การถ่ายภาพดอกไม้: วิธีสร้างวงกลมโบเก้ที่สว่างจ้าให้สวยแจ่มด้วยเลนส์มาโคร
วงกลมโบเก้เกิดจากการใช้เลนส์มาโครถ่ายภาพแสงสะท้อนที่ส่องประกายบนทะเลสาบในส่วนแบ็คกราวด์ เพื่อช่วยเพิ่มความรู้สึกพิเศษให้แก่ภาพถ่ายระยะใกล้ของดอกแดนดิไลออนริมทะเลสาบที่กำลังผลิบาน เราลองมาดูว่ามีการใช้เทคนิคอะไรบ้าง (เรื่องโดย Shinichi Eguchi)
แสงย้อนที่สะท้อนจากขอบของวัตถุสามารถสร้างวงกลมโบเก้ได้
EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/1,250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: เมฆครึ้ม
สายตาของผมสะดุดที่ดอกแดนดิไลออนใกล้ริมน้ำ ผมจึงจับภาพดอกไม้ในระยะใกล้ด้วยเลนส์มาโคร 180 มม. แทนที่จะใช้การถ่ายภาพซ้อนเพราะกลีบดอกไม้อยู่นอกโฟกัส ผมเลือกสร้างวงกลมโบเก้จากภาพสะท้อนบนผิวน้ำในส่วนแบ็คกราวด์
ผมนึกถึงการถ่ายภาพระยะใกล้ที่นำเสนอธรรมชาติของดอกแดนดิไลออนที่ขึ้นอยู่อย่างโดดเดี่ยว ซึ่งผมพบเจอที่ริมทะเลสาบ บริเวณขอบของดอกแดนดิไลออนและผิวน้ำส่องประกายวาววับเมื่อสะท้อนกับแสงย้อน ซึ่งเป็นสภาพการถ่ายที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการสร้างวงกลมโบเก้ เมื่อผมมั่นใจแล้วว่าจะสร้างวงกลมโบเก้ได้แน่นอน ผมจึงหันมาเลือกตำแหน่งและมุมถ่ายภาพ
สนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวงกลมโบเก้และวิธีการสร้าง อ่านต่อได้ที่:
4 ขั้นตอนง่ายๆ ในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ที่หายาก
อุปกรณ์และการตั้งค่า
เลนส์: ผมเลือกเลนส์มาโครเทเลโฟโต้ 180 มม. เพื่อสร้างวงกลมโบเก้ขนาดใหญ่ที่มีองค์ประกอบของแสงสว่างในส่วนแบ็คกราวด์ พร้อมทั้งถ่ายทอดรายละเอียดของดอกไม้ที่มีเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ดูนุ่มนวล
รูรับแสง: ผมเลือกตั้งค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/3.5
จุดโฟกัส: บนดอกแดนดิไลออน
อุปกรณ์อื่นๆ: ผมใช้วิธีถือกล้องถ่าย แต่หากคุณกังวลเกี่ยวกับปัญหากล้องสั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมองในแง่ของทางยาวโฟกัสที่ยาว ขาตั้งกล้องก็อาจมีประโยชน์เช่นเดียวกัน
ข้อควรคำนึงอื่นๆ: เมื่อพิจารณาถึงความสมดุลของภาพถ่ายโดยรวมขณะที่ตรวจสอบเฟรมภาพ ผมลงมือถ่ายภาพครั้งแรกหลังจากทดลองถ่ายภาพพอร์ตเทรตและภาพทิวทัศน์ต่างๆ แล้ว พื้นที่ที่อยู่ด้านล่างวงกลมโบเก้เป็นสีดำและดูมืดเกินไปเพียงเพราะว่าบริเวณผิวน้ำมืดสนิทเท่านั้น
ผมตั้งใจจะถ่ายภาพจากบริเวณที่ใบไม้ส่องประกาย
ในวันที่ถ่ายภาพ ท้องฟ้าโปร่งและลมสงบทำให้สามารถควบคุมบรรยากาศโดยรอบได้ ใบไม้ที่ร่วงหล่นลงมาลอยกระจายอยู่บนผืนน้ำใกล้กับริมทะเลสาบ ขอบของใบไม้ส่องประกายวาววับ และมีดอกแดนดิไลออนที่กำลังผลิบานเพียงดอกเดียวยืนต้นอยู่ท่ามกลางผืนหญ้าริมน้ำนั้น ดอกแดนดิไลออนและกล้องอยู่ห่างจากกันในระยะเพียง 70 ซม. ถึง 80 ซม. ขณะที่ดอกแดนดิไลออนอยู่ห่างจากผืนน้ำราว 1 ม.
เคล็ดลับที่ 1: รูปร่างของเอฟเฟ็กต์โบเก้ซึ่งเกิดจากแสงที่เปลี่ยนแปลงไปตามค่า f
เมื่อใช้ค่า f/3.5 วงกลมโบเก้ีที่ได้จะเป็นทรงกลมมนสมบูรณ์แบบ แต่มองมากขึ้นเช่นโบเก้เหลี่ยมที่ f/11
f/3.5
EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/250 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200
f/11
EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/11, 1/25 วินาที, EV+0.7)/ ISO 200
เคล็ดลับที่ 2: คุณสามารถซ้อนวงกลมโบเก้เป็นชั้นๆ เพื่อให้ดูเหมือนไฟสปอตไลท์ได้
EOS-1D X/ EF180mm f/3.5L Macro USM/ FL: 180 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/400 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
ผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากดอกฟอร์เก็ตมีน็อตซึ่งผลิบานอยู่บริเวณริมน้ำ ผมสามารถสร้างรูปแบบของวงกลมโบเก้ขึ้นจากแสงสว่างในส่วนแบ็คกราวด์ได้โดยการซ้อนภาพสะท้อนหลายๆ ชั้นบนผืนน้ำที่กระเพื่อม ดังนั้น ดอกไม้จึงดูสว่างขึ้นด้วยแสงสปอตไลท์
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเคล็ดลับในการถ่ายภาพวงกลมโบเก้ได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์ #8: ส่วนใดที่ควรโฟกัสเพื่อให้ได้ภาพถ่ายวงกลมโบเก้ที่สวยงาม
การใช้งานเลนส์: โคลสอัพและทำให้ตัวแบบอยู่นอกโฟกัส
เลนส์มาโครเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพดอกแดนดิไลออนดอกเล็กๆ ในระยะใกล้อย่างเช่นภาพถ่ายบนสุดของบทความนี้
เลนส์มาโครมีทั้งหมดสามประเภทด้วยกัน ได้แก่ มาตรฐาน เทเลโฟโต้ระยะกลาง และเทเลโฟโต้ โดยแต่ละประเภทจะมีทางยาวโฟกัสแตกต่างกัน ยิ่งคุณเข้าใกล้ระยะเทเลโฟโต้มากเท่าใด เอฟเฟ็กต์โบเก้ก็จะยิ่งดูนุ่มนวลมากขึ้นเท่านั้น คุณจะได้เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ดูนุ่มนวลเช่นเดิมขณะถ่ายภาพในระยะใกล้ที่อัตรากำลังขยายในระดับหนึ่งไม่ว่าจะใช้เลนส์ประเภทใดก็ตาม อย่างไรก็ดี เมื่อถ่ายภาพตัวแบบหลักของคุณจากระยะไกล เอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ได้จะแตกต่างไปอย่างมาก
เลนส์มาโครเทเลโฟโต้ EF180mm f/3.5L Macro USM นับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งหากคุณต้องการถ่ายภาพตัวแบบให้มีความนุ่มนวล หรือใช้โบเก้ช่วยจัดระเบียบแบ็คกราวด์ที่ดูยุ่งเหยิง
ดูไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพดอกไม้ได้ที่:
ดอกไม้ – การจัดองค์ประกอบภาพและคุณสมบัติเด่นของกล้องเพื่อการถ่ายภาพที่สื่อความหมายได้ดีเยี่ยม
หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างเอฟเฟ็กต์เจ๋งๆ ด้วยเลนส์มาโคร โปรดดูที่:
การถ่ายภาพมาโคร: สร้างแบ็คกราวด์ไล่เฉดสีที่งดงามด้วยเลนส์ f/2.8
เทคนิคการใช้เลนส์มาโคร: ถ่ายภาพหยดน้ำที่ส่องประกายด้วยเลนส์มาโคร
รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!
EF180mm f/3.5L Macro USM
เกิดเมื่อปี 1953 ที่เมืองฟูชิมิ จังหวัดเกียวโต Eguchi เป็นสมาชิกของสมาคม Japan Professional Photographers Society (JPS) เขาถ่ายภาพได้หลากหลายแนว ตั้งแต่การถ่ายภาพสิ่งละอันพันละน้อยตามธรรมชาติอันน่าอัศจรรย์ในแบบมาโครไปจนถึงภาพทิวทัศน์ นอกจากเขาจะจัดงานนิทรรศการแสดงผลงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอแล้ว Eguchi ยังมีคอลเลคชั่นภาพถ่ายและหนังสือตีพิมพ์อีกมากมายด้วย
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation