ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

รีวิว EF24-105mm f/4L IS II USM: การทดสอบเลนส์ในการถ่ายภาพแนวสตรีท

2017-02-09
13
33.47 k
ในบทความนี้:

EF24-105mm f/4L IS USM เลนส์ซูมมาตรฐานปรับปรุงใหม่ที่มีความสามารถรอบตัวได้รับความนิยมอย่างล้นหลามนับตั้งแต่ออกวางจำหน่ายควบคู่กับ EOS 5D รุ่นแรกเมื่อ 11 ปีก่อนในปี 2005 ครั้งนี้เลนส์น้องใหม่ EF24-105mm f/4L IS II USM มาพร้อมดีไซน์โฉมใหม่พร้อมการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นในทุกๆ ด้าน ในบทความนี้ เราจะมาดูว่าเลนส์รุ่นใหม่นี้มีอะไรมานำเสนอบ้าง (เรื่องโดย Kazuo Nakahara)

 

เลนส์ซูมใหม่ที่รอคอยกันมานานพร้อมความสามารถที่รอบด้านมากขึ้น

เมื่อผมค้นดูภาพต่างๆ ที่เคยถ่ายไว้ในฐานะช่างภาพมืออาชีพ ผมสังเกตว่าเลนส์ที่ผมใช้งานบ่อยมากที่สุดคือเลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM 

ผมได้ถ่ายภาพแนวสตรีทไว้เป็นจำนวนมากและเลนส์นี้ช่วยให้ผมถ่ายภาพตามสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบายด้วยเลนส์เพียงตัวเดียว ดังนั้น เมื่อได้ยินข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเลนส์ ผมจึงอดตั้งตารอคอยไม่ได้ว่าเลนส์น้องใหม่นี้จะมีอะไรมานำเสนอบ้าง หลังจากได้ทดสอบถ่ายภาพโดยใช้เลนส์คู่กับกล้อง EOS 5D Mark IV ความละเอียด 30.4 ล้านพิกเซลแล้ว ผมรู้สึกดีใจที่ได้ทราบว่า EF24-105mm f/4L IS II USM สามารถแสดงพลังการถ่ายทอดภาพของกล้อง DSLR ความละเอียดสูงออกมาได้อย่างดีเยี่ยม

ในตอนแรก ผมมีข้อกังขาอยู่บ้างเมื่อทราบว่าเลนส์รุ่นนี้ไม่ได้รวมชิ้นเลนส์ UD ซึ่งเป็นเลนส์ที่เคยใช้ในรุ่นก่อนหน้านี้ (EF24-105mm f/4L IS USM) เอาไว้ แต่เมื่อนำมาทดสอบถ่ายภาพกลับพบว่าปัญหาความคลาดสีได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น และมีการแก้ไขปัญหาที่บริเวณขอบภาพด้วยการใช้เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ความสามารถของระบบป้องกันภาพสั่นไหวยังได้รับการพัฒนาจาก 1.5 สต็อป ขึ้นมาเทียบเท่าที่ประมาณ 4 สต็อป เราจึงสามารถเปลี่ยนภาพถ่ายที่แสดงขึ้นในช่องมองภาพพร้อมกับขยับกล้องไปมาได้อย่างราบรื่น ซึ่งให้ความรู้สึกที่เพลิดเพลินอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเวลาที่คุณแพนกล้อง ผมจึงรู้สึกปลาบปลื้มเป็นอย่างมาก เพราะนี่แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาของเลนส์ไม่ได้มีเพียงแง่ของสเปคเพียงอย่างเดียว

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/320 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
จุดเด่นอย่างหนึ่งของเลนส์รุ่นนี้คือ ให้ผลภาพที่น่าพึงพอใจทั้งในระยะมุมกว้างที่ 24 มม. และในระยะเทเลโฟโต้ที่ 105 มม. ดังเช่นในภาพตัวอย่างด้านบนนี้ ผมสามารถถ่ายภาพทั้งเรือและท้องฟ้าสีฟ้าไว้ได้ พร้อมกับมีอาคารขนาดมหึมาเป็นตัวแบบหลัก โดยใช้ทางยาวโฟกัส 24 มม. อีกทั้งทั่วทั้งภาพยังมีความละเอียดคมชัดอีกด้วย


ความไวในการโฟกัสสูงและไร้ที่ติ การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่โดดเด่นคือ ม่านรูรับแสงจำนวน 10 กลีบ ซึ่งเป็นจำนวนคู่ หากเรามองดูเลนส์ซูมมาตรฐานที่วางจำหน่ายในท้องตลาด รวมถึงจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เลนส์นี้อาจเป็นเลนส์เพียงหนึ่งเดียวที่ใช้ม่านรูรับแสงเป็นจำนวนคู่ ซึ่งสำหรับการถ่ายภาพยามค่ำคืนที่การสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงมักเป็นองค์ประกอบสำคัญ เลนส์นี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากม่านรูรับแสงจำนวนคู่จะช่วยลดจำนวนแนวเส้นแสงที่เกิดขึ้น และช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดรายละเอียดของเอฟเฟ็กต์แฉกแสงได้อย่างชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เกิดจากเลนส์ยังมีเส้นขอบที่นุ่มนวลมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสื่อถึงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/2,500 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยต่อการถ่ายภาพ เพราะขณะนั้นท้องฟ้าแจ่มใสและมีแสงแดดจ้าอยู่ในองค์ประกอบภาพ อย่างไรก็ดี เลนส์สามารถป้องกันแสงหลอกที่เห็นได้ชัด พร้อมทั้งช่วยเกลี่ยแสงที่เนียนสวยให้กับท้องฟ้าจากสีขาวเป็นสีฟ้าได้ นอกจากนี้ แสงแฟลร์ยังลดลงและสีสันของดอกดาวกระจายยังถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงาม

 

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/256 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ในภาพนี้ผมตั้งโฟกัสไว้บนดอกไม้ที่อยู่ใกล้กับกล้อง แล้วเบลอภาพทั้งในส่วนโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์โดยใช้ค่ารูรับแสงกว้าง โครงร่างของเอฟเฟ็กต์โบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์จึงดูเป็นธรรมชาติและเรียบเนียน ขณะที่โบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์ที่มุมล่างซ้ายของภาพดูนุ่มนวล และช่วยเน้นความโดดเด่นให้กับตัวแบบหลัก

 

เลนส์ใหม่นี้ได้รับการผลิตให้มีความทนทานมากขึ้น ระหว่างที่ใช้งานจึงรู้สึกถึงความแข็งแรงมั่นคงขึ้นยิ่งกว่าเดิม ผมรู้สึกกังวลว่าน้ำหนักของเลนส์อาจทำให้ท่อเลนส์มีโอกาสเคลื่อนไหวได้ช้า อย่างไรก็ดี เลนส์สามารถหยุดตรงจุดที่ผมต้องการได้ในระหว่างการซูม และยังมีการเพิ่มก้านล็อควงแหวนซูมแบบใหม่เพื่อช่วยให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น แรงบิดของทั้งวงแหวนซูมและวงแหวนโฟกัสยังอยู่ในระดับพอประมาณและทำงานได้อย่างราบรื่น และนอกจากเลนส์จะมีโครงสร้างแบบกันน้ำและฝุ่นแล้ว ยังมีการเคลือบฟลูออไรต์หนึ่งชั้นเพื่อให้ทนทานต่อสภาพการใช้งานที่รุนแรงอีกด้วย

เราลองมาดูกันให้ชัดๆ ว่าเลนส์นี้มีจุดเด่นหลักอย่างไรบ้าง

 

#1: แสงหลอกและแสงแฟลร์ลดลงด้วยเทคโนโลยีการเคลือบแบบใหม่ของ Canon

EF24-105mm f/4L IS II USM มี Air Sphere Coating (ASC) ใหม่ที่สามารถลดแสงแฟลร์และแสงหลอกอย่างได้ผล ขณะที่รุ่นก่อนหน้าอย่าง EF24-105mm f/4L IS USM มักเกิดแสงหลอกสีสันต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์เมื่อถ่ายแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างจ้า แต่ปัญหานี้ลดลงไปอย่างมากในเลนส์รุ่นใหม่ และเมื่อเทียบกับเลนส์รุ่นก่อนหน้าแล้ว การป้องกันแสงแฟลร์ยังได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น จึงช่วยป้องกันไม่ให้ความเปรียบต่างที่บริเวณรอบแหล่งกำเนิดแสงลดลง นอกจากคุณจะได้เพลิดเพลินกับภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่สวยคมชัดแล้ว ภาพที่มีแสงย้อนในส่วนแบ็คกราวด์ยังสวยสดงดงามไม่แพ้กัน นอกจากนี้ ฮูดเลนส์ยังมาพร้อมกับก้านล็อคแบบใหม่อีกด้วย

 

EF24-105mm f/4L IS II USM

EF24-105mm f/4L IS USM

 

เมื่อผมถ่ายภาพนี้ด้วยเลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM เราจะเห็นแสงหลอกรอบๆ ดวงอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน แต่ปัญหาเดียวกันนี้จะไม่เกิดขึ้นเมื่อใช้เลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM นอกจากแสงหลอกแล้ว เรายังเห็นแสงแฟลร์ที่บริเวณใกล้กับกึ่งกลางภาพเมื่อใช้ EF24-105mm f/4L IS USM ซึ่งทำให้ความเปรียบต่างของดอกดาวกระจายลดลง

 

#2: แสดงรายละเอียดภาพทั้งภาพได้อย่างสมจริงพร้อมแนวเส้นต่างๆ ที่คมชัด

เมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้ EF24-105mm f/4L IS II USM มีพลังการถ่ายทอดภาพในรายละเอียดที่สูงกว่าตลอดทั้งช่วงการซูม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความคลาดทรงเบี้ยวที่บริเวณขอบภาพรวมถึงความคลาดสี (ปัญหาสีเพี้ยน) จะลดลงอย่างมาก โดยในการทดสอบถ่ายภาพครั้งนี้ ผมพบว่าพลังการถ่ายทอดภาพของเลนส์ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากตั้งแต่ทางยาวโฟกัสมาตรฐานจนถึงทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ พร้อมทั้งสามารถแก้ไขรายละเอียดต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้่างสุด นอกจากนี้ เมื่อใช้ EF24-105mm f/4L IS USM เลนส์มักจะแสดงลายเส้นที่บางให้ดูหนาขึ้น แต่เมื่อใช้ EF24-105mm f/4L IS II USM เลนส์สามารถถ่ายทอดลายเส้นได้อย่างคมชัดและสมจริง จึงทำให้ได้ภาพถ่ายที่ละเอียดคมชัดเมื่อนำมาใช้งานร่วมกับกล้องความละเอียดสูง ซึ่งการพัฒนานี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมสี่ชิ้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาความคลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

 

การวางชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลม 4 ชิ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

A: ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมแบบหล่อแก้วสองด้านที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่
B: ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมแบบหล่อแก้ว
ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมสี่ชิ้น ซึ่งรวมถึงชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมแบบหล่อแก้วสองด้านที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่หนึ่งชิ้นซึ่งเป็นองค์ประกอบชิ้นที่สี่ ได้รับการจัดวางอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยลดความบิดเบี้ยว การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายที่บริเวณขอบภาพตลอดทั้งช่วงการซูม

 

ถ่ายทอดที่ระยะ 24 มม.

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark IV/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

f/4 กึ่งกลางภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/4 ขอบภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/8 กึ่งกลางภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/8 ขอบภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

 

ถ่ายทอดที่ระยะ 50 มม.

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark IV/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

 

f/4 กึ่งกลางภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/4 ขอบภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/8 กึ่งกลางภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/8 ขอบภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

 

ถ่ายทอดที่ระยะ 105 มม.

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark IV/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (EV-0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

 

f/4 กึ่งกลางภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/4 ขอบภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/8 กึ่งกลางภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

f/8 ขอบภาพ
EF24-105mm f/4L IS II USM


EF24-105mm f/4L IS USM

 

#3: เอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่คมชัดยิ่งขึ้นพร้อมด้วยม่านรูรับแสง 10 กลีบ

EF24-105mm f/4L IS II USM คือหนึ่งในเลนส์ไม่กี่รุ่นที่สามารถสร้างแฉกแสงได้ถึง 10 แฉก เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทรนด์สำคัญของเลนส์ คือ การใช้จำนวนม่านรูรับแสงเป็นจำนวนคี่ ซึ่งสามารถสร้างประกายแฉกแสงในจำนวนที่มากกว่าจำนวนกลีบม่านรูรับแสงถึงสองเท่า ตัวอย่างเช่น รูรับแสงแบบเก้ากลีบสามารถสร้างประกายแฉกแสงได้ถึง 18 แฉก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ภาพทิวทัศน์กลางคืนมีองค์ประกอบภาพที่รกเกินไป ด้วยเลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM ซึ่งมีจำนวนม่านรูรับแสงเป็นจำนวนคู่ (10) จำนวนแฉกแสงที่ได้จะเท่ากับจำนวนกลีบของรูรับแสง และในขณะเดียวกัน เอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่ได้ยังคมชัดและสวยงามมากกว่าเมื่อเทียบกับเลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM

 

EF24-105mm f/4L IS II USM

EF24-105mm f/4L IS USM

 

เมื่อเปรียบเทียบกับเอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่เกิดจากเลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM แฉกแสงจำนวน 10 แฉกที่เกิดจากแหล่งกำเนิดแสงแต่ละประเภทจะคมชัดและละเอียดขึ้นกว่าในภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM เอฟเฟ็กต์แฉกแสงจะชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อคุณลดขนาดรูรับแสงให้แคบลง แต่ขอแนะนำให้ใช้ค่าระหว่าง f/13 ถึง f/16 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการกระจายแสงซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คุณภาพของภาพถ่ายลดลง

 

#4: ปัญหาขอบมืดได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นด้วยการวางชิ้นเลนส์อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้ว่าปัญหาขอบมืดคือปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในเลนส์ซูมทุกประเภทเมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ระยะมุมกว้าง แต่ปัญหานี้ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นอย่างมากในเลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM เมื่อเทียบกับเลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM โดยปกติแล้ว เราจะสังเกตเห็นปัญหาขอบมืดได้ยาก เนื่องจากกล้องมีการนำคุณสมบัติการแก้ไขมาใช้โดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี หากเราถ่ายภาพโดยใช้ความไวแสง ISO สูง และทำการชดเชยแสงเพื่อทำให้ภาพสว่างขึ้น อาจทำให้คุณภาพของภาพที่มุมทั้งสี่ของภาพลดลง ในเลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM จึงมีการจัดการปัญหาขอบมืดนี้ในแบบออพติคอลโดยการวางชิ้นส่วนเลนส์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาคุณภาพของภาพถ่ายที่ด้อยลง

 

EF24-105mm f/4L IS II USM

EF24-105mm f/4L IS USM

 

เมื่อตั้งค่าการแก้ไขแสงสว่างบริเวณขอบภาพเป็น "ไม่ใช้งาน" เราจะสามารถบอกความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายที่เกิดจากเลนส์ทั้งสองชนิดได้อย่างง่ายดาย ขณะที่เราสังเกตเห็นขอบมืดที่มุมทั้งสี่ของภาพเมื่อใช้เลนส์ EF24-105mm f/4L IS USM แต่ในเลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM ขอบมืดจะลดน้อยลง ดังนั้น คุณจึงสามารถถ่ายภาพได้ง่ายยิ่งขึ้นเมื่อใช้เลนส์รุ่นใหม่นี้ แม้ว่าจะเปิดรูรับแสงให้กว้างก็ตาม

 

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/200 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ผมถ่ายภาพระยะใกล้ของดอกไม้ดอกเล็กๆ ที่อยู่บนต้นซากุระในเดือนธันวาคม กำลังขยายสูงสุดของเลนส์ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นเล็กน้อย และมีโอกาสน้อยมากๆ ที่คุณจะพบกับความยุ่งยากในการถ่ายภาพตัวแบบในระยะใกล้ตามต้องการเมื่อใช้เลนส์ EF24-105mm f/4L IS II USM ในระยะเทเลโฟโต้ นอกจากนี้ ในบริเวณที่เอฟเฟ็กต์โบเก้มีความเปรียบต่างสูง เช่น กิ่งก้านของต้นไม้ ยังดูไม่โดดเด่นมากจนเกินไปอีกด้วย

 

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/320 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ผมตั้งค่าเลนส์ไว้ที่ 105 มม. เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟที่บีบอัดระยะห่างระหว่างราวกั้นในส่วนโฟร์กราวด์ คนเดินถนน และอาคารในส่วนแบ็คกราวด์ การจะได้เอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการด้วยเลนส์ 24 - 70 มม. อาจไม่ใช่เรื่องง่าย และผมอาจพลาดโอกาสในการถ่ายภาพนี้หากผมต้องเปลี่ยนเลนส์ ดังนั้น เลนส์ที่ให้ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ได้สูงถึง 105 มม. จึงมีประโยชน์มากมายอย่างเห็นได้ชัด

 

EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/400 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ในตัวอย่างนี้ ผมพยายามแสดงให้เห็นถึงความสูงของตึกระฟ้าโดยการตั้งค่าเลนส์ไว้ที่ระยะมุมกว้าง และผมยังลองเล่นกับเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงด้วยการใช้มุมกว้างที่ 24 มม. โดยจุดสำคัญอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากเอฟเฟ็กต์เปอร์สเปคทีฟ โดยการขยับเข้าไปใกล้ตัวแบบให้มากที่สุดและถ่ายภาพที่มุม

 

คุณสามารถอ่านความประทับใจครั้งแรกที่มีต่อเลนส์นี้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ได้ที่นี่:
EF24-105mm f/4L IS II USM: การออกแบบออพติคอลสำหรับเลนส์ซูมมาตรฐานที่ปรับปรุงใหม่

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

 

 

Kazuo Nakahara

 

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา