ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ด้วยกล้อง Canon EOS (2): การตั้งค่า งานกล้อง และเสียงและดนตรี
ควรตั้งค่ากล้องแบบใดเมื่อถ่ายวิดีโอ คุณจะมีวิธีหลีกเลี่ยงปัญหาวิดีโอสั่นได้อย่างไร และจริงๆ แล้วเสียงมีความสำคัญอย่างไรต่อวิดีโอ ในบทความนี้ เราจะมาศึกษาหัวข้อต่างๆ ที่ Simeon Quarrie ช่างภาพและผู้ผลิตภาพยนตร์อธิบายในตอนที่ 4 ถึง 6 ของชุดบทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ด้วยกล้อง Canon EOS ที่ Canon เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้
คลิกที่นี่เพื่ออ่าน ตอนที่ 1: สิ่งที่ผู้เริ่มต้นต้องรู้
4. วิธีเปิดรับแสงสำหรับวิดีโอ
การตั้งค่าการเปิดรับแสงคือหัวข้อของบทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 4 ซึ่ง Simeon Quarrie ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีกำหนดการตั้งค่าที่ใช้เมื่อถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง DSLR
ก่อนอื่น ใช้ภาพบนจอ LCD ที่อยู่ด้านหลังกล้องเพื่อตรวจสอบว่าการเปิดรับแสงเพียงพอหรือไม่ ซึ่งฮิสโตแกรมที่แสดงใน Live View ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องนี้ได้อย่างมาก
การถ่ายภาพในโหมดแมนนวลช่วยให้คุณควบคุมวิดีโอได้ดีที่สุด โหมดนี้จึงเป็นโหมดที่ Quarrie นิยมใช้ ความเร็วชัตเตอร์คือสิ่งแรกที่เขาตั้งค่า เมื่อถ่ายวิดีโอคุณควรเน้นไปที่การรักษาความเร็วชัตเตอร์ให้คงที่ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีค่าเป็นสองเท่าของอัตราเฟรม แตกต่างจากการถ่ายภาพนิ่งที่คุณเปลี่ยนการตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ในแต่ละภาพที่คุณถ่าย ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณถ่ายวิดีโอที่อัตราเฟรม 25 เฟรมต่อวินาที ควรตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/50 วินาที หากตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงกว่านั้นจะทำให้ภาพตะกุกตะกักไม่ต่อเนื่อง หลังจากตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์แล้ว ให้ตั้งค่ารูรับแสง ยิ่งรูรับแสงกว้างมากเท่าไหร่ (ค่า f ต่ำลง) แสงก็จะเข้าสู่เลนส์มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งทำให้ภาพที่ถ่ายดูสว่างขึ้น อันดับสุดท้ายจึงตั้งค่าความไวแสง ISO
จากนั้น Simeon แนะนำเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์โฟกัสชัดตื้นในแสงอาทิตย์ที่สว่างจ้าเหมือนฉากในภาพยนตร์ การได้เอฟเฟ็กต์นี้นับเป็นสิ่งท้าทาย เพราะปริมาณแสงมักบีบให้เราต้องใช้รูรับแสงที่แคบลง เช่น ค่า f/8 หรือแม้แต่ f/16 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเอฟเฟ็กต์โฟกัสชัดลึก ในการจัดการกับปัญหานี้ เขาแนะนำให้ใช้ฟิลเตอร์ ND (Neutral Density) เพื่อลดปริมาณแสงที่เข้าสู่เลนส์ เพื่อที่คุณจะสามารถถ่ายโดยใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้นได้
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 4: วิธีเปิดรับแสงสำหรับวิดีโอ
5. การเคลื่อนที่ของกล้องและการป้องกันการสั่นไหว
ในวิดีโอสอนการใช้งาน 5 Simeon Quarrie กล่าวถึงความสำคัญของงานกล้องและการป้องกันการสั่นไหวของกล้อง
เพื่อป้องกันภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวและอาการกล้องสั่น ร่างกายเราจะต้องหยุดนิ่งขณะถ่ายภาพ อย่างไรก็ดี เรื่องนี้อาจทำได้ยากเมื่อเราถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบถือกล้องด้วยมือ โดยเฉพาะเมื่อต้องถ่ายภาพเป็นเวลานานๆ
ดังนั้น เพื่อลดการสั่นไหวอันไม่พึงประสงค์ขณะถ่ายภาพยนตร์ การใช้เลนส์ที่มีกลไกระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว เช่น เลนส์ที่ใช้เทคโนโลยี IS ของ Caon จะช่วยได้มาก กล้องรุ่นต่างๆ เช่น EOS M5 มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว 5 แกนภายในกล้อง ซึ่งพร้อมทำงานเมื่อคุณถ่ายวิดีโอ
หากคุณกำลังถ่ายภาพจากตำแหน่งที่ตายตัว ให้ใช้ขาตั้งกล้องแบบสามขาหรือขาเดียว ขาตั้งกล้องแบบสามขามีประโยชน์สำหรับการถ่ายภาพแบบแพนกล้องหรือการติดตามตัวแบบ เพราะช่วยให้คุณสามารถแพน (เลื่อนกล้องตามแนวนอน) และเอียงกล้องได้ ส่วนขาตั้งกล้องวิดีโอแบบขาเดียวช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วพร้อมกับแพนหรือเอียงกล้องไปด้วย นอกจากนี้ รางเลื่อนสำหรับกล้องวิดีโอเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายวิดีโอที่มีวัตถุหยุดนิ่ง เพราะทำให้กล้องสามารถเคลื่อนเข้าหา ออกห่าง หรือไปด้านซ้ายหรือขวาของฉากได้อย่างสะดวก สำหรับการถ่ายวิดีโอในขณะที่เดินไปด้วย การใช้ระบบกิมบอลสามารถช่วยให้กล้องนิ่งและลดการสั่นไหวที่เกิดจากการเคลื่อนของกล้องได้
เมื่อตัวแบบขยับเข้ามาในเฟรมและเมื่อกล้องเคลื่อนที่ "ภาพเคลื่อนไหว" ที่ปรากฏขึ้นจะทำให้วิดีโอน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 5: การเคลื่อนที่ของกล้องและการป้องกันการสั่นไหว
6. การใช้เสียงและดนตรี
ในวิดีโอสอนการถ่ายภาพยนตร์ 6 Simeon Quarrie อธิบายว่าเสียงมีพลังในการกระตุ้นและดึงความสนใจจากผู้ชม และเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับวิดีโอที่ไม่มีในการถ่ายภาพ อันที่จริงแล้ว ในวิดีโอ คุณภาพของภาพและเสียงนับว่ามีความสำคัญเท่าๆ กัน
ไมโครโฟนในตัวกล้องสามารถเก็บเสียงการทำงานของกล้องได้ ดังนั้น เพื่อคุณภาพเสียงที่ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำให้ใช้ไมโครโฟนเสริม ไมโครโฟนเสริมแบ่งออกเป็นสองประเภท คือแบบ Directional และ Omnidirectional ไมโครโฟนแบบ Directional จะรับเสียงที่มาจากทิศทางเดียว และเหมาะสำหรับการบันทึกเสียงมากที่สุด ในขณะที่ไมโครโฟนแบบ Omnidirectional จะรับเสียงจากทุกทิศทางพร้อมกัน จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการบันทึกเสียงบรรยากาศโดยรอบ เช่น เสียงของชีวิตในเมืองและเสียงธรรมชาติ การใช้ไมโครโฟนเสริมดังกล่าวจะช่วยเพิ่มคุณภาพของเสียงบรรยากาศรอบข้างและบทสนทนาให้ดีขึ้น
ดนตรีสามารถมีอิทธิพลต่อการตีความฉากของผู้ชม ดนตรีประกอบสามารถเปลี่ยนความหมายของภาพ และการเพิ่มเสียงเอฟเฟ็กต์เข้าไปในวิดีโอระหว่างกระบวนการตัดต่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของวิดีโอให้ดีขึ้น องค์ประกอบด้านเสียงเหล่านี้เมื่อมานำมาใช้ร่วมกันจะช่วยสร้างบรรยากาศและดึงความสนใจของผู้ชมไปยังโลกของเรื่องราวในวิดีโอได้
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 6: การใช้เสียงและดนตรี
บทช่วยสอนของ Simeon Quarrie เกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์มีทั้งหมด 10 บทด้วยกัน ในบทความต่อไป เราจะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกเลนส์และการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเทคนิคในการตัดต่อวิดีโอ
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 1: ทำไมจึงต้องถ่ายวิดีโอ
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 2: วิธีร้อยเรียงเรื่องราว
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 3: ความสำคัญของอัตราเฟรมและความละเอียด
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 4: วิธีเปิดรับแสงสำหรับวิดีโอ
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 5: การเคลื่อนที่ของกล้องและการป้องกันการสั่นไหว
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 6: การใช้เสียงและดนตรี
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 7: การเลือกเลนส์
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 8: การรักษาโฟกัส
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 9: การตัดต่อวิดีโอ
บทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์ 10: สรุป
ต่อไปนี้คือบทความอื่นๆ ของ SNAPSHOT เกี่ยวกับการถ่ายวิดีโอและภาพเคลื่อนไหว:
Canon Singapore ประกาศอัพเกรดเฟิร์มแวร์ Canon Log สำหรับกล้อง EOS 5D Mark IV
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวใน EOS สำหรับผู้ใช้งานกล้อง EOS 5D Mark IV (ตอนที่ 1)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวใน EOS สำหรับผู้ใช้งานกล้อง EOS 5D Mark IV (ตอนที่ 2)
คุณสมบัติการถ่ายภาพเคลื่อนไหวที่ใช้งานได้สะดวกในกล้อง EOS 80D
รีวิวทดสอบการถ่ายภาพด้วยกล้อง EOS 80D: ประสิทธิภาพในการติดตามตัวแบบระหว่างการถ่ายภาพเคลื่อนไหว
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!