ทุกๆ ปีจะมีเทศกาลเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก แม้ว่านั่นจะหมายถึงโอกาสในการถ่ายภาพมากมาย แต่การได้ภาพถ่ายที่สื่อถึงแก่นแท้ของเทศกาลในแบบที่คุณมองเห็นกลับเป็นเรื่องยากอย่างไม่น่าเชื่อ ช่างภาพคนหนึ่งของเราจะมาเผยวิธีการถ่ายภาพขบวนแห่หลากสีสันและบรรยากาศของเทศกาลขบวนแห่ซากิโชที่จังหวัดชิงะ ประเทศญี่ปุ่น (เรื่องโดย: Takashi Nishikawa)
EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/9, 1/320 วินาที, EV-0.7)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สถานที่: เมืองโอมิฮะจิมัง จังหวะชิงะ ประเทศญี่ปุ่น
การเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพเทศกาล เพียงแค่การนำเสนอทางกายภาพไม่อาจรับประกันได้ว่าคุณจะได้ภาพถ่ายตามที่ต้องการ การเตรียมตัวล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้คุณได้ภาพที่ดีที่สุด
1. ทำการบ้านเพื่อหาตำแหน่งในการถ่ายภาพที่ดีที่สุด
เช็คกำหนดการของงาน ศึกษาเส้นทางของขบวนแห่ที่กำหนด และดูภาพเทศกาลก่อนหน้านี้รวมถึงแผนที่ภายในบริเวณ นอกจากนี้ ควรไปถึงสถานที่ก่อนเวลาเพื่อสำรวจพื้นที่ ซึ่งจะช่วยให้ถ่ายภาพได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและอาจจะเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายเช่นกัน
2. เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของงาน
เพื่อช่วยให้เข้าใจสิ่งที่ถ่ายได้ดีขึ้น สำหรับการถ่ายภาพครั้งนี้ ผมเก็บภาพเทศกาลซากิโชซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโอมิฮะจิมังในจังหวะชิงะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งชาวญี่ปุ่นยกย่องให้เป็นหนึ่งในเทศกาลที่ตื่นตาตื่นใจที่สุดของประเทศ กล่าวกันว่าแม้แต่ขุนพลผู้ยิ่งใหญ่อย่างโอดะ โนบุนากะ ซึ่งรวมแผ่นดินญี่ปุ่นได้เป็นผลสำเร็จในช่วงศตวรรษที่ 16 และขึ้นชื่อในเรื่องความเหี้ยมโหดและอำมหิตยังเคยเข้าร่วมงานและเต้นรำในเทศกาลนี้เช่นเดียวกัน ขบวนแห่ทั้งหมด 13 ขบวนซึ่งล้วนทำจากผลิตภัณฑ์จากเมล็ดข้าวและท้องทะเลจะถูกนำออกมาอวดโฉมในเทศกาลนี้ แต่ละขบวนได้รับการรังสรรค์ขึ้นจากฝีมือของชาวบ้านในย่านโอมิฮะจิมัง โดยทำเป็นลวดลายสัตว์ประจำปีนักษัตรปัจจุบันตามคติทางตะวันออก
▼ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทศกาล: เทศกาลซากิโชคืออะไร
(ข้อความที่ตัดตอนนี้แปลมาจากเว็บไซต์ของสมาคมการท่องเที่ยวโอมิฮะจิมัง)
"ขบวนแห่แต่ละขบวนในเทศกาลซากิโชทำขึ้นจากส่วนประกอบสามอย่าง ได้แก่ คบไฟที่ทำจากสน dashi ที่ใช้ประดับตกแต่ง และกระดาษสีแดง (jyūnigatsu) มีการวางพาดเสาจากด้านหน้าไปด้านหลังของขบวนแห่ และนำเชือกมาผูกติดเข้าด้วยกันเพื่อให้คนสามารถแบกขึ้นบนบ่าและเดินแห่ไปรอบๆ เหมือนกับการแห่ศาลเจ้าได้ โครงสร้างทั้งหมดที่ว่านี้เรียกว่าซากิโช ส่วน dashi คือของตกแต่งซึ่งประดับไว้ที่ด้านหน้าของขบวนแห่ที่ชาวบ้านในย่านใกล้เคียงได้ออกแบบและสร้างสรรค์เป็นอย่างดีด้วยความภาคภูมิใจ"
สภาวะและการตัดสินใจถ่ายภาพ
สถานที่ถ่ายภาพ: ผมเลือกจุดถ่ายภาพที่มองเห็นบรรยากาศทั่วทั้งงาน มีแสงตกกระทบทั่วทั้งฉากเท่าๆ กัน และมองเห็นขบวนแห่ซากิโชอื่นๆ ในแบ็คกราวด์ รวมถึงช่วยให้สามารถจับสีหน้าของผู้คนที่แห่ขบวนแห่ได้อย่างชัดเจน
การจัดแสง: ในวันงาน ท้องฟ้ามีเมฆมาก ซึ่งเป็นสภาวะที่เหมาะมากที่สุดสำหรับการถ่ายภาพ แสงด้านข้างเพิ่มมิติให้กับภาพ
วิธีการ: ก่อนหน้านี้ ผมคิดว่าจะโฟกัสไปที่ส่วนต่างๆ ของเทศกาลโดยการเบลอแบ็คกราวด์หรือถ่ายภาพโคลสอัพ หรือสื่อถึงการเคลื่อนไหวและพลังโดยการสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว แต่ในที่สุดผมก็ตัดสินใจว่าอยากจะสื่อบรรยากาศของเทศกาลทั้งหมด
การตั้งค่า: ผมลดขนาดรูรับแสงเหลือ f/9 ซึ่งทำให้ได้ระยะชัดลึกที่กว้างพอควร จากนั้นเพิ่มความไวแสง ISO ไปที่ค่า 400 เพื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงจับภาพแต่ละช่วงเวลาได้อย่างคมชัดไม่พร่ามัว
ตัวอย่างที่ดี
EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 35 มม./ Shutter-priority AE (f/14, 1/200 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ผมถ่ายภาพขบวนแห่ซากิโชที่กำลังเคลื่อนเข้ามาในศาลเจ้า เพื่อให้ขบวนแห่ต่างๆ เติมพื้นที่ว่างในส่วนแบ็คกราวด์ โดยจุดสำคัญของภาพนี้อยู่ที่การคาดการณ์จุดที่ขบวนแห่จะเคลื่อนตัวไป และหาตำแหน่งในการถ่ายภาพที่ดีที่สุดไว้ล่วงหน้า
ความแตกต่างในช่วงเสี้ยววินาทีอาจทำลายองค์ประกอบภาพ
เทศกาลเช่นนี้มักมาพร้อมการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว คุณจึงมีเวลาเพียงเสี้ยววินาทีที่จะคว้าโอกาสในการถ่ายภาพ ผมจับภาพตัวอย่างที่ดีด้านบนโดยใช้การถ่ายภาพต่อเนื่อง และภาพด้านบนนี้เป็นเฟรมที่ได้มาทันทีหลังจากถ่ายภาพแรกไปแล้ว แม้ว่าผมจะจับภาพนี้ไว้ได้ในชั่วพริบตาหลังจากนั้น แต่คุณจะเห็นว่าสมดุลขององค์ประกอบภาพลดลงเนื่องจากขบวนแห่ 2 ขบวนในแบ็คกราวด์ทับซ้อนกัน (ดูวงกลมสีขาว)
องค์ประกอบภาพที่ต่างกันสื่อความรู้สึกที่แตกต่าง
EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/9, 1/500 วินาที, EV-0.7)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
ภาพนี้เป็นภาพขบวนแห่ซากิโชขบวนเดียว แม้ว่าภาพจะจับการเคลื่อนไหวของผู้คนได้อย่างชัดเจน แต่ในแบ็คกราวด์ไม่มีขบวนแห่อื่นอยู่เลย ซึ่งทำให้ผมรู้สึกเหมือนกับมีบางอย่างหายไปในภาพ การดึงสิ่งที่อยู่แวดล้อมเข้าไปในองค์ประกอบภาพจะช่วยสื่อถึงบรรยากาศของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ได้รับแรงบันดาลใจใช่ไหม โปรดดูบทความต่อไปนี้สำหรับเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพเทศกาลประเภทอื่นๆ:
การจับภาพจิตวิญญาณของเทศกาลไหว้พระจันทร์
งานเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง: ภาวะแสงน้อย
พิธีการแสดงเป็นควายน้ำแบบดั้งเดิมในบันยูวังงี อินโดนีเซีย (ฉบับภาษาอังกฤษ)
ความงดงามอันศักดิ์สิทธิ์ของพิธี Rejepan Plabengan ในจังหวัดชวากลาง อินโดนีเซีย (ฉบับภาษาอังกฤษ)
เทศกาลจุดโคมวันวิสาขบูชา: บันทึกภาพความงดงามของการถ่ายภาพกลางคืนไปพร้อม ๆ กับ Joseph Mak
เทศกาลโฮลี: เล่าเรื่องด้วยภาพ โดย Joseph Mak
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่จังหวัดนาระ เมื่อปี 1965 Nishikawa จบการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ สาขาการแพร่ภาพและภาพยนตร์ Osaka Professional Total Creative School เขาศึกษาการถ่ายภาพด้วยตนเอง และทำงานที่บริษัทผลิตวิดีโอโฆษณาและศูนย์พิมพ์ภาพระดับมืออาชีพ ก่อนจะผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในที่สุด และยังเป็นสมาชิกของสมาคม Japan Nature Scenery Photograph Association (JNP) อีกด้วย