ในโลกของการถ่ายภาพทิวทัศน์ ช่างภาพทิวทัศน์ระดับมืออาชีพทั่วโลกต่างต้องการใช้เลนส์ที่กว้างและคมชัดยิ่งขึ้น และเลนส์ที่ตอบโจทย์นี้ได้คือ EF11-24mm f/4L USM เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ดีที่สุดของ Canon สำหรับกล้อง DSLR แบบฟูลเฟรม เมื่อมีเลนส์นี้และกล้อง EOS 5D Mark IV พร้อมแล้ว ช่างภาพ Shirou Hagihara จะพาเราไปดูสิ่งที่ทำให้เลนส์รุ่นนี้เป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับช่างภาพทิวทัศน์ทั่วโลก (เรื่องโดย: Shirou Hagihara)
สัมผัสโลกมุมกว้างที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
EF11-24mm f/4L USM ทำให้ผมรู้สึกทึ่งอยู่สามครั้ง ครั้งแรกคือเมื่อผมซื้อเลนส์นี้เป็นครั้งแรก ราคาของเลนส์รุ่นนี้สูงที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มเลนส์ L ด้วยกัน จึงแน่นอนว่าส่งผลต่อเงินในกระเป๋าของผม ครั้งที่สองคือเมื่อผมถือเลนส์นี้เป็นครั้งแรกหลังจากซื้อ เลนส์นี้ไม่ได้ขึ้นชื่อในเรื่องน้ำหนักเบาหรือขนาดกะทัดรัดเสียทีเดียว แต่เมื่อถือไว้ในมือจริงๆ แล้ว ผมตระหนักได้ถึงน้ำหนักที่ผมต้องแบกรับเมื่อถึงเวลาถ่ายจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถ่ายภาพที่ต้องพกพาเลนส์ติดตัวไปด้วย
ครั้งที่สามคือเมื่อผมเห็นภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์นี้เป็นครั้งแรก คุณภาพของภาพถ่ายดีเยี่ยมพอที่จะทำให้ผมไม่สนใจเหตุการณ์สองครั้งแรก
ความคมชัดของภาพคือสิ่งที่รับประกันได้เป็นอย่างดี สิ่งที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือ แม้จะใช้ทางยาวโฟกัสที่ 11 มม. เลนส์ยังสามารถแสดงเส้นตรงได้อย่างแม่นยำ และไม่มีความบิดเบี้ยวที่ดูไม่เป็นธรรมชาติให้เห็นแม้แต่น้อย แม้กระทั่งที่บริเวณขอบของภาพ อีกทั้งความคลาดสียังลดลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์แบบเดิมอื่นๆ ในระดับเดียวกัน เลนส์นี้บางครั้งจะสว่างมาก โดยเฉพาะเมื่อนำไปใช้ถ่ายภาพหลายประเภท เช่น การถ่ายภาพทิวทัศน์ ซึ่งต้องการพลังในการแสดงรายละเอียดสูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
อ่านบทความต่อไปนี้สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลนส์ซูม!
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #1: เลนส์ซูม
11 มม.
EOS 5D Mark IV/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 11 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/160 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
เมื่อถ่ายที่ค่ารูรับแสง f/16 จะเกิดเอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่สวยงามโดยไม่เห็นร่องรอยของแสงแฟลร์ ขณะที่แสงหลอกยังคงมองเห็นได้เล็กน้อย แต่อยู่ในระดับที่สามารถรับได้ ส่วนบริเวณขอบภาพได้รับการถ่ายทอดโดยไม่มีความบิดเบี้ยว จึงทำให้ภาพออกมาดูสวยงามน่ามองเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ดี ทางที่ดีคุณควรทราบถึงคุณสมบัติของเลนส์นี้ก่อนตัดสินใจซื้อ ข้อแรก เนื่องจากชิ้นเลนส์ด้านหน้ามีลักษณะกลมและนูนออกมา คุณจึงไม่สามารถใช้เลนส์นี้กับฟิลเตอร์ชนิดสวมหน้าเลนส์แบบเดิมได้ คุณจะต้องใช้ฟิลเตอร์เจลาตินด้านหลังแทน โดยใส่ฟิลเตอร์เข้าไปในที่ใส่ซึ่งอยู่ด้านหลังเลนส์ ข้อที่สอง การออกแบบเลนส์มีการรวมฮูดเลนส์แบบกลีบเข้าไปด้วย แต่แสงแดดยังคงเข้าสู่เลนส์ได้อย่างง่ายดาย ดังนั้น ในบางฉากอาจมีแสงหลอกเกิดขึ้นได้ ข้อที่สาม เมื่อติดตั้งเลนส์เข้ากับตัวกล้อง DSLR ที่มีขนาดใหญ่ เช่น EOS 5D Mark IV อุปกรณ์ทั้งชุดอาจมีน้ำหนักค่อนข้างมากที่บริเวณด้านหน้า ขาตั้งกล้องและหัวขาตั้งที่มั่นคงจึงเป็นสิ่งจำเป็น
อย่างไรก็ดี ประเด็นเหล่านี้มักไม่สำคัญอีกต่อไปหากเราพิจารณาถึงคุณภาพของภาพถ่ายที่น่าประทับใจ เลนส์นี้จึงเป็นเลนส์ที่จะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน
24 มม.
EOS 5D Mark IV/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/320 วินาที, EV-0.7)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ในอีกด้านของระยะมุมกว้างที่ 11 มม. ของเลนส์รุ่นนี้ ระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้มีทางยาวโฟกัส 24 มม. ที่ใช้งานได้สะดวก ซึ่งช่วยให้ภาพถ่ายดูสมจริง คุณภาพของภาพถ่ายคมชัดตั้งแต่อีกด้านหนึ่งจนถึงอีกด้านหนึ่ง ด้วยประสิทธิภาพการทำงานอันยอดเยี่ยมเมื่อลดขนาดรูรับแสงเหลือ f/8 หรือ f/11
แผนภาพโครงสร้างเลนส์
A: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลม
B: ชิ้นเลนส์ UD
ข้อมูลจำเพาะ
โครงสร้างเลนส์: 16 ชิ้นเลนส์ใน 11 กลุ่ม
จำนวนม่านรูรับแสง: 9
ระยะการถ่ายภาพต่ำสุด: 0.28 ม. (ที่ 24 มม.)
กำลังขยายสูงสุด: 0.16x (ที่ 24 มม.)
เส้นผ่านศูนย์กลางฟิลเตอร์: ชนิดใส่ด้านหลัง
ขนาด: ประมาณ φ108×132 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 1,180 กรัม
โปรดดูบทความต่อไปนี้หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ EF11-24mm f/4L USM!
[ตอนที่ 1] โลกของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ไม่เคยมีมาก่อนกับเลนส์ 11 มม.
[ตอนที่ 2] การออกแบบทางออพติคอลที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีเลนส์ EF อย่างสมบูรณ์แบบ
[ตอนที่ 3] ความสามารถในการใช้งานและพลังการถ่ายทอดภาพที่ดีเยี่ยมของช่วงทางยาวโฟกัส 11-24 มม.
[ตอนที่ 4] การสร้างเลนส์ที่มีคุณสมบัติป้องกันน้ำและฝุ่นพร้อมความทนทานสูง
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
เกิดในปี 1959 ที่เมืองยามานาชิ หลังจากจบการศึกษาจาก Nihon University, Hagihara มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นนิตยสารถ่ายภาพ Fukei Shashin ที่เขาทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ตีพิมพ์ ต่อมาเขาลาออกและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบัน Hagihara ทำงานอยู่ในวงการถ่ายภาพและเขียนผลงานที่เน้นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เขาเป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP)
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation