ภาพทิวทัศน์ดวงดาวอันน่าทึ่ง: การถ่ายภาพหิ่งห้อยที่สว่างไสวท่ามกลางท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว
ภาพด้านล่างนี้โดดเด่นด้วยท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวและแสงสว่างจากหิ่งห้อย ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเคล็ดลับบางประการในการสร้างภาพเส้นแสงอันน่ามหัศจรรย์ด้วยการเปลี่ยนเวลาการเปิดรับแสง (เรื่องโดย Shigemi Numazawa)
ภาพ A
ข้อมูลการถ่ายภาพ
-
กล้อง: EOS-1D X เลนส์: EF24mm f/1.4L II USM
ทางยาวโฟกัส: 24 มม. โหมดการเปิดรับแสง: Manual
ค่า F: f/1.4
ความเร็วชัตเตอร์: 4 วินาที x 859 เฟรม (ผสานกัน)
ISO: 8000
ค่าสมดุลแสงขาว: อัตโนมัติ (ขณะถ่ายภาพ) 4,100K (ระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ)
การตั้งค่า: การลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูง – ต่ำ การลดจุดรบกวนจากการเปิดชัตเตอร์นาน – ปิด
สภาพการถ่าย: ติดตั้งบนขาตั้งกล้อง
เคล็ดลับการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้สวยงาม
A: ให้ความสำคัญกับสัดส่วนของป่าและท้องฟ้าในภาพของคุณ
B: จัดองค์ประกอบภาพของคุณโดยเลือกฝูงหิ่งห้อยที่รวมตัวกันอยู่หนาแน่น
กำหนดสัดส่วนของท้องฟ้าจนถึงพื้นดินอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงวิธีกระจายตัวของหิ่งห้อย
จุดสำคัญ: ปรับเวลาการเปิดรับแสงเพื่อเปลี่ยนลักษณะของเส้นแสงจากหิ่งห้อย
หนึ่งในจุดสำคัญสำหรับการถ่ายภาพหิ่งห้อยคือ คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ที่หิ่งห้อยอาศัยอยู่ และกำหนดเวลาที่เหมาะเจาะที่สุดสำหรับการถ่ายภาพ โดยเวลาที่ดีที่สุดอาจเป็นช่วงกลางคืนที่สภาพอากาศค่อนข้างปลอดโปร่ง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าหิ่งห้อยจะออกมาในเวลากลางคืนจนถึงเวลาประมาณสามทุ่ม
ในบทความนี้ภาพที่ถ่ายเป็นภาพหิ่งห้อยในประเทศญี่ปุ่นจำนวนสองสายพันธุ์คือ "หิ่งห้อย Genji" ที่มีแสงแวววาวเป็นทางยาว และ "หิ่งห้อย Heiki" ที่มีแสงวาบสั้นๆ เมื่อเราถ่ายภาพหิ่งห้อยในเวลากลางคืน หิ่งห้อยจะปรากฎเป็นจุดแสง ซึ่งแต่ละจุดจะเกิดจากการรวมตัวของหิ่งห้อยราว 10 ตัว
ในภาพ A ผมได้ภาพที่ผสานกันโดยใช้การเปิดรับแสงซ้ำๆ ที่ 4 วินาที และถ่ายภาพ 800 ภาพตลอดระยะเวลาประมาณ 57 นาที หนึ่งในสิ่งที่น่าสนใจสำหรับการถ่ายภาพหิ่งห้อยก็คือ เส้นแสงที่เกิดจากหิ่งห้อยสามารถนำมาปรับแต่งได้ตามจำนวนของภาพที่คุณนำมาผสานกัน คุณจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับการสื่ออารมณ์ของภาพถ่ายที่หลากหลายได้
EOS-1D X/ EF24mm f/ 1.4L II USM/ Manual exposure (f/1.6, 6 วินาที)/ ISO 8000
ภาพนี้เป็นภาพที่ใช้การเปิดรับแสงแบบผสมผสานซึ่งใช้ระยะเวลาในการถ่ายภาพประมาณ 5 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับภาพ A เส้นแสงของดวงดาวจะสั้นกว่ามาก และสามารถมองเห็นรูปร่างของทางช้างเผือกได้ชัดเจนอีกด้วย
เคล็ดลับ: ถ่ายภาพหิ่งห้อยให้เหมือนจริง
ในภาพตัวอย่างด้านล่าง ผมใช้กล้องตัวเดียวกันและใช้เลนส์ที่ตั้งค่าความไวแสง ISO และความเร็วชัตเตอร์ที่ ISO 20000 และ 1/2 วินาทีตามลำดับ จากนั้นนำภาพสองสามภาพมาผสานเข้าด้วยกันเพื่อสร้างภาพถ่ายจากฉากเดียวกันกับที่ผมได้เจอ แม้ว่าภาพที่ได้อาจดูไม่น่าตื่นตาตื่นใจมากนัก แต่ก็สามารถสื่ออารมณ์ของภาพที่ลึกซึ้งได้
EOS-1D X/ EF24mm f/ 1.4L II USM/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/1.6, 0.5 วินาที)/ ISO 20000
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!
EF24mm f/1.4L II USM
เกิดเมื่อปี 1958 ที่จังหวัดนีงะตะ Numazawa เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพดาราศาสตร์และภาพประกอบทางดาราศาสตร์เป็นหลัก เขาเคยมีส่วนร่วมในโครงการของรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์หลายโครงการที่จัดทำขึ้นโดยสถานีโทรทัศน์ NHK อีกทั้งยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นช่างภาพประจำ National Geographic Tour และได้รับรางวัล Good Life Award จากกระทรวงสิ่งแวดล้อม (ญี่ปุ่น) อีกด้วย
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation