ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด จุดโฟกัส: EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM- Part3

รีวิวเลนส์ซูมเทเลโฟโต้ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM

2017-04-27
2
17.4 k
ในบทความนี้:

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ใหม่ มีเทคโนโลยีมอเตอร์อัลตร้าโซนิค Nano USM ที่สามารถขับเคลื่อน AF ได้อย่างราบรื่น รวมทั้งมีแผงจอ LCD แสดงข้อมูลเลนส์ ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในเลนส์ซีรีย์ EF นอกจากนี้ โครงสร้างเลนส์และเลย์เอาต์ของชิ้นเลนส์ยังมีการพัฒนาที่สำคัญหลายประการ เพื่อประสิทธิภาพในการถ่ายทอดภาพที่ดียิ่งขึ้น ในส่วนต่อไป เรามาดูคุณสมบัติที่โดดเด่นของเลนส์รุ่นนี้โดยใช้ตัวอย่างจากการถ่ายภาพรถไฟกัน (เรื่องโดย: Koji Yoneya)

 

การออกแบบที่ล้ำสมัยและใช้งานง่าย

ช่วงทางยาวโฟกัสของเลนส์ซูมเทเลโฟโต้มีความแตกต่างกันอย่างมาก เมื่อเราใช้ทางยาวโฟกัสที่ 70-200 มม. ในกล้องฟูลเฟรม 35 มม. บางครั้งเราอาจพบกับฉากที่ต้องการใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นอีกเล็กน้อยที่ระยะเทเลโฟโต้ ซึ่งใช้กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ กีฬา ตลอดจนรถไฟ

เมื่อพบสถานการณ์เช่นนี้ เลนส์สี่รุ่นของ Canon ที่มีระยะการซูมที่ 70-300 มม. (EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM, EF70-300mm f/4-5.6 IS USM, EF70-300mm f/4-5.6L IS USM และ EF70-300mm f/4.5-5.6 DO IS USM) สามารถรองรับความต้องการของเราโดยให้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นอีกเล็กน้อยได้ และเมื่อนำมาใช้ร่วมกับกล้องแบบ APS-C ทางยาวโฟกัสจะยาวยิ่งขึ้นอีก (เทียบเท่ากับ 112-480 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.) ช่วงการซูมนี้จึงอาจเป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับการถ่ายตัวแบบบางประเภท

เลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM นำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้มากมาย แต่ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือการใช้เทคโนโลยี Nano USM สำหรับขับเคลื่อนระบบ AF Canon พัฒนามอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM) โดยปรับเปลี่ยนให้เป็นชิปขนาดบางเพื่อให้ AF ทำงานได้รวดเร็วและราบรื่นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นครั้งแรกของกลุ่มเลนส์ EF ที่ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM มาพร้อมกับแผงจอ LCD ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลเลนส์ได้

 

EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM มีโครงสร้างเลนส์แบบ 17 ชิ้นใน 12 กลุ่ม และเลย์เอาต์ของชิ้นเลนส์ ตลอดจนตำแหน่งของเลนส์ UD ได้รับการปรับปรุงใหม่เช่นกัน นอกจากนี้ เลนส์ยังมาพร้อมม่านรูรับแสง 9 กลีบ และมีการปรับปรุงเอฟเฟ็กต์ IS ให้สูงถึงประมาณสี่สต็อปอีกด้วย

เนื่องจาก EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ใช้ระบบการโฟกัสด้านหลัง ด้านหน้าเลนส์จึงไม่เคลื่อนหรือหมุนในระหว่างการโฟกัส และเลนส์ยังรองรับระบบแมนนวลโฟกัสแบบ Full-time ด้วย

บริเวณกึ่งกลางเลนส์มีการติดตั้งวงแหวนซูมขนาดกว้าง ขณะที่ด้านหน้าเลนส์ติดตั้งวงแหวนโฟกัสไว้ ในส่วนการออกแบบก็ดูเก๋ไก๋ สวิตช์แทบไม่มีส่วนเว้านูน และรูปร่างกระบอกที่แบนมีลักษณะเรียวลงไปจนถึงเมาท์

 

ข้อมูลการถ่ายภาพปรากฏขึ้นบนแผงจอ LCD แสดงข้อมูลเลนส์ที่อยู่ด้านบน

การแสดงข้อมูลระยะโฟกัส

 

การแสดงข้อมูลปริมาณการสั่นไหว

 

สำหรับรูปลักษณ์ภายนอกของกล้อง มีคุณสมบัติหนึ่งที่สวยสะดุดตาเป็นพิเศษ นั่นคือแผงจอ LCD แสดงข้อมูลเลนส์ที่อยู่ด้านบนสุดของเลนส์ แผงนี้นอกจากแสดงข้อมูลเกี่ยวกับระยะโฟกัสและทางยาวโฟกัสแล้ว ยังแสดงข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาใหม่อย่างปริมาณการสั่นไหวของกล้องอีกด้วย โหมดแสดงข้อมูลแบบใหม่นี้จะแสดงปริมาณการสั่นแบบมุมองศาที่เกิดขึ้นกับเลนส์ทั้งในทิศทางแนวตั้งและแนวนอน และน่าจะเป็นประโยชน์ในระหว่างการถ่ายภาพเคลื่อนไหวโดยใช้ฟังก์ชั่น Live View

สวิตช์โหมดมีให้ใช้งานที่มุมล่างซ้ายของแผงจอแสดงข้อมูลเลนส์ และสามารถใช้เมื่อต้องการสลับใช้โหมดทั้งสามโหมด หากนำเลนส์นี้ไปใช้กับกล้องแบบ APS-C โหมดแสดงข้อมูลทางยาวโฟกัสจะแสดงข้อมูลทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.

นอกเหนือจากสวิตช์โหมดแล้ว สวิตช์เลือกแบบอื่นๆ จะมีสวิตช์โหมดโฟกัสสำหรับเลือกใช้งาน AF หรือ MF, สวิตช์ระบบป้องกันภาพสั่นไหว รวมทั้งก้านล็อควงแหวนซูมที่ด้านขวาของเลนส์ ก้านล็อควงแหวนซูมจะทำหน้าที่ล็อคเลนส์เข้ากับระยะมุมกว้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เลนส์ขยายมากเกินไปในขณะที่คุณพกพาเลนส์

ลำดับต่อไป เราจะมาดูตัวอย่างภาพถ่ายรถไฟที่ถ่ายด้วยเลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM และกล้อง EOS 5D Mark IV

 

การถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์สูง

ผมเริ่มออกเดินทางในเช้าตรู่วันหนึ่งของฤดูหนาว เพื่อเดินทางไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูงมิชิมะและชิน-ฟูจิ ซึ่งตั้งอยู่ตามเส้นทางรถไฟโทไกโดชินกันเซ็น ที่นี่คุณจะเพลิดเพลินกับการถ่ายภาพภูเขาไฟฟูจิและรถไฟความเร็วสูงชินกันเซ็น

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 160 มม./ Manual exposure (f/8, 1/4,000 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด

ผมเจอกับสภาวะการถ่ายภาพที่ไม่เอื้อต่อเลนส์ที่มี เพราะด้านหน้าของรถไฟหัวกระสุนอยู่ที่มุมซ้ายขององค์ประกอบภาพ ผมถ่ายรูปนี้โดยใช้แสงอันนุ่มนวลของดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นในหน้าหนาว พร้อมกับตั้งค่าทางยาวโฟกัสไว้ที่ 160 มม. การตั้งค่าที่ผมเลือกใช้คือ ISO 1600, 1/4,000 วินาที และ f/8 แม้ว่าขบวนรถไฟถูกจัดวางไว้ที่มุมภาพ แต่เลนส์ไม่เพียงบันทึกภาพในส่วนพื้นที่บริเวณรอบไฟหน้ารถได้เท่านั้น แต่ล้อรถ (จานเบรก) ที่ดูราวกับ “หยุดนิ่ง” เนื่องจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงถูกถ่ายทอดรายละเอียดออกมาอย่างคมชัดมาก จนผมสามารถเห็นกระทั่งรอยบุ๋มของล้อได้

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/4, 1/8,000 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ภาพนี้ถ่ายที่ระยะมุมกว้างที่ทางยาวโฟกัส 70 มม. แม้ว่าจะสังเกตเห็นปัญหาแสงน้อยลงและความบิดเบี้ยวแบบโป่งออกอยู่บ้าง แต่เราสามารถแก้ไขในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพได้ สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกทึ่งมากขึ้นไปอีกคือ เลนส์สามารถถ่ายทอดบริเวณมุมทั้งสี่ของภาพได้อย่างยอดเยี่ยม

 

 

ซ้าย: f/5, 1/2,500 วินาที
ขวา: f/11, 1/500 วินาที
ทั้งสองภาพ: EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 118 มม./ Manual exposure (EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ในการถ่ายภาพรถไฟ บางครั้งเราอาจต้องการจับภาพรถไฟที่กำลังวิ่งจากมุมสูงแบบเบิร์ดอายวิว พร้อมกับมีทิวทัศน์อันงดงามตระการตาเป็นฉากหลัง ถึงแม้ว่ารถไฟในภาพอาจดูมีขนาดเล็ก แต่ผู้ที่ชื่นชอบรถไฟจะยังคงต้องการเก็บภาพรายละเอียดของรถไฟให้ได้มากที่สุด

ทั้งสองภาพในตัวอย่างด้านบนแสดงให้เห็นภาพจากมุมสูงแบบเบิร์ดอายวิวของช่องเขาซัตตะ โทเงะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการจราจรเชิงยุทธศาสตร์มาตั้งแต่อดีต จากตัวอย่าง คุณสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพที่ถ่ายโดยใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/5 (ซ้าย) และอีกภาพหนึ่งที่ถ่ายโดยลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f/11 (ขวา)

จุดหมายปลายทางที่รถไฟขบวนนี้กำลังมุ่งหน้าไปจะแสดงไว้ที่หัวขบวน และเมื่อเราขยายภาพในส่วนนี้ให้เท่าขนาดจริง เราจะเห็นว่าคำว่า "ชิซูโอกะ" ยังคงมองเห็นได้ชัดเจนในภาพตัวอย่างทางซ้ายซึ่งถ่ายที่ค่า f/5 แม้ว่าโฟกัสจะเบลอเล็กน้อย ขณะเดียวกัน ภาพตัวอย่างทางขวาซึ่งลดขนาดรูรับแสงลงเหลือ f/11 โฟกัสจะคมชัดจนมองเห็นคำว่า "อาตามิ" ได้อย่างชัดเจน จากตัวอย่างเหล่านี้ เราจึงสรุปได้ว่าพลังการถ่ายทอดภาพของเลนส์นี้มีประสิทธิภาพดีเพียงพอที่จะรองรับความละเอียดของกล้อง EOS 5D Mark IV ซึ่งมีพิกเซลที่ใช้งานได้จริงมากถึงประมาณ 30.4 ล้านพิกเซล

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/8, 1/2,000 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

ภาพนี้ถ่ายที่ระยะมุมกว้าง (70 มม.) โดยตั้งค่ารูรับแสงที่ f/8 นอกจากขบวนรถไฟที่บริเวณมุมซ้ายของภาพ กล้องยังสามารถถ่ายทอดแม้แต่วิวทิวทัศน์ของเมืองที่ฝั่งตรงข้ามบริเวณกึ่งกลางภาพได้อย่างชัดเจน

 

การถ่ายภาพแบบแพนกล้อง

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/22, 1/80 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

เลนส์รุ่นนี้มาพร้อมกับคุณสมบัติป้องกันภาพสั่นไหว (IS) ซึ่งสามารถปิดหรือเปิดใช้งานด้วยสวิตช์ทางด้านซ้ายของท่อเลนส์ได้ โดยทั่วไป เลนส์รุ่นอื่นๆ มาพร้อมกับตัวเลือก เช่น โหมด 1 สำหรับภาพนิ่งปกติ และโหมด 2 สำหรับภาพที่ถ่ายตามวัตถุ แต่ตัวเลือกเช่นนี้จะไม่มีใน EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM แต่เลนส์จะทำการแก้ไขด้วยระบบ IS โดยอัตโนมัติอย่างเหมาะสม หลังจากที่กำหนดว่าภาพถ่ายนั้นเป็นภาพทั่วไปหรือภาพถ่ายแบบแพนกล้อง

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้ที่นี่:
ฉันจะถ่ายภาพแบบแพนกล้องได้อย่างไร

ตัวอย่างนี้คือภาพที่ถ่ายตามวัตถุ ซึ่งถ่ายที่ค่า 1/80 วินาที เนื่องจากการ "หยุด" การเคลื่อนไหวของรถไฟชินกันเซ็นซึ่งแล่นไปด้วยความเร็วสูงมากๆ นั้นทำได้ยาก ดังนั้น การมีคุณสมบัติที่ช่วยแก้ไขการสั่นไหวได้จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 165 มม./ Manual exposure (f/11, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: เมฆครึ้ม

ภาพนี้เป็นภาพที่ถ่ายแพนขบวนรถจักรไอน้ำ ซึ่งบริเวณผิวสีดำด้านนอกดูเป็นมันเงาวับเนื่องจากฝนที่ตกลงมา

 

การถ่ายภาพที่ระยะเทเลโฟโต้พร้อมกับโบเก้

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 300 มม./ Shutter-priority AE (f/9, 1/1,000 วินาที, EV-0.3)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

ภาพนี้เป็นภาพของรถไฟสายกาคุนัน ซึ่งเคยให้บริการในเส้นทางเคโออิโนะคาชิระ (ชิบูย่าไปคิชิโจจิ) ผมถ่ายภาพด้านหน้าของรถไฟ ซึ่งผมคิดว่าดูคล้ายกับใบหน้าน่ารักๆ โดยใช้ระยะเทเลโฟโต้ 300 มม. พร้อมกับใช้การติดตาม AF ใน Al Servo AF ภาพนี้ถ่ายทอดรายละเอียดที่ระยะเทเลโฟโต้ได้อย่างไม่มีที่ติ

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 219 มม./ Manual exposure (f/8, 1/800 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

ผมจับภาพสัญญาณเล็กๆ น้อยๆ ของฤดูใบไม้ผลิที่เขตอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งมีรถไฟสายเล็กๆ วิ่งผ่าน เมื่อเปิดใช้งาน AF เพื่อจับโฟกัสดอกบ๊วยซึ่งเริ่มผลิบาน ผมรู้สึกทึ่งมากๆ ที่ AF สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ผมถ่ายรูปนี้ด้วยค่า f/8 ซึ่งสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่เป็นธรรมชาติและดูไม่จงใจ

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 219 มม./ Manual exposure (f/5.6, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

รถไฟหัวจักรไอน้ำสายโออิกาวะกำลังจะออกเดินทาง มีข้อความแขวนไว้ที่ด้านหน้ารถไฟเพื่อให้คำแนะนำกับเด็กๆ ที่เข้าสอบเข้ามหาวิทยาลัย เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ส่วนโฟร์กราวด์ออกมาสวยงามทีเดียว

 

การถ่ายภาพระยะใกล้

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (f/8, 1/40 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

ผมตั้งค่าเลนส์ให้เกือบอยู่ในระยะโฟกัสใกล้ที่สุด เพื่อถ่ายภาพล้อของขบวนรถจักรไอน้ำ แม้ว่าภาพนี้จะถ่ายโดยใช้มือถือกล้องที่ 1/40 วินาที แต่คุณสมบัติ IS สามารถจัดการกับปัญหากล้องสั่นไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะเห็นได้ว่าเลนส์ยังถ่ายทอดภาพระยะใกล้ได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมทั้งถ่ายทอดชิ้นส่วนโลหะที่เป็นเงาทึบ ซึ่งปกคลุมไปด้วยหยดน้ำได้อย่างคมชัด

 

การถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 238 มม./ Manual exposure (f/5.6, 1/160 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: แสงในร่ม

ในช่วงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นช่วงเวลาที่ AF จะต้องติดตามหาโฟกัส แต่ก็สามารถจับโฟกัสได้สำเร็จในที่สุด

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 244 มม./ Manual exposure (f/8, 1/5 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด

ไฟสูงของไฟหน้ารถทำให้เกิดแหล่งแสงที่จ้ามากและอาจทำให้เกิดแสงหลอกได้ แต่ดังที่เห็นในภาพตัวอย่างนี้ แสงหลอกถูกปรับลดให้เหลือน้อยที่สุดจนอยู่ในระดับที่แทบมองไม่เห็น

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 83 มม./ Manual exposure (f/4.5, 1/8 วินาที, EV±0)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ

ผมรู้สึกสนุกที่ได้ถ่ายภาพรถไฟสายกาคุนันร่วมกับทิวทัศน์ยามค่ำคืนของโรงงาน เมื่อใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด แสงไฟที่สาดส่องช่วยทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ที่สวยงาม

 

EOS 5D Mark IV/ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM/ FL: 96 มม./ Manual exposure (f/11, 20 วินาที EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ

เพื่อสร้างเส้นแสง ผมใช้การเปิดรับแสงนาน 20 วินาที เพื่อถ่ายภาพรถไฟที่กำลังแล่นผ่านเขตอุตสาหกรรม ภาพนี้สามารถถ่ายทอดรายละเอียดของโรงงานได้อย่างงดงาม ตอนแรก ผมรู้สึกกังวลว่าเมื่อใช้เลนส์ EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ผมอาจจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้อง แต่อาจเป็นเพราะเลนส์มีน้ำหนักเบา เราจึงไม่เห็นการสั่นไหวของกล้องปรากฏขึ้นในภาพแต่อย่างใด

 

สรุป

เนื่องจากประสิทธิภาพของกล้องได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เลนส์จึงต้องพัฒนาตามไปด้วยเช่นกัน EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM มอบคุณสมบัติอันน่าทึ่ง เช่น ความเร็ว AF สูงของ Nano USM ขณะที่แผงจอแสดงข้อมูลเลนส์แบบใหม่ก็ใช้งานได้อย่างสนุกเช่นเดียวกัน ไม่เพียงเท่านั้น ประสิทธิภาพในการถ่ายทอดภาพยังได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเลนส์และเลย์เอาต์ของชิ้นเลนส์ ความก้าวหน้าพื้นฐานเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เลนส์นี้มีความน่าสนใจมากขึ้น

โดยส่วนตัวแล้ว ผมใช้เลนส์ EF70-200mm f/4L IS USM แต่จำเป็นต้องใส่ท่อต่อเลนส์ เนื่องจากทางยาวโฟกัสระยะเทเลโฟโต้สั้นเกินไป หากคำนึงถึงคุณภาพของภาพถ่ายและค่ารูรับแสงสูงสุด ผมคิดว่า EF70-300mm f/4-5.6 IS II USM ใช้งานได้ดีพอในสถานการณ์ที่คุณต้องการเดินทางแบบเบาๆ หากคุณวางแผนที่จะซื้อเลนส์ซูมเทเลโฟโต้สักอันหนึ่ง เลนส์รุ่นนี้เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณา

หากยังไม่แน่ใจว่าเลนส์นี้เหมาะกับคุณหรือไม่ บทความนี้อาจช่วยได้:
อะไรคือข้อแตกต่างระหว่างเลนส์เทเลโฟโต้ 200 มม. และ 300 มม.

และหากคุณชื่นชอบการถ่ายภาพรถไฟ คุณอาจสนใจบทความนี้เช่นกัน:
วิธีถ่ายภาพรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ให้น่าประทับใจด้วยการถ่ายภาพต่อเนื่อง

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Watch

ส่งข่าวสารรายวันเกี่ยวกับเรื่องราวของกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพ นอกจากนี้ยังเผยแพร่บทความต่างๆ เช่น รีวิวการใช้กล้องดิจิตอลจริงพร้อมตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องรุ่นใหม่ๆ

http://dc.watch.impress.co.jp/

Koji Yoneya

เกิดเมื่อปี 1968 ที่จังหวัดยามากะตะ Yoneya ออกเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นและทั่วทุกมุมโลก เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับรถไฟในภาพถ่ายขบวนรถไฟต่างๆ ซึ่งสะท้อนภาพในชีวิตประจำวัน ในเดือนมิถุนายน 2017 เขาจะจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวในธีมทิวทัศน์ ซึ่งเป็นภาพที่เขาถ่ายจากหน้าต่างรถไฟ

http://www.geocities.jp/yoneya231/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา