ภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์นั้นน่าตื่นตาตื่นใจเนื่องจากคุณจะเห็นทั้งสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและเหนือน้ำได้ในเวลาเดียวกัน มาดูวิธีการถ่ายภาพในท้องทะเลให้ได้เช่นภาพนี้กัน (เรื่องโดย: Minefuyu Yamashita, Digital Camera Magazine)
EF8-15mm f/4L Fisheye USM/ FL: 11 มม. (เทียบเท่า 18 มม.)/ Manual exposure (f/6.3, 1/1,600 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
อุปกรณ์เพิ่มเติม: เคสกล้องสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำ
โลกที่แตกต่างกันสองใบเผยโฉมให้เห็นโดยมีผิวน้ำเป็นเส้นพรมแดน ผมพยายามถ่ายฉากอันน่าตื่นตาตื่นใจนี้ให้เป็นภาพทิวทัศน์ภาพเดียวโดยให้กล้องจมลงไปครึ่งหนึ่งในผืนน้ำของเกาะมิยาโคจิมะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นเกาะในโอกินาวาที่มีชื่อเสียงด้านปะการังและชายหาดที่สวยงาม และปลาที่ว่ายน้ำอยู่หน้ากล้องคือ ปลาสลิดหินม้าลาย
วิธีการถ่ายภาพนี้
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละขั้นตอนได้โดยคลิกที่ลิงก์หรือเลื่อนลงไปด้านล่าง)
ขั้นตอนที่ 1: มองหาตัวแบบบนพื้นทรายที่สว่างในบริเวณน้ำตื้น
ขั้นตอนที่ 2: จัดเฟรมภาพให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 3: ใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง
อุปกรณ์ที่ต้องใช้: เคสกล้องสำหรับถ่ายภาพใต้น้ำ
ในการถ่ายภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์นั้น ตัวกล้องครึ่งหนึ่งจะจมอยู่ใต้น้ำ ในขณะที่อีกครึ่งจะอยู่เหนือน้ำ เคสกล้องที่ดีและเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งจำเป็น (อ่านวิธีการดูแลรักษาอุปกรณ์ได้ที่: 3 ข้อควรระวังสำหรับการดูแลอุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำของคุณ)
ขั้นตอนที่ 1: มองหาตัวแบบบนพื้นทรายที่สว่างในบริเวณน้ำตื้น
หาพื้นทรายที่สว่างในน้ำตื้น และมองหาตัวแบบจากบริเวณนั้น วิธีนี้จะลดความเปรียบต่างระหว่างท้องฟ้ากับผืนน้ำในช่วงครึ่งบนและครึ่งล่างขององค์ประกอบภาพตามลำดับ
จากนั้น ให้เลนส์จมลงมาในน้ำครึ่งหนึ่ง มองผ่านช่องมองภาพ และปรับแต่งองค์ประกอบภาพสุดท้ายโดยมุ่งความสนใจไปที่แบ็คกราวด์
ขั้นตอนที่ 2: จัดเฟรมภาพให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ดีที่สุด
สิ่งที่ผมทำในการถ่ายภาพนี้คือ:
- เข้าใกล้ปะการังให้มากพอ เพื่อเน้นมุมมองเปอร์สเปคทีฟระหว่างปะการังกับแบ็คกราวด์ เคล็ดลับ: ในการทำเช่นนี้ได้ คุณต้องแน่ใจว่าปะการังอยู่ใกล้กับผิวน้ำทะเล ควรตรวจดูกระแสน้ำและเลือกเวลาที่ระดับน้ำทะเลค่อนข้างต่ำ
- จัดเฟรมภาพให้ก้อนเมฆกินพื้นที่ส่วนใหญ่ในองค์ประกอบภาพ วิธีนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเน้นความสูงของท้องฟ้าเท่านั้น แต่ยังทำให้ดูตัดกับปะการังอย่างน่าสนใจอีกด้วย
- รอให้ปลาว่ายเข้ามาใกล้เส้นผิวน้ำ เส้นแบ่งของผิวน้ำที่อยู่ตรงเกือบกึ่งกลางภาพทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างโลกทั้งสองใบในองค์ประกอบภาพครึ่งบนและล่าง หากคุณต้องการดึงความสนใจไปยังตัวแบบใด ให้วางตัวแบบไว้ใกล้เส้นนี้
ขั้นตอนที่ 3: ใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองเพื่อป้องกันไม่ให้กล้องเปลี่ยนค่าการเปิดรับแสงโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ
โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง:
ในโหมดอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ การเคลื่อนไหวในบางขณะบนผิวน้ำอาจทำให้ค่าการเปิดรับแสงที่กล้องกำหนดไว้ผันผวนไป เพื่อให้แน่ใจว่าค่าการเปิดรับแสงคงที่ ผมจึงใช้โหมด M
ค่ารูรับแสง: f/6.3
เพื่อดึงความสนใจไปยังตัวแบบที่อยู่ในโฟร์กราวด์ ผมเลือกใช้ค่ารูรับแสง f/6.3 เพื่อให้แบ็คกราวด์เกิดการเบลอเล็กน้อย
โฟกัสและการลั่นชัตเตอร์
จากนั้น ผมจับโฟกัสไปที่ปะการังซึ่งอยู่ตรงหน้า และจับตาดูการเคลื่อนไหวของปลาเพื่อรอเวลาที่เหมาะสมในการลั่นชัตเตอร์
ไม่ใช้แฟลช
ในภาพนี้ ผมไม่ได้ใช้แฟลชเนื่องจากต้องการใช้ประโยชน์จากเงาที่ค่อนข้างคมชัดในการขับเน้นโทนสีของปะการัง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มลักษณะที่ไม่เหมือนใครให้กับภาพ
ข้อควรรู้: แฟลชเสริมจะช่วยให้คุณถ่ายภาพใต้ทะเลลึกให้มีสีสันสดใสขึ้น
อ่านบทความนี้ เพื่อศึกษาเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพใต้ทะเลลึก นอกจากนี้ คุณยังสามารถยิงแฟลชขณะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ด้วยเพื่อถ่ายภาพปลาว่ายน้ำให้มีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหว
---
หากคุณเพิ่งหัดถ่ายภาพใต้น้ำ ลองมาดูบทความที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้คุณกัน:
10 เคล็ดลับสำหรับคุณในการเริ่มต้นถ่ายภาพใต้น้ำ
5 วิธีการตั้งค่ากล้องที่สำคัญเพื่อให้ได้ภาพถ่ายใต้น้ำที่คมชัด
เมื่อต้องถ่ายภาพสัตว์ใต้น้ำ คุณควรเอาใจใส่ตัวแบบของคุณและสิ่งแวดล้อมด้วย ดูวิธีการได้ที่:
สิ่งสำคัญ 4 ข้อที่ควรจดจำเมื่อถ่ายภาพใต้น้ำ
หากคุณตื่นเต้นอยากจะออกไปถ่ายภาพ ต่อไปนี้คือ สุดยอดสถานที่ถ่ายภาพใต้น้ำ 5 แห่งในเอเชีย อย่าลืมแบ่งปันภาพถ่ายที่ดีที่สุดของคุณให้เราชมที่ My Canon Story!
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย