[ตอนที่ 3] เรื่องราวของกล้อง PowerShot G1 X Mark II – เซนเซอร์และระบบประมวลผลภาพ
ตอนที่ 3 ของบทสัมภาษณ์นักพัฒนากล้อง PowerShot G1 X Mark II จะนำเสนอเซนเซอร์ภาพและระบบประมวลผลภาพ เราจะมาทำความรู้จักเซนเซอร์ภาพขนาด 1.5 นิ้วและระบบประมวลผลภาพ DIGIC 6 ใหม่เอี่ยมที่ใช้ในกล้องนี้ด้วยกัน PowerShot G1 X Mark II เป็นกล้องรุ่นระดับสูงของซีรีย์ PowerShot G ซึ่งอัดแน่นด้วยเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดของ Canon ในบทความต่อเนื่องชุดนี้ นักพัฒนากล้องรุ่นนี้ได้แบ่งปันกับเราถึงความท้าทายต่างๆ นานาที่พวกเขาต้องเผชิญกว่ากล้องตัวนี้จะเสร็จสมบูรณ์ออกมาได้
(จากซ้ายมือ)
Norio Negishi, , ปฏิบัติการแผนก Image Communications Product, ศูนย์พัฒนา ICP 3 / Kenji Takahashi, ปฏิบัติการแผนก Image Communications Product, ศูนย์พัฒนา ICP 3, ผู้จัดการ
การผสานความชาญฉลาดเพื่อกระตุ้นประสิทธิภาพด้านออพติคอล
― เลนส์ใหม่ เซนเซอร์ขนาด 1.5 นิ้ว* และระบบ DIGIC 6 ในกล้องตัวนี้ทำงานร่วมกันอย่างไรครับ?
Takahashi ข้อมูลแสงที่รับไว้ผ่านเลนส์จะถูกบันทึกลงบนเซนเซอร์ จากนั้น เซนเซอร์จะแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล และระบบประมวลผลภาพก็จะทำการประมวลผลซึ่งเป็นงานหลักของกล้องดิจิตอล เพราะฉะนั้น ไม่ว่าระบบประมวลผลภาพในกระบวนการประมวลผลจะทันสมัยสักแค่ไหน หาก “ข้อมูลดิบ” ที่รับมาผ่านระบบแสงและเซนเซอร์ไม่ดี ก็ไม่อาจสร้างสรรค์ภาพสวยคุณภาพสูงได้ ชิ้นส่วนทั้งสาม อันประกอบด้วยเลนส์ เซนเซอร์ และระบบประมวลผลภาพ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์ภาพถ่าย เนื่องจากเลนส์กล้องที่ใช้ครั้งนี้มีสเปคสูงมาก และเมื่อเซนเซอร์มีระยะระหว่างเซลล์เกือบจะเท่ากันกับของกล้อง SLR จึงสามารถนำข้อมูลที่มีคุณภาพระดับสูงเต็มพิกัดส่งถึงระบบประมวลผลภาพ (DIGIC) ได้ ด้วยระบบ DIGIC 6 จึงมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเพื่อดึงศักยภาพของเลนส์และเซนเซอร์ให้ปรากฏอย่างเต็มที่
Negishi หากมองในแง่ของการร่วมมือกันระหว่างการพัฒนา มีข้อดีหลายอย่างที่เห็นได้ชัดจากการใช้เซนเซอร์และระบบ DIGIC ของ Canon แน่นอนว่า เรามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด และสื่อสารกันมากเท่าที่จะทำได้ และเมื่อเป็นความร่วมมือภายใน Canon ก็ย่อมรวมไปถึงการแบ่งปันข้อมูลทางเทคนิคต่อกันด้วย ทำให้เราได้เซนเซอร์ที่ดีที่สุดซึ่งออกแบบให้เหมาะสำหรับเลนส์กล้องรุ่นนี้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ เซนเซอร์ตัวนี้ก็ยังช่วยให้เกิดการปรับภาพที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเลนส์และ DIGIC 6
*จำนวนพิกเซลทั้งหมด : ประมาณ 15.0 ล้านพิกเซล
จำนวนพิกเซลที่ใช้จริง : ประมาณ 12.8 ล้านพิกเซล (3:2)
Takahashi เราอาจได้แบบเดียวกันในส่วนของการลดจุดรบกวนด้วย สำหรับการลดจุดรบกวน เป้าหมายคือ การแยกระหว่างจุดรบกวนกับพื้นผิวของตัวแบบ และวิธีการในการลบจุดรบกวนของภาพ เราเชื่อว่า การลดจุดรบกวนที่ขจัดพื้นผิวของตัวแบบไปด้วยย่อมลดทอนคุณภาพของภาพถ่ายลง เราจึงพยายามที่จะจัดการกับจุดรบกวน โดยยังคงรักษาพื้นผิวของตัวแบบเอาไว้ให้ได้มากที่สุด สิ่งที่สำคัญในส่วนนี้คือ การที่การทำงานของเลนส์ เซนเซอร์ และระบบประมวลผลภาพมีการประสานรวมกัน เลนส์จะบันทึกลายพื้นผิวของตัวแบบอย่างถูกต้องแม่นยำว่าเป็นพื้นผิว และจุดรบกวนที่เกิดขึ้นรอบเซนเซอร์ถูกลบออกโดยตัวเซนเซอร์เอง ทำให้สามารถลบจุดรบกวนด้วยกระบวนการลดจุดรบกวนของ DIGIC ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ แม้ว่าข้อมูลเข้าสู่ DIGIC จะอยู่ในระดับที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นสัญญาณของพื้นผิวหรือจุดรบกวน นี่เป็นเพราะระบบประมวลผลภาพไม่อาจรับมือกับปัญหานี้ได้โดยตัวมันเอง เลนส์และเซนเซอร์ของกล้อง G1 X Mark II ต่างมีประสิทธิภาพการทำงานสูง และการป้อนข้อมูลเข้าสู่ DIGIC ยังมีคุณภาพที่สูงมาก ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปได้ที่จะออกแบบการตั้งค่าที่สามารถลบเฉพาะจุดรบกวนอย่างไม่มีออมชอม
Negishi การตั้งค่าการลดจุดรบกวนบนกล้อง G1 X Mark II มีความละเอียดอย่างมาก กระบวนการดังกล่าวประกอบด้วยการปรับภาพโดยเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าอย่างละเอียดตามสภาพการถ่าย และกล้องนี้ยังสามารถกำหนดค่าเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากมายที่เทียบไม่ได้กับกล้องรุ่นอื่น อีกทั้งประสิทธิภาพการทำงานของกล้องยังสามารถใช้ถ่ายภาพท้องฟ้าที่มีดาวพร่างพรายได้สบายๆ ด้วย Star Mode และคุณจะได้ภาพที่ชัดใสที่สุด เมื่อใช้กับขาตั้งกล้อง
― การพัฒนาครั้งนี้มีความแตกต่างอะไรบ้างครับ เมื่อเทียบกับกล้อง SLR หรือกล้องมิเรอร์เลส?
Negishi เนื่องจากกล้อง G1 X Mark II เป็นกล้องดิจิตอลคอมแพคที่มีเลนส์ติดตั้งอยู่ในตัว ข้อมูลเลนส์จึงถูกกำหนดเอาไว้แล้ว ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้สามารถทำการแก้ไขในจุดที่เหมาะสมกับเลนส์อย่างดีที่สุดได้ ตำแหน่งของเลนส์จะเปลี่ยนแปลงตามการซูม ดังนั้น เซนเซอร์ก็จะเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างด้วย เช่น การแรเงา ให้พอเหมาะ และด้วยเลนส์ที่ติดตั้งในตัวนี้เอง การปรับความพอเหมาะจึงทำได้อย่างง่ายดาย นี่เป็นข้อดีที่หาไม่ได้ในกล้องแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เลนส์นี้มีขนาดเท่ากับเลนส์กล้อง SLR หากลองจินตนาการเลนส์ที่มีระยะโฟกัสที่ f/2.0(W) ถึง f/3.9(T) คุณคงคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่กล้องจะมีขนาดเพียงเท่านี้
Takahashi DIGIC ก็เช่นเดียวกันครับ กล้องที่มีเลนส์ติดตั้งในตัวสามารถนำข้อมูลลักษณะของเลนส์และสภาพของเลนส์ขณะถ่ายภาพมาใช้ได้ง่าย ยิ่งกว่านั้น กล้องประเภทนี้ยังประมวลผลค่าที่เหมาะที่สุดตามลักษณะและสถานการณ์ต่างๆ ได้ด้วย เมื่อกล้องรุ่นนี้เป็นกล้องที่มีเลนส์ติดตั้งในตัว การตั้งค่าอย่างละเอียดเพื่อให้มีความเหมาะสมสูงสุดสำหรับคุณภาพภาพถ่ายจึงสามารถทำได้
อัตราส่วนภาพหลายแบบ (Multi-Aspect)
พื้นที่ขอบนอกสุดอัตราส่วน 4:3 ในกล้องหลายรุ่นก่อนหน้านี้จะถูกบันทึกเป็น CR2
เมื่ออัตราส่วนการบันทึกเป็น 3:2 และ 16:9 บนกล้อง G1 X Mark II อัตราส่วนภาพ 3:2 จะถูกบันทึกเป็น CR2
เมื่ออัตราส่วนการบันทึกเป็น 4:3, 1;1 และ 4:5 บนกล้อง G1 X Mark II อัตราส่วนภาพ 4:3 จะถูกบันทึกเป็น CR2
― ปัจจุบันสามารถบันทึกภาพ RAW ด้วยอัตราส่วน 3:2 ได้แล้ว แนวคิดนี้ทำขึ้นเพื่อผู้ใช้กล้อง SLR หรือเปล่าครับ?
Negishi ใช่ครับ เราพัฒนาส่วนนี้ขึ้นโดยตระหนักถึงความต้องการของคนที่ใช้กล้อง SLR เป็นประจำ สำหรับอัตราส่วนภาพหลายแบบในปัจจุบัน ภาพอัตราส่วน 4:3 จะต้องผ่านการตัดแต่งขอบเพื่อสร้างเป็นภาพอัตราส่วน 3:2 แต่ในครั้งนี้ เซนเซอร์แบบ 1.5 นิ้ว* ถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้สามารถถ่ายภาพที่ใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้าง 24 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. เพื่อสร้างภาพในอัตราส่วน 4:3 และ 3:2
*จำนวนพิกเซลทั้งหมด : ประมาณ 15.0 ล้านพิกเซล จำนวนพิกเซลที่ใช้จริง : ประมาณ 12.8 ล้านพิกเซล (3:2)
Takahashi รายละเอียดสเปคกล้องเช่นนี้ค่อนข้างมีความยุ่งยากในเชิงเทคนิค รวมทั้งเพิ่มปริมาณงาน เพราะเหมือนเป็นการออกแบบกล้องสองตัวที่มีอัตราส่วนภาพ 4:3 และ 3:2 ด้วยปริมาณงานด้านการออกแบบที่จะมากมายยิ่งกว่าการผลิตกล้องธรรมดาๆ ทำให้นักพัฒนาบางคนมีความไม่แน่ใจในช่วงเริ่มต้น แต่เมื่อพวกเขาเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้ พวกเขาจึงทุ่มเทเพื่อการพัฒนายิ่งขึ้นอีก
รุ่นก่อนหน้า: 4:3 (ซ้าย), รุ่นก่อนหน้า 3:2 (ขวา)
A: ภาพอัตราส่วน 3:2 สำหรับรุ่นก่อนหน้านี้ เป็นข้อมูลเดียวกันกับภาพที่ตัดส่วนหัวและท้ายของภาพอัตราส่วน 4:3
G1 X MarkII 4:3 (ซ้าย), G1 X MarkII 3:2 (ขวา)
B: บันทึกพื้นที่ภาพทางด้านซ้ายและขวาซึ่งจะไม่ปรากฏในภาพอัตราส่วน 4:3 ที่มีการตัดขอบบนและล่างออกเล็กน้อย
― ความเร็วของระบบโฟกัสอัตโนมัติและประสิทธิภาพการถ่ายภาพต่อเนื่องได้รับพัฒนาควบคู่กับความเร็วในการประมวลผลภาพที่รวดเร็วขึ้นไหมครับ?
Negishi อัตราเฟรมของเซนเซอร์ที่นำเข้าข้อมูลสำหรับการโฟกัสอัตโนมัติเพิ่มขึ้น ความเร็วในการอ่านจึงเร็วขึ้นตาม ความเร็วในการโฟกัสนั้นเป็นปัญหามาตั้งแต่เริ่มทำตระกูล G1 X การเพิ่มความเร็วจึงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญ จากการพัฒนาร่วมกับด้านออพติคอล ความเร็วในการโฟกัสอัตโนมัติของกล้อง G1 X รุ่นนี้รวดเร็วขึ้นถึงเกือบสองเท่า
Takahashi นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการถ่ายภาพต่อเนื่องก็เพิ่มขึ้นด้วย กล้อง G1 X รุ่นก่อนหน้ามีการถ่ายต่อเนื่องความเร็วสูงคุณภาพสูง (HQ) อยู่ที่ประมาณ 4.5 ภาพต่อวินาที แต่จากการแก้ไขลำดับของการถ่ายภาพต่อเนื่องในครั้งนี้ เดี๋ยวนี้ กล้องตัวนี้มีความเร็วมากกว่า 4.5 ภาพต่อวินาที (TBD) และสามารถถ่ายต่อเนื่องได้จนกว่าหน่วยความจำของสื่อบันทึกจะเต็ม เมื่อพัฒนาความเร็วในการประมวลผลภาพและการแก้ไขลำดับของการถ่ายภาพต่อเนื่องนี่เอง โอกาสในการถ่ายภาพจึงมีมากขึ้นในกล้อง G1 X Mark II
― ระบบประมวลผลภาพ DIGIC 6 ใช้งานได้ดีกับการถ่ายภาพยนตร์ กล้อง G1 X Mark II ตัวนี้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการถ่ายภาพยนตร์ดีขึ้นไหมครับ?
Takahashi อย่างที่ได้พูดเอาไว้แล้วนะครับ เราปรับปรุงการลดจุดรบกวนให้ดีขึ้นอย่างมากเพื่อการถ่ายภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มช่วงการถ่ายสำหรับฉากที่มีแสงน้อย ระบบนี้ดำเนินการประมวลผลเบื้องต้นประมาณ 9 เท่าพอๆ กับ DIGIC 5 ดังนั้น ความแม่นยำในการแยกพื้นผิวและจุดรบกวน รวมถึงประสิทธิภาพในการลดจุดรบกวนจึงได้รับการพัฒนาทั้งสองด้าน ยิ่งกว่านั้น ความหลากหลายในการถ่ายทอดภาพและระยะการถ่ายภาพก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากค่า f มีความสว่างเพิ่มขึ้น จึงสามารถถ่ายทอดภาพแบบเบลอพื้นหลังได้ในกล้อง G1 X รุ่นนี้ ทั้งยังถ่ายภาพได้แม้ในพื้นที่ที่มืดอีกด้วย
กระบวนการโฟกัสผ่านการปรับให้สมเหตุสมผลและมีประสิทธิภาพ ลดความล่าช้าในการถ่ายภาพ
― มีการเพิ่มฟังก์ชั่นการถ่ายภาพใหม่ๆ เช่น การถ่ายภาพสร้างสรรค์และการถ่ายภาพ HDR แบบถือกล้องด้วยมือ ด้วยใช่ไหมครับ?
Takahashi การถ่ายภาพสร้างสรรค์ซึ่งใช้ครั้งแรกกับกล้อง PowerShot N จะถ่ายภาพสามภาพต่อเนื่องเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์เพียงครั้งเดียว เมื่อตรวจสอบฉากที่ถ่ายแล้ว กล้องจะตกแต่งเอฟเฟ็กต์ที่เหมาะสมเข้าไปโดยอัตโนมัติ เช่น การใส่กรอบภาพ ตัดแต่งขอบภาพ และใส่ฟิลเตอร์สี แล้วสร้างภาพขึ้นมา 6 ภาพ ส่วนการถ่ายภาพ HDR จะถ่ายภาพหลายภาพและผสานเป็นภาพเดียวโดยวางซ้อนกันบนไดนามิกเรนจ์ที่กว้าง ดังนั้น ฟังก์ชั่นนี้จึงใช้การประมวลผลค่อนข้างหนักทีเดียว การประมวลผลภาพแบบเดียวกันนี้ทำได้ด้วย DIGIC 5 เช่นกัน แต่เมื่อใช้ DIGIC 6 เวลาในการถ่ายภาพก็ลดน้อยลง และกระบวนการเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ดังนั้น จึงเป็นจึงสะดวกในการใช้งานสำหรับผู้ใช้มากขึ้น ข้อเท็จจริงที่ว่า กล้องนี้สามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เข้ามา 5 แบบเทียบเท่ากับกล้อง EOS 5D Mark II แสดงให้เห็นว่า กล้องนี้น่าจะให้คุณค่าที่น่าพอใจสำหรับผู้ใช้กล้อง SLR ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมองถึงการถ่ายภาพสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่าฟังก์ชั่นนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้ระดับสูงที่ใช้กล้อง PowerShot N ผมหวังว่าจะเห็นผู้คนสนุกกับการใช้กล้องนี้ค้นพบโลกใหม่แห่งภาพถ่ายซึ่งพวกเขาไม่เคยได้สัมผัส
― มีอะไรอยากฝากถึงผู้ใช้ไหมครับ?
Negishi ที่ Canon เราไม่พัฒนากล้องโดยยึดมาตรฐานแบบเทียบเคียง เช่น “บริษัทอื่นมีคุณสมบัตินี้ งั้นเราจะทำแบบนี้ด้วย” Canon ดำเนินตามมาตรฐานความสมบูรณ์แบบ และดำเนินตามนั้นจนกว่าจะบรรลุมาตรฐาน นั่นแหละคือลักษณะการทำงานของเรา ในฐานะกล้องดิจิตอลคอมแพครุ่นเรือธงที่นำเสนอโดย Canon กล้อง G1 X Mark II พัฒนาขึ้นสู่จุดที่คุณอาจพูดได้ว่า จะพัฒนาเซนเซอร์และระบบประมวลผลภาพที่ดีไปกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว ด้วยเหตุนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบัน จึงแทบไม่มีจุดด้อยใดๆ หลงเหลืออยู่ และผมเชื่อว่า กล้องตัวนี้บรรลุความสมดุลที่ดีตามแบบฉบับของกล้อง Canon แล้ว ผมอยากให้คุณได้เพลิดเพลินในการใช้งานกล้องนี้จริงๆ
ฟิลเตอร์เพื่อการถ่ายภาพสร้างสรรค์ใหม่
ศิลปะ คมเข้ม
ภาพสีน้ำ
Inter-exposure Zoom
Filter Composition
ผสานภาพถ่ายสองภาพที่ผ่านกระบวนการใช้ฟิลเตอร์สีต่างๆ
PowerShot G1 X Mark II
รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์: f/2.0 (W) - f/3.9 (T)
ทางยาวโฟกัสของเลนส์: 24 มม. (W) - 120 มม. (T)*1
ระยะโฟกัสใกล้สุด: 5 ซม.
ชนิดของเซนเซอร์ภาพ: เซนเซอร์ CMOS 1.5 นิ้ว *2
ระบบประมวลผลภาพ: DIGIC 6
*1 เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.
*2 จำนวนพิกเซลทั้งหมด : ประมาณ 15.0 ล้านพิกเซล, จำนวนพิกเซลที่ใช้จริง : ประมาณ 12.8 ล้านพิกเซล (3:2)