ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

คำแนะนำการถ่ายภาพนกสำหรับมือใหม่

2020-08-19
1
6.61 k
ในบทความนี้:

ถ้าคุณอยากลองถ่ายภาพนก ต่อไปนี้คือคำแนะนำแบบทีละขั้นตอนสำหรับมือใหม่ในการถ่ายภาพนกครั้งแรก ตั้งแต่สิ่งคุณที่ควรเตรียมพร้อม ไปจนถึงสถานที่และเวลาที่ควรถ่ายภาพ และการตั้งค่ากล้องที่แนะนำเพื่อเริ่มต้น

 

ขั้นตอนที่ 1: ต้องใช้อุปกรณ์ใด

เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสยาว

การถ่ายภาพนกเป็นการถ่ายภาพประเภทหนึ่งที่ยิ่งถ่ายระยะไกลได้ยิ่งดี เนื่องจากการเข้าใกล้นกมากเกินไปอาจทำให้นกเกิดความเครียดและบินหนีไป

แม้ว่าทางยาวโฟกัสที่ดีที่สุดที่ควรใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของนก ระยะห่างระหว่างคุณกับนก และความใหญ่ของนกที่คุณต้องการให้เป็นในองค์ประกอบภาพ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณต้องใช้ทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมอย่างน้อย 200 มม. เช่น เลนส์เทเลโฟโต้

กล้องเล็งไปที่ต้นไม้

แสดงมุมรับภาพที่ทางยาวโฟกัสต่างๆ

เคล็ดลับ: ตัวแปลงเลนส์ (หรือที่เรียกกันว่า ท่อต่อเลนส์) สามารถช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ไกลยิ่งขึ้น ควรลองหามาใช้สักอันถ้าเลนส์ของคุณรองรับ


สำหรับการถ่ายภาพนกทั่วไป ไม่สำคัญว่าคุณจะใช้กล้องรุ่นไหนตราบใดที่กล้องช่วยให้คุณถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสยาวได้ แต่คุณจะได้เปรียบถ้าใช้กล้อง APS-C เนื่องจากคุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า ช่วยให้ถ่ายภาพได้ไกลกว่าการใช้เลนส์เดียวกันบนกล้องฟูลเฟรม

ภาพนกกินปลีที่แสดงเซนเซอร์การครอป

สีดำ: ฟูลเฟรม
สีแดง: แบบ APS-C (ครอป 1.6 เท่า)

ตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพที่ระยะ 200 มม. ด้วยกล้อง APS-C จะได้มุมรับภาพเทียบเท่า 320 มม. บนกล้องฟูลเฟรม ภาพนี้บันทึกด้วยความละเอียดเต็ม ทำให้ครอปและพิมพ์ภาพเพิ่มเติมได้อย่างยืดหยุ่นยิ่งขึ้น


คุณสมบัติอื่นๆ ของกล้องที่น่าจับตามอง

- การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง
- AF ครอบคลุมพื้นที่กว้างขึ้นและหนาแน่นขึ้น
- จับ AF ได้รวดเร็วขึ้น


เคล็ดลับ: ทำความคุ้นเคยกับวิธีใช้งานกล้องของคุณ

นกเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก คุณคงไม่อยากสับสนกับอุปกรณ์และพลาดโอกาสถ่ายภาพ! ดังนั้น ควรทำความคุ้นเคยกับวิธีใช้งานกล้องก่อนที่จะถ่ายภาพ


กล้องส่องทางไกล

ก่อนจะเริ่มถ่ายภาพนก คุณต้องหาตำแหน่งที่พวกมันอยู่! กล้องส่องทางไกลดีๆ จะมีประโยชน์อย่างมาก

สำหรับการส่องดูและถ่ายภาพนกทั่วไป แค่มีกล้องส่องทางไกลที่มีกำลังขยาย 8 หรือ 10 เท่าก็น่าจะเพียงพอ ส่วนกล้องส่องทางไกลกำลังขยาย 12 หรือ 14 เท่า จะเหมาะสำหรับส่องดูนกและรายละเอียดเล็กๆ

8x20 IS

10x20 IS

 

การเลือกกล้องส่องทางไกล: ชื่อนั้นสำคัญไฉน

ชื่อกล้องส่องทางไกล

(1) กำลังขยาย: ยิ่งตัวเลขนี้มาก วัตถุยิ่งดูใกล้ขึ้น 
(2) เส้นผ่านศูนย์กลางที่ใช้งานจริงของเลนส์ใกล้วัตถุ: ยิ่งตัวเลขนี้มาก ขอบเขตภาพยิ่งกว้างและภาพที่คุณเห็นจะยิ่งสว่าง
(3) ระบบป้องกันภาพสั่นไหว: ช่วยให้ภาพนิ่ง แม้ใช้กำลังขยายสูง

เกร็ดน่ารู้: ภาพสั่นไหวที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของมือจะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อใช้กำลังขยายสูงๆ แต่เทคโนโลยีระบบป้องกันภาพสั่นไหว (IS) บนกล้องส่องทางไกลของ Canon จะช่วยให้ภาพนิ่ง และหาตำแหน่งของนกและติดตามพวกมันได้ง่ายขึ้น


ขาตั้งกล้อง

แม้ว่าไม่จำเป็น แต่ควรมีขาตั้งกล้องไว้ขณะที่คุณเฝ้ารอให้ตัวแบบเคลื่อนไหวไปที่ตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงหรือเมื่อใช้เลนส์ที่มีน้ำหนักมาก

 

ขั้นตอนที่ 2: สถานที่และเวลาใดที่ควรหานกเพื่อถ่ายภาพ

ควรไปหานกที่ไหน

สวนสาธารณะและสถานที่ที่มีต้นไม้เป็นตัวเลือกที่ชัดเจน แต่อย่าลืมสถานที่ที่มีหรืออยู่ใกล้บ่อน้ำ แม่น้ำ ทะเลสาบ หรือแม้แต่พื้นที่ที่เป็นหนองน้ำ เป็นต้น ลองหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชนิดของนกที่คุณสามารถพบเห็นในท้องถิ่น กลุ่มนักชมนกในท้องถิ่นของคุณอาจมีฐานข้อมูลด้วย เช่น Singapore Birds Project (ฉบับภาษาอังกฤษ) นอกจากนี้ คุณอาจต้องมีคู่มือภาคสนามที่ช่วยในการระบุพันธุ์นกเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: Avibase - รายการตรวจสอบนกทั่วโลก: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฉบับภาษาอังกฤษ): ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสายพันธุ์นก พร้อมภาพถ่ายและบันทึกเสียงร้อง 

หงส์สองตัวบนผิวน้ำ

EOS R/ RF800mm f/11 IS STM/ Aperture-priority AE (f/11, 1/2500 วินาที, EV -0.3)/ ISO 800

นอกจากเป็ดและหงส์แล้ว ยังมีนกสายพันธุ์อื่นๆ อีกมากมายที่คุณอาจพบได้ในหรือใกล้แหล่งน้ำ เช่น นกกระเต็น นกกระยาง หรือนกนักล่าที่กินปลา เช่น นกอินทรีทะเล

เคล็ดลับ: การถ่ายภาพสวยๆ ของนกที่กำลังโผบินเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า!  นกที่ถ่ายภาพได้ง่ายที่สุดคือนกตัวใหญ่ๆ และเคลื่อนที่ช้า ด้วยเหตุนี้ ควรลองใช้วิธีต่างๆ กันในการจัดเฟรมภาพ โดยมองหาองค์ประกอบ เช่น เส้นหรือความสมมาตร 


เวลาที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพคือเมื่อใด

โดยทั่วไป นกสายพันธุ์ส่วนใหญ่จะออกหากินแต่เช้าตรู่ในช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น และในช่วงบ่ายแก่ๆ หรือช่วงเย็นไม่กี่ชั่วโมงก่อนพระอาทิตย์ตก

ภาพนกกระเต็นในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีทอง

EOS R6/ RF800mm f/11 IS STM + Extender RF 2x/ Aperture-priority AE (f/22, 1/500 วินาที, EV +1.3)/ ISO 10,000

แสงสวยช่วยได้ เช่นเดียวกับการถ่ายภาพแบบอื่นๆ ควรใช้ประโยชน์จากช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีทอง

เคล็ดลับ: การเว้นพื้นที่ว่างทางลบบ้างสามารถช่วยให้องค์ประกอบภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งในภาพนี้ช่วยดึงความสนใจของเราไปที่สายตาของนกกินเปี้ยวที่มองไกลออกไป

เคล็ดลับอื่นๆ ในการเตรียมตัว

- คุณต้องไม่โดดเด่นจากสภาพแวดล้อมโดยรอบมากนัก ควรสวมใส่เสื้อผ้าหม่นๆ โทนสีกลาง
- ใช้กระเป๋าเป้เพื่อให้มือของคุณว่าง คุณต้องใช้มือทั้งสองข้างถือกล้องไว้ให้มั่นคง


ข้อควรรู้: “การหลอกล่อ” นกป่าเพื่อถ่ายภาพนั้นเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน

หากคุณกำลังคิดจะให้อาหารนกป่าเพื่อถ่ายภาพ คุณอาจต้องคิดดูใหม่ คนมากมายรวมถึงช่างภาพต่างไม่ยอมรับวิธีนี้ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อตัวนกและเปลี่ยนพฤติกรรมตามธรรมชาติของนกได้ อีกทั้งยังเป็นการทำผิดกฎหมายในสถานที่สาธารณะบางแห่ง

 

ขั้นตอนที่ 3: ควรใช้การตั้งค่าแบบใด

โดยทั่วไป:
- ความเร็วชัตเตอร์สูง
- รูรับแสงแคบ
- ISO อัตโนมัติ
- Servo AF
- การถ่ายภาพต่อเนื่อง


ความเร็วชัตเตอร์: เริ่มต้นด้วย 1/500 วินาทีหรือเร็วกว่านั้น

นกแก้วมาคอว์ที่กำลังโผบิน

EOS R5/ RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM/ FL: 254 มม./ Manual exposure (f/7.1, 1/2000 วินาที)/ ISO 400

ความเร็วจริงขึ้นอยู่กับว่านกกำลังเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน 1/500 วินาทีอาจเพียงพอแล้วถ้านกค่อนข้างอยู่นิ่ง แต่คุณต้องใช้อย่างน้อย 1/1,000 วินาทีเพื่อจับภาพนิ่งของนกที่กำลังโผบิน

เคล็ดลับ: ถ่ายภาพที่ระดับสายตาของนก เพื่อให้ภาพถ่ายของคุณดูน่าประทับใจยิ่งขึ้น


...แต่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสามารถสร้างความมีมิติได้

ภาพถ่ายนกด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

EOS R/ RF800mm f/11 IS STM/ Aperture-priority AE (f/11, 1/40 วินาที)/ ISO 1600

ถ้าสถานการณ์เอื้ออำนวย คุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เพื่อสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวและเพิ่มการเคลื่อนไหวให้กับภาพได้ ถ้าคุณชอบความท้าทาย ให้ลอง แพนกล้องถ่ายภาพนกที่กำลังโผบิน!

เคล็ดลับ: อย่าลืมว่าความเร็วชัตเตอร์จะส่งผลต่อองค์ประกอบต่างๆ นอกเหนือจากสิ่งที่คุณพยายามเปลี่ยนให้เป็นภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว ดังนั้น ควรหาความเร็วที่ให้ความสมดุลที่สุด

 

รูรับแสง: อาจแคบกว่าที่คุณคิด

นกแขกเต้าสีเขียว

EOS R6/ RF800mm f/11 IS STM + Extender RF 2x/ FL: 1600 มม./ Aperture-priority AE (f/22, 1/320 วินาที, EV +0.3)/ ISO 12800

เมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ ระยะชัดจะตื้นมากจนคุณสามารถสร้างโบเก้ที่สวยงามได้ด้วยค่า f/22

เคล็ดลับ: ตัวแบบของคุณต้องอยู่ภายในระนาบโฟกัส แล้วเพิ่มความไวแสง ISO ถ้าคุณต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้น


AF: AF ด้วยปุ่มด้านหลัง โหมด Servo AF

ใช้โหมด Servo AF และเปิดใช้งาน AF ต่อเนื่อง เพื่อให้กล้องติดตามนกได้แม้ขณะที่มันเคลื่อนไหว แต่ถ้านกอยู่นิ่งมาก คุณน่าจะถ่ายภาพสวยๆ ได้ด้วย One-Shot AF

ตั้งค่ากล้องของคุณให้ใช้ AF ด้วยปุ่มด้านหลัง เพื่อที่ว่าถ้าจำเป็นต้องจัดองค์ประกอบภาพใหม่หลังจากจับโฟกัสได้ การกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งจะไม่ทำให้กล้องปรับโฟกัสไปที่สิ่งอื่น

โหมดพื้นที่ AF ที่ใช้พื้นที่ AF ทั้งหมดอย่างโหมดการตรวจจับใบหน้า + การติดตามควรใช้งานได้ในฉากส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ถ้าแบ็คกราวด์ยุ่งเหยิงหรือถ้าคุณกำลังถ่ายภาพนกขณะโผบิน คุณอาจต้องใช้โหมดพื้นที่ AF ที่เล็กลง เช่น Zone AF หรือ Large Zone AF เพื่อลดโอกาสที่ AF จะ “เคลื่อน”


ต้องแน่ใจว่าดวงตาของนกอยู่ในโฟกัสที่คมชัด

ภาพโคลสอัพของนกทูแคน

EOS R6/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 147 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/800 วินาที)/ ISO 400

การถ่ายภาพนกนั้นเหมือนกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต ตรงที่ดวงตาต้องคมชัด โดยเฉพาะภาพถ่ายช่วงศีรษะอย่างเช่นภาพนี้ ควรใช้รูรับแสงแคบๆ ตามที่จำเป็น

เคล็ดลับ: ลองใส่ประกายตาเข้าไปในภาพ วิธีนี้จะทำให้ตัวแบบดูมีชีวิตชีวามากขึ้น


เหยี่ยวที่กำลังโผบิน

EOS R5/ RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM/ FL: 324 มม./ Manual exposure (f/7.1, 1/5000 วินาที)/ ISO 800

สำหรับนกที่กำลังบิน การจับโฟกัสที่ดวงตาอย่างแม่นยำอาจทำได้ยากยิ่งกว่า อย่างน้อยต้องแน่ใจว่าส่วนหัวอยู่ในโฟกัส

เกร็ดน่ารู้: คุณสมบัติ Animal Detection AF ของ Canon ที่เปิดตัวในกล้อง EOS R5 และ EOS R6 ไม่ได้ตรวจจับลำตัวและส่วนหัวของนกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังตรวจจับดวงตาของพวกมันอีกด้วย! 

 

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด: สิ่งที่ควรและไม่ควรทำ

สิ่งที่ไม่ควรทำ...

- เข้าใกล้รังนก เพราะอาจทำให้นกทิ้งรังและลูกของมัน
- เข้าใกล้นกมากเกินไป ถ้านกแสดงอาการเครียด ให้ถอยออกมา
- เคลื่อนไหวฉับพลันและส่งเสียงดัง ควรสงบนิ่งและเงียบเข้าไว้ แม้ว่าคุณจะเห็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น

สิ่งที่ควรทำ...

- หลีกเลี่ยงการใช้แฟลชเท่าที่ทำได้ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้นกรู้สึกกลัว แต่อาจทำให้นกบางตัวตาบอดได้
- หาข้อมูลเกี่ยวกับนกและพฤติกรรมของพวกมัน ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ของคุณ แต่ยังช่วยให้คาดเดาการเคลื่อนไหวของนกได้ดียิ่งขึ้นด้วย!
- เคารพนกและถิ่นที่อยู่ของพวกมัน ควรระมัดระวังสภาพแวดล้อมรอบตัวคุณ แล้วถ่ายภาพและทิ้งไว้เฉพาะรอยเท้าเท่านั้น
- เคารพช่างถ่ายภาพนก/นักชมนกคนอื่นๆ

นกเค้าแมวหิมะ

EOS R6/ RF100-500mm f/4.5-7.1L IS USM/ FL: 500 มม./ Manual exposure (f/7.1, 1/4000 วินาที)/ ISO 1600

- อดทน คุณอาจต้องอยู่นิ่งในตำแหน่งเดิมเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่นกจะเริ่มคุ้นเคยกับคุณ นกที่เกาะกิ่งไม้อยู่อาจหันหน้าหนีคุณในตอนแรก แต่ถ้าคุณรออยู่เงียบๆ สักครู่ นกตัวนั้นอาจหันหน้ามาและเปิดโอกาสให้คุณถ่ายภาพได้ดีขึ้น

 

---

ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพ!


อ่านบทสัมภาษณ์ช่างถ่ายภาพนกผู้มีประสบการณ์ของเราได้ที่:
ค้นพบวิธีการที่ช่างภาพ เอ็ดวิน มาร์ทิเนส ถ่ายภาพนกพัฟฟินแอตแลนติกด้วย EOS R
หลงใหลไปกับแหล่งธรรมชาติเมืองไทย

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา