ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใด การมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมจะช่วยส่งคุณไปครึ่งทางสู่ชัยชนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพประเภทจำเพาะ เช่น การถ่ายภาพสัตว์ป่า หรือการถ่ายภาพดวงดาว ที่กล้องและเลนส์ที่เหมาะสมจะส่งผลอย่างมากต่อผลลัพธ์สุดท้ายที่คุณต้องการ สำหรับบทความนี้เราได้พูดคุยกับ Adrian Silas Tay ช่างภาพนกผู้มากประสบการณ์ ที่จะมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์ของเขา สำหรับทั้งผู้เริ่มต้นที่ต้องการฝึกถ่ายภาพนกและนักถ่ายภาพนกที่ต้องการจะยกระดับอุปกรณ์ของตน ไปดูกันเลย!
ปล. หากคุณกำลังมองหาคู่มือการถ่ายภาพนกสำหรับมือใหม่โปรดอ่านที่นี่.
ภาพนกนางนวล EOS R6, EF300mm f/2.8L IS USM +2X III, f/8, ISO 600, 1/2000s, 600mm
คำแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นถ่ายภาพนก
ด้วยกล้องและเลนส์ของ Canon ที่เพียบพร้อมด้วยความสามารถที่หลากหลาย และมีตัวเลือกให้ผู้เริ่มต้นได้เลือกใช้อย่างมากมาย เราขอแนะนำ Canon EOS R6 และ Canon EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM lens
นกกินปลีอกเหลือง EOS R6, EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM, f/5.6, ISO 1250, 1/500s, 300mm
ทำไมต้องเป็นกล้อง Canon EOS R6 และเลนส์ Canon EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM?
กล้อง EOS R6 มาพร้อมกับระบบออโต้โฟกัสล่าสุดจาก Canon มีคุณสมบัติ Animal Eye AF ที่ทำให้การถ่ายภาพนกเป็นเรื่องง่าย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติ In-body Stabilizer ที่ทำให้คุณสามารถถ่ายภาพด้วย ISO สูง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เริ่มต้นสามารถถ่ายภาพที่คมชัดได้อย่างง่ายดาย และด้วยราคาที่สมเหตุสมผลสำหรับกล้องมิเรอร์เลสฟูลเฟรม ที่มากด้วยความสามารถดังกล่าว ทำให้กล้องรุ่นนี้ไม่เป็นสองรองใคร นอกจากนี้ EOS R6 ยังสามารถใช้ได้ดีและมีประโยชน์ในระดับมืออาชีพเช่นกัน จึงทำให้กล้องตัวนี้จัดว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่ดีเยี่ยม
ผู้เริ่มต้นจะพบว่าการถ่ายภาพด้วยเลนส์ Telephoto Zoom นั้นง่ายกว่า เช่นเลนส์ Canon EF70-300mm f / 4-5.6 IS II USM (พร้อมอะแดปเตอร์สำหรับเลนส์ EF สำหรับ Canon EOS R6) หรือเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสที่ใกล้เคียง เนื่องจากมุมมองที่แคบตั้งแต่ 300 มม.เป็นต้นไป ผู้เริ่มต้นมักจะพบว่ายากที่จะหาตัวแบบ (นก) เมื่อนำกล้องขึ้นมาใกล้ตา ด้วยความสามารถในการซูมเข้าจากมุมมองที่กว้างขึ้นของ เลนส์ Telephoto Zoom ทำให้การค้นหานกนั้น ทำได้ง่ายขึ้นมาก อีกทั้งรูรับแสงที่กว้างถึง f / 5.6 ก็มีส่วนช่วยในสถานการณ์ที่มีแสงน้อย และช่วยให้สามารถแยกวัตถุด้วยการเบลอฉากหลังได้ง่ายขึ้น ข้อดีที่สุดของเลนส์ตัวนี้คือขนาดและน้ำหนักที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้ ทำให้พกพาสะดวกสำหรับการผจญภัยกลางแจ้ง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล EOS R6, EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM, f/6.3, ISO 1600, 1/500s, 300mm
สายพันธุ์นกและสถานที่ สำหรับการทดลองใช้ชุดอุปกรณ์เริ่มต้นตามคำแนะนำ
สวนและสวนสาธารณะเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพนกด้วยชุดอุปกรณ์ที่แนะนำ นกในสถานที่เหล่านี้มักจะคุ้นเคยกับการมีมนุษย์ร่วมอยู่ในสภาพแวดล้อมของพวกมัน ทำให้ผู้เริ่มต้นเข้าใกล้พวกมันได้ง่ายขึ้น สายพันธ์ที่พบได้ตามสวนทั่วไป เช่น นกกินปลีอกเหลือง, ไก่ป่า, นกกวัก, นกกระสา, นกกระยาง และนกกระเต็น นกจำพวกนี้เป็นเป้าเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยม เนื่องจากสามารถมองเห็นพวกมันได้ง่าย
* คำเตือน: ควรศึกษามารยาทที่เหมาะสมในการถ่ายภาพสัตว์ป่า! ข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่
นกเขียวก้านตองปีกฟ้า EOS R6, RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM, f/7.1, ISO 640, 1/640s, 500mm
คุณสมบัติสำคัญสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการอัพเกรดอุปกรณ์กล้อง
เมื่อพูดถึงการอัพเกรดอุปกรณ์กล้อง ระยะกรเข้าถึงและประสิทธิภาพที่ดีสำหรับการถ่ายในสภาพแสงน้อยเป็นประเด็นสำคัญสองประการที่ควรพิจารณา แต่จะต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่มากขึ้นสำหรับอุปกรณ์ระดับมืออาชีพ และน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างของอุปกรณ์ดังกล่าวจะเป็นเลนส์ช่วง super-telephoto อย่าง เลนส์ 500mm หรือ 600mm f/4 ซึ่งมีราคาแพงกว่าและหนักกว่าเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามพวกมันมาพร้อมกับการเข้าถึงที่ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะเมื่อจับคู่กับตัวขยายและทำงานได้ดีมากเนื่องจากมีรูรับแสงที่กว้างขึ้นจึงทำให้รับแสงมากขึ้น
นกแก้วเรนโบว์ EOS R5, EF300mm f/2.8L IS II USM +2x III, f/6.3, ISO 1600, 1/100s, 600mm
คำแนะนำสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการอัพเกรดอุปกรณ์
ในความคิดของผม ผมจะจัดประเภทโปรไฟล์อุปกรณ์ระดับกลางเป็นช่างภาพที่ใช้ EOS R6 หรือแม้แต่ EOS R5 ผมขอแนะนำเลนส์ Canon RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM และ Canon RF600mm f/11 IS STM หรือ Canon RF800mm f/11 IS STM เลนส์ native RF มีความเร็วในการโฟกัสอัตโนมัติ การติดตามและความแม่นยำ ประสิทธิภาพการป้องกันภาพสั่นไหว และประสิทธิภาพในการมองเห็นที่ได้รับการปรับปรุง ทั้งหมดนี้จะทำให้ผลลัพธ์และคุณภาพของภาพดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีระยะการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีระยะโฟกัสที่ยาวขึ้น
นกเอียงหงอน EOS R6, EF500mm f/4L IS II USM +1.4x III, f/6.3, ISO 3200, 1/1600s, 700mm
สายพันธุ์นกและสถานที่เพื่อลองชุดที่แนะนำสำหรับช่างภาพระดับกลาง
สำหรับช่างภาพระดับกลางที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS R5 / R6 และเลนส์ Canon RF100-500mm f / 4.5-7.1L IS USM หรือ Canon RF600mm f / 11 IS STM หรือเลนส์ Canon RF800mm f / 11 IS STM ช่างภาพสามารถทดลองถ่ายภาพนกบริเวณชายฝั่งได้ หรือหากคุณอาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ สถานที่ที่แนะนำสำหรับนกชายฝั่งคือ Sungei Buloh Wetland Reserve (SBWR) และ Dairy Farm Nature Park หรือ Windsor Nature Park สำหรับนกป่า
นกชายฝั่งทั่วไปที่พบใน SBWR ได้แก่ นกอีก๋อยธรรมดา นกทะเลขาแดงธรรมดา นกนางแอ่นยูเรเชีย นกกระยางและนกกระสาชนิดต่างๆ นอกจากนกชายฝั่งแล้วเรายังสามารถถ่ายภาพนกล่าเหยื่อได้อีกด้วย เช่น เหยี่ยวแดง นกออก และเหยี่ยวปลาใหญ่หัวเทา นกทั่วไปอื่น ๆ ได้แก่ นกกระเต็นและนกกระจิบซึ่งมักพบในเขตสงวน
นกในป่าทั่วไป ได้แก่ นกปรอดชนิดต่างๆ นกจับแมลง นนกเขียวคราม นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ และนกหัวขวานชนิดต่างๆ
คุณสมบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ควรมองหา
แน่นอนว่าความต้องการที่ใหญ่ที่สุดในการถ่ายภาพนกคือระยะการเข้าถึง นกมักจะอยู่บนต้นไม้สูงหรือห่างออกไปในระยะไกล ดังนั้นระยะการเข้าถึงที่เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอ นักถ่ายภาพนกที่จริงจังมักจะเริ่มต้นที่ความยาวโฟกัส 500 หรือ 600mm เสริมด้วย ตัวขยาย 1.4x or 2x หากจำเป็น
คุณสมบัติประการที่สองคือ อัตราเฟรมเรทที่สูงที่กล้องสามารถบันทึกได้ ตามที่ระบุโดยเฟรมต่อวินาที (FPS) ช่างภาพนกมักบันทึกภาพการกระทำต่อเนื่อง เช่น นกที่กำลังบินการกินอาหาร หรือการล่าสัตว์ ค่าเฟรมเรท (FPS) ที่สูงขึ้นจะทำให้คุณสามารถถ่ายภาพได้จำนวนมากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการบันทึกภาพช่วงเวลาที่สมบูรณ์แบบ
คุณสมบัติประการที่สามคือความสามารถในการถ่ายภาพโดยใช้ ISO สูง เนื่องจากระยะโฟกัสที่ยาว และความจำเป็นในการหยุดการเคลื่อนไหว ช่างภาพจึงมักใช้การตั้งค่า ISO ที่สูงเพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ
เข้าดู ดาวน์โหลด infographic ด้านล่างเกี่ยวกับบทสรุปของคำแนะนำในบทความนี้!
สำหรับบทความที่คล้ายกัน:
7 ข้อเท็จจริงที่สำคัญของกล้อง EOS R6
การถ่ายภาพนก: 4 เคล็ดลับง่ายๆในการหามุมถ่ายที่ดีกว่าเดิม
ภาพนกบิน: การตั้งค่ากล้องถ่ายรูปเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ภาพที่ดี
เกี่ยวกับผู้เขียน
ในเวลางาน Adrian เป็นผู้ให้คำแนะนำด้านการทำงานสำหรับผู้มีภาวะออทิสติก และในเวลาว่าง เขาเป็นนักดูนกและช่างภาพสัตว์ป่าตัวยงซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์นกมากมายกับองค์กรหลายแห่ง เขาตั้งเป้าที่จะถ่ายภาพนกทุกสปีชีส์ในสิงคโปร์ สามารถดูภาพนก (330 สปีชีส์และยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ) ของเขาได้ที่เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Singapore Birds Project และ eBird โดย The Cornell Lab of Ornithology