ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

EOS 5D Mark IV: รีวิวตามภาพ (1) - การออกแบบภายนอก

2017-01-12
1
14 k
ในบทความนี้:

ซีรีย์ EOS 5D ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้ใช้มากมาย ขณะนี้เปิดตัวสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาในกลุ่มผลิตภัณฑ์แล้ว นั่นคือ EOS 5D Mark IV ในส่วนต่อไปนี้ ผมจะอธิบายลักษณะภายนอกของกล้องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากนี้ พร้อมทั้งนำตัวอย่างภาพถ่ายมากมายมาให้ชมกัน (เรื่องโดย Takeshi Ohura)

EF24-70mm f/2.8L II USM ที่ต่อเข้ากับกล้อง EOS 5D Mark IV

 

กล้องระดับกลางรุ่นสำคัญมาพร้อมคุณสมบัติที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก

นับตั้งแต่เปิดตัวกล้องรุ่นบุกเบิกเมื่อปี 2005 ซีรีย์ EOS 5D ได้ัรับการตอบรับที่ดีมาโดยตลอดจากกลุ่มผู้ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ช่างภาพระดับมืออาชีพจนถึงมือสมัครเล่น ปัจจุบัน ซีรีย์นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นจนกลายเป็นตัวแทนกล้อง DSLR ของ Canon แน่นอนว่ากล้องระดับกลางเหล่านี้มาพร้อมกับเซนเซอร์ขนาดฟูลเฟรม 35 มม. รวมถึงคุณสมบัติใหม่ล่าสุดที่ทำงานร่วมกับเทรนด์ความต้องการต่างๆ ในปัจจุบันได้

กล้องที่ผมเลือกมากล่าวถึงในบทความนี้คือ EOS 5D Mark IV ซึ่งเป็นรุ่นถัดจาก EOS 5D Mark III ที่มีการติดตั้งเซนเซอร์ภาพความละเอียด 30.4 ล้านพิกเซล รวมถึงพกพาคุณสมบัติอันหลากหลาย

หากต้องการอ่านข้อมูลสรุปเกี่ยวกับคุณสมบัติหลักใหม่ๆ ใน EOS 5D Mark IV โปรดดูบทความเกี่ยวกับ 12 คุณสมบัติใหม่อันทรงพลังของ EOS 5D Mark IV หรืออ่านรายละเอียดคำแนะนำเกี่ยวกับการออกแบบลักษณะภายนอกของกล้องในแง่มุมต่างๆ ด้านล่างต่อไป

 

 

 

 
 

 

การเพิ่มปุ่มการเลือกพื้นที่ AF

แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกของกล้อง EOS 5D Mark IV จะเปลี่ยนไปเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกล้องรุ่นก่อนหน้านี้ แต่โดยหลักแล้วการออกแบบภายนอกยังคงดำเนินรอยตามกล้องรุ่นก่อนๆ อยู่ คุณจะเห็นเส้นสายและพื้นผิวกล้องที่โค้งมากมายพร้อมรูปลักษณ์ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นเทคนิคด้านการออกแบบที่ใช้กันทั่วไปในรถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุด

การออกแบบฝาปิดเพนทาปริซึมยังแทบไม่ต่างจากเดิมนับตั้งแต่เปิดตัวกล้องรุ่นที่สองคือ EOS 5D Mark II ซึ่งขณะนี้ฝาปิดได้กลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของกล้องได้เป็นอย่างดี

 

ช่างภาพ Joseph Mak เป็นเจ้าของซีรีย์ EOS 5D ทุกรุ่นตลอดหลายปีที่ผ่านมา มาดูกันว่าอะไรที่ทำให้เขาไม่เปลี่ยนใจจากกล้องซีรีย์นี้ใน กล้อง Canon ซีรีย์ EOS 5D: อดีตถึงปัจจุบัน

 

เพนทาปริซึมมาพร้อมกับ GPS ในตัวและจุดรับสัญญาณ Wi-Fi ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำเรซิ่นมาใช้เป็นวัสดุสำหรับฝาปิดเพนทาปริซึม

 

สำหรับแผ่นโลโก้ แทนที่จะวางชื่อ “Mark _” ให้ห่างจากโลโก้ “EOS 5D” เหมือนดังเช่นในรุ่นก่อนหน้านี้ เราได้นำแผ่นนี้ไปติดไว้ด้านล่างสัญลักษณ์ “EOS 5D” เพื่อให้เห็นชื่อได้ง่ายขึ้น แม้ว่าผู้ใช้จะต้องทำความคุ้นเคยกับการจัดวางแบบใหม่นี้พอควร

มีการนำชื่อแบรนด์และชื่อรุ่นมาไว้ด้วยกันในกล้องรุ่นนี้

 

ในความเห็นของผม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของกล้องคือ ตำแหน่งใหม่ของโลโก้ที่ด้านหน้าตัวกล้องและปุ่มการเลือกพื้นที่ AF ใหม่ ซึ่งติดตั้งอยู่ระหว่างวงแหวน Quick Control และ Multi-controller ที่ด้านหลังกล้อง

มีการติดตั้งปุ่มการเลือกพื้นที่ AF ใหม่เพิ่มระหว่าง Multi-controller และวงแหวน Quick Control โดยหลังจากที่คุณกดปุ่มการเลือกจุด AF แล้ว คุณสามารถกดปุ่มนี้เพื่อเลือกพื้นที่ AF ได้

 

ตามชื่อเรียกของปุ่ม ปุ่มการเลือกพื้นที่ AF เป็นปุ่มที่ใช้เลือกพื้นที่ AF ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะใช้ปุ่ม M-Fn ที่อยู่ข้างปุ่มชัตเตอร์ (แต่เรายังคงเลือกพื้นที่ AF ด้วยปุ่ม M-Fn ได้เหมือนเดิม) และแน่นอนว่าเราสามารถตั้งค่าและกำหนดฟังก์ชันการใช้งานของปุ่ม เช่น ความไวแสง ISO และ AE lock ได้เองอีกด้วย

ล็อคมัลติฟังก์ชัน (Multi function lock) คือคุณสมบัติที่ใช้เพื่อปิดปุ่มควบคุมต่างๆ อาทิ วงแหวน Quick Control เพื่อป้องกันการเปิดใช้งานโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งคุณจะพบได้ใน EOS 5D Mark III แต่ขณะนี้คุณสามารถใช้ปุ่มการเลือกพื้นที่ AF เพื่อเปิดใช้งานคุณสมบัตินี้ได้แล้ว

 

คุณยังสามารถกำหนดการใช้งานปุ่มการเลือกพื้นที่ AF ที่เพิ่มเข้ามาใหม่นี้ได้เอง และกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ให้กับปุ่ม เช่น AE lock และการตั้งค่าความไวแสง ISO ได้อีกด้วย

 

บอดี้ของ EOS 5D Mark IV มีขนาด 150.7 × 116.4 × 75.9 มม. และหนัก 890 ก. รวมแบตเตอรี่และการ์ดหน่วยความจำ แม้ว่าจะมีขนาดเกือบเท่ากันกับ EOS 5D Mark III (152.0 × 116.4 × 76.4 มม.) แต่มีน้ำหนักเบากว่าประมาณ 60 ก. ความแตกต่างในเรื่องน้ำหนักนี้มีความสำคัญมากกว่าที่เราเห็น ซึ่งคุณจะสามารถสัมผัสได้อย่างชัดเจนเมื่อใช้กล้องที่มีเลนส์น้ำหนักเบา

ตำแหน่งของปุ่มเช็คระยะชัดลึกยังคงเหมือนเดิม และคุณยังสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชันของปุ่มได้เช่นเดิมด้วยคุณสมบัติ "ตั้งการควบคุมด้วยตนเอง"

 

ช่องต่อรีโมทคอนโทรลซึ่งเคยอยู่ตรงบริเวณด้านข้างของบอดี้กล้องถูกย้ายไปไว้ด้านหน้าของ EOS 5D Mark IV ใต้ปุ่มปลดเลนส์

 

มีการสลักอักษรไว้บนวงแหวนเลือกโหมด และคุณสามารถหมุนวงแหวนเลือกโหมดพร้อมกับกดปุ่มปลดล็อควงแหวนเลือกโหมดซึ่งอยู่ตรงกลางได้เช่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้านี้

 

ส่วนของอินเทอร์เฟซที่อยู่บริเวณด้านข้างของบอดี้กล้องมาพร้อมกับส่วนต่อไปนี้: (ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา) ช่องต่อ PC, ช่องต่อ IN สำหรับไมโครโฟนเสริม, ช่องต่อหูฟัง, ซ็อกเก็ตตัวป้องกันสายเคเบิล, ช่องต่อ Digital และช่องต่อ HDMI mini OUT

 

เช่นเคย EOS 5D Mark IV มีช่องใส่การ์ดคู่ โดยช่องหนึ่งรองรับการ์ด CF และอีกช่องหนึ่งรองรับการ์ด SDXC, SDHC และ SD โดยช่องเหล่านี้ไม่สามารถใช้ได้กับการ์ด CFast

 

แบตเตอรี่ใช้รุ่นเดียวกับรุ่นก่อนหน้านี้คือ LP-E6N และ LP-E6 ซึ่งใช้ในกล้อง EOS 5D Mark IV สำหรับ LP-E6N คุณสามารถถ่ายภาพได้ประมาณ 900 ภาพ (มาตรฐาน CIPA) ด้วยการตั้งค่าการถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพแบบปกติ

 

ปัจจุบันจอภาพ LCD รองรับการใช้งานแบบหน้าจอสัมผัส

ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดในการใช้งานกล้อง EOS 5D Mark IV เมื่อเทียบกับรุ่นก่อนหน้านี้อาจเป็นเรื่องของจอภาพ LCD ที่เป็นระบบสัมผัส ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้คุณสามารถใช้งานแบบหน้าจอสัมผัสระหว่างการถ่ายภาพแบบ Live View ได้ เช่น การเคลื่อนจุดโฟกัส การใช้ชัตเตอร์แบบแตะ การเปลี่ยนการตั้งค่าเมนู และการเรียกดูภาพ จุดที่น่าสนใจอย่างมากคือการใช้งาน เช่น การขยายภาพ และการเรียกดูภาพ ที่ทำงานได้อย่างสะดวกง่ายดายมากขึ้นด้วยความเร็วที่สูงขึ้น

กล้องมาพร้อมคุณสมบัติชัตเตอร์แบบแตะ ซึ่งให้คุณสามารถลั่นชัตเตอร์ได้อย่างง่ายๆ เพียงแตะตรงจุดที่ต้องการโฟกัสบนจอภาพ Live View

 

อีกทั้งคุณยังสามารถตั้งความไวในการตอบสนองของจอภาพ LCD ระหว่างการใช้งานแบบหน้าจอสัมผัสได้อีกด้วย และตัวเลือก "ตอบสนองรวดเร็ว" จะเป็นประโยชน์เมื่อคุณใช้งานหน้าจอสัมผัสขณะที่สวมถุงมือที่ไวต่อการสัมผัส

จอภาพ LCD มีขนาด 3.2 นิ้ว ความละเอียดประมาณ 162,000 จุด ทั้งยังมอบคุณสมบัติใหม่ที่ให้คุณสามารถปรับโทนสีภาพเป็นโทนสีร้อน มาตรฐาน โทนสีเย็น 1 หรือโทนสีเย็น 2 ได้ ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ ที่โดดเด่น ได้แก่ การเลือกพื้นที่ AF ที่ง่ายดายยิ่งขึ้น พร้อมปุ่มการเลือกพื้นที่ AF ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาดังที่ผมได้กล่าวไปก่อนหน้านี้

 

เสียงการทำงานของชัตเตอร์ีที่เงียบเชียบขึ้น

คุณสมบัติเด่นอีกอย่างหนึ่งของ EOS 5D Mark IV คือเมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์จะสัมผัสได้ถึงความมั่นคงและเงียบเชียบมากขึ้น และยังมีส่วนที่คล้ายคลึงกับกล้อง EOS 5DS และ EOS 5DS R ที่การเคลื่อนตำแหน่งของกระจกขึ้นและลงส่วนใหญ่จะถูกควบคุมด้วยมอเตอร์ นอกจากนี้ การลั่นชัตเตอร์ยังทำได้อย่างราบรื่น และการทำงานยังสะดวกสบายขึ้นอย่างมาก

EOS 5D Mark IV รองรับความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ 7 fps อีกทั้งความไวในการตอบสนองของชัตเตอร์ยังรวดเร็วมากที่สุดในบรรดากล้องทุกระดับ ดังนั้น ผู้ใช้จะพบว่ากล้องสามารถถ่ายวัตถุที่เคลื่อนไหวได้ง่ายดายยิ่งขึ้น และความทนทานของชัตเตอร์ยังคงเดิมที่ 150,000 รอบ

เซนเซอร์ภาพใช้เซนเซอร์ CMOS ที่พัฒนาขึ้นโดย Canon ซึ่งมีจำนวนพิกเซลที่ใช้งานจริงที่ 30.4 ล้านพิกเซล ซึ่งถือเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจากเดิมในกล้อง EOS 5D Mark III ที่มีจำนวนพิกเซลที่ใช้งานจริงเพียง 22.3 ล้านพิกเซล

บางคนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเฟรมและประสิทธิภาพความไวสูงเมื่อจำนวนพิกเซลสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากเรานำวิธีการต่างๆ เช่น ระบบประมวลผลภาพ DIGIC 6+ มาใช้ ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องจึงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งขั้นเป็น 7 fps ดังนั้น ความไวแสง ISO สูงสุดที่สามารถนำไปใช้งานตามปกติจึงเพิ่มเป็น ISO 32000 ขณะที่ความไวแสง ISO ต่ำสุดยังคงอยู่ที่ ISO 100

หากต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนา EOS 5D Mark IV โปรดอ่านบทสัมภาษณ์นักพัฒนากล้อง EOS 5D Mark IV โดยเริ่มต้นที่ ตอนที่ 1: แนวคิดการพัฒนาและการปรับปรุงบอดี้กล้องให้ดียิ่งขึ้น

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

 

Takeshi Ohura

 

เกิดเมื่อปี 1965 ที่จังหวัดมิยะซะกิ Ohura จบการศึกษาจากแผนกการถ่ายภาพจากวิทยาลัยศิลปะ มหาวิทยาลัยนิฮอง หลังจากทำงานในแผนกตัดต่อกับบริษัทการวางแผนการออกแบบและนิตยสารรถมอเตอร์ไซค์ เขาผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ เขาเขียนบทความให้กับนิตยสารด้านการถ่ายภาพจากประสบการณ์ในการใช้กล้องดิจิตอลสำหรับการถ่ายภาพโฆษณา นอกเหนือจากการทำงาน เขาชอบดูภาพถ่ายและหาเวลาเยี่ยมชมแกลเลอรี่อยู่เสมอ Ohura ยังเป็นสมาชิก Camera Grand Prix Selection Committee อีกด้วย

 

Digital Camera Watch

 

ส่งข่าวสารรายวันเกี่ยวกับเรื่องราวของกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพ นอกจากนี้ยังเผยแพร่บทความต่างๆ เช่น รีวิวการใช้กล้องดิจิตอลจริงพร้อมตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องรุ่นใหม่ๆ

http://dc.watch.impress.co.jp/

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา