ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับระดับมือโปรเพื่อปรับปรุงการถ่ายภาพสถาปัตยกรรมจากระดับพื้นถนน

2018-08-02
6
3.61 k
ในบทความนี้:

บ่อยครั้งเรามักพบว่าตัวเองถ่ายภาพอาคารต่างๆ จากระดับพื้นถนน การสื่อถึงความยิ่งใหญ่ของอาคารจากมุมดังกล่าวเป็นเรื่องค่อนข้างท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโครงสร้างมีขนาดใหญ่และงดงามตระการตา เช่น โบสถ์และอาคารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่คุณมักพบเห็นในทวีปยุโรป ในบทความนี้ เราจะเผยกลเม็ดเคล็ดลับจากช่างภาพมืออาชีพ เพื่อช่วยให้ภาพถ่ายจากระดับพื้นถนนออกมาสวยงามน่าประทับใจ (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)

โบสถ์ในยุโรป

EOS 5D Mark IV/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 11 มม./ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/640 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

1. ใช้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

ภาพโบสถ์สูงตระหง่านในย่านประวัติศาสตร์ของยุโรปด้านบนนี้ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ EF11-24mm f/4L USM คุณจะพบว่าระยะชัดลึกที่กว้างของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์มีประโยชน์เป็นพิเศษสำหรับการถ่ายภาพอาคารในสถานที่ที่มีถนนค่อนข้างแคบ

ในการทำให้ภาพถ่ายดูน่าประทับใจยิ่งขึ้นนั้น คุณควรทำความคุ้นเคยกับลักษณะเฉพาะด้านออพติคอลของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ และเรียนรู้วิธีการใช้ประโยชน์จากลักษณะเฉพาะเหล่านี้ให้เต็มที่ 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของเลนส์มุมกว้างและเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ได้ที่นี่:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #6: เลนส์มุมกว้าง

 

2. รวมผู้คนไว้ในเฟรมภาพเพื่อทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงขนาดอันกว้างใหญ่

ผมตัดสินใจใช้รูรับแสงที่ไม่แคบจนเกินไป เพื่อให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วพอที่จะหยุดการเคลื่อนไหวของคนที่เดินผ่านไปมา การมีคนในเฟรมภาพทำให้ผู้ชมมีจุดเปรียบเทียบ จึงรู้สึกถึงขนาดได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทำให้อาคารดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น

ภาพตัวอย่างที่แสดงตำแหน่งในการถ่ายภาพ

 

3.  ย่อตัวลงหรือคุกเข่าเพื่อถ่ายภาพ และแสดงเส้นตาราง

การปรับสัดส่วนของท้องฟ้าที่จะรวมในเฟรมภาพจะง่ายยิ่งขึ้นหากคุณย่อตัวลงหรือคุกเข่าเพื่อถ่ายภาพ เพราะจะช่วยให้องค์ประกอบภาพของคุณสมดุลมากขึ้น 

สำหรับภาพนี้ ผมใช้ระยะ 11 มม. โดยคุกเข่าลงข้างหนึ่ง และเอียงกล้องขึ้น มุมนี้ยังให้ความรู้สึกว่าตัวอาคารสูงตระหง่านเหนือทุกสิ่งอีกด้วย การแสดงตารางช่วยให้ผมปรับระดับของเอฟเฟ็กต์เปอร์สเป็คทีฟและสัดส่วนของท้องฟ้าในเฟรมภาพได้ จากนั้น ผมรอให้คนที่เดินผ่านไปมาเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ส่วนยุทธศาสตร์ขององค์ประกอบภาพ แล้วจึงลั่นชัตเตอร์

 

จุดสำคัญในรายละเอียด: การป้องกันและการแก้ไขความคลาดเคลื่อน

ในการทำให้ภาพถ่ายสถาปัตยกรรมของคุณดูน่าประทับใจยิ่งขึ้นนั้น การใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เป็นสิ่งสำคัญ ผมจึงมักให้ความสำคัญมากกับการลดและแก้ไขความคลาดหรือความบิดเบี้ยวที่อาจเกิดขึ้น แม้ว่าผู้ผลิตเลนส์จะลงทุนอย่างมากในด้านการออกแบบเลนส์และการเคลือบแบบพิเศษเพื่อลดความคลาดดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มีเลนส์ใดที่สมบูรณ์แบบและไม่อาจแก้ไขความคลาดได้ทั้งหมด การจัดการกับความบิดเบี้ยวและความคลาดจึงยังคงเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของการเป็นช่างภาพ 

สำหรับเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ ความคลาดที่พบได้บ่อยที่สุดคือขอบมืด (ปัญหาแสงน้อยลงที่บริเวณขอบภาพ) ความคลาดสี และความบิดเบี้ยว 

ความคลาดสีตามแกน (ตามยาว) (สาเหตุหนึ่งของการเกิดสีเพี้ยน) และขอบมืดสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงที่เล็กลง

ความบิดเบี้ยวและความคลาดสีริมขอบวัตถุ (อีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดสีเพี้ยน) สามารถแก้ไขได้ด้วยกระบวนการปรับแต่งภาพหรือใช้ซอฟต์แวร์การแก้ไขเลนส์ในกล้อง เช่น ฟังก์ชั่นการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์เท่านั้น

นับเป็นความคิดที่ดีหากคุณพยายามแก้ไขความคลาดใดๆ ในทันทีที่สามารถทำได้ ดังนั้น หากกล้องของคุณมาพร้อมฟังก์ชั่นการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ คุณก็ควรใช้คุณสมบัตินี้ให้เป็นประโยชน์ กล้องบางรุ่นช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบเอฟเฟ็กต์จากการแก้ไขความบิดเบี้ยวได้ทันที ซึ่งจะช่วยให้คุณถ่ายภาพได้แม่นยำยิ่งขึ้น

 

การแก้ไข 1: ความคลาดสีริมขอบวัตถุ

มุมขวาบนของภาพขยายใหญ่ขึ้น

ส่วนมุมขวาบนของภาพหลักขยายใหญ่ขึ้น

ในการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม สิ่งสำคัญคือการแก้ไขและแสดงรายละเอียดบริเวณขอบภาพและเส้นตรงได้อย่างคมชัด เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์มีแนวโน้มที่จะเกิดความคลาดสีมากกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความคลาดสีและทำให้แนวเส้นและภาพถ่ายเป็นสีม่วงได้ ในภาพนี้ปัญหาดังกล่าวเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก เนื่องจากผมใช้ฟังก์ชั่นการแก้ไขในกล้องนั่นเอง 

 

การแก้ไข 2: แสงสว่างโพลนที่เกิดขึ้นเนื่องจากการชดเชยแสง

ภาพด้านในโบสถ์ที่แสดงให้เห็นแสงสว่างโพลน

A: แสงสว่างโพลน

เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์มักทำให้เกิดปัญหาขอบมืด ซึ่งอาจทำให้ภาพดูมืดเกินไปเมื่อมองแวบแรก ช่างภาพหลายคนพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการยกระดับการเปิดรับแสงด้วยการชดเชยแสง แต่วิธีนี้อาจทำให้เกิดแสงสว่างโพลนขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรเปิดใช้งานการแก้ไขระดับแสงขอบภาพ (“แก้ไขระดับแสงขอบภาพ”) 

 

เคล็ดลับพิเศษ: ใช้ระบบป้องกันภาพสั่นไหว

เมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย ความเร็วชัตเตอร์ของคุณอาจช้าลง ซึ่งจะทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่ภาพถ่ายจะเบลอเนื่องจากอาการกล้องสั่น จึงควรเปิดใช้งานระบบป้องกันการสั่นไหวออพติคอล (ฟังก์ชั่น IS) เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ภาพที่นิ่งและคมชัด 

 

อ่านบทความเหล่านี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ใน EOS 5D Mark IV:
EOS 5D Mark IV: การแก้ไขความคลาดของเลนส์ - วิเคราะห์เจาะลึก (ตอนที่ 1)
EOS 5D Mark IV: การแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ - วิเคราะห์เจาะลึก (ตอนที่ 2)

สำหรับเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #1: 3 แนวคิดพื้นฐาน
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #2: การใช้มุมกว้าง/ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #3: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #4: การถ่ายภาพอาคารยามค่ำคืน

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Ryosuke Takahashi

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ นอกจากถ่ายภาพสำหรับงานโฆษณาและนิตยสารทั้งในและนอกญี่ปุ่นแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักรีวิวให้กับ "Digital Camera Magazine" นับตั้งแต่นิตยสารเปิดตัว ตลอดจนตีพิมพ์ผลงานต่างๆ มากมาย ในส่วนของการรีวิวผลิตภัณฑ์และเลนส์ Takahashi เน้นให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพที่ดึงประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ออกมาผ่านมุมมองและการทดสอบเฉพาะตัวของเขาเอง ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา