตรวจดูพยากรณ์อากาศอีกครั้ง พยากรณ์อากาศบอกว่าท้องฟ้าแจ่มใส มีลมนิดหน่อย แต่วิวนอกหน้าต่างบ่งบอกในทางกลับกัน ผมยังมีเวลาอีกสี่ชั่วโมงก่อนจะถึงเวลาถ่ายภาพ ผมจึงหวังว่าท้องฟ้าจะเปิดเมื่อถึงตอนนั้น

5 โมงเย็น 30 นาที
ผมตรวจเครื่องมือ และตรวจเครื่องมือที่จะเอาไปด้วยอีกครั้ง ผมชาร์จแบตกล้องจนเต็ม คืนนี้ผมจะถ่ายวิดีโอแบบ time-lapse ผมจะต้องใช้เครื่องมือต่อไปนี้

กล้อง Canon EOS 6D
เลนส์ Canon EF14mm f/2.8L II USM
ขาตั้งคาร์บอนไฟเบอร์ พร้อมหัวบอล
ตัวควบคุมการเคลื่อนไหว Syrp Genie เพื่อถ่ายภาพแบบ time-lapse
รางสไลด์ Syrp Magic Carpet สำหรับ Syrp Genie
Dew-Not Lens Warmer ป้องกันน้ำค้างเกาะเลนส์
พาวเวอร์ซัพพลาย 12-volt สำหรับเครื่องทำความอุ่นป้องกันเลนส์

6 โมงเย็น
ผมตรวจดูพยากรณ์อากาศอีกครั้ง ซึ่งยังบอกว่าอากาศแจ่มใส แต่ตอนนี้มีเมฆปกคลุมหนาทึบ ผมตัดสินใจไปพักสักครู่ ก่อนที่จะเตรียมตัวออกไปสถานที่ถ่ายภาพอีกครั้ง

หนึ่งทุ่มครึ่ง
ตอนนี้มืดแล้ว ผมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่อบอุ่น และขนของขึ้นรถ ซึ่งรวมถึงที่นอนยางหลังรถ ผมจะได้นอนพักในระหว่างที่ฟีเจอร์ time-lapse ทำงาน ผมสั่งพิซซ่าจากร้านโปรดแถวนั้นเอาไปทานด้วย

หนึ่งทุ่ม 45 นาที
ผมกระโดดขึ้นรถ และบ่ายหน้าไปยังสถานที่ถ่ายภาพ หลังจากแวะร้านพิซซ่า ผมกังวลนิดหน่อย เพราะรู้ว่าต้องขับผ่านทางแย่ๆ ช่วงนั้นอีก และไม่อยากติดหล่มแบบที่เกิดขึ้นตอนกลางวัน

สองทุ่ม 15 นาที
ผมไปถึงทางช่วงที่แย่มาก ผมจอดรถ เปิดไฟหน้า และลงไปเดินดูก่อน หลังจากที่ผ่านมาได้ ผมขับเร็วขึ้นอีกหน่อย คราวนี้ใช้เกียร์ต่ำ และขับผ่านไปถึงอีกฝั่ง

สองทุ่มครึ่ง
ผมมาถึงสถานที่ถ่ายภาพ ยังมีเมฆอยู่นิดหน่อย แต่ท้องฟ้าโปร่งขึ้นมาก ผมทานพิซซ่าภายใต้แสงดาว ก่อนที่จะเริ่มจัดฉาก

สามทุ่ม
อีกประมาณ 45 นาที ก่อนจะถึงเวลาถ่ายภาพ ผมเริ่มตั้งฟีเจอร์ time-lapse พอถึงตอนนี้ท้องฟ้าแทบจะไม่มีเมฆ ผมค่อนข้างโล่งอก และตื่นเต้นที่จะได้คลิปภาพ time-lapse

EOS 6D, EF24-70mm f/2.8L USM, f/2.8, 24mm, 25.0secs, ISO6400
ชายฝั่งเมืองไวนูอีโอมาทา ใกล้เวลลิงตัน นิวซีแลนด์ เป็นโขดหินขุรขระ แต่ก็มีวิวที่งดงามมาก

สามทุ่มครึ่ง
หลังจากใช้เวลาพอสมควรเพื่อตั้งฟีเจอร์ time-lapse และลองถ่ายภาพทดสอบ ผมก็พร้อมที่จะเริ่มงาน ผมตั้ง time-lapse ไว้ 3 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งจะได้คลิปเพียง 15 วินาทีกว่าๆ

สามทุ่ม 40 นาที
หลังจากตรวจเช็คครั้งสุดท้าย ทางช้างเผือกอยู่ในตำแหน่งตรงกับองค์ประกอบของผมพอดี ผมพร้อมแล้วที่จะเริ่มถ่ายคลิป time-lapse ผมกดปุ่มเริ่มบันทึกบน Syrp Genie ซึ่งเปิดช่องรับแสงบนกล้อง Canon EOS 6D ผมรอสองสามนาทีเพื่อให้แน่ใจว่าฟีเจอร์ time-lapse ทำงานเรียบร้อยดี แล้วผมก็กลับไปนั่งรอที่รถ

EOS 5D Mark III, EF14mm f/2.8L II USM, f/2.8, 14mm, 30.0secs, ISO3200
ตั้งค่ายพักแรมภายใต้แสงดาว

สามทุ่ม 45 นาที
ผมปูที่นอนหลังรถ แต่ใช้เวลานั่งอยู่ข้างนอก แหงนหน้ามองดูดวงดาวนาน 10 นาที

สี่ทุ่ม
ผมกลับเข้าไปนอนพักหลังรถ และตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอนตีหนึ่ง ผมจะได้ตื่นขึ้นมาทัน โดยหวังว่าคลิป time-lapse คงเกือบเสร็จแล้ว

ตีหนึ่ง
ผมตื่นขึ้นกับเสียงนาฬิกาปลุก ผมกระโดดออกมานอกรถ ขณะนี้วิวค่ำคืนล้ำเลิศ ท้องฟ้าเปลี่ยนไปมากนับตั้งแต่ตอนที่ผมเข้านอน ผมเห็นแสงสีแดงด้านหลังกล้อง ซึ่งหมายความว่าฟีเจอร์ time-lapse ยังทำงานอยู่ แต่ผมเดินลงไปตรงจุดถ่ายคลิป รอจนกระทั่งกล้องถ่ายคลิปเสร็จ

ตีหนึ่ง 12 นาที
ฟีเจอร์ time-lapse เปิดช่องรับแสงครั้งสุดท้าย แล้วการถ่ายคลิปก็เสร็จสิ้น ผมค่อยๆ ปิดการทำงานของทุกระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ทำอะไรเสีย และก็เริ่มถอดอุปกรณ์ต่างๆ เก็บ

EOS 6D, EF14mm f/2.8L II USM, f/2.8, 14mm, 30.0secs, ISO6400
เกลียวกาแล็กซีทางช้างเผือกขึ้นสู่ท้องฟ้าทางทิศตะวันออก ภาพเงาและเรือประมงเก่าๆ ที่คร่ำหวอดกับการฝ่ามรสุมในท้องทะเล

ตีหนึ่ง 20 นาที
ผมเก็บข้าวของขึ้นหลังรถ และเปิดกล้องดูครั้งสุดท้าย เพื่อตรวจดูภาพบนจอ LCD ขณะที่ผมดูภาพ ผมเห็นได้ว่าผมจับภาพเป็นคลิป time-lapse ได้อย่างประสบผลสำเร็จ ผมปิดกล้อง และเอากล้องใส่กระเป๋า ผมขึ้นรถ และเริ่มบ่ายหน้ากลับบ้าน

ตีสอง
ผมขับรถเข้าไปจอดในโรงรถ และเริ่มขนของลงจากรถ พอขนของเข้าบ้านหมดแล้ว ผมก็เริ่มถ่ายโอนภาพจาก คลิป time-lapse ไปไว้ที่ Lightroom บนคอมพิวเตอร์ของผม ทุกอย่างดูยอดมาก แต่ผมยังไม่เริ่มขั้นตอนอะไร ผมมักจะรอจนถึงวันรุ่งขึ้นเป็นอย่างน้อย ก่อนที่จะเริ่มงาน

ตีสอง 40 นาที
ผมหมดเรี่ยวแรง หลังจากวางแผนและถ่ายคลิปเกือบทั้งคืน ผมจึงเข้านอน

 

เคล็ดลับรวดเร็วทันใจ:

  • ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงทนทาน
  • กล้อง DSLR – ถ้าจะให้ดีก็แบบฟูลเฟรม แต่ไม่สำคัญที่สุด
  • เลนส์มุมกว้าง โฟกัสเร็ว ขนาดระหว่าง 14 ถึง 24mm – เลนส์ f/2.8 เหมาะที่สุด แต่ว่าใช้เลนส์ชนิดใดก็ได้ที่โฟกัสเร็วเทียบเท่า f/4
  • ไฟฉายติดศรีษะที่มีฟังก์ชั่นไฟสีแดง คุณจะได้มองเห็นตอนกลางคืน เมื่อใช้ไฟสีแดง
  • สายลั่นไกกดชัตเตอร์ส
  • สมาร์ทโฟน พร้อมแอพ stargazing/planning อาทิเช่น PhotoPills และ Starwalk
  • แบตเตอรี่สำรอง และการ์ดหน่วยความจำ

 

รับอัพเดทล่าสุด ประกอบด้วยข่าว เคล็ดลับ และลูกเล่นต่างๆ โดยการลงชื่อสมัครเป็นสมาชิก!

 

 

โปรไฟล์ช่างภาพ

Mark Gee

Mark Gee ผู้ชนะรางวัลช่างภาพและผู้ถ่ายทำคลิป time-lapse พักอยู่ที่เวลลิงตัน นิวซีแลนด์ Mark เรียนรู้ทักษะการถ่ายภาพด้วยตนเอง โดยกล้าเสี่ยงออกไปยังที่ห่างไกลและมืดมิดที่สุดทั่วประเทศ เขาชื่นชอบความท้าทายในการผสมผสานภาพภูมิประเทศที่ตระการตาของนิวซีแลนด์ กับท้องฟ้ายามค่ำคืนที่งดงามอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จากวิธีการสร้างสรรค์ใหม่ๆ

ฟิลม์สั้นของเขา ชื่อ ‘Full Moon Silhouettes’ ทำให้มีชื่อเสียงไปทั่วโลก หลังจากมีการแพร่ภาพบนสังคมออนไลน์ ในปี ค.ศ. 2013 Mark ชนะรางวัลอันทรงเกียรติ ในฐานะช่างถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ประจำปี เขาไม่เพียงแต่ได้รับรางวัลชนะเลิศเท่านั้น ทว่า Mark ชนะรางวัลประเภท Earth and Space และรางวัลประเภท People and Space ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติการประกวดภาพถ่าย

theartofnight.com

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา