ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

ถ่ายภาพใต้น้ำด้วย EF8-15mm f/4L Fisheye USM - ถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลให้สวยงามน่าทึ่ง

2016-12-01
0
2.27 k
ในบทความนี้:

ช่างภาพที่หลงใหลโลมาตามธรรมชาติซึ่งแหวกว่ายอย่างอิสระเสรีในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่เลือกใช้เลนส์ EF8-15mm f/4L Fisheye USM เราลองมาดูฉากสวยๆ ที่ถ่ายด้วยเลนส์ชนิดนี้กัน (เรื่องโดย Nana Takanawa)

EOS 5D Mark III/ EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 15 มม./ Manual exposure (f/5, 1/400 วินาที)/ ISO 125/ WB: อัตโนมัติ
ในช่วงยามเย็นของปลายฤดูร้อน ลำแสงจากดวงอาทิตย์สาดส่องผ่านผิวน้ำของมหาสมุทรจนเกิดเป็นม่านแสงที่สวยงาม

 

ถ่ายทอดความลึกและความงดงามของท้องทะเลสีครามอันกว้างใหญ่ ที่ซึ่งฝูงโลมาแหวกว่ายอย่างอิสระเสรี

ฉันหลงรักโลมาตั้งแต่เด็ก และใฝ่ฝันไว้ว่าเมื่อโตขึ้นจะเป็นผู้ดูแลฝูงโลมาที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ตอนอายุ 19 ปี ฉันได้รู้จักเกาะมิคุระ ซึ่งอยู่ในเขตบริหารงานของมหานครโตเกียว ที่ซึ่งฉันสามารถว่ายน้ำเล่นกับเหล่าโลมาตามธรรมชาติได้ ความงดงามของโลมาตามธรรมชาติซึ่งแหวกว่ายไปมาอย่างอิสระท่ามกลางมหาสมุทรอันกว้างใหญ่นั้นทำให้ฉันรู้สึกหลงใหลอย่างมาก หลังจากนั้น ฉันอาสาเข้าร่วมการวิจัยโลมาเชิงนิเวศวิทยาที่เกาะมิคุระ และทำงานเป็นไกด์นำเที่ยว Dolphin Swim Tour ซึ่งที่นั่นเองฉันได้เริ่มต้นศึกษาการถ่ายภาพโลมาใต้น้ำด้วยตนเอง

EOS 5D Mark III/ EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 15 มม./ Manual exposure (f/4, 1/500 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
เอฟเฟ็กต์ความบิดเบี้ยวของเลนส์ฟิชอายยิ่งขับเน้นความโดดเด่นให้กับสีดำมะเมื่อมของโลมาที่ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ

 

ฉันเริ่มต้นถ่ายภาพโลมาโดยใช้เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ 16 มม. ซึ่งเลนส์ดังกล่าวเพียงพอสำหรับถ่ายภาพโลมา อย่างไรก็ดี ฉันรู้สึกว่ามีบางอย่างหายไป ซึ่งปรากฏว่าคือมุมรับภาพนั่นเอง
โลมาที่เกาะมิคุระเคยชินกับการพบเจอมนุษย์ และบางครั้งพวกมันก็แหวกว่ายเข้ามาใกล้ๆ ราวกับว่าจะพุ่งชนเข้าอย่างจัง นอกจากนี้ ดัชนีการหักเหแสงใต้น้ำยังทำให้มุมรับภาพดูแคบกว่าบนผืนดิน แม้ว่าฉันจะใช้เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ 16 มม. จากบนผืนดิน ฉันก็ยังรู้สึกว่ามุมรับภาพของภาพโลมานั้นไม่เพียงพอ

เราสามารถถ่ายภาพโลมาใต้น้ำโดยใช้เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ 16 มม. ได้ อย่างไรก็ดี สิ่งที่ฉันต้องการคือแสดงภาพของท้องทะเลสีครามที่ลึกและกว้างใหญ่ ซึ่งเป็นที่ที่ฝูงโลมาอาศัยอยู่ ดังนั้น ฉันจึงเลือกใช้เลนส์ซูมฟิชอายของ Canon คือ EF8-15mm f/4L Fisheye USM

EOS 5D Mark III/ EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 15 มม./ Manual exposure (f/8, 1/320 วินาที)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ
โลมาตัวน้อยที่เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็นว่ายวนอยู่ใกล้ๆ ช่างภาพ เมื่อถ่ายที่ระยะใกล้ ภาพจะอยู่ในโฟกัสและสามารถถ่ายทอดผิวที่เรียบเนียนของโลมาได้

 

เลนส์นี้มีความพิเศษตรงที่เมื่อใช้กับกล้อง EOS ที่มีเซนเซอร์แบบฟูลเฟรมแล้ว เลนส์จะทำหน้าที่เสมือนเลนส์ฟิชอายทรงกลมที่ 8 มม. และเลนส์ฟิชอายที่มีมุมรับภาพแนวทแยงที่ 15 มม. ซึ่งมุมรับภาพแนวทแยง 180° ที่เกินขอบเขตการมองเห็นของมนุษย์นี้สามารถถ่ายทอดความประทับใจขณะที่ฉันว่ายน้ำเล่นกับฝูงโลมาในท้องทะเลครั้งแรกได้เป็นอย่างดี การใช้มุมรับภาพที่กว้างช่วยให้ฉันถ่าย "ภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์" ซึ่งเก็บภาพได้ทั้งท้องทะเลและฉากเหนือผืนน้ำ (ท้องฟ้าและซิลูเอตต์ของเกาะ) ได้ง่ายขึ้น (สำหรับบทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์ โปรดอ่านบทความเกี่ยวกับ การถ่ายภาพใต้น้ำและบนบกอยู่ในภาพเดียวกัน)

ประโยชน์อีกอย่างของเลนส์ตัวนี้คือ มีระยะถ่ายภาพใกล้สุดที่ 15 ซม. ซึ่งถือว่าใกล้มาก มีหลายครั้งที่โลมาแสนรู้ว่ายเวียนเข้ามาใกล้กล้องมากๆ และมองเข้าไปในเลนส์ ซึ่งนั่นจะเป็นตอนที่ฉันสามารถจับโฟกัสกล้องไปที่ดวงตาทั้งคู่ของมันได้

ฉันไม่ต้องการถ่ายภาพโลมาเพียงอย่างเดียว เมื่ออยู่ใต้ทะเล ฉันยังต้องการถ่ายภาพท้องทะเลที่เป็นที่อยู่อาศัยของโลมา ลำแสงของดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านผิวน้ำ และท้องฟ้าที่มองเห็นผ่านระลอกคลื่นบนพื้นผิวมหาสมุทร นอกจากนี้ ฉันยังต้องการเก็บภาพโลมาที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบอีกด้วย ซึ่งเลนส์นี้ช่วยให้ฉันทำสิ่งที่ปรารถนาได้สำเร็จ

EOS 5D Mark III/ EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 15 มม./ Manual exposure (f/8, 1/320 วินาที)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
เลนส์ฟิชอายช่วยให้เราสามารถถ่ายภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์ที่ใช้กับมุมรับภาพที่กว้างได้ อีกทั้งลวดลายของระลอกคลื่นบนตัวโลมาที่เกิดจากแสงแดด ท้องฟ้าสีครามใสกระจ่าง และเกาะที่เขียวขจียังรวมอยู่ในภาพนี้อย่างครบถ้วน

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Nana Takanawa

เกิดที่จังหวัดไอชิเมื่อปี 1982 ช่างภาพใต้น้ำและช่างภาพวิดีโอซึ่งดำน้ำเพื่อถ่ายภาพและวิดีโอเกี่ยวกับโลมาตามธรรมชาติ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา