เลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้ช่วยให้คุณสามารถแสดงความรู้สึกผ่านทางภาพถ่ายด้วยกล้อง DSLR ได้หลากหลายรูปแบบ ในบทความชุดนี้ ผมจะรีวิวเลนส์ EF-S ของ Canon ซึ่งใช้กับกล้องถ่ายรูประดับกลางที่ได้รับความนิยมคือ EOS 80 D ดาวเด่นของบทความนี้คือเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่มีขนาดกะทัดรัด ซึ่งมาพร้อมกับระบบป้องกันภาพสั่นไหวและมุมรับภาพที่กว้างที่สุดในเลนส์กลุ่ม EF-S นั่นคือ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM (เรื่องโดย: Ryosuke Takahashi)
ข้อดีหลัก
- มีประโยชน์สำหรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ: มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวที่ทรงพลัง
- ออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัดและมีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการใช้งานกับกล้อง EOS 80D
10 มม.
EOS 80D/ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM/ FL: 10 มม. (เทียบเท่ากับ 16 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/4.5, 1/40 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
การเข้าใกล้ตัวแบบมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงทำให้ผมถ่ายภาพขยายของดอกกุหลาบที่กำลังเบ่งบานอย่างสวยงามได้เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างภาพถ่ายที่สวยสะดุดตาได้ โดยการถ่ายภาพสีสันอันสดใสของร้านขายดอกไม้และผู้คนที่เดินผ่านไปมา ทั้งตัวแบบหลักยังคมชัดยิ่งขึ้นเมื่อตั้งค่ารูรับแสงที่ค่าสูงสุด (ภาพโดย: Yurika Kadoi)
10 มม.
EOS 80D/ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM/ FL: 10 มม. (เทียบเท่ากับ 16 มม.)/Manual Exposure (f/8, 1/200 วินาที)/ISO 200/WB: แสงแดด
มุมรับภาพที่กว้างเหมาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องการรวมองค์ประกอบของภาพหลายอย่างเข้าด้วยกัน เมื่อผมใช้เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวเปอร์สเปคทีฟที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของเลนส์ุมุมกว้างอัลตร้าไวด์กับอาคารต่างๆ ที่ประกอบด้วยเส้นตรงและโค้ง ผมสามารถสร้างภาพอาคารที่ชวนให้นึกถึงงานฝีมือที่ใช้ผ้ามาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน (ภาพโดย: Yurika Kadoi)
เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวเปอร์สเปคทีฟที่ชัดเจนทำให้มุมรับภาพดูกว้างอย่างมาก
เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์คือเลนส์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับติดตั้งเข้ากับกล้อง EOS 80D เนื่องจากมีความสามารถในการถ่ายภาพในช่วงมุมกว้างที่สุดได้ เลนส์ชนิดนี้ให้มุมรับภาพที่ 16-29 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ทำให้คุณสนุกไปกับการถ่ายภาพในช่วงมุมกว้างได้อย่างแท้จริง แม้ว่ามุมรับภาพที่ฝั่งมุมกว้างจะเท่ากันกับเลนส์ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM แต่ได้รับการออกแบบให้มีน้ำหนักเบาด้วยการทำให้ชิ้นเลนส์ด้านหน้ามีขนาดกะทัดรัดขึ้นและทำให้ฝั่งเทเลโฟโต้สั้นลง นอกจากนี้ เนื่องจากเลนส์ติดตั้งระบบป้องกันภาพสั่นไหวพร้อมด้วยประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาความเร็วชัตเตอร์ได้ถึง 4 สต็อป ขณะนี้คุณจึงสามารถถ่ายภาพในแบบ Live View ได้ง่ายขึ้น แม้ว่าท่าทางในการถ่ายภาพจะไม่มั่นคงนักเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพ
ในการออกแบบเลนส์เราได้นำเทคโนโลยีออพติคอลล่าสุดมาใช้มากมาย โดยการลดระยะการถ่ายภาพต่ำสุดลงเหลือ 22 ซม. ประสิทธิภาพการถ่ายภาพมาโครกว้างจึงทำได้ดีกว่า EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM (ระยะการถ่ายภาพต่ำสุด 24 ซม.) อีกทั้งการโฟกัสภาพนิ่งและวิดีโอยังทำได้อย่างราบรื่น ด้วยการใช้มอเตอร์ STM แบบลีดสกรูในการขับเคลื่อนเลนส์โฟกัสภายใน
ลักษณะเฉพาะด้านออพติคอลอยู่ที่ดีไซน์กะทัดรัดในชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม ด้วยการวางชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมที่มีรูปทรงโค้งมนสูงให้เป็นเลนส์ชิ้นที่สอง เพื่อควบคุมแสงที่เข้ามาโดยตรงได้อย่างชำนาญ รวมทั้งการวางชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมเป็นเลนส์ชิ้นที่ 14 ความคลาดของความบิดเบี้ยวซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยเลนส์ปกติได้ทั้งหมดจึงได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม แม้ว่าความคลาดของความบิดเบี้ยวมักปรากฏมากขึ้นเมื่อถ่ายภาพที่มุมกว้าง แต่เนื่องจากมีการบันทึกข้อมูลการแก้ไขความคลาดเคลื่อนของเลนส์ไว้ในกล้อง EOS 80D คุณจึงสามารถเพลิดเพลินไปกับการถ่ายภาพในมุมรับภาพที่กว้างพอได้หากคุณเปิดฟังก์ชั่นการแก้ไขความคลาดของความบิดเบี้ยวเพื่อแก้ไขความบิดเบี้ยวของเส้นตรง
คำแนะนำ: เพิ่มระยะเวลาในการดูภาพถ่าย และตรวจสอบให้แน่ใจว่าความคลาดของความบิดเบี้ยวได้รับการแก้ไขแล้ว
เมื่อความคลาดของความบิดเบี้ยวได้ัรับการแก้ไขแล้ว มุมรับภาพที่ถ่ายได้มักจะแคบกว่าที่มองเห็นในช่องมองภาพเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้ คุณอาจต้องการเพิ่มระยะเวลาในการดูภาพถ่ายที่แสดงขึ้นทันทีหลังจากที่ถ่ายภาพเสร็จ เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าตรงตามจุดประสงค์ในการถ่ายภาพของคุณหรือไม่ หากคุณต้องการตรวจสอบภาพถ่ายผ่านหน้าจอทั้งหมด ให้เลือกระยะเวลาในการดูภาพถ่ายเป็น "8 วินาที" หรือ "ค้างไว้" เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีเวลาเพียงพอในการตรวจสอบภาพ
คุณสามารถตั้งเวลาในการดูภาพถ่ายได้จาก "ระยะเวลาแสดงภาพ" ในเมนู Shooting 1
EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM
(เทียบเท่า 16 - 29 มม. เมื่อใช้งานกับกล้อง EOS 80D)
โครงสร้างของเลนส์: 11 กลุ่ม 14 ชิ้นเลนส์
ระยะการถ่ายภาพต่ำสุด: 0.22 ม.
ถ่ายภาพได้สูงสุด: 0.15 เท่า
อัตราส่วนฟิลเตอร์: φ67 มม.
เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด x ความยาว: ประมาณ φ74.6×72 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 240 กรัม
คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
แผนภาพโครงสร้างเลนส์
A: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม
B: ชิ้นเลนส์ UD
C: ระบบป้องกันภาพสั่นไหว
เลนส์ฮูด: EW-73C (ขายแยกต่างหาก)
Ryosuke Takahashi
เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1960 Takahashi เริ่มทำงานอิสระในปี 1987 หลังจากทำงานในสตูดิโอถ่ายภาพโฆษณาและสำนักพิมพ์ และเนื่องจากรับถ่ายภาพให้กับนิตยสารชื่อดัง เขาจึงได้เดินทางจากที่อยู่ประจำ คือ ญี่ปุ่นและจีน ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก และเขาก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งของ Japan Professional Photographers Society (JPS) ด้วย
Digital Camera Magazine
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation