ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เรื่องที่คุณไม่เคยรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นชิฟต์ในเลนส์ทิลต์-ชิฟต์

2018-10-18
6
3.29 k
ในบทความนี้:

คุณเคยสังเกตไหมว่าเมื่อถ่ายภาพอาคารสูงๆ จากระดับต่ำ ฐานของอาคารมักดูกว้างกว่ายอดอาคารอย่างไม่สมส่วน ปัญหานี้เรียกว่าการบิดเบี้ยวของเปอร์สเป็คทีฟ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์ทั่วไป ดังนั้น หากต้องการถ่ายภาพอาคารทั้งหลังให้เป็นเส้นตรงและขนานกัน คุณจะต้องใช้เลนส์ทิลต์-ชิฟต์ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณสามารถทำได้ด้วยเลนส์ชนิดพิเศษนี้ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม และมาดูวิธีใช้ฟังก์ชั่นชิฟต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกัน (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

อาคารในภาพถ่ายยามเย็นซึ่งถ่ายด้วยเลนส์ทิลต์-ชิฟต์

 

เลนส์ทิลต์-ชิฟต์คืออะไร

เมื่อคุณถ่ายภาพสิ่งปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรม มุมกล้องอาจทำให้เห็นการบิดเบี้ยวของเปอร์สเป็คทีฟชัดเจนขึ้น ตัวอย่างเช่น บริเวณยอดอาคารอาจดูแคบลงหากคุณถ่ายภาพจากระดับพื้นดิน

เลนส์ทิลต์-ชิฟต์ (รู้จักกันในชื่อเลนส์ TS-E ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของ Canon) คือเลนส์ชนิดพิเศษที่ช่วยให้ช่างภาพสามารถย้ายองค์ประกอบทางออพติคอลในเลนส์เพื่อแก้ไขความบิดเบี้ยว โดยทั่วไป เลนส์นี้ประกอบด้วยสองฟังก์ชั่น ได้แก่

- ฟังก์ชั่นชิฟต์: ใช้กลไกที่จะเลื่อนส่วนหนึ่งของชิ้นเลนส์ไปตามแกนออพติคอล เพื่อช่วยขจัดการบิดเบี้ยวของเปอร์สเป็คทีฟ และมีประโยชน์ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ภาพพอร์ตเทรต ภาพผลิตภัณฑ์ และฉากอื่นๆ ที่จำเป็นต้องถ่ายทอดรูปทรงของตัวแบบอย่างแม่นยำ

- ฟังก์ชั่นทิลต์: ใช้กลไกที่จะเอียงเลนส์ที่มุมๆ หนึ่ง เพื่อปรับพื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสในลักษณะที่เลนส์ทั่วไปไม่สามารถทำได้ เอฟเฟ็กต์ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดของฟังก์ชั่นนี้คือ เอฟเฟ็กต์ย่อส่วน/ฉากจำลอง ซึ่งมีพื้นที่ส่วนหนึ่งของภาพเท่านั้นที่อยู่ในระยะโฟกัส นอกจากนี้ ฟังก์ชั่นทิลต์ยังสามารถทำสิ่งที่ตรงกันข้ามได้คือ หากฉากมีความลึกมาก ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์จะอยู่ในโฟกัส

ในบทความนี้ เราจะเน้นที่ฟังก์ชั่นชิฟต์และความสามารถของฟังก์ชั่นนี้ในการป้องกันการบิดเบี้ยวในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม

 

เลนส์ทิลต์-ชิฟต์ทำงานอย่างไร

ก่อนอื่น มาดูกันว่าภาพถ่ายจะเป็นอย่างไรถ้าเราไม่ใช้ฟังก์ชั่นชิฟต์ในเลนส์ทิลต์-ชิฟต์ ภาพที่ได้ไม่ต่างจากการถ่ายภาพโดยใช้เลนส์ทั่วไป ในภาพด้านล่าง สังเกตดูว่าบริเวณยอดตึกจะแคบลง

 

ไม่ใช้ฟังก์ชั่นชิฟต์

การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม (ไม่มีการแก้ไขด้วยชิฟต์)

EOS-1D X Mark II/ TS-E24mm f/3.5L II/ Aperture-priority AE(f/5.6, 1/1000 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ/ ระดับชิฟต์: 0 มม. (ไม่ใช้ฟังก์ชั่นชิฟต์)

โดยทั่วไป เมื่อเราถ่ายภาพอาคารสูงด้วยเลนส์ทั่วไป เราต้องเล็ง (เอียงกล้อง) ขึ้น ซึ่งจะทำให้บริเวณส่วนยอดของตึกดูแคบกว่าบริเวณส่วนล่างอย่างผิดสัดส่วน

 

แกนออพติคอลที่ไม่ใช้การแก้ไขชิฟต์

แกนออพติคอลที่ไม่ใช้การแก้ไขชิฟต์

รูปทรงที่แคบลงเกิดขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงในการขยายภาพ กล่าวคือ เมื่อเอียงเลนส์ จุดบางจุดบนตัวแบบจะอยู่ไกลจากกล้องมากขึ้นขณะที่จุดอื่นๆ จะอยู่ใกล้มากขึ้น นั่นเป็นเพราะหลักการในด้านออพติคอลที่ว่า "วัตถุที่อยู่ใกล้จะดูใหญ่ขึ้นและวัตถุที่อยู่ห่างไกลจะดูเล็กลง" นั่นเอง

 

ใช้การแก้ไขชิฟต์

ภาพอาคารที่ใช้เลนส์ TS-E พร้อมการแก้ไขชิฟต์

EOS-1D X Mark II/ TS-E24mm f/3.5L II/ Aperture-priority AE(f/5.6, 1/1000 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ/ ระดับชิฟต์: 5 มม. (ขึ้น)

 

แกนออพติคอลที่ใช้การแก้ไขชิฟต์โดยการเลื่อนเลนส์ขึ้น

แกนออพติคอลที่ใช้การแก้ไขชิฟต์

เมื่อคุณใช้ฟังก์ชั่นชิฟต์เพื่อถ่ายภาพอาคารสูง คุณจะต้องปรับเลื่อนออพติคขึ้น ผลทางออพติคอลที่เกิดขึ้นนี้มีความคล้ายคลึงกับการเคลื่อนกล้องไปยังตำแหน่งที่สูงขึ้นพร้อมกับรักษามุมของระดับเลนส์ให้สัมพันธ์กับอาคาร ดังนั้น เส้นแนวตั้งของอาคารจะดูขนานกัน

 

เพราะเหตุใดจึงได้ผล

วงภาพและความครอบคลุมพื้นที่ของเลนส์ชนิดต่างๆ และเซนเซอร์

เนื่องจากวงภาพที่เลนส์ทิลต์-ชิฟต์สร้างขึ้นมีขนาดใหญ่กว่าวงภาพของเลนส์ทั่วไป คุณจึงสามารถใช้ฟังก์ชั่นชิฟต์เพื่อเลื่อนเลนส์ให้อยู่ห่างจากตรงกลาง และเปลี่ยนส่วนของฉากที่ถูกถ่ายภาพได้

 

วิธีถ่ายภาพให้ดีที่สุดด้วยฟังก์ชั่นชิฟต์

พึงระลึกถึงหลักการสำคัญสองข้อดังนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากฟังก์ชั่นชิฟต์อย่างเต็มที่

1. ตรวจดูให้แน่ใจว่ากล้องได้ระดับในแนวตั้งและแนวนอน
เครื่องมืออย่างเช่นจอแสดงการวัดระดับอิเล็กทรอนิกส์ในกล้องจะช่วยคุณตรวจสอบและปรับระดับให้เหมาะสมได้
(อ่านได้ที่: การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน)

2. จัดองค์ประกอบภาพด้วยโดยใช้ส่วนเสริมอื่นๆ
อย่าลืมว่าเมื่อคุณใช้ฟังก์ชั่นชิฟต์ ส่วนของฉากที่อยู่ในเฟรมภาพจะเปลี่ยนไปด้วย

สำหรับการโฟกัส ผมแนะนำให้ใช้ฟังก์ชั่น Live View และถ่ายภาพในโหมดแมนนวลโฟกัส (MF) โดยคุณสามารถขยายภาพที่แสดงใน Live Vew ให้ใหญ่ขึ้นเพื่อตรวจสอบรายละเอียดของภาพ เช่น ดูว่าการตั้งค่ารูรับแสงให้ผลลัพธ์ที่ดีหรือไม่

 

ขั้นตอนที่ 1: ปรับการตั้งค่ากล้อง

สวิตช์โหมด Live View

เมนูแสดงตาราง

ระดับแนวนอน

ก่อนเริ่มถ่ายภาพ ปรับการตั้งค่ากล้องเพื่อใช้กับเลนส์ทิลต์-ชิฟต์ ฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์:

- ฟังก์ชั่น Live View ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ภาพ 100% เหมาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการตรวจสอบให้มั่นใจว่าความบิดเบี้ยวได้รับการแก้ไขแล้ว
- ตัววัดระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์ การแสดงตาราง และเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยให้แน่ใจว่าภาพจะได้ระดับ นั้นเหมาะที่สุดสำหรับการถ่ายภาพด้วยเลนส์ทิลต์-ชิฟต์

แน่นอนว่าคุณสามารถถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี แสงที่ส่องผ่านเลนส์อาจถูกบดบังบางส่วนและทำให้เกิดความผันผวนของแสง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการชิฟต์ ดังนั้น การถ่ายภาพด้วย Live View จึงเหมาะมากเพราะช่วยให้เห็นตัวอย่างภาพได้ดีว่าภาพถ่ายขั้นสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไร

 

ขั้นตอนที่ 2: ยึดกล้องไว้กับขาตั้งกล้อง และตรวจสอบดูแนวตั้งและแนวนอนของภาพว่าตรงดีแล้ว

การตั้งค่ากล้องสำหรับภาพสถาปัตยกรรม
ภาพที่ถ่ายออกมาก่อนปรับชิฟต์

1. ยึดกล้องไว้กับขาตั้งกล้องและเปิดกล้อง (ภาพแรก)
2. ใช้ตัววัดระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์เพื่อตรวจสอบดูแนวตั้งและแนวนอนของภาพว่าตรงดีแล้ว
(หมายเหตุ: แม้ในสายตาของคุณพื้นดินอาจดูเหมือนได้ระดับ แต่ในความเป็นจริงพื้นดินอาจเอียงก็ได้ จึงควรใช้ตัววัดระดับความเอียงอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้แน่ใจทุกครั้ง)

เมื่อคุณแน่ใจว่ากล้องตั้งตรงและได้ระดับดีแล้ว คุณอาจพบว่าส่วนบนสุดของภาพถูกตัดออกไป (ภาพที่ 2) เรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปหลังจากมีการใช้ชิฟต์

หลังจากทำการตั้งค่ากล้อง คุณอาจทดลองถ่ายภาพสัก 2-3 ภาพโดยใช้ชิฟต์และไม่ใช้ชิฟต์เพื่อทำความคุ้นเคยกับเอฟเฟ็กต์นี้

 

ขั้นตอนที่ 3: ปรับเลื่อนเลนส์เพื่อแก้ไขความบิดเบี้ยว

หัวจับชิฟต์
ภาพที่ใช้การแก้ไขชิฟต์

เมื่อคุณแน่ใจแล้วว่าภาพอยู่ในแนวตรงดีแล้ว ให้หมุนหัวจับชิฟต์เพื่อปลดล็อก จากนั้นหมุนหัวจับชิฟต์เพื่อปรับเลื่อนเลนส์ขึ้น ปรับแต่งภาพจนกระทั่งคุณเห็นภาพอาคารทั้งหมดในการแสดงตัวอย่างภาพของ Live View 

สำหรับภาพนี้ ผมปรับเลื่อนเลนส์ขึ้น 5 มม. ซึ่งปริมาณการปรับเลื่อนที่จะใช้ควรพิจารณาจากระยะโฟกัสและความสูงของอาคารที่คุณจะถ่าย

ใช้การแสดงตารางเพื่อช่วยให้คุณ "เห็น" และปรับความสมดุลระหว่างท้องฟ้ากับพื้นดิน จัดองค์ประกอบภาพให้เสร็จสมบูรณ์และถ่ายภาพเมื่อคุณพร้อม 

 

ควรเลือกเลนส์ทิลต์-ชิฟต์ของ Canon แบบไหนดี

Canon มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ทิลต์-ชิฟต์ที่มีทางยาวโฟกัสต่างกันให้เลือกมากมาย และเลนส์แต่ละรุ่นมีคุณลักษณะแตกต่างกัน 

ฟังก์ชั่นชิฟต์ไม่เพียงมีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต ภาพผลิตภัณฑ์ และฉากอื่นๆ ที่คุณจำเป็นต้องขจัดความบิดเบี้ยวของเปอร์สเป็คทีฟและจับภาพรูปทรงของตัวแบบอย่างถูกต้องแม่นยำ

ขณะเดียวกัน ฟังก์ชั่นทิลต์ที่ใช้สำหรับปรับพื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการใช้งานพิเศษต่างๆ ซึ่งเลนส์ทั่วไปไม่อาจทำได้ เช่น การเก็บภาพทิวทัศน์อันน่าประทับใจหรือสร้างเอฟเฟ็กต์ย่อส่วน ซึ่งมีพื้นที่บางส่วนของภาพอยู่ในโฟกัส หรือสร้างภาพโต๊ะอาหารที่เต็มไปด้วยจานที่อยู่ในระยะโฟกัสตั้งแต่ส่วนโฟร์กราวด์จนถึงแบ็คกราวด์

เลนส์ TS-E ทุกรุ่นมีฟังก์ชั่นชิฟต์และทิลต์เหมือนกันและมี "ระบบการหมุน TS" ซึ่งสามารถหมุนมุมทิลต์และชิฟต์ได้ถึง 90° ทั้งสองทิศทาง

 

TS-E17mm f/4L

TS-E17mm f/4L

มีมุมรับภาพกว้างสุดในซีรีย์ เมื่อใช้งานร่วมกับฟังก์ชั่นชิฟต์ คุณสามารถจับภาพตัวแบบได้ทั้งหมดแม้จะถ่ายภาพในพื้นที่แคบๆ

TS-E24mm f/3.5L II

TS-E24mm f/3.5L II

24 มม. คือทางยาวโฟกัสอเนกประสงค์ และให้มุมรับภาพใกล้เคียงกับสายตามนุษย์ ทำให้ภาพมีความเป็นธรรมชาติเหมาะสำหรับฉากทุกชนิดตั้งแต่ทิวทัศน์ไปจนถึงสถาปัตยกรรม เลนส์ที่มีความสามารถรอบตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับเลนส์ TS-E ตัวแรก 

 

TS-E50mm f/2.8L Macro

TS-E50mm f/2.8L Macro

ดังคำว่า "มาโคร" ที่ปรากฏในชื่อ เลนส์ชนิดนี้สามารถใช้ถ่ายภาพมาโครได้เช่นกัน เนื่องจากมีระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นและให้กำลังขยายสูงสุด 0.5 เท่า และทางยาวโฟกัส 50 มม. ยังเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์เพราะมีฟังก์ชั่นชิฟต์ช่วยจัดตำแหน่งขอบฟ้าใหม่เพื่อให้ภาพของคุณมีองค์ประกอบที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเหมาะกับการถ่ายภาพอาหารและตัวแบบที่อยู่นิ่งอื่นๆ 

TS-E90mm f/2.8L Macro

TS-E90mm f/2.8L Macro

ให้กำลังขยาย 0.5 เท่าเช่นกัน และมีทางยาวโฟกัสที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพนิ่ง ฟังก์ชั่นทิลต์ไม่เพียงให้คุณควบคุมระยะชัดลึกได้ง่ายดายเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นอีกมากมาย เช่น ความสามารถในการโฟกัสลึกโดยไม่ต้องใช้รูรับแสงที่แคบมากๆ

 

TS-E135mm f/4L Macro

TS-E135mm f/4L Macro

เลนส์ TS-E เทเลโฟโต้รุ่นแรกของ Canon มีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกับรุ่น TS-E90mm f/2.8L Macro ทางยาวโฟกัสที่ยาวกว่าทำให้เลนส์รุ่นนี้เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยม ไม่เพียงสำหรับการถ่ายภาพวัตถุสะท้อนเท่านั้นแต่ยังเหมาะกับการสร้างเอฟเฟ็กต์ย่อส่วนที่ใช้เทคนิค "ทิลต์-ชิฟต์ในทิศทางตรงข้าม" อีกด้วย นอกจากนี้ หากใช้ถ่ายภาพพอร์ตเทรตก็ทำให้ได้ภาพที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ TS-E50mm f/2.8L Macro, TS-E90mm f/2.8L Macro และ TS-E135mm f/4L Macro ที่นี่:
Canon ประกาศเปิดตัวเลนส์ TS-E ทิลต์-ชิฟต์ใหม่ 3 รุ่น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมได้ที่:
เคล็ดลับระดับมือโปรเพื่อปรับปรุงการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมจากระดับพื้นถนน
6 วิธีในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมด้วยชุดเลนส์
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรมและเทคนิคการจัดแสง (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ นอกจากถ่ายภาพสำหรับงานโฆษณาและนิตยสารทั้งในและนอกญี่ปุ่นแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักรีวิวให้กับ "Digital Camera Magazine" นับตั้งแต่นิตยสารเปิดตัว ตลอดจนตีพิมพ์ผลงานต่างๆ มากมาย ในส่วนของการรีวิวผลิตภัณฑ์และเลนส์ Takahashi เน้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพที่ดึงประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ออกมาผ่านมุมมองและการทดสอบเฉพาะตัวของเขาเอง ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา