ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

รีวิวกล้อง EOS M5 ตอนที่ 3: เรียนรู้คุณสมบัติการใช้งานใหม่ล่าสุดที่ได้รับการปรับปรุงใหม่

2016-10-20
2
4.81 k
ในบทความนี้:

Canon เพิ่งเปิดตัว EOS M5 ซึ่งเป็นกล้องมิเรอร์เลสรุ่นเรือธง โดยตอนที่ 3 ของรีวิวนี้เราจะมาเจาะลึกคุณสมบัติใหม่ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมาก รวมถึงคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะมาดูกันให้ชัดๆ เกี่ยวกับช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ในตัว ปุ่ม DIAL FUNC. ความไวแสง ISO สูงสุด และฟังก์ชั่นการแพนกล้องของกล้องนี้กัน (เรื่องโดย Kazuo Nakahara)

*รีวิวครั้งนี้ใช้กล้องต้นแบบ ซึ่งอาจมีรูปลักษณ์ภายนอกแตกต่างจากผลิตภัณฑ์จริง

 

หัวข้อ 1: ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ในตัว

EOS M5 มาพร้อมกับช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ในตัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้นมาและทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากๆ เนื่องจากช่วยทำให้ผมมุ่งความสนใจไปที่ตัวแบบได้ดียิ่งขึ้น เมื่อผมมองผ่านช่องมองภาพ ผมเกิดแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้ายิ่งขึ้นที่จะถ่ายภาพให้ออกมาดีขึ้นกว่าเดิม ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ในตัวมีจอ Organic Electroluminescent (OLED) ความละเอียดประมาณ 2.36 ล้านจุด ซึ่งให้สีสันที่สดใสมีชีวิตชีวาอย่างยิ่ง นอกจากนี้ เวลาที่หน้าจอของช่องมองภาพเป็นสีดำจะสั้นลง และผมยังรู้สึกประทับใจกับการรับข้อมูลภาพที่ทำงานได้ค่อนข้างราบรื่นในระหว่างการถ่ายภาพต่อเนื่อง

ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์จะมีประโยชน์โดยเฉพาะเมื่อถ่ายฉากที่มองเห็นภาพบนจอ LCD ด้านหลังได้ยาก เช่น ในสภาวะย้อนแสง หรือเมื่อถ่ายภาพกลางแจ้ง ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเดียวกับแกนออพติคอลของเลนส์ยังช่วยให้คุณสามารถจัดองค์ประกอบภาพได้อย่างเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกับกล้อง DSLR ด้วยจุดมองภาพที่ระยะ 22 มม. ผมสามารถมองเห็นบริเวณมุมทั้งสี่ของภาพได้อย่างชัดเจนแม้จะสวมแว่นตาขณะมองผ่านช่องมองภาพก็ตาม

ด้านในช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์มีวิธีการแสดงผลสี่วิธีด้วยกัน "การแสดงผลแบบที่ 1" จะวางซ้อนข้อมูลไว้บนส่วนหนึ่งของภาพ ขณะที่ "การแสดงผลแบบที่ 2" จะแสดงข้อมูลการตั้งค่าไว้นอกภาพถ่าย นอกจากนี้ โหมดแสดงแต่ละโหมดให้คุณสามารถแสดงภาพถ่ายทั้งในแนวตั้งหรือแนวนอน คุณจึงสามารถเลือกรูปแบบการแสดงภาพที่ตรงกับสไตล์การถ่ายภาพของคุณได้

รูปแบบการแสดงผลของช่องมองภาพที่สามารถเลือกได้

การแสดงผลแบบที่ 1

การแสดงผลแบบที่ 2

 

การแสดงผลแบบที่ 1

การแสดงผลแบบที่ 2

 

EOS M5/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 15 มม. (เทียบเท่ากับ 24 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/60 วินาที, EV-0.7)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
ในตัวอย่างนี้ แสงย้อนที่สาดส่องเข้ามายังอาคารทำให้ความสว่างเกิดความเปรียบต่างสูง เมื่อใช้ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ จึงลดแสงแดดที่สว่างจ้าลงได้ และช่วยให้ผมระบุโทนสีที่เนียนละเอียดของพระอาทิตย์ที่กำลังตกดินได้

 

หัวข้อ 2: ปุ่ม DIAL FUNC.

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับปุ่มควบคุมของ EOS M5 คือ การใช้ปุ่ม DIAL FUNC. สำหรับการตั้งค่าฟังก์ชั่นต่างๆ เมื่อกดปุ่ม DIAL FUNC. ตัวเลือกพารามิเตอร์แบบเลื่อนจะปรากฏที่ด้านล่างของหน้าจอ ซึ่งพารามิเตอร์ที่สามารถตั้งค่าได้อยู่ในกรอบสีส้ม คุณสามารถตั้งค่าความไวแสง ISO และสมดุลแสงขาวในค่าเริ่มต้นได้

 

 

เมื่อกดปุ่ม [DIAL FUNC.] แต่ละครั้งจะเป็นการสลับไปยังพารามิเตอร์ถัดไปเช่นเดียวกับตัวเลือกแบบเลื่อน

 

ตอนนี้คุณจะสามารถตั้งการควบคุมด้วยตนเองใน "ตั้งค่าระบบส่วนตัว" เป็น "ไม่กำหนด" "ความไวแสง ISO" "สมดุลแสงขาว" "โหมดวัดแสง" "วิธีโฟกัสอัตโนมัติ" หรือ "โหมดขับเคลื่อน" ได้

 

หัวข้อ 3: ความไวแสง ISO สูงสุดที่ 25600

เนื่องจากความสามารถในการลดจุดรบกวนอันมีประสิทธิภาพของระบบประมวลผลภาพ DIGIC 7 การตั้งค่าความไวแสง ISO ตามปกติจึงมี ISO 25600 ให้เลือก ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตการสื่ออารมณ์ในภาพถ่ายได้อย่างมาก ไม่เพียงคุณจะสามารถถ่ายภาพแบบถือกล้องถ่ายด้วยมือในสถานที่มืดซึ่งแทบไม่มีแสงสว่างแล้ว แต่ยังสามารถถ่ายสแนปช็อตในเวลากลางคืนแบบถือกล้องถ่ายแม้เมื่อใช้การตั้งค่ารูรับแสงที่แคบอีกด้วย

EOS M5/ EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 15 มม. (เทียบเท่ากับ 24 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/16, 1/8 วินาที, EV±0)/ ISO 25600/ WB: อัตโนมัติ
ผมถ่ายภาพท้องถนนยามค่ำคืนแบบถือกล้องด้วยมือโดยลดค่ารูรับแสงลงเหลือ f/16 ภาพจึงมีจุดรบกวนแสงน้อยมากแม้ใช้ความไวแสง ISO ที่ 25600 ก็ตาม แม้ว่าระดับความไวแสงที่สูงเช่นนั้นจะทำให้เกิดจุดรบกวนในระดับหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่พลังการถ่ายทอดรายละเอียดยังคงทำได้อย่างยอดเยี่ยม เช่น เรายังสามารถมองเห็นเค้าโครงของอาคารต่างๆ และภาพสะท้อนบนพื้นผิวถนนที่เปียกได้อย่างชัดเจน

คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบประมวลผลภาพ DIGIC

 

หัวข้อ 4: ฟังก์ชั่นการแพนกล้องแบบใหม่

ฟังก์ชั่นการแพนกล้องจะช่วยเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติโดยการวิเคราะห์ความเร็วในการแพนกล้องและความเร็วของตัวแบบ โดยฟังก์ชั่นนี้ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในโหมด SCN และยังสามารถปรับเอฟเฟ็กต์ได้ถึงสามระดับ ได้แก่ สูงสุด กลาง หรือต่ำสุด และปัญหาตัวแบบเบลอยังลดลงเมื่อคุณใช้เลนส์ IS ที่สนับสนุนฟังก์ชั่นนี้ด้วย

เลนส์ที่สามารถใช้ได้กับฟังก์ชั่นการแพนกล้อง
EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM
EF-M15-45mm f/3.5-6.3 IS STM (ต้องอัพเดตเฟิร์มแวร์)

 

เลือกฟังก์ชั่นการแพนกล้องจากโหมด SCN

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

 

 

Kazuo Nakahara

 

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

 

Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา