ในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 ที่ผ่านมา Canon ได้แถลงเปิดตัวกล้องใหม่ 2 รุ่น ได้แก่ "EOS 5DS" และ "EOS 5DS R" ซึ่งมีจำนวนพิกเซลสูงที่สุดในกลุ่มซีรีส์ EOS ในชุดบทความต่อเนื่อง 4 ตอนซึ่งเริ่มด้วยตอนที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ ผมจะนำสิ่งที่น่าสนใจของกล้องทั้งสองรุ่นนี้มาเล่าให้ฟัง (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
กล้องฟูลเฟรม 35 มม. ที่มีจำนวนพิกเซลสูงจนน่าทึ่งกว่า 50 ล้านพิกเซล!!
6 กุมภาพันธ์ 2015 กลายเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์กล้องดิจิตอล SLR ที่ต้องจดจำ เพราะในวันนี้ซีรีส์ EOS เปิดตัวกล้องที่ก้าวข้ามขีดจำกัดของจำนวนพิกเซลได้สำเร็จถึงมากกว่า “50 ล้านพิกเซล” ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นอุปสรรคที่กล้องฟูลเฟรมฟอร์แมต 35 มม. ไม่สามารถขึ้นไปถึงได้ กล้องสองรุ่นซึ่งมีเครื่องหมายตัวอักษร “S” กำกับไว้นี้ เปิดตัวโดยกล้อง EOS 5DS R มีฟังก์ชั่นการนำฟิลเตอร์ Low-pass แบบออพติคอล (LPF) ออกขณะที่ EOS 5DS ยังใช้ฟิลเตอร์ LPF แบบออพติคอลอยู่
กล้อง EOS 5DS และ 5DS R มีจำนวนพิกเซลสูงที่สุดในบรรดากล้องซีรีส์ EOS ทว่าจัดเป็นรุ่นทางเลือกในกลุ่ม EOS 5D เนื่องจากพัฒนามาจากรุ่น EOS 5D Mark III เครื่องหมาย “S” เป็นเครื่องหมายเกียรติยศประจำกล้อง EOS-1Ds ซึ่งเป็นกล้องที่มีความละเอียดสูงที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลาที่เปิดตัว ขณะเดียวกัน เครื่องหมาย “R” ในชื่อรุ่น EOS 5DS R มาจากคำว่า “Resolution (ความละเอียด)” ไม่เพียงหมายความถึงความละเอียดที่สูงเท่านั้น แต่ยังรวมถึง “ความแม่นยำ” อีกด้วย
- ฟิลเตอร์ Low-pass 1
- ฟิลเตอร์ Low-pass 2
- ประกายแฉกของแสง
- แยกภาพตัวแบบในแนวตั้ง
- รวมภาพที่แยกไว้
- กระจกซับแสงอินฟาเรด
- เซนเซอร์ CMOS
ภาพจำลองแนวคิดการนำเอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์ Low-Pass ออก
สำหรับกล้อง EOS 5DS R ภาพตัวแบบจะถูกแยกในแนวตั้งก่อนด้วยฟิลเตอร์ Low-pass 1 หลังจากนั้น ภาพที่แยกไว้จะถูกนำมารวมกันอีกครั้งที่ฟิลเตอร์ Low-pass 2 ส่วนกล้อง EOS 5DS ภาพตัวแบบจะถูกแยกในแนวนอนโดยฟิลเตอร์ Low-pass 1 และแยกในแนวตั้งด้วยฟิลเตอร์ Low-pass 2
มีการนำเซนเซอร์ CMOS ฟูลเฟรมที่ปรับปรุงใหม่มาใช้กับกล้องทั้งสองรุ่น แต่มีโครงสร้างฟิลเตอร์ Low-pass ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยฟิลเตอร์ติดตั้งอยู่ด้านหน้าเซนเซอร์ภาพ เช่นเดียวกับกล้อง EOS รุ่นอื่นๆ EOS 5DS ป้องกันการเกิดสีเพี้ยนและเอฟเฟ็กต์มอเร่ลายทาง (Moiré Effect) โดยการแยกภาพตัวแบบโดยใช้เอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์ Low-pass ตรงกันข้าม กล้อง EOS 5DS R แยกภาพตัวแบบด้วยฟิลเตอร์ Low-pass แต่รวมกลับอีกครั้งโดยใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นโดย Canon โดยเฉพาะ วิธีนี้เป็นการนำเอฟเฟ็กต์จากฟิลเตอร์ Low-pass ออกอย่างได้ผลเพื่อให้ได้ความละเอียดคมชัดที่ใกล้เคียงกับภาพที่ไม่ใช้ฟิลเตอร์ Low-pass นอกจากคุณสมบัติ LPF ออพติคอลแล้ว กล้อง EOS 5DS R และ EOS 5DS เรียกได้ว่าเป็นฝาแฝดกัน เพราะไม่มีความแตกต่างอื่นๆ ทั้งด้านฟังก์ชั่นและกลไก ไม่เพียงเท่านั้น ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของกล้องทั้งสองรุ่นยังใช้วิธีการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากอาการกล้องสั่น ซึ่งเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อจำนวนพิกเซลสูงเกิน 50 ล้านพิกเซล ต่อไปเราจะมาดูคุณภาพของภาพถ่ายระดับ “ซูเปอร์ไฮ” ของกล้องสองรุ่นนี้ด้วยกัน
* บทความนี้เขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากผลิตภัณฑ์รุ่นทดลอง ข้อมูลบางอย่างเช่นลักษณะที่ปรากฏของผลิตภัณฑ์และคุณภาพของภาพอาจแตกต่างจากผลิตภัณฑ์จริงบ้างเล็กน้อย
เปรียบเทียบรูปลักษณ์ของกล้อง EOS 5DS R กับ EOS 5D Mark III
กล้อง EOS 5DS R และ EOS 5D Mark III ต่างก็มีขนาดภายนอกเท่ากันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อย่างไรก็ตาม กล้องรุ่นใหม่นั้นมีน้ำหนักเบากว่า เนื่องจากโครงสร้างภายในที่แตกต่าง และนอกเหนือจากขอบบอดี้ทางด้านขวาที่ยื่นออกมาของ EOS 5DS R แล้ว ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวของกล้องสองรุ่นนี้คือสีของโลโก้รุ่น EOS 5DS R ใช้เลเยอร์การเคลือบแบบทนทานเพื่อให้พื้นผิวของบอดี้คงสภาพมากที่สุดเมื่อใช้งานระยะยาว
มีการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหากล้องสั่น ความสูงของปุ่ม M-Fn บนกล้อง EOS 5DS R ต่ำลงเล็กน้อย และใช้ผิวเคลือบใหม่กับวงแหวนเลือกโหมด มีการเพิ่มความนูนเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวสลักอักษร ขณะเดียวกันยังช่วยลดเงาสะท้อนบนพื้นผิวอีกด้วย กล้อง EOS 5DS R ไม่มียางกันลื่นติดที่พื้นผิวด้านล่างแต่แทนด้วยสกรูในโครงสร้างภายในเพื่อแก้ไขปัญหากล้องสั่น
EOS 5DS R และ EOS 5DS อัดแน่นด้วยคุณสมบัติใหม่สำหรับซีรีส์ EOS
การล็อคกระจกสะท้อนภาพ (Mirror Lockup)
คุณสามารถตั้งค่าความไวในการตอบสนองของชัตเตอร์หลังล็อคกระจกสะท้อนภาพได้ด้วยตัวเองบนกล้องรุ่นนี้ ซึ่งจะต่างจากรุ่นอื่นๆ เมื่อเลือกการตั้งค่าเป็นช่วงระยะ การล็อคกระจกสะท้อนภาพและการลั่นชัตเตอร์จะสามารถทำงานต่อเนื่องกันได้เพียงแค่กดปุ่มชัตเตอร์ครั้งเดียว ซึ่งช่วยลดปัญหาจากอาการกล้องสั่น
การตั้งค่าที่เพิ่มความคมชัด
ทั้งสองพารามิเตอร์ถูกเพิ่มเข้ามาในการตั้งค่าความคมชัดเพื่อการแก้ไขความละเอียดคมชัดที่ละเอียดยิ่งขึ้น ทั้ง [Fineness] และ [Threshold] ทำงานเหมือนกับในซอฟต์แวร์ DPP สำหรับการตกแต่งไฟล์ภาพ RAW และสามารถใช้เพื่อระบุจุดและขอบเขตที่ต้องการสร้างความคมชัด
หน้าจอ Custom Quick Control
เพียงทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ คุณก็สามารถออกแบบหน้าจอ Quick Control ของตัวเองเพิ่มเติมจากแบบเลย์เอาต์เริ่มต้น คุณสามารถเลือกรายการเพิ่มเติมไปยังหน้าจอแนะนำ หรือลบรายการทั้งหมดที่มีและกำหนดเลย์เอาต์ใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งวิธีหลังนี้เอื้อให้คุณปรับเลย์เอาต์ได้อย่างอิสระจริงๆ
เมื่อต้องการซ่อน [Custom Quick Control Screen] ให้ยกเลิกการเลือกที่ช่องหน้าจอเมนู เลือกการแสดงผลแบบที่คุณต้องการ
เมื่อต้องการแก้ไขเลย์เอาต์หน้าจอแนะนำ ให้วางเคอร์เซอร์ตรงพื้นที่ว่าง และวางรายการที่เลือกไว้ และคุณยังสามารถเลือกลบรายการที่มีอยู่และวางรายการใหม่แทนได้ อีกทั้งยังเปลี่ยนขนาดไอคอนในโหมดการแสดงผลที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าได้อีกด้วย
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย