สมมติว่าคุณกำลังมองหานกด้วยกล้องส่องทางไกลพร้อมด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ คุณเห็นนกสปีชีส์ใหม่เกาะอยู่บนกิ่งไม้จึงรีบวิ่งเข้าไปหา…แต่เดี๋ยวก่อน! ความตื่นเต้นอาจทำให้คุณได้มุมที่ทำให้ถ่ายภาพได้ไม่สวยงามนัก ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันเคล็ดลับเพื่อให้ได้มุมกล้องที่ดีขึ้นในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตนก (เอื้อเฟื้อภาพถ่ายและเคล็ดลับโดย Adrian Silas Tay)
1. นกที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ ระยะที่ใกล้กว่าอาจไม่ได้ดีกว่าเสมอไป
ในภาพทั้งสองเป็นนกตัวเดียวกัน และถ่ายด้วยกล้องและเลนส์ชนิดเดียวกัน คุณเห็นความแตกต่างของมุมกล้องหรือไม่
จากระยะที่ไกลกว่า
นกกินเปี้ยว
จากใต้ต้นไม้
ทั้งสองภาพ: EOS R6/ EF400mm f/4 DO IS II USM + Extender EF2x III/ FL: 800 มม. ที่ f/8
การเอียงกล้องทำให้เกิดความบิดเบี้ยว
ในภาพแรก ความสนใจของเราจะตกไปอยู่ที่ส่วนหัวและดวงตาของนกเป็นอันดับแรก ส่วนภาพที่สอง ความสนใจของเราจะอยู่ที่ด้านล่างของตัวนก ลำตัวของนกดูมีขนาดใหญ่กว่าอย่างไม่สมส่วนในภาพที่สอง
ตำแหน่งใต้ต้นไม้ทำให้มุมของระดับความสูงมีความชันมากกว่าและทำให้ระนาบโฟกัสเอียงมากกว่าด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้รูปร่างของนกบิดเบี้ยวอย่างเห็นได้ชัดเท่านั้น แต่ยังทำให้ยากต่อการจับโฟกัสนกทั้งตัวด้วย
ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ เลนส์ทิลต์-ชิฟต์จึงถูกนำมาใช้ในการถ่ายภาพอาคารสูง อ่านต่อได้ที่นี่
2. สำหรับนกลุยน้ำและนกหากินบนพื้นดิน ให้อยู่ต่ำเข้าไว้
ไม่ใช่นกทุกชนิดที่อยู่บนต้นไม้ แต่มีนกอีกมากมายที่อยู่ตามชายฝั่งและบนพื้นดิน! การถ่ายภาพโดยเพียงแค่ชี้เลนส์ไปยังตัวนกจากจุดที่คุณยืนอยู่อาจดูเหมือนง่ายกว่า แต่ในภาพนี้ ตำแหน่งการถ่ายภาพของคุณจะทำให้เกิดความแตกต่าง
ลองดูภาพด้านล่าง คุณสังเกตหรือไม่ว่าจะเห็นเอฟเฟ็กต์โบเก้ในโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ได้ชัดเจนกว่าในภาพที่ถ่ายจากตำแหน่งต่ำ
ตำแหน่งต่ำ
เป็ดแดง
จากตำแหน่งยืน
ทั้งสองภาพ: EOS R5/ EF600mm f/4L IS III USM + Extender EF1.4x III/ FL: 840 มม. ที่ f/8
เลนส์อยู่ในระดับเดียวกับตัวแบบ = ระดับสายตา โบเก้สวยงามกว่า
เมื่อคุณถ่ายภาพจากตำแหน่งต่ำกว่าโดยให้เลนส์อยู่ในระดับเดียวกับดวงตาของตัวแบบ จะทำให้มีพื้นที่ระหว่างแบ็คกราวด์กับตัวแบบมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดโบเก้ในแบ็คกราวด์ที่ชัดเจนขึ้น และระนาบโฟกัสยังทำให้เห็นโบเก้ในโฟร์กราวด์ได้ชัดขึ้นด้วย
เคล็ดลับ: หมุนจอสัมผัสชนิดปรับหมุนได้เพื่อให้ถ่ายภาพจากตำแหน่งหรือมุมต่ำได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
3. ดูทิศทางของแสงให้ดี
คุณไม่สามารถควบคุมสภาพอากาศหรือดวงอาทิตย์ได้ แต่คุณสามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายภาพจากที่ใด! ลองขยับไปรอบๆ เพื่อหาแสงที่ดีที่สุดสำหรับภาพของคุณ
นกคัคคูเหยี่ยวใหญ่
EOS 7D Mark II/ EF500mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4x/ FL: 700 มม. (เทียบเท่า 1120 มม.)
แสงจากด้านหน้า นับว่าเหมาะสมที่สุดเนื่องจากสามารถคงรายละเอียดและสีสันที่สดใสเอาไว้ได้มากที่สุด
EOS 7D Mark II/ EF500mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4x/ FL: 700 มม. (เทียบเท่า 1120 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/50 วินาที)/ ISO 400
แสงแบบกระจายตัว ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่าเล็กน้อย
EOS 7D Mark II/ EF500mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4x/ FL: 700 มม. (เทียบเท่า 1120 มม.)/ Aperture-priority AE (f/6.3, 1/320 วินาที, EV -0.3)/ ISO 1000
แสงจากด้านหลังและด้านข้าง สามารถทำให้ภาพดูมีมิติที่สวยงาม แต่ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อถ่ายภาพย้อนแสงเนื่องจากอาจสูญเสียรายละเอียดไปในส่วนที่เป็นเงา
แสงจากด้านหลัง
ส่วนหัวของนกตะกรุมตัวนี้ดูมืดเกินไป ทำให้มองไม่เห็นรายละเอียด
แสงจากด้านหน้า
แสงจากด้านหน้าทำให้เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน และยังมีสีสันที่สดใสกว่าด้วย
เคล็ดลับ: Animal Detection AF ในกล้องรุ่นใหม่ล่าสุดของ Canon อย่าง EOS R5 และ EOS R6 จะตรวจจับและติดตามตัวนก เพื่อให้คุณสามารถจดจ่อกับการหามุมที่ดีที่สุดได้!
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
วิธีเมทริกซ์: เพิ่มความหลากหลายให้ภาพถ่ายของคุณด้วยวิธีการที่เป็นระบบ
4. รวดเร็ว เรียบง่าย และสวยงาม: แบ็คกราวด์สีเขียวหรือฟ้า
หากต้องการองค์ประกอบภาพที่เรียบง่ายแต่ดูสวยงาม ให้จัดเฟรมภาพโดยให้นกอยู่ด้านหน้าแบ็คกราวด์สีฟ้าหรือสีเขียว เนื่องจากสีเหล่านี้จะทำให้รู้สึกถึงธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
นกกระเต็นอกขาว
EOS R6/ EF300mm f/2.8L IS USM + Extender EF2x III/ FL: 600 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/1600 วินาที, EV +0.3)/ ISO 1600
นกนางนวลแกลบเล็ก
EOS 7D Mark II/ EF300mm f/2.8L IS USM + Extender EF2x III/ FL: 600 มม. (เทียบเท่า 960 มม.)/ Shutter-priority AE (f/5.6, 1/1600 วินาที, EV +1.7)/ ISO 800
สปีชีส์
เคล็ดลับ: “สีเขียว” อาจมาจากเงาสะท้อนบนผิวน้ำได้เช่นกัน!
นก Masked Lapwing
EOS R5/ EF600mm f/4L IS III USM + Extender EF1.4x III/ FL: 840 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/500 วินาที)/ ISO 250
เทคนิคพิเศษ: ใช้โหมดกล้องแบบกำหนดเอง (C1, C2, C3) ให้เป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนการตั้งค่าให้รวดเร็ว
เมื่อนกที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้เริ่มออกบิน และคุณตัดสินใจว่าจะถ่ายภาพมันต่อไป การเปลี่ยนแปลงของแบ็คกราวด์จึงหมายความว่าการตั้งค่าการเปิดรับแสงของคุณก็ควรเปลี่ยนด้วยเช่นกัน หากคุณมักจะใช้การตั้งค่าแบบใดแบบหนึ่งในบางฉาก ช่องโหมดแบบกำหนดเอง C1 ถึง C3 ในกล้องบางรุ่นจะช่วยให้คุณสลับโหมดได้ด้วยการหมุนวงแหวนหรือกดปุ่ม (แบบกำหนดเอง) เพียงครั้งเดียว
และนี่คือวิธีการตั้งค่าโหมดของผม เมื่อนกเริ่มออกบิน ผมก็เพียงแค่เปลี่ยนไปใช้ C1 หรือ C2 ตามสถานการณ์
C1: สำหรับภาพนกบินที่มีแสงจากด้านหลัง
นกตะกรุม
ผมตั้งค่าการชดเชยแสงไว้สูงกว่า C2 เพื่อชดเชยในส่วนที่มืดซึ่งเกิดจากแสงด้านหลัง
C2: ภาพการบินตามปกติ
นกอีแก
การตั้งค่าตามปกติของผมสำหรับนกที่กำลังบินคือ f/6.3 ถึง f/8, 1/1600 ถึง 1/2000 วินาที, EV0 ถึง +0.3 และ ISO อัตโนมัติ
C3: โหมด Aperture-priority AE ในโหมดครอป 1.6 เท่า (กล้องในซีรีย์ EOS R)
นกจับแมลงพันธุ์จีน
โหมดนี้ทำให้ผมสามารถถ่ายภาพครอปของนกที่อยู่ไกลให้ดูใกล้ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภาพด้านบนถ่ายด้วยเลนส์ EF300mm f/2.8L IS II USM และท่อต่อเลนส์ EF2x III และโหมดครอป 1.6 เท่า ทำให้ได้ทางยาวโฟกัสเหมาะสมที่ 960 มม.
อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพนกเพิ่มเติมที่:
คำแนะนำการถ่ายภาพนกสำหรับมือใหม่
ฉันถ่ายภาพอย่างไรให้เฉียบ: นกสีเขียวตัวน้อยท่ามกลางโบเก้สีชมพูสวยงาม
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
ในเวลางาน Adrian เป็นผู้ให้คำแนะนำด้านการทำงานสำหรับผู้มีภาวะออทิสติก และในเวลาว่าง เขาเป็นนักดูนกและช่างภาพสัตว์ป่าตัวยงซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์นกมากมายกับองค์กรหลายแห่ง เขาตั้งเป้าที่จะถ่ายภาพนกทุกสปีชีส์ในสิงคโปร์ สามารถดูภาพนก (330 สปีชีส์และยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ) ของเขาได้ที่เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Singapore Birds Project และ eBird โดย The Cornell Lab of Ornithology