ในบทความชุดนี้ เราจะมาทำความรู้จักเลนส์รุ่นแนะนำสำหรับผู้ใช้กล้องแบบ APS-C กันทีละรุ่น คำแนะนำในบทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดชุดเลนส์ตามต้องการได้ ในบทความนี้เราจะเน้นไปที่เลนส์ซูมมุมกว้าง EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
แก้ไขความคลาดที่เกิดจากเลนส์มุมกว้าง
เลนส์ซูมมุมกว้างนี้ครอบคลุมมุมรับภาพที่เทียบเท่ากับช่วงประมาณ 16 ถึง 35 มม. ของฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. เก็บบริเวณพื้นที่กว้างไว้ในขอบเฟรมภาพได้ ทั้งมุมมองเปอร์สเปคทีฟของเลนส์มุมกว้างที่ขยายภาพจนมองเห็นได้กว้างอย่างล้นเหลือ ประโยชน์อีกประการของเลนส์นี้คือ คุณสามารถใช้มุมมองเปอร์สเปคทีฟอันทรงเสน่ห์ในระยะทางยาวโฟกัสมุมกว้างในการถ่ายทอดผ่านภาพถ่าย เนื่องจากเป็นลักษณะเฉพาะด้านออพติคอลของเลนส์ซูมมุมกว้าง จึงมักจะมีปัญหาแสงน้อยลงบริเวณขอบภาพและความคลาดสีเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้คุณสมบัติ [แก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์] ที่มีในกล้อง EOS 100D คุณก็สามารถแก้ไขความคลาดเคลื่อนต่างๆ ได้จากภายในตัวกล้องโดยใช้ข้อมูลเลนส์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายให้สูงขึ้นได้ คุณสมบัตินี้เป็นข้อได้เปรียบที่มีอยู่เฉพาะเลนส์ Canon ของแท้เท่านั้น
มองโดยรวม!
- มุมรับภาพเทียบเท่ากับประมาณ 16 มม.
- มุมมองภาพที่น่าสนใจ
10 มม.
FL: 10 มม./ Program AE (1/250 วินาที, f/10)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
มุมมองเปอร์สเปคทีฟที่ล้นเหลือของเลนส์มุมกว้างขยายภาพที่มองเห็นได้ ให้คุณรวมเอาฉากเข้าไปในเฟรมภาพได้มากกว่า ด้วยเลนส์ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM ผมถ่ายภาพอาคารหลังนี้คู่กับรถบัสสีแดงที่ผ่านมาจากมุมที่ต่ำมาก
10 มม.
FL: 10 มม./ Program AE (1/250 วินาที, f/10)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
เลนส์มุมกว้างมีระยะโฟกัสสั้นกว่า ทำให้วัตถุระยะใกล้ดูใหญ่ขึ้นกว่าความเป็นจริง เมื่อคำนึงถึงผลกระทบนี้ ผมจึงถ่ายภาพโคลสอัพของกล้องส่องทางไกลบนหอชมวิวท่ามกลางแบ็คกราวด์ที่กว้างขวาง แม้ว่าของจริงจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่มุมมองเปอร์สเปคทีฟที่โดดเด่นของเลนส์นี้ทำให้กล้องส่องทางไกลดูมีขนาดอย่างกับปืนใหญ่ทีเดียว
โครงสร้างเลนส์: 13 ชิ้นเลนส์ใน 10 กลุ่ม
ระยะโฟกัสใกล้ที่สุด: ประมาณ 0.24 ม.
กำลังขยายสูงสุด: ประมาณ 0.17 เท่า
ขนาดฟิลเตอร์:φ77 มม.
ขนาด: ประมาณ φ83.5×89.8 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 385 กรัม
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับเลนส์ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย