ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part8

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #8: การจับโฟกัส

2017-02-23
11
17.65 k
ในบทความนี้:

สิ่งหนึ่งที่ช่วยสื่อจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพของช่างภาพไปสู่ผู้ชมคือการจับโฟกัส แล้วเคล็ดลับในการจับโฟกัสที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษของโฟกัสอัตโนมัติ (AF) และโฟกัสแบบแมนนวล (MF) กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

มีวิธีการจับโฟกัสสองแบบ: การใช้ระบบโฟกัสอัตโมัติในกล้อง หรือการเลือกและปรับโฟกัสด้วยตนเอง

สิ่งที่ควรจดจำ

- “AF” หมายถึง “โฟกัสอัตโนมัติ” คือการที่กล้องปรับอัตโนมัติเพื่อจับโฟกัสที่ดีที่สุดขณะถ่ายภาพ
- “MF” หมายถึง “โฟกัสแบบแมนนวล” คือการที่ช่างภาพปรับการโฟกัสด้วยตนเองเพื่อจับโฟกัส
 

การจับโฟกัสเป็นทักษะพื้นฐานในการถ่ายภาพ โดยวิธีการจับโฟกัสมีสองแบบ แบบแรกคือการจับโฟกัสโดยใช้การทำงานของโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ซึ่งกล้องจะทำการจับโฟกัสโดยอัตโนมัติ ส่วนแบบที่สองคือ การจับโฟกัสโดยใช้ การทำงานของโฟกัสแบบแมนนวล (MF) ซึ่งช่างภาพจะเป็นผู้ปรับโฟกัสด้วยมือ

ในฉากส่วนใหญ่ AF สามารถทำหน้าที่ในการจับโฟกัสได้ดี เมื่อถ่ายภาพในโหมด AF เราเพียงกดปุ่มชัตเตอร์เบาๆ (กดปุ่มชัตเตอร์ลง “ครึ่งหนึ่ง”) เพื่อเปิดใช้งาน AF และฟังก์ชั่น AE จากนั้นกล้องจะทำงานในส่วนที่เหลือทั้งหมด เมื่อกล้องจับโฟกัสเรียบร้อยแล้ว จึงกดปุ่มชัตเตอร์ลง (กดปุ่มชัตเตอร์ลง “เต็มที่”)

นี่คือการทำงานทั้งหมดของ AF ซึ่งถ่ายภาพสวยๆ ได้ด้วยการสั่งงานที่เรียบง่ายอย่างมาก และหากต้องการควบคุมองค์ประกอบภาพในภาพถ่ายมากขึ้น คุณก็สามารถเลือกพื้นที่ใช้งาน AF (หรือจุด AF) ระหว่างการโฟกัสอัตโนมัติได้

แต่ AF ก็ไม่ใช่ฟังก์ชั่นที่สมบูรณ์แบบ และความสามารถในการทำงานยังมีขีดจำกัด บางครั้งตัวแบบหรือฉากทำให้การจับโฟกัสทำได้ยากหรือทำไม่ได้เลย ดังนั้น เมื่อเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ ฟังก์ชั่น MF จะช่วยคุณได้ เมื่อมองผ่านช่องมองภาพและใช้มือหมุนวงแหวนโฟกัส เราจะสามารถจับโฟกัสได้ดีเช่นกัน เนื่องจากเราสามารถขยายพื้นที่การโฟกัสให้ใหญ่ขึ้นได้เมื่ออยู่ในโหมด Live View จึงสามารถจับโฟกัสได้แม่นยำมากขึ้น

 

AF

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 124 มม. (เทียบเท่า 198 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/200 วินาที, EV-0.3)/ ISO 3200/ WB: อัตโนมัติ

ข้อดี: สามารถจับโฟกัสได้รวดเร็ว
ข้อเสีย: ตัวแบบหรือฉากบางประเภทไม่เหมาะสำหรับการจับโฟกัส

เนื่องจาก AF จะจับโฟกัสอย่างรวดเร็ว จึงใช้งานได้สะดวกอย่างมากในสถานการณ์ส่วนใหญ่ แต่บางครั้งตัวแบบหรือฉากบางประเภทอาจไม่เหมาะสำหรับการจับโฟกัส จึงควรเปลี่ยนไปใช้ฟังก์ชั่น MF ให้เหมาะกับสถานการณ์นั้นๆ

 

MF

EOS 6D/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 40 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/50 วินาที, EV-0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ข้อดี: สามารถสังเกตเห็นตัวแบบด้วยตาของเราเองขณะจับโฟกัส
ข้อเสีย: ใช้เวลานานขึ้นก่อนที่จะสามารถถ่ายภาพได้จริง

เนื่องจากใน MF เราจะสามารถสังเกตเห็นตัวแบบขณะที่ปรับโฟกัส เราจึงสามารถจับโฟกัสได้แม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ดี กระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลานานขึ้น เพราะเราต้องใช้เวลาในการจับโฟกัสก่อนจะสามารถลงมือถ่ายภาพจริงได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง 2: ทำอย่างไรจึงจะโฟกัสด้วยแมนนวลโฟกัส (MF) ได้แม่นยำ

 

เมื่อตัวแบบหรือฉากไม่เหมาะสำหรับการใช้ AF ควรเปลี่ยนไปใช้ MF

 

 

เมื่อตัวแบบอยู่ในที่มืดมากๆ ฉากมีความเปรียบต่างต่ำ หรือเมื่อเป็นฉากที่บางครั้งตัวแบบถูกบดบังด้วยวัตถุที่อยู่ใกล้กว่า (เช่น เมื่่อถ่ายภาพสัตว์ที่อยู่ในกรง) AF จะไม่สามารถจับโฟกัสได้ง่าย เมื่อเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้ ให้สลับสวิตช์โฟกัสในเลนส์จาก AF เป็น MF เมื่อเปลี่ยนไปใช้ MF แล้ว เราจะสามารถจับโฟกัสโดยใช้มือปรับวงแหวนโฟกัสได้

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง 1: การล็อค AF

มาทำความรู้จักกับเทคนิคการถ่ายภาพ “การล็อค AF” ซึ่งเป็นวิธีการถ่ายภาพในโหมด AF ที่จะทำการจับโฟกัสก่อนแล้วจึงปรับองค์ประกอบภาพในภายหลัง

อันดับแรก ให้เลือกจุด AF ที่ใช้งานอยู่ด้วยตัวเอง จากนั้น เลือกพื้นที่/จุด AF ที่อยู่ใกล้ที่สุดกับตัวแบบที่เป็นเป้าหมายในองค์ประกอบภาพที่คุณต้องการ โดยทั่วไป แม้ว่าการล็อค AF จะใช้งานร่วมกับโหมดพื้นที่ AF ได้ทุกโหมด แต่จุด AF กึ่งกลางควรมีความแม่นยำสูงสุดและเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดเมื่อต้องรับมือกับฉากที่มืด

จากนั้น ปรับจุด AF ที่เลือกไว้ให้ตรงกับส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวแบบที่ต้องการถ่าย แล้วกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง เมื่อกล้องจับโฟกัสแล้ว กดปุ่มค้างไว้เหมือนเดิมและปรับองค์ประกอบภาพ เมื่อจัดองค์ประกอบภาพเสร็จเรียบร้อยแล้ว กดปุ่มชัตเตอร์ลงสุดเพื่อถ่ายภาพ

หากคุณหมั่นฝึกฝนเทคนิคการล็อค AF นี้จนชำนาญ คุณจะสามารถวางตัวแบบหลัก (ที่คุณจับโฟกัส) ไว้ตรงตำแหน่งใดก็ได้ในเฟรมภาพ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นจุดกึ่งกลางเท่านั้น

 

การเลือกจุด AF ที่ใช้งาน (*ใน EOS 760D)

กดปุ่มเลือกจุด AF (ที่วงกลมสีแดง) เพื่อเปิดหน้าจอ AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง)
*หากโหมดอื่นแสดงขึ้น ให้เปลี่ยนโหมดโดยใช้ปุ่มเลือกพื้นที่ AF

 

ในหน้าจอ AF จุดเดียว (เลือกด้วยตนเอง) คุณจะสามารถเลือกจุด AF ที่ใช้งานได้

 

จากนั้น ใช้วงแหวนควบคุมหลัก วงแหวน Quick Control หรือหน้าจอสัมผัสเพื่อเลือกจุด AF ที่คุณต้องการ ในภาพนี้เป็นการเลือกจุดทางด้านซ้ายของจุด AF กึ่งกลาง

 

แนวคิดที่เกี่ยวข้อง 2: เทคนิค AF ด้วยปุ่มด้านหลัง

โดยปกติ เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง AF (การจับโฟกัส) และ AE (การกำหนดค่าการเปิดรับแสง) จะเปิดใช้งานพร้อมกัน แต่เมื่อเรากำหนดค่าให้กับกล้องด้วยตนเอง เราจะสามารถทำให้ AF และ AE ทำงานโดยอิสระได้ ซึ่งคุณสามารถทำได้โดยการใช้งาน AF ด้วยปุ่ม AF-ON ที่อยู่ด้านหลังกล้อง (หรือปุ่มล็อค AE) และใช้งาน AE ด้วยปุ่มชัตเตอร์ เราเรียกเทคนิคนี้ว่าเทคนิค AF ด้วยปุ่มด้านหลัง

ประโยชน์ของเทคนิคนี้คือ เมื่อกล้องอยู่ในโหมดล็อค AF ก็ไม่จำเป็นต้องกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง และเมื่อจับโฟกัสโดยใช้ปุ่ม AF-On แล้ว จุดโฟกัสจะถูกกำหนดไว้และจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้ว่าคุณจะปล่อยนิ้วจากปุ่มแล้วก็ตาม

เมื่อใช้เทคนิคนี้ คุณจะสามารถถ่ายภาพได้มากเท่าที่ต้องการในฉากหลายๆ แบบ แต่องค์ประกอบภาพยังคงเดิม

 

เทคนิค AF ด้วยปุ่มด้านหลัง

คุณสามารถกำหนดค่าให้กับกล้องด้วยตนเองเพื่อทำการจับโฟกัสและกำหนดค่าการเปิดรับแสงได้โดยอิสระจากกัน

 

1. จับโฟกัสในโหมด AF-ON
2. กดปุ่มชัตเตอร์เพื่อลั่นชัตเตอร์
ใช้ปุ่ม AF-ON (หรือปุ่มล็อค AE ) เพื่อจับโฟกัส แล้วลั่นชัตเตอร์โดยใช้ปุ่มชัตเตอร์ หากคุณต้องการจับโฟกัสใหม่อีกครั้ง คุณก็เพียงแค่กดปุ่ม AF-ON อีกครั้งเท่านั้น

 

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/400 วินาที, EV+0.6)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

ผมใช้เทคนิค AF ด้วยปุ่มด้านหลังเพื่อจับโฟกัสไปที่แมวซึ่งจู่ๆ ก็ปรากฏตัวขึ้น จากนั้น เปิดใช้ล็อค AF แล้วจึงปรับแต่งฉากอย่างละเอียด และผมได้ลองจัดองค์ประกอบภาพหลายแบบอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคนิคนี้เข้าช่วย

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา