ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[ตอนที่ 3] การถ่ายภาพช่วงเวลาที่นกออกตัวบิน

2015-06-04
2
3.36 k
ในบทความนี้:

ถ้าคุณไปพบนกที่กำลังจะออกตัวบิน คุณควรจะทำอะไรเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสถ่ายภาพดีๆ เช่นนี้ ในส่วนต่อไป ช่างภาพนกมืออาชีพจะอธิบายเทคนิคการใช้งานกล้อง EOS 7D Mark II สำหรับการถ่ายภาพช่วงเวลาดังกล่าว (เรื่องโดย: Gaku Tozuka)

หน้า: 1 2

 

คาดคะเนการเคลื่อนไหวของนก

การถ่ายภาพช่วงเวลาที่นกกำลังจะออกบินอาจฟังแล้วเป็นงานที่ยากยิ่งขึ้นอีก แต่มันไม่ใช่เรื่องยากนักหากคุณคาดคะเนจังหวะที่เหมาะสมได้ล่วงหน้า นกก่อนออกตัวบินอาจส่งสัญญาณบางอย่าง เช่น การยืดหดคอ (ในกรณีที่เป็นนกล่าเหยื่อจะขับถ่ายมูลออกมา) ไม่เพียงเท่านั้น นกโดยทั่วไปจะบินในทิศทางที่สวนกระแสลม เราสามารถคาดคะเนทิศทางที่มันจะบินได้

ต่อไป ผมจะอธิบายเทคนิคขณะใช้งานจริงในการถ่ายภาพลักษณะนี้ นกตัวใหญ่อย่างหงส์ จำเป็นต้องวิ่งระยะไกลกว่านกอื่นๆ ก่อนจะออกบิน กุญแจสำคัญในการจัดองค์ประกอบภาพคือควรเว้นพื้นที่ว่างไว้ในทิศทางที่นกวิ่งไป หากถ่ายในสถานที่ที่มีแสงย้อนหรือแบ็คกราวด์รก อีกทั้งคุณยังใช้การเปิดรับแสงอัตโนมัติแล้วล่ะก็ ความสว่างอาจเปลี่ยนขึ้นๆ ลงๆ ทุกครั้งที่คุณขยับเลนส์ อย่างนั้นแล้ว ทำไมไม่เปลี่ยนมาตั้งค่าการเปิดรับแสงแบบแมนนวลแทนล่ะ หากคุณต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ ให้ใช้รูรับแสงกว้างสุดและถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ หากคุณไม่สามารถเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ได้ ลองเพิ่มความไวแสง ISO แทน นี่เป็นโอกาสที่คุณจะได้ใช้ประสิทธิภาพอันดีเยี่ยมด้านความไวแสง ISO ของกล้อง EOS 7D Mark II ให้เป็นประโยชน์ อีกวิธีหนึ่งคือเพิ่มความไวแสง ISO และลดขนาดรูรับแสงทีละหนึ่งถึงสองสต็อป การทำอย่างนั้นเป็นการเพิ่มระยะชัดของภาพ เทคนิคนี้เหมาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้

ระดับความยาก: ปานกลาง

 
สถานะการถ่ายภาพ

 

 

เลนส์: ซูเปอร์เทเลโฟโต้

 

แสง: แสงเฉียง

 
 

 

ความเร็วชัตเตอร์: เร็ว

 

รูรับแสง: เปิดกว้าง

 

EOS 7D Mark II/ FL: 700 มม. (เทียบเท่ากับ 1,120 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ EF500mm f/4L IS II USM + EXTENDER EF1.4×III/ Manual (f/5.6, 1/1,600 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 
ในภาพตัวอย่างนี้ ผมตั้งใจจับภาพช่วงเวลาที่หงส์แห่งทุนดรา (Tundra Swan) กำลังจะบิน ผมตั้งค่าเปิดรับแสงแบบแมนนวลเพราะการใช้การตั้งค่าอัตโนมัติอาจทำให้ความสว่างเปลี่ยนไปมาตามแบ็คกราวด์ ปีกนกและละอองน้ำเป็นประกายถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงาม

 

จุด AF ที่ใช้ในการโฟกัส

 

ด้วยโซน AF ยากที่การติดตามการเคลื่อนไหวจะหลุดจากตัวแบบซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่อย่างหงส์แห่งทุนดรา อย่างไรก็ตาม โฟกัสอาจตกไปอยู่ที่ปีกของมันหากคุณวางตำแหน่งในระยะโฟร์กราวด์ขององค์ประกอบภาพ ดูให้แน่ใจว่าคุณจับโฟกัสใกล้กับใบหน้าของตัวแบบ

 
 

การตั้งค่า

 

การใช้งานโฟกัสอัตโนมัติ: AI Servo AF

โหมดขับเคลื่อน: การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง

โหมดเลือกพื้นที่ AF: โซน AF

เครื่องมือกำหนด การตั้งค่า: Case 1

ผมถ่ายภาพนกตัวนี้โดยใช้ AI Servo AF + โซน AF และดูจนมั่นใจว่าโฟกัสจับอยู่ที่ตัวแบบโดยกำหนดค่าในเครื่องมือการปรับแต่ง AF เป็น Case 1 ผมเลือกโหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของทั้งละอองน้ำและปีกนก

 
 

[ภาพเสีย]
จำเป็นต้องเว้นพื้นที่ว่างในองค์ประกอบภาพให้เพียงพอ

EOS 7D Mark II/ FL: 700 มม. (เทียบเท่ากับ 1,120 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ EF500mm f/4L IS II USM + EXTENDER EF1.4×III/ Aperture-priority AE (f/8, 1/5,000 วินาที)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

ขณะที่ผมกำลังพยายามจับภาพนกกระยางตัวใหญ่โดยเล็งกล้องไปที่อาหารของมัน มันกลับบินขึ้นทันที ผมกดปุ่มชัตเตอร์แบบปล่อยทันทีเช่นกัน แต่น่าเสียดายที่ใบหน้าและปีกของตัวแบบออกไปอยู่นอกเฟรมเสียหมด แม้ว่าการเปิดรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะเหมาะสมดีแล้ว แต่องค์ประกอบภาพซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากนั้นยังไม่น่าพึงพอใจ เมื่อถ่ายภาพนกกำลังออกบิน จำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นที่ว่างในทิศทางที่นกกำลังพุ่งตัวไปเพื่อให้ได้องค์ประกอบที่ดูมั่นคง

เทคนิคเพื่อป้องกันปัญหาจากอาการกล้องสั่น

 

นกในธรรมชาติมักหลบให้พ้นจากสายตามนุษย์ แล้วอย่างนี้เราจะเข้าใกล้พวกเขาอย่างไร คำตอบคือ พรางร่างมนุษย์ของเราไว้ เช่น คุณอาจใช้รถยนต์ของคุณเป็นกำบังเคลื่อนที่ อย่างไรก็ตาม การใช้ขาตั้งกล้องในรถยนต์อาจมีการสั่นไหวมาก ดังนั้นเมื่อถ่ายภาพจากหน้าต่างรถ คุณอาจใช้หมอนเม็ดโฟมเป็นเบาะกันกระแทกให้กับกล้องดังภาพ วิธีนี้ช่วยให้ภาพถ่ายนิ่งและยังเป็นวิธีที่มักใช้กันในการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ

 
 
Gaku Tozuka

 

เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์

http://happybirdsday.jp/

 
Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 
 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา