เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM อันโดดเด่นที่มาพร้อม Stepping Motor
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS II ซึ่งเป็นที่นิยมเพราะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงและคุ้มราคา ครั้งนี้มาพร้อมกับ Stepping Motor (STM) เป็นหนึ่งในเลนส์ดีไซน์ใหม่ ของเลนส์ชุด EF ที่มีหลากหลายรุ่น อีกทั้งยังยกระดับคุณภาพของภาพถ่ายดีขึ้น โดยการใช้ชิ้นเลนส์ UD ในบทความนี้ Yukihiro Fukuda เดินทางทดสอบคุณภาพของภาพและการใช้งานในภาคสนาม (เรื่องโดย: Yukihiro Fukuda)
ใช้ประโยชน์จากการโฟกัสอัตโนมัติที่เงียบเชียบและรวดเร็วขณะถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์
EOS 70D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 250 มม./ Manual exposure (1/50 วินาที, f/5.6)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
ด้วยทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับประมาณ 400 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ที่ฝั่งเทเลโฟโต้ เลนส์นี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพตัวแบบที่เขินกล้อง คุณสมบัติ IS ทำงานได้ดีแม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/50 วินาทีในการสร้างผลงานให้ได้ดั่งใจ
ทางยาวโฟกัส: 55 มม.
EOS 70D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 55 มม./ Aperture-priority AE (1/500 วินาที, f/5.6, +1EV)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
ผมพบเจ้าลิงน้อยตัวนี้โดยบังเอิญ ขณะที่กำลังนั่งพักอยู่ในป่า ระยะฝั่งมุมกว้างของเลนส์ทำให้ผมสามารถถ่ายภาพที่คล้ายกับภาพทิวทัศน์ รายละเอียดเล็กๆ ของต้นไม้ถ่ายทอดออกมาได้อย่างแม่นยำ
เลนส์ซูมเทเลโฟโต้รุ่นฮ็อตฮิตนี้มาพร้อมกับระยะโฟกัสใกล้สุดที่สั้นลงและน้ำหนักที่เบาลง
เลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM เปิดตัวในเวลาใกล้เคียงกับกล้อง EOS 70D เลนส์รุ่นนี้มีน้ำหนักเบาลงประมาณ 15 กรัมเทียบกับเลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS II และระยะโฟกัสใกล้สุดสั้นลงประมาณ 25 ซม. โดยช่วงทางยาวโฟกัสยังคงไว้ได้เท่าเดิม นอกจากนี้ Stepping Motor (STM) ยังใช้งานกับกลไกขับเคลื่อน AF จึงเป็นเลนส์ที่น่าสนใจ ด้วยการทำงานของโฟกัสอัตโนมัติที่มีความเร็วสูง ราบรื่น และเงียบเชียบ ทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับประมาณ 80-400 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ครอบคลุมช่วงสำคัญที่สุดสำหรับการถ่ายภาพสัตว์ ซึ่งเป็นด้านที่ผมชำนาญ ด้านล่างนี้เป็นรายงานภาพถ่ายจากการทดสอบการใช้งานในภาคสนามด้วยเลนส์และกล้อง EOS 70D
โครงสร้างเลนส์: 15 เลนส์ใน 12 กลุ่ม
จำนวนม่านรูรับแสง: 7 กลีบ
รูรับแสงกว้างสุด: f/4-5.6
รูรับแสงแคบสุด: f/22-32
ระยะโฟกัสใกล้สุด: ประมาณ 0.85 ม.
ขนาดฟิลเตอร์: φ58 มม.
ขนาด: ประมาณ 70 × 111.2 มม.
น้ำหนัก: ประมาณ 375 กรัม
สิ่งแรกที่ทำให้ผมทึ่ง ก็คือ ขนาดที่เล็กกะทัดรัด โดยปกติ ในทริปเดินป่าเพื่อถ่ายภาพสัตว์ของผม ผมจะนำเลนส์ EF70-300mm f/4-5.6L IS USM และกล้อง EOS-1D C ติดตัวไปด้วย ซึ่งมีน้ำหนักรวมประมาณ 2,580 กรัม ตรงกันข้าม การใช้เลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM คู่กับกล้อง EOS 70D ซึ่งหนักเพียงประมาณ 1,130 กรัม กลับทำให้ผมรู้สึกราวกับกำลังเดินป่าโดยไม่ได้พกอุปกรณ์ถ่ายภาพมาด้วย
เมื่อเทียบกับเลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS II ความยาวรวมเมื่อตั้งค่าเลนส์ไปยังฝั่งเทเลโฟโต้นั้นยาวกว่าเล็กน้อย แต่ความแตกต่างนี้แทบไม่สำคัญเมื่อใช้งานจริง และด้วยการออกแบบให้มีน้ำหนักเบา จึงคงความสมดุลไว้ได้แม้เวลาที่ท่อเลนส์ขยายออกระหว่างการถ่ายภาพเทเลโฟโต้
ซ้าย: EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM
สีแดง: 177 มม.
สีฟ้า: 111.2 มม.
น้ำหนัก: 375 กรัม
ขวา: EF-S55-250mm f/4-5.6 IS II
สีแดง: 150 มม.
สีฟ้า: 108 มม.
น้ำหนัก: 350 กรัม
เราได้นำกลไกอิเล็กทรอนิกส์มาใช้สำหรับวงแหวนโฟกัสซึ่งอยู่ที่ส่วนท้ายของเลนส์ แม้ว่าการเลื่อนวงแหวนซูมจะราบรื่นดี แต่แรงหมุนโฟกัสจะเบาไปเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพการทำงานของเลนส์ก็ดีเพียงพอ เพราะไม่สำคัญนักที่จะต้องโฟกัสแบบแมนนวลด้วยเลนส์ประเภทนี้
การใช้งานที่น่าทึ่งด้วยการออกแบบที่กะทัดรัดและการเลื่อนมอเตอร์ STM ที่เงียบเชียบ
เมื่อผมส่องกล้องไปที่ตัวแบบและเปิดโฟกัสอัตโนมัติ กล้องจะจับโฟกัสอย่างรวดเร็วและเงียบ แม้ว่ามอเตอร์อัลตร้าโซนิค (USM) จะทำงานเงียบเหมือนกัน แต่การใช้งานมอเตอร์ STM นั้นเงียบมากจนผมไม่รู้สึกถึงความสั่นไหวใดๆ ที่มือเลย ขณะเดียวกัน ความเร็วในการโฟกัสของมอเตอร์ STM ก็ใกล้เคียงกันกับมอเตอร์ USM เมื่อนำระบบโฟกัสอัตโนมัติ Dual Pixel CMOS AF มาใช้กับกล้อง EOS 70D ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของระบบโฟกัสอัตโนมัติแบบ Live View ก็สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพยนตร์ด้วยกล้อง DSLR ได้อย่างดี ดังนั้น เลนส์ STM ซึ่งแทบจะไม่มีเสียงระบบการทำงานให้ได้ยิน จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับช่างภาพที่พิถีพิถันในเรื่องเสียงรบกวนที่เกิดระหว่างการถ่ายภาพยนตร์
เลนส์ซึ่งต่อเข้ากับบอดี้แล้วมีน้ำหนักรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,130 กรัม ขณะที่เส้นผ่าศูนย์กลางเพียงแค่ประมาณ 70 มม. เท่านั้น ทำให้ง่ายต่อการถือจับ แม้ผู้ใช้จะเป็นผู้หญิงก็ตาม การเลื่อนแหวนซูมก็ทำได้ราบรื่น ช่วยให้การจับถือกล้องของคุณไม่คลาดเคลื่อนไปขณะเลื่อนซูม
การให้สีสันและความเปรียบต่างสูงสร้างความสนุกในการถ่ายภาพให้กับช่างภาพทุกประเภท
ในด้านคุณภาพของภาพถ่าย เลนส์นี้ให้ความเปรียบต่างที่พอเหมาะ และสีสันสดสวยสมบูรณ์แบบ ในการทดสอบการถ่ายภาพครั้งนี้ ผมเลือกลิงในป่าเป็นตัวแบบ อย่างไรก็ตาม สภาพการถ่ายก็ไม่เอื้ออำนวยมากนัก ตัวแบบที่ขาดสีสันและสภาพแสงที่ทึบทึมในป่าทำให้ลิงเป็นตัวแบบที่ท้าทายมากทีเดียว การจับโฟกัสโดยใช้โฟกัสอัตโนมัติจึงเป็นเรื่องยากไปด้วย ถึงอย่างนั้น เลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM ซึ่งใช้คู่กับกล้อง EOS 70D กลับทำผลงานได้ดีเกินคาด ทำให้ตอนนี้ผมเชื่อสนิทใจเลยว่าเลนส์ใหม่ล่าสุดตัวนี้เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ความคลาดสี ซึ่งเป็นความกังวลข้อหนึ่งของผม ก็แทบไม่ปรากฏให้เห็นเลย
คุณสมบัติที่น่าพิจารณาข้อหนึ่งของเลนส์ตัวนี้คือ การใช้ชิ้นเลนส์ UD หลายคนอาจเปรียบเทียบเลนส์รุ่นนี้กับเลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS II เพราะมีช่วงทางยาวโฟกัสเท่าๆ กัน แต่เลนส์สองรุ่นนี้ควรถูกนับว่าเป็นเลนส์คนละประเภทที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง
โครงสร้างเลนส์
สีน้ำเงิน: เลนส์ UD
สีแดง: ชุดทำงานระบบ IS
EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM
มุมกว้าง
เทเล
EF-S55-250mm f/4-5.6 IS II
มุมกว้าง
เทเล
ความถี่ของพื้นที่ | รูรับแสงกว้างสุด | f/8 | ||
S | M | S | M | |
10 เส้น/มม. | ||||
30 เส้น/มม. |
เส้นกราฟ MTF บ่งบอกถึงสัมผัสที่แท้จริงของคุณภาพภาพถ่ายระดับสูง
เมื่อเทียบกับแผนภูมิแสดงลักษณะ MTF ของเลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS II เราบอกได้ว่าความละเอียดที่กึ่งกลางของเลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM นั้นสูงทั้งฝั่งมุมกว้าง (55 มม.) และฝั่งเทเลโฟโต้ (250 มม.) เส้นกราฟบริเวณขอบภาพก็ดูราบเรียบ บ่งบอกว่าสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่สวยงามได้
เลนส์ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM ครอบคลุมมุมรับภาพที่มักจะใช้เพื่อการถ่ายภาพสัตว์ เลนส์นี้เพียบพร้อมด้วยคุณภาพในระดับที่เทียบชั้นได้กับเลนส์สเปคที่สูงกว่า สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจคือ ราคาที่สมเหตุสมผล เมื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพซึ่งช่างภาพระดับกลางขึ้นไปจะพึงพอใจ สำหรับผู้ใช้กล้องที่ต้องการถ่ายภาพสัตว์ แต่กำลังมองหาอุปกรณ์ที่น้ำหนักเบา เราขอแนะนำเลนส์รุ่นนี้ว่าเหมาะอย่างยิ่ง
ระยะโฟกัสใกล้ที่สุด
EOS 70D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 166 มม./ Aperture-priority AE (1/800 วินาที, f/8)/ ISO 800/ WB: แสงแดด
เลนส์รุ่นนี้มีระยะโฟกัสใกล้สุดที่ประมาณ 85 ซม. และกำลังขยายสูงสุดที่ประมาณ 0.29 เท่า เปี่ยมไปด้วยความสามารถในการถ่ายภาพระยะใกล้ระดับสูง จึงสามารถใช้ได้ในลักษณะเดียวกับเลนส์มาโครเทเลโฟโต้
โบเก้
EOS 70D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 250 มม./ Manual exposure (1/200 วินาที, f/6.3)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
จุดในโฟกัสปรากฏอย่างคมชัดมาก แสงที่เข้ามาผ่านต้นไม้ในแบ็คกราวด์ทำให้เกิดโบเก้กลมๆ ที่สวยงาม ดึงความรู้สึกถึงอากาศที่สดชื่นของป่าให้โดดเด่นขึ้น
แสงที่ส่องจากด้านหลัง
EOS 70D/ EF-S55-250mm f/4-5.6 IS STM/ FL: 70 มม./ Manual exposure (1/250 วินาที, f/5.6)/ ISO 1600/ WB: แสงแดด
ภาพนี้ ผมพยายามถ่ายภาพแบบย้อนแสงโดยมีพระอาทิตย์รวมอยู่ในองค์ประกอบภาพ ผมไม่พบแสงแฟลร์หรือแสงหลอกที่เห็นได้ชัด ซึ่งบอกถึงความสามารถที่โดดเด่นของเลนส์ในการจัดการกับสภาพการถ่ายที่สมบุกสมบัน
เกิดเมื่อปี 1965 ที่โตเกียว ทุกๆ ปี Fukuda ใช้เวลากว่าครึ่งไปกับการออกภาคสนาม ปัจจุบัน เมื่อมีกล้อง EOS-1D C เขาจึงขะมักเขม้นในการถ่ายภาพยนตร์ชนิด 4K เพิ่มเติมจากการถ่ายภาพนิ่ง นอกจากนี้ เขายังเขียนหนังสืออีกหลายเล่มด้วยเช่นกัน