ถ้าคุณไปพบนกที่กำลังจะออกตัวบิน คุณควรจะทำอะไรเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสถ่ายภาพดีๆ เช่นนี้ ในส่วนต่อไป ช่างภาพนกมืออาชีพจะอธิบายเทคนิคการใช้งานกล้อง EOS 7D Mark II สำหรับการถ่ายภาพช่วงเวลาดังกล่าว (เรื่องโดย: Gaku Tozuka)
หน้า: 1 2
คาดคะเนการเคลื่อนไหวของนก
การถ่ายภาพช่วงเวลาที่นกกำลังจะออกบินอาจฟังแล้วเป็นงานที่ยากยิ่งขึ้นอีก แต่มันไม่ใช่เรื่องยากนักหากคุณคาดคะเนจังหวะที่เหมาะสมได้ล่วงหน้า นกก่อนออกตัวบินอาจส่งสัญญาณบางอย่าง เช่น การยืดหดคอ (ในกรณีที่เป็นนกล่าเหยื่อจะขับถ่ายมูลออกมา) ไม่เพียงเท่านั้น นกโดยทั่วไปจะบินในทิศทางที่สวนกระแสลม เราสามารถคาดคะเนทิศทางที่มันจะบินได้
ต่อไป ผมจะอธิบายเทคนิคขณะใช้งานจริงในการถ่ายภาพลักษณะนี้ นกตัวใหญ่อย่างหงส์ จำเป็นต้องวิ่งระยะไกลกว่านกอื่นๆ ก่อนจะออกบิน กุญแจสำคัญในการจัดองค์ประกอบภาพคือควรเว้นพื้นที่ว่างไว้ในทิศทางที่นกวิ่งไป หากถ่ายในสถานที่ที่มีแสงย้อนหรือแบ็คกราวด์รก อีกทั้งคุณยังใช้การเปิดรับแสงอัตโนมัติแล้วล่ะก็ ความสว่างอาจเปลี่ยนขึ้นๆ ลงๆ ทุกครั้งที่คุณขยับเลนส์ อย่างนั้นแล้ว ทำไมไม่เปลี่ยนมาตั้งค่าการเปิดรับแสงแบบแมนนวลแทนล่ะ หากคุณต้องการหยุดการเคลื่อนไหวของตัวแบบ ให้ใช้รูรับแสงกว้างสุดและถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วที่สุดที่จะเป็นไปได้ หากคุณไม่สามารถเพิ่มความเร็วชัตเตอร์ได้ ลองเพิ่มความไวแสง ISO แทน นี่เป็นโอกาสที่คุณจะได้ใช้ประสิทธิภาพอันดีเยี่ยมด้านความไวแสง ISO ของกล้อง EOS 7D Mark II ให้เป็นประโยชน์ อีกวิธีหนึ่งคือเพิ่มความไวแสง ISO และลดขนาดรูรับแสงทีละหนึ่งถึงสองสต็อป การทำอย่างนั้นเป็นการเพิ่มระยะชัดของภาพ เทคนิคนี้เหมาะอย่างยิ่งเมื่อถ่ายด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้
ระดับความยาก: ปานกลาง
เลนส์: ซูเปอร์เทเลโฟโต้
แสง: แสงเฉียง
ความเร็วชัตเตอร์: เร็ว
รูรับแสง: เปิดกว้าง
EOS 7D Mark II/ FL: 700 มม. (เทียบเท่ากับ 1,120 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ EF500mm f/4L IS II USM + EXTENDER EF1.4×III/ Manual (f/5.6, 1/1,600 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
จุด AF ที่ใช้ในการโฟกัส
ด้วยโซน AF ยากที่การติดตามการเคลื่อนไหวจะหลุดจากตัวแบบซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่อย่างหงส์แห่งทุนดรา อย่างไรก็ตาม โฟกัสอาจตกไปอยู่ที่ปีกของมันหากคุณวางตำแหน่งในระยะโฟร์กราวด์ขององค์ประกอบภาพ ดูให้แน่ใจว่าคุณจับโฟกัสใกล้กับใบหน้าของตัวแบบ
การตั้งค่า
การใช้งานโฟกัสอัตโนมัติ: AI Servo AF
โหมดขับเคลื่อน: การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง
โหมดเลือกพื้นที่ AF: โซน AF
เครื่องมือกำหนด การตั้งค่า: Case 1
ผมถ่ายภาพนกตัวนี้โดยใช้ AI Servo AF + โซน AF และดูจนมั่นใจว่าโฟกัสจับอยู่ที่ตัวแบบโดยกำหนดค่าในเครื่องมือการปรับแต่ง AF เป็น Case 1 ผมเลือกโหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของทั้งละอองน้ำและปีกนก
[ภาพเสีย]
จำเป็นต้องเว้นพื้นที่ว่างในองค์ประกอบภาพให้เพียงพอ
EOS 7D Mark II/ FL: 700 มม. (เทียบเท่ากับ 1,120 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.)/ EF500mm f/4L IS II USM + EXTENDER EF1.4×III/ Aperture-priority AE (f/8, 1/5,000 วินาที)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ
ขณะที่ผมกำลังพยายามจับภาพนกกระยางตัวใหญ่โดยเล็งกล้องไปที่อาหารของมัน มันกลับบินขึ้นทันที ผมกดปุ่มชัตเตอร์แบบปล่อยทันทีเช่นกัน แต่น่าเสียดายที่ใบหน้าและปีกของตัวแบบออกไปอยู่นอกเฟรมเสียหมด แม้ว่าการเปิดรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะเหมาะสมดีแล้ว แต่องค์ประกอบภาพซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากนั้นยังไม่น่าพึงพอใจ เมื่อถ่ายภาพนกกำลังออกบิน จำเป็นที่จะต้องสร้างพื้นที่ว่างในทิศทางที่นกกำลังพุ่งตัวไปเพื่อให้ได้องค์ประกอบที่ดูมั่นคง
เทคนิคเพื่อป้องกันปัญหาจากอาการกล้องสั่น
นกในธรรมชาติมักหลบให้พ้นจากสายตามนุษย์ แล้วอย่างนี้เราจะเข้าใกล้พวกเขาอย่างไร คำตอบคือ พรางร่างมนุษย์ของเราไว้ เช่น คุณอาจใช้รถยนต์ของคุณเป็นกำบังเคลื่อนที่ อย่างไรก็ตาม การใช้ขาตั้งกล้องในรถยนต์อาจมีการสั่นไหวมาก ดังนั้นเมื่อถ่ายภาพจากหน้าต่างรถ คุณอาจใช้หมอนเม็ดโฟมเป็นเบาะกันกระแทกให้กับกล้องดังภาพ วิธีนี้ช่วยให้ภาพถ่ายนิ่งและยังเป็นวิธีที่มักใช้กันในการถ่ายภาพนกในธรรมชาติ
เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดไอชิ Tozuka เริ่มสนใจในการถ่ายภาพขณะเรียนอยู่ไฮสคูลปีที่ 3 และหัดถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติรวมทั้งชีวิตสัตว์ป่ามานับแต่นั้น เมื่ออายุ 20 ปี เขากลายมาเป็นผู้ที่สนใจการถ่ายภาพนกธรรมชาติอย่างจริงจัง หลังจากถ่ายภาพติดนกหัวขวานโดยบังเอิญ ผลงานของเขาจำนวนมากมายหลายชิ้นได้รับการเผยแพร่ในสื่อต่างๆ เช่น นิตยสาร วารสาร หนังสือ ปฏิทิน และโฆษณาโทรทัศน์
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation