ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จุดโฟกัส: EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM- Part2

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM: เลนส์ที่ถ่ายภาพนกได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับผู้เริ่มใช้งาน

2017-09-28
2
8.02 k
ในบทความนี้:

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM คือเลนส์ซูมซูเปอร์เทเลโฟโต้ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา ที่สามารถถ่ายภาพคุณภาพสูงได้เทียบเท่าเลนส์ซีรีย์ L เราจะมาดูประสิทธิภาพของเลนส์รุ่นนี้ในการถ่ายภาพนกกัน (เรื่องโดย Gaku Tozuka)

ภาพนกในธรรมชาติ ถ่ายด้วย EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

EOS 80D/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 300 มม. (เทียบเท่า 480 มม.)/ Manual exposure (f/5.6, 1/3200 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และคล่องตัวเป็นพิเศษ

การถ่ายภาพนกเป็นการเก็บภาพความงดงามตามธรรมชาติของนกในธรรมชาติ หากคุณเป็นผู้เริ่มต้นใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพแนวนี้ คุณอาจเริ่มด้วยการมองหานกในธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กในสวนสาธารณะตามเขตเมือง เนื่องจากนกเหล่านั้นมักไม่ค่อยตื่นกลัวผู้คนที่อยู่ใกล้ เมื่อถ่ายภาพ เลนส์คลาส 300 มม. ถือเป็นตัวเลือกที่ดี และ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ก็เหลือเฟือสำหรับการถ่ายภาพ และด้วยน้ำหนักเพียง 710 กรัม ผู้ใช้จึงสามารถใช้เลนส์เพื่อถ่ายภาพแบบถือด้วยมือได้อย่างง่ายดาย

ในฐานะช่างภาพนกมืออาชีพ ผมมักใช้เลนส์เดี่ยวซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 3 กิโลกรัม แต่หลังจากทดลองใช้ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM แล้ว ผมก็รู้สึกทึ่งกับคุณภาพของภาพถ่ายที่ได้ การถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆ เช่น ขนนกของตัวแบบทัดเทียมกับคุณภาพของเลนส์ในซีรีย์ L ที่ผมใช้งานอยู่เป็นประจำ

ผมยังพบว่าเลนส์ซูมนี้มีประโยชน์อย่างมากในการจัดองค์ประกอบภาพ เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และจัดองค์ประกอบภาพได้หลากหลาย นอกจากถ่ายภาพขนนกในระยะใกล้แล้ว ผมยังสามารถถ่ายภาพแนวทิวทัศน์ที่มีนกดูตัวเล็กๆ อยู่ไกลจากกล้อง เพียงแค่ควบคุมวงแหวนซูมเท่านั้น แต่สิ่งที่ผมชื่นชอบมากที่สุดเกี่ยวกับเลนส์นี้คือ น้ำหนักที่เบาเหมาะสำหรับการถือกล้องถ่ายอย่างรวดเร็ว รูปแบบการถ่ายภาพเช่นนี้มีแนวโน้มทำให้ภาพเบลอเพราะปัญหากล้องสั่น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้สำหรับช่างภาพมืออาชีพ แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากเลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM กลับยอดเยี่ยม เพราะคุณสมบัติ IS อันทรงพลังช่วยลดการสั่นไหวที่เกิดขึ้นกับกล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นกเป็นตัวแบบที่ว่องไวปราดเปรียวและไม่สามารถคาดเดาการเคลื่อนไหวได้ ด้วยเหตุนี้ เลนส์ที่รองรับ AF ความเร็วสูงจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งในเลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM มาพร้อมกับ Nano USM ด้วย AF ความเร็วสูง ผมสามารถเก็บภาพทุกเสี้ยววินาทีสำคัญได้อย่างทันท่วงที

สำหรับตัวแบบที่ท้าทายมากขึ้นในการถ่ายภาพนก เช่น นกสายพันธุ์หายากที่กำลังเกาะกิ่งไม้อยู่ในระยะไกล หรือนกล่าเหยื่อที่ตื่นกลัวง่าย เราจำเป็นต้องใช้เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ อย่างไรก็ดี หากคุณวางแผนที่จะเริ่มถ่ายภาพนกในธรรมชาติในสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น สวนสาธารณะ เลนส์นี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะเมื่อพิจารณาถึงปัจจัย เช่น คุณภาพของภาพ น้ำหนัก และราคา

 

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

โครงสร้างเลนส์: 17 ชิ้นเลนส์ใน 12 กลุ่ม
ระยะการถ่ายภาพต่ำสุด: 1.2 ม.
กำลังขยายสูงสุด: 0.25 เท่า
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: φ67 มม.
ขนาด: ประมาณ φ80×145.5 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 710 กรัม

เลนส์ซูมเทเลโฟโต้รุ่นนี้โดดเด่นด้วยขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และคุณภาพของภาพสูง และสามารถใช้กับกล้องฟูลเฟรมได้ อีกทั้งยังมาพร้อม Nano USM ที่ใช้ AF ความเร็วสูงในการถ่ายภาพนิ่ง รวมทั้งขับเคลื่อน AF ได้อย่างเงียบเชียบและราบรื่นในระหว่างถ่ายภาพเคลื่อนไหว เมื่อใช้กับกล้อง DSLR ขนาด APS-C เช่น EOS 77D และ EOS 800D เลนส์ให้มุมรับภาพเทียบเท่าทางยาวโฟกัสที่ 112 ถึง 480 มม.

ต่อไปนี้ผมจะอธิบายเพิ่มเติมถึงจุดแข็งที่ผมสัมผัสได้ในเลนส์รุ่นนี้

 

1. คุณภาพภาพถ่ายที่สูงในทุกระยะการซูมและมีสีเบลอน้อยมาก

ภาพนกในธรรมชาติ ถ่ายด้วย EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

EOS 80D/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 300 มม. (เทียบเท่า 480 มม.)/ Manual exposure (f/5.6, 1/3200 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 

ภาพขยายของนกกระเรียนคอขาว ถ่ายด้วย EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

ขยายภาพใหญ่ 100%

ตัวแบบที่เป็นเป้าหมายของผมคือนกกระเรียนคอขาวซึ่งโผบินอยู่บนท้องฟ้าอย่างสง่างาม ภาพที่ออกมามีคุณภาพดีเยี่ยมจนอาจเข้าใจผิดได้ง่ายว่าเป็นภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ในซีรีย์ L สิ่งที่ผมคิดว่าน่าทึ่งมากคือ ความสามารถในการแสดงรายละเอียดของผิวสีแดงรอบๆ ดวงตาของนก

 

2. ให้สีสันที่มีความเปรียบต่างสูงพร้อมช่วงโทนสีที่สดใส

ภาพนกแสนสวยที่มีความเปรียบต่างสูง ถ่ายด้วย EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

EOS 80D/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 300 มม. (เทียบเท่า 480 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/320 วินาที, EV-1)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

คุณสมบัติที่โดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเลนส์ตัวนี้คือ การถ่ายทอดความเปรียบต่างสูง ในตัวอย่างนี้ ภาพแสดงสีสันที่สวยงามของใบไม้ได้ตรงตามความเป็นจริงพร้อมกับให้ความเปรียบต่างที่สมดุล ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ชม

 

3. คุณสมบัติ IS ที่น่าเชื่อถือช่วยให้ถือกล้องถ่ายที่ระยะเทเลโฟโต้ 300 มม. ได้

ระบบ IS อันน่าทึ่งที่ระยะเทเลโฟโต้ด้วย EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ในสภาพแสงน้อย

EOS 80D/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 300 มม. (เทียบเท่า 480 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/200 วินาที, EV-0.7)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

เมื่อใช้เลนส์กับกล้อง DSLR ขนาด APS-C เช่น EOS 80D มุมรับภาพจะเทียบเท่าทางยาวโฟกัสสูงสุด 480 มม. จึงสามารถรักษาระยะห่างระดับปานกลางจากตัวแบบเพื่อไม่ให้นกตื่นกลัวได้ แม้ว่าสภาพแวดล้อมรอบๆ จะมืด แต่ภาพที่ออกมาดูคมชัดแม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/200 วินาที เนื่องจากคุณสมบัติ IS อันทรงพลัง

 

4. ทำงานได้ดีในสภาพย้อนแสง จึงใส่แหล่งกำเนิดแสงไว้ในเฟรมภาพได้

ภาพนกกระเรียนหมวกขาวตัดกับดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้น ถ่ายด้วย EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

EOS 80D/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 155 มม. (เทียบเท่า 248 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/2000 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ในภาพนี้ ผมพยายามเก็บภาพทั้งดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นและนกกระเรียนหมวกขาวในท้องฟ้า แม้สภาพการถ่ายจะมีแสงย้อนเต็มๆ และมีดวงอาทิตย์อยู่ในเฟรมภาพ แต่ยังไม่พบแสงแฟลร์หรือแสงหลอกเลย อีกทั้งหมอกในตอนเช้าก็ถ่ายทอดออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ

 

ความเห็นของ Gaku Tozuka

A: คุณภาพของภาพ
B: ความเร็วของ AF
C: คุณสมบัติ IS
D: ดีไซน์
E: ราคา

 

ปกติผมมักใช้แต่เลนส์ซีรีย์ L เท่านั้น อันที่จริง เลนส์ที่ผมมีล้วนแต่เป็นเลนส์ซีรีย์ L ทั้งหมด เพราะในฐานะช่างภาพมืออาชีพ ผมต้องแน่ใจว่าคุณภาพของภาพถ่ายที่ได้จะสม่ำเสมอ นี่จึงเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างระหว่างภาพถ่ายที่ผมจะนำไปใช้งานกับภาพถ่ายที่ผมจะไม่นำไปใช้ แม้ว่าเลนส์จะมีน้ำหนักเบาและราคาไม่สูง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะให้ภาพถ่ายคุณภาพสูงในฉากทุกแบบ

อย่างไรก็ดี EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ทำให้ผมรู้สึกทึ่งเป็นอย่างมาก เมื่อมองดูภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ชนิดนี้ ผมพลางนึกไปว่าเป็นภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ซีรีย์ L ไม่เพียงเท่านั้น ขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักค่อนข้างเบายังเป็นประโยชน์สำหรับการถือกล้องถ่ายภาพเป็นเวลานานหลายชั่วโมง จุดสำคัญที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือคุณสมบัติ IS ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผมจึงถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องกังวลว่ากล้องจะสั่นไหว นอกจากนี้ AF ยังมีความเร็วและความแม่นยำเพียงพอที่จะรับมือกับการเคลื่อนไหวที่คาดเดาไม่ได้ของนก ภาพของนกที่โผบินอยู่บนท้องฟ้าจึงน่าพึงพอใจมาก

เมื่อดูจากประสิทธิภาพข้างต้นแล้ว ผมจึงมั่นใจว่า EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM จะเป็นตัวช่วยที่เพิ่มความมั่นใจในการถ่ายภาพ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกพกพาอุปกรณ์ถ่ายภาพไปมากๆ เช่น การถ่ายภาพที่ต้องเดินทางไปยังภูเขาหรือเกาะ นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากราคาที่สมเหตุสมผลแล้ว ผมแนะนำให้ผู้เริ่มต้นถ่ายภาพนึกถึงเลนส์นี้เป็นตัวแรกหากต้องการถ่ายภาพนก

 

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน: รีวิวเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพนก โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
รีวิวการใช้งาน EOS-1D X Mark II ตอนที่ 1: โฟกัสที่แม่นยำและสมรรถนะการติดตามตัวแบบของ AF ที่น่าทึ่ง
รีวิวการใช้งาน EOS-1D X Mark II ตอนที่ 2: Dual Pixel CMOS AF โฟกัสสมบูรณ์แบบแม้ในฉากที่มืด

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Gaku Tozuka

เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์

http://happybirdsday.jp/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา