ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายวิดีโอ- Part

คำถามที่พบบ่อยในการถ่ายวิดีโอ: Canon Log คืออะไร

2023-09-29
0
417

คุณอาจเคยได้ยินคำว่า “ถ่ายแบบ Log” อ่านต่อเพื่อหาคำตอบว่าสิ่งนี้หมายถึงอะไร และเรียนรู้เกี่ยวกับโหมด Canon Log ต่างๆ ที่มีในกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS R ส่วนใหญ่

ในบทความนี้:

Log: วิธีการเข้ารหัสที่จะถ่ายช่วงไดนามิกเรนจ์ได้กว้างขึ้น

Log: วิธีการเข้ารหัสที่จะถ่ายช่วงไดนามิกเรนจ์ได้กว้างขึ้น

การบันทึก Log (Log recording) เป็นโหมดการเข้ารหัสที่ช่วยให้กล้องดิจิตอลถ่ายช่วงไดนามิกเรนจ์ (ช่วงของโทนสีตั้งแต่ส่วนเงาไปจนถึงส่วนที่สว่าง) ได้กว้างขึ้น เพื่อให้สามารถคงรายละเอียดในส่วนที่สว่างและส่วนเงาได้มากขึ้น ถือได้ว่าเป็น “แกมมา” หรือฟังก์ชั่นที่จะแก้ไขความแตกต่างระหว่างวิธีที่กล้องบันทึกภาพดิจิตอลกับสิ่งที่ดวงตาของมนุษย์มองเห็น

ภาพหน้าจอต่อไปนี้มาจากฟุตเทจ Rec.709 มาตรฐานและ Canon Log 3 คุณสังเกตเห็นอะไรบ้าง (Canon Log ทุกเวอร์ชันส่งผลให้เกิดความแตกต่างโดยรวมที่เหมือนกัน เมื่อเทียบกับฟุตเทจมาตรฐาน)

ดวงอาทิตย์และเมฆรอบๆ ดูสว่างจ้าเกินไปในการบันทึก Rec.709 ในขณะที่การบันทึก Log จะรักษารายละเอียดในส่วนที่สว่างเอาไว้ได้มากกว่า ฟุตเทจ Log จากกล้องจะดูแบนราบมากกว่าและต้องได้รับการเกลี่ยสีเพื่อทำให้สีสันและความเปรียบต่างกลับคืนมาในภาพ แต่ในจุดนี้เองข้อมูลโทนสีที่บันทึกไว้มากพอก็จะช่วยได้เช่นกัน

การบันทึก Log ทำงานอย่างไร

การบันทึก Log ทำงานอย่างไร


ทบทวนความจำ: วิธีการบันทึกภาพดิจิตอล

ในระหว่างการบันทึกวิดีโอดิจิตอล แสงที่เข้าสู่พิกเซลภาพจะสร้างสัญญาณอะนาล็อก ซึ่งจะถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อบันทึก การแปลง (Conversion) เป็นการกำหนดค่าตัวเลขให้กับข้อมูลความสว่างในแต่ละพิกเซล แกมมาจะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มแสงจริง (โทนสี) กับค่าตัวเลขที่กล้องบันทึก


เหตุผลที่เราต้องใช้แกมมา: “การรับรู้” ของกล้องกับการรับรู้ของมนุษย์

กล้อง “มองเห็น” แสงได้แตกต่างจากมนุษย์ โหมดการบันทึกมาตรฐาน (เช่น Rec.709) จะบันทึกแสงในแบบที่กล้องมองเห็น นั่นคือเป็นเส้นตรงแบบสัมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น หากส่วนหนึ่งของฉากมีความเข้มของแสงเป็นสองเท่าของอีกส่วนหนึ่ง กล้องจะบันทึกค่าที่บ่งบอกว่ามีความสว่างเป็นสองเท่า

แต่ดวงตาของมนุษย์ไม่ได้ไวต่อความแตกต่างของความสว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่สว่าง เมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง เราจะไม่สามารถเห็นความแตกต่างใดๆ เลย เนื่องจากทุกอย่างดูสว่างโพลนเท่ากันหมด ทุกๆ ส่วนของข้อมูลแสงเป็นข้อมูลที่กินพื้นที่ และการจัดเก็บข้อมูลแสงจะไม่มีประสิทธิภาพหากเราไม่สามารถรับรู้ถึงความแตกต่างได้

แกมมา (หรือวิธีการแก้ไขแกมมา) ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้เข้ารหัสข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง (Non-linear) กล่าวคือ จะรักษาข้อมูลในช่วงโทนสีที่ดวงตาของเราสามารถรับรู้ได้ และเก็บข้อมูลในส่วนที่เราไม่สามารถรับรู้ได้ให้น้อยลง แกมมาที่ต่างกันย่อมทำงานต่างกัน เดิมทีแกมมา Log ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อเลียนแบบวิธีที่ฟิล์มเนกาทีฟบันทึกแสง โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Log” เนื่องจากมีการเข้ารหัสตามสเกลอัลกอริธึมแทนที่จะเป็นเส้นตรง ฟุตเทจที่ได้จึงมีข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับโทนสีต่างๆ ที่เรามองเห็น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ภาพจากกล้องดูมีความเปรียบต่างน้อยลง

ควรใช้ Canon Log เมื่อใด

Canon Log ขยายโอกาสความเป็นไปได้ในการถ่ายทำฉากเหล่านี้

- ฉากที่มีความเปรียบต่างสูง
- ฉากที่สว่าง ซึ่งรายละเอียดในส่วนที่สว่างมีความสำคัญ (เช่น ชุดแต่งงานที่อยู่กลางแจ้ง)
- โปรดักชั่นที่จำเป็นต้องมีการเกลี่ยสี

เนื่องจากการบันทึก Canon Log รักษาข้อมูลโทนสีได้มากกว่าการบันทึกมาตรฐาน จึงเหมาะสำหรับฉากที่มีความเปรียบต่างสูง ซึ่งคุณต้องการคงรายละเอียดทั้งส่วนที่เป็นเงาและส่วนที่สว่างเอาไว้ ตัวอย่างเช่น ทิวทัศน์ที่ตัดกับพระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก หรือฉากที่ถ่ายจากที่ร่มซึ่งแสดงด้านในของสถานที่นั้นๆ ตลอดจนทิวทัศน์กลางแจ้ง

Canon Log ทำงานได้ดีเยี่ยมในการรักษารายละเอียดส่วนที่สว่างเอาไว้ คุณจึงสามารถใช้คุณสมบัตินี้ในฉากที่สว่างๆ ได้เช่นกัน ตัวอย่างหนึ่งที่ดีคือ ในงานแต่งงานกลางแจ้ง ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดของชุดแต่งงานอันประณีตงดงามที่อาจดูสว่างโพลนเอาไว้ได้

ปริมาณข้อมูลที่ถูกรักษาไว้ยังช่วยให้มีอิสระในการเกลี่ยสีในกระบวนการปรับแต่งภาพมากขึ้น ส่งผลให้ฟุตเทจจึงยังคงมีคุณภาพสูงแม้ว่าจะผ่านการปรับแต่งมาอย่างหนักหน่วง

แม้ว่าฟุตเทจ Log จากกล้องจะดูค่อนข้างแบน แต่ก็เก็บรายละเอียดของส่วนที่สว่างและส่วนเงาได้มากกว่า ลองสังเกตว่าสามารถมองเห็นรายละเอียดของท้องฟ้ารอบดวงอาทิตย์ได้มากขึ้นในภาพหน้าจอจากฟุตเทจ Canon Log 3 โหมดนี้ช่วยให้การเปลี่ยนผ่านของโทนสียังคงความนุ่มนวลแม้จะเกลี่ยสีฟุตเทจแล้ว


รู้หรือไม่ว่า Canon Log ช่วยให้กล้องวิดีโอดิจิตอลได้ความสวยงาม “แบบภาพยนตร์” ฉบับดั้งเดิม

ฟิล์มเนกาทีฟแบบภาพยนตร์บันทึกช่วงไดนามิกเรนจ์ได้กว้างถึง 12 สต็อป ซึ่งช่วยให้ได้สีสันที่ดูเข้มขึ้นและมีมิติมากขึ้น กล้องวิดีโอดิจิตอลซึ่งถูกสร้างมาเพื่อบันทึกภาพสำหรับโทรทัศน์ จะบันทึกฟุตเทจให้มีสีสันสดใสและมีความเปรียบต่างสูง ทว่ามีช่วงไดนามิกเรนจ์ที่จำกัดยิ่งขึ้น แม้ว่าฟุตเทจเช่นนี้จะมีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง แต่ความสวยงามทางภาพที่แตกต่างกันก็อาจทำให้ปรับเข้ากันได้ยากเมื่อต้องตัดต่อโปรดักชั่นแบบผสมที่มีการใช้ทั้งกล้องฟิล์มภาพยนตร์และกล้องวิดีโอดิจิตอล การบันทึก Log จะทำหน้าที่เชื่อมผสานความแตกต่างดังกล่าวโดยเลียนแบบวิธีที่ฟิล์มเนกาทีฟบันทึกแสง

กล้องรุ่นแรกที่มี Canon Log คือ EOS C300 ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์ดิจิตอลรุ่นแรกจาก Canon ที่เปิดตัวในปี 2555 กล้อง Cinema EOS ทุกรุ่นล้วนใช้งาน Canon Log ได้ แต่กล้องมิเรอร์เลสระบบ EOS R ระดับกลางและระดับสูงรุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นก็มีโหมด Canon Log อย่างน้อยหนึ่งโหมดเช่นกัน

Canon Log, Log 2 และ Log 3 แตกต่างกันอย่างไร

Canon Log, Canon Log 2 และ Canon Log 3 แตกต่างกันอย่างไร

Canon Log มีโหมดที่แตกต่างกันอยู่สามโหมด ได้แก่ Canon Log, Canon Log 2 และ Canon Log 3 ข้อแตกต่างหลักๆ ระหว่างโหมดแต่ละโหมดมีดังนี้

Canon Log (ต้นฉบับ)
ช่วงไดนามิกเรนจ์ ประมาณ 12 สต็อป
800%
คุณสมบัติเด่น เกลี่ยสีได้ง่ายขึ้นเนื่องจากคุณภาพของภาพใกล้เคียงกับ Rec.709 (ITU-R BT.709)
Canon Log 2
ช่วงไดนามิกเรนจ์ ประมาณ 15 สต็อป
1600%
คุณสมบัติเด่น มีลักษณะเฉพาะใกล้เคียงกับฟิล์ม เก็บรายละเอียดได้มากขึ้นในส่วนที่สว่างปานกลางถึงมืด
Canon Log 3
ช่วงไดนามิกเรนจ์ ประมาณ 13.3 สต็อป
1600%
คุณสมบัติเด่น รักษาข้อดีของ Canon Log ไว้ ทว่ามีช่วงไดนามิกเรนจ์ที่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่สว่าง


Canon Log 3
กล้อง Cinema EOS รวมถึงกล้องระบบ EOS R ระดับกลางและระดับสูงรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมี Canon Log 3 เป็นอย่างน้อย ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ปรับปรุงมาจาก Canon Log ดั้งเดิม และรักษารายละเอียดของส่วนที่สว่างได้ดีกว่าเวอร์ชันเดิม โหมดนี้เหมือนกับ Canon Log ดั้งเดิมตรงที่จะให้คุณภาพของภาพคล้ายกับ Rec.709 มาก ฟุตเทจที่ได้จากกล้องจะถูกลดความอิ่มสีค่อนข้างมากเช่นเดียวกับวิดีโอ Log ทั้งหมดแต่ต้องเกลี่ยสีเพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มสีสันกลับเข้าไป ฟุตเทจประเภทนี้จึงเป็นฟุตเทจ Log ที่เกลี่ยสีได้ง่ายที่สุด และเหมาะสำหรับโปรดักชั่นที่ต้องการขั้นตอนการตัดต่อที่เรียบง่ายขึ้น

Canon Log 2
Canon Log 2 ถ่ายช่วงไดนามิกเรนจ์ได้กว้างกว่า Canon Log 3 ที่เทียบเท่า 15 สต็อปโดยประมาณ โดยจะเก็บรายละเอียดของโทนสีกลางและเงาได้ดีกว่า Canon Log 3 นอกเหนือจากรายละเอียดของส่วนที่สว่าง แต่ด้วยเหตุนี้ ฟุตเทจ Canon Log 2 ที่ได้จากกล้องจึงมีสีสันและความเปรียบต่างน้อยกว่าฟุตเทจ Log 3 ซึ่งทำให้เกลี่ยสีได้ยากยิ่งขึ้น จึงเหมาะสำหรับโปรดักชั่นขนาดใหญ่ๆ ที่ต้องมีการเกลี่ยสีอย่างมากในขั้นตอนการตัดต่อ


การครอปภาพในบริเวณเงา

ในภาพครอปแบบโคลสอัพ รายละเอียดต่างๆ ในบริเวณเงา เช่น ต้นไม้ที่อยู่รอบบ้าน จะดูโดดเด่นในฟุตเทจ Canon Log 2 มากกว่าในฟุตเทจ Log 3


เครื่องมือสร้างภาพที่น่าประทับใจ

ช่วงไดนามิกเรนจ์กว้างๆ จากการถ่ายแบบ Canon Log ทำให้สามารถสร้างสรรค์โปรดักชั่นแบบ HDR (High Dynamic Range) ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว HDR ก็หมายถึงภาพที่มีช่วงไดนามิกเรนจ์ที่กว้างมากจนใกล้เคียงกับช่วงไดนามิกเรนจ์ที่ดวงตาของมนุษย์สามารถรับรู้ได้ และออกมาสมจริงยิ่งขึ้น HDR ในรูปแบบฟุตเทจความละเอียดสูงแบบ 4K หรือ 8K จึงเสริมให้ผลลัพธ์ดูสมจริงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ วิดีโอ Canon Log จะถูกบันทึกด้วยความลึกสี 10 บิตเสมอ ทำให้มีข้อมูลสีเพียงพอที่จะช่วยในการเกลี่ยสีได้มากขึ้น เมื่อใช้ประโยชน์จากช่วงไดนามิกเรนจ์กว้างที่ดูสมจริงมากสำหรับดวงตามนุษย์และใช้การเกลี่ยสีเพื่อสร้างบรรยากาศ คุณก็จะสามารถสร้างโปรดักชั่นที่มีภาพสวยน่าประทับใจ

 

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับศัพท์ทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายวิดีโอและความหมายได้ในบทความต่อไปนี้
8K, 4K และ Full HD คืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร
4:2:2 และ 4:2:0 หมายถึงอะไร
การแก้ไขความยาวโฟกัสเปลี่ยนตามระยะถ่ายภาพคืออะไร

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา