ในบทความชุดนี้ เราจะมารู้จักเลนส์แนะนำสำหรับผู้ใช้กล้องแบบ APS-C กันทีละรุ่น คำแนะนำในบทความจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดชุดเลนส์ตามที่ต้องการได้ ในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่เลนส์เดี่ยวมาตรฐานรุ่น EF50mm f/1.4 USM (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
เอฟเฟ็กต์ภาพตามค่ารูรับแสงที่เลือก
เลนส์ EF50mm f/1.4 USM มีมุมรับภาพเทียบเท่ากับประมาณ 80 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. เป็นเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตและวัตถุที่อยู่นิ่ง กำลังในการแยกรายละเอียดภาพของเลนส์จะเพิ่มขึ้นเมื่อลดขนาดรูรับแสงลง และด้วยเหตุนี้ลักษณะการแสดงภาพจึงแตกต่างกันตามค่ารูรับแสงที่ใช้ เมื่อเปิดรูรับแสงกว้างจนเกือบสุดก็จะได้ภาพที่ดูนุ่มนวลจากความพร่ามัวที่ปรากฏอยู่ และนี่จึงเป็นเหตุผลว่าเพราะเหตุใดเลนส์นี้จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก แต่เมื่อปรับค่าใกล้ f/5.6 จะได้ภาพที่คมชัด ซึ่งช่วยให้คุณสามารถถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆ ของตัวแบบได้อย่างสมจริง ทำความเข้าใจลักษณะการแสดงภาพของเลนส์นี้จนคุณสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านการถ่ายภาพของคุณ
มองโดยรวม!
- ภาพที่ดูนุ่มนวล เมื่อเปิดรูรับแสงกว้างสุด
- รองรับระบบแมนนวลโฟกัสแบบ Full-time
f/1.4
FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (1/80 วินาที, f/1.4, +0.7EV)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ทั้งภาพดูนุ่มนวลมาก ราวกับมีม่านบางๆ มาปกคลุม เป็นความตั้งใจที่ต้องการให้ปรากฏความพร่ามัวภายในภาพที่รูรับแสงกว้างสุด เพื่อทำให้ภาพนี้ดูนุ่มนวล
f/8
FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (1/500 วินาที, f/8, -0.3EV)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
เป็นเวลาประมาณครึ่งศตวรรษแล้วนับจากที่มีการเปิดตัวรถรุ่นนี้ ผมได้พบรถญี่ปุ่นคันนี้ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกที่อยู่ห่างไกลของยุโรป ผมถ่ายภาพนี้โดยปรับลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f/8 เพื่อเพิ่มกำลังในการแยกรายละเอียดภาพ
โครงสร้างเลนส์: 7 ชิ้นเลนส์ใน 6 กลุ่ม ระยะโฟกัสใกล้ที่สุด: ประมาณ 0.45 เมตร กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.15 เท่า ขนาดฟิลเตอร์: φ58 มม. ขนาด: ประมาณ φ73.8×50.5 มม. น้ำหนัก: ประมาณ 290 กรัม
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย