ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายวิดีโอ- Part

คำถามที่พบบ่อยในการถ่ายวิดีโอ: 4:2:2 และ 4:2:0 หมายถึงอะไร

2022-05-10
0
4.46 k

ขณะอ่านข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการบันทึกวิดีโอของกล้อง คุณอาจได้เห็นข้อมูลจำเพาะที่ระบุว่ากล้องรองรับการบีบอัดข้อมูลสีแบบ “4:2:0” หรือ “4:2:2” ตัวเลขเหล่านี้เกี่ยวข้องกับวิธีการเข้ารหัสของข้อมูลภาพ ตัวเลขเหล่านี้หมายถึงอะไร แตกต่างกันอย่างไร และส่งผลอย่างไรต่อวิดีโอของคุณ อ่านต่อเพื่อดูคำอธิบายที่เข้าใจง่าย

ในบทความนี้:

 

RGB และ YCbCr แตกต่างกันอย่างไร

คุณอาจคุ้นเคยกับการแสดงภาพสีดิจิทัลด้วยรูปแบบ RGB ซึ่งสีสันที่แตกต่างกันจะถูกสร้างขึ้นจากการผสมแสงสีจากแม่สีทั้งสาม ได้แก่ แดง เขียว และน้ำเงิน (RGB) ในสัดส่วนต่างๆ กัน อย่างไรก็ตาม คุณทราบหรือไม่ว่านอกจาก RGB แล้ว ยังสามารถบันทึกข้อมูลสีด้วยวิธีการที่เรียกว่า “YCbCr” ได้ด้วยเช่นกัน ความจริงแล้ว ภาพ JPEG ก็ถูกบันทึกโดยใช้สัญญาณ YCbCr

 

YCbCr คืออะไร

YCbCr ใช้สัญญาณที่แตกต่างกัน 3 แบบดังนี้ ซึ่งเมื่อนำมาผสมผสานกันแล้วสามารถสร้างภาพสีขึ้นมาได้
- ความส่องสว่าง (ความสว่าง) - Y
- ความแตกต่างของสีน้ำเงิน - Cb
- ความแตกต่างของสีแดง - Cr

YCbCr มีต้นกำเนิดมาจากการแพร่ภาพโทรทัศน์ ในขณะที่โลกเปลี่ยนจากการแพร่ภาพขาวดำมาเป็นภาพสีนั้น ทำให้เกิดการใช้เพียงสัญญาณเดียวในการแพร่ภาพทั้งภาพขาวดำและภาพสี โทรทัศน์ขาวดำอาจใช้เพียงแค่สัญญาณ Y (ความสว่าง) ในการแสดงภาพขาวดำ ในขณะที่โทรทัศน์สีอาจใช้สัญญาณ Cb และ Cr ในการแสดงภาพสีด้วยก็ได้ วิธีการเข้ารหัสที่คล้ายกันได้แก่วิธี YUV (ฉบับภาษาอังกฤษ) และ YPbPr


กระบวนการแปลงสัญญาณ RGB เป็น YCbCr

1. กล้องจะสร้างภาพแบบ RGB จากแสงที่ได้รับจากเซนเซอร์ภาพ
2. ภาพ RGB จะถูกเข้ารหัสเป็นสัญญาณ YCbCr ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกบันทึกและส่งต่อไปยังอุปกรณ์รับชม
3. อุปกรณ์แสดงผล (คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ หรือหน้าจอแสดงผล) จะถอดรหัสสัญญาณ YCbCr และแปลงกลับไปเป็น RGB สำหรับการแสดงผล

เนื่องจากข้อมูลภาพต้นฉบับและภาพที่แสดงต่างก็อยู่ในรูปแบบ RGB โดยปกติแล้วเราจึงไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจกับสัญญาณ YCbCr มากนัก

 

การเข้ารหัส RGB แบบ “4:2:2” และ “4:2:0”: การบีบอัดข้อมูลสีแบบ Chroma subsampling และการบีบอัดข้อมูล

สำหรับมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงความสว่างนั้นมองเห็นได้ง่ายกว่าความแตกต่างของสี การบีบอัดข้อมูล (สี) แบบ Chroma subsampling คือวิธีการที่ใช้ประโยชน์ข้อนี้ในการลดปริมาณข้อมูลสีขณะแปลงไฟล์ RGB เป็นสัญญาณ YCbCr เพื่อให้ได้ไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดเล็กลง 4:2:2 และ 4:2:0 หมายถึงวิธีการที่แตกต่างกันของการบีบอัดข้อมูลสีแบบ Chroma subsampling


วิธีการนี้ทำงานอย่างไร

การบีบอัดข้อมูลสีจะเกิดขึ้นกับพิกเซลทุกๆ 8 พิกเซลในการเรียงแถวแบบ 4×2

ช่องความสว่าง (Y) สำหรับพิกเซลทั้ง 4 คอลัมน์จะทำการบันทึก จึงเป็นที่มาของเลข “4” ตัวแรก
เลขตัวที่สอง หมายถึง จำนวนสัญญาณความแตกต่างสี (CbCr) ที่บันทึกจากพิกเซลแถวแรก
เลขตัวที่สาม หมายถึง จำนวนสัญญาณความแตกต่างสี (CbCr) ที่บันทึกจากพิกเซลแถวที่สอง

 

YCbCr 4:4:4 แบบไม่บีบอัด

เมื่อข้อมูล CbCr จากพิกเซลทั้งหมดถูกบันทึก (ไม่มีพิกเซลที่ไม่ถูกบีบอัดข้อมูล) ค่าการบีบอัดข้อมูลสีแบบ Chroma subsampling จะถูกระบุเป็น 4:4:4 (ไม่มีการบีบอัด) ขั้นตอนนี้ทำให้ได้คุณภาพสูงสุด ซึ่งก็คือไฟล์ RAW ที่เทียบเท่า 4:4:4 อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ทำให้ได้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่

หากต้องการไฟล์ที่เล็กลง เราจำเป็นต้องสละข้อมูลสีไปบางส่วนเพื่อบีบอัดไฟล์ วิธีหนึ่งคือใช้วิธีการบีบอัดแบบ Sub-sampling โดยข้อมูลจากบางพิกเซลจะไม่ได้รับการบันทึก

 

การบีบอัดข้อมูลสี YCbCr 4:2:2
ในแถวพิกเซลแต่ละแถว สัญญาณ CbCr ของ 2 พิกเซลเท่านั้นที่จะได้รับการบันทึก 

การบีบอัดข้อมูลสี YCbCr 4:2:0
สำหรับแถวบน สัญญาณ CbCr ของ 2 พิกเซลเท่านั้นที่จะได้รับการบันทึก ไม่มีสัญญาณ CbCr จากพิกเซลในแถวที่สองที่ได้รับการบันทึก

การถอดรหัส
เมื่อสัญญาณถูกถอดรหัสเป็น RGB เพื่อแสดงผล ข้อมูล CbCr ของพิกเซลทางด้านซ้าย บนซ้าย และ/หรือด้านบนของพิกเซลที่ไม่มีการบันทึกข้อมูล CbCr จะถูกคัดลอกมายังพิกเซลดังกล่าว

เนื่องจากมนุษย์สามารถรับรู้ความแตกต่างของสีทางสายตาได้น้อยกว่า คนส่วนใหญ่จึงมักไม่สังเกตเห็นคุณภาพของภาพที่ด้อยลงซึ่งเกิดจากข้อมูลพิกเซลที่ไม่ได้รับการบันทึก การบันทึกข้อมูลที่น้อยลงช่วยลดขนาดไฟล์ที่อาจมีข้อมูลปริมาณมหาศาลได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการถอดรหัสสีได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

4:2:0 และ 4:2:2 แตกต่างกันอย่างไร

ดังแสดงตามภาพประกอบด้านบน 4:2:2 สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 4:2:0

ในปัจจุบัน โทรทัศน์ รูปแบบ DVD/Blu-ray และอุปกรณ์แสดงภาพและเสียงอื่นๆ ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้กับสัญญาณ YCbCr 4:2:0 สำหรับการรับชมทั่วไป เราอาจจะไม่รู้สึกว่าภาพที่ใช้สัญญาณ 4:2:0 มีคุณภาพต่ำ

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการผลิตวิดีโอ คุณจำเป็นต้องแน่ใจว่าฟุตเทจมีคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แน่นอนว่าการบันทึกแบบ 4:4:4 ให้คุณภาพได้สูงสุดเนื่องจากบันทึกข้อมูล YCbCr จากทุกพิกเซล และนี่คือสิ่งที่เรียกว่าข้อมูล RAW แต่ข้อเสียคือไฟล์จะมีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับสถานการณ์การผลิตวิดีโอบางประเภท

และนี่คือส่วนที่การบีบอัดเข้ามามีบทบาท การบีบอัดแบบ 4:2:0 ทำให้ได้ไฟล์ที่เบาที่สุด แต่ข้อมูลสีที่ลดลงทำให้เหลือทางเลือกน้อยลงสำหรับการตัดต่อในกระบวนการปรับแต่งภาพ ในขณะที่แบบ 4:2:2 จะช่วยลดขนาดไฟล์โดยจัดเก็บข้อมูลสีได้มากกว่า ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้มีความยืดหยุ่นในการตัดต่อมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถรักษาคุณภาพของภาพที่สูงเอาไว้ได้แม้่หลังการเกลี่ยสี


คุณเห็นความแตกต่างหรือไม่

ลองพิจารณาสองภาพด้านล่างใกล้ๆ คุณเห็นความแตกต่างอะไรบ้าง

สองภาพด้านบนแสดงวัตถุชิ้นเดียวกัน ซึ่งบันทึกด้วยสัญญาณ 4:2:0 และ 4:2:2 ตามลำดับ ลองสังเกตเส้นขอบของตัวแบบที่ตัดกับแบ็คกราวด์ คุณสังเกตเห็นสีจางและสีเพี้ยนระหว่างขอบของตัวแบบกับแบ็คกราวด์ในภาพที่ใช้สัญญาณ 4:2:0 หรือไม่ เมื่อเปรียบเทียบกัน เส้นขอบจะเรียบกว่าและคมชัดกว่าในภาพที่ใช้สัญญาณ 4:2:2 ด้วยเหตุนี้ การถ่ายฟุตเทจด้วยฉากสีเขียวโดยใช้สัญญาณ 4:2:2 จึงให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ดูตัวอย่างความแตกต่างของภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

สรุป

- ในการบันทึกวิดีโอ การบีบอัดข้อมูลสีแบบ Colour sampling จะช่วยลดขนาดไฟล์ได้โดยเห็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
- 4:2:0 และ 4:2:2 คือวิธีการที่แตกต่างกันในการบีบอัดข้อมูลสีในระหว่างการเข้ารหัสสัญญาณ 
- 4:2:0 จะบันทึกข้อมูลสีได้น้อยกว่า 4:2:2 ซึ่งส่งผลต่อการเกลี่ยสีและรอยต่อของเส้นขอบ
- 4:2:2 ให้ความยืดหยุ่นมากกว่าในการเกลี่ยสี และให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าสำหรับฟุตเทจที่ใช้ฉากสีเขียว

กล้อง Canon ที่รองรับการบันทึกแบบ 4:2:2 คือรุ่นใดบ้าง หาคำตอบและเรียนรู้เกี่ยวกับปัจจัยอื่นๆ ที่ควรพิจารณาขณะเลือกซื้อกล้องสำหรับการผลิตวิดีโอระดับมืออาชีพได้ที่:
EOS C70, R5 C, R5 หรือ R3: ควรเลือกกล้องรุ่นใดสำหรับการถ่ายวิดีโอ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา