ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ควรเลือกการ์ด SD อย่างไร

2024-02-20
0
45

การเลือกการ์ด SD ที่เหมาะสมจะช่วยให้กล้องของคุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบันทึกวิดีโอหรือถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง และต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรทราบ

ในบทความนี้:

 

คู่มือเครื่องหมายสัญลักษณ์บนการ์ด SD

1. ความจุข้อมูล
2. ความเร็วสูงสุดในการอ่าน (การ์ดบางรุ่นอาจระบุความเร็วในการเขียนด้วย)
3. ประเภทความจุ
4. Video Speed Class
5. ประเภท UHS Bus Speed (I หรือ II)
6. SD Speed Class
7. UHS Speed Class

ต่อไปนี้ เราจะมาศึกษาข้อมูลจำเพาะต่างๆ ของการ์ด รวมถึงการส่งผลต่อการเลือกใช้การ์ดของคุณ

 

1. ความจุข้อมูลและประเภทความจุ

ประเภทความจุของการ์ดหน่วยความจำ SDTM มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความจุของการ์ด

ประเภทความจุ ความจุ
SD (Secure Digital Standard Capacity) สูงสุด 2 GB
SDHC (Secure Digital High Capacity) มากกว่า 2 GB ถึง 32 GB
SDXC (Secure Digital Extended Capacity) มากกว่า 32 GB ถึง 2 TB

กล้องส่วนใหญ่ที่ผลิตหลังปี 2553 มีช่องใส่การ์ด SDXC และจะใช้ได้กับการ์ด SD ทั้ง 3 ประเภท


ควรเลือกการ์ดที่มีความจุสูงๆ เมื่อใด

คุณควรเลือกใช้การ์ดที่มีความจุสูงๆ (อย่างน้อย 64 GB) หากถ่ายวิดีโอหรือใช้โหมดการถ่ายภาพต่อเนื่องบ่อยๆ สำหรับการใช้งานในลักษณะนี้ คุณควรให้ความสำคัญกับข้อมูลจำเพาะอื่นๆ เช่น คลาสความเร็ว (ดูข้อ 3) ด้วย เนื่องจากจะส่งผลต่อความเชื่อถือได้ในการบันทึกและโหมดต่างๆ ที่คุณสามารถใช้ได้

มิฉะนั้น ให้เลือกความจุการ์ดตามที่คุณต้องการ ช่างภาพบางคนชอบใช้การ์ดที่มีความจุน้อยๆ จำนวนหลายอันเพื่อลดความเสี่ยงในกรณีที่การ์ดเสียหาย ขณะที่บางคนชอบใช้การ์ดที่มีความจุมากเพียง 1 หรือ 2 อันเพื่อให้จัดการได้ง่ายขึ้น

 

2. ความเร็วสูงสุดในการเขียน

การ์ดสามารถรองรับเอาต์พุตข้อมูลของกล้องได้ทันหรือไม่

ในการจับภาพช่วงเวลาสำคัญที่คาดเดาไม่ได้ให้สวยงามตามต้องการ กล้องต้องใช้การ์ดหน่วยความจำประสิทธิภาพสูงเพื่อการถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงสุด


ความเร็วสูงสุดในการอ่าน ใช้ระบุความเร็วสูงสุดที่สามารถอ่านข้อมูลจากการ์ดได้ (เช่น เมื่อถ่ายโอนไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณ) ในหน่วยเมกะไบต์ต่อวินาที (MB/s หรือ MBps แต่สังเกตว่า “MB” เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ)

ความเร็วสูงสุดในการเขียน ใช้ระบุความเร็วสูงสุดที่สามารถเขียนข้อมูลลงในการ์ดได้ในหน่วยเมกะไบต์ต่อวินาที

ความเร็วสูงสุดในการอ่านมักจะสูงกว่าความเร็วสูงสุดในการเขียน

หากบนการ์ดของคุณมีตัวเลขเพียงชุดเดียว มักจะหมายถึงความเร็วสูงสุดในการอ่าน แต่คุณน่าจะพบตัวเลขความเร็วสูงสุดในการเขียนได้บนบรรจุภัณฑ์ของการ์ด

หากมีตัวเลขสองชุด
- “R: XX MB/s” หมายถึง ความเร็วสูงสุดในการอ่าน และ
- “W: XX MB/s” หมายถึง ความเร็วสูงสุดในการเขียน

อย่าลืมว่าความเร็วดังกล่าวนี้เป็นความเร็วสูงสุด แต่ความเร็วในการอ่านและเขียนจริงจะแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการบันทึกวิดีโอหรือลำดับภาพจากการถ่ายต่อเนื่องความเร็วสูงอย่างเชื่อถือได้ การ์ดที่เลือกไว้ต้องสามารถรักษาความเร็วขั้นต่ำในการเขียนไว้ระดับหนึ่งเพื่อรองรับสตรีมข้อมูลที่ต่อเนื่องได้ทัน ซึ่งเรียกว่า ความเร็วต่ำสุดในการเขียนตามลำดับ (Minimum sequential write speed) และในจุดนี้จะเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน “คลาสความเร็ว” 3 ประเภท

 

3. คลาสความเร็ว: สำคัญสำหรับการบันทึกวิดีโอความละเอียดสูง

การรักษาความเร็วในการเขียนที่เชื่อถือได้

“คลาสความเร็ว” (Speed Class) ทั้ง 3 ประเภทเป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์กร SD Association เพื่อเป็นเกณฑ์มาตรฐานทั่วไปสำหรับพิกัดความเร็วของการ์ด SD

ประเภท โลโก้ตัวอย่าง*
SD Speed Class
UHS Speed Class
Video Speed Class

*SD รวมถึงเครื่องหมายและโลโก้ที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องหมายการค้าของ SD-3C LLC

ตัวเลขในโลโก้สำหรับคลาสความเร็วแต่ละประเภทใช้ระบุความเร็วต่ำสุดในการเขียนตามลำดับที่การ์ด SD นั้นๆ สามารถทำได้ ดังที่เห็นในแผนภูมิด้านล่างว่ามีความคาบเกี่ยวกันอยู่บ้าง

ความเร็วต่ำสุดในการเขียนตามลำดับ SD Speed Class UHS Speed Class Video Speed Class
90 MB/sec - - V90
60 MB/sec - - V60
30 MB/sec - U3 V30
10 MB/sec C10 U1 V10
6 MB/sec C6 - V6
4 MB/sec C4 - -
2 MB C2 - -


สำคัญ: ประสิทธิภาพขั้นต่ำของการ์ดสำหรับการบันทึกวิดีโอ

การ์ด SD ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีคลาสความเร็วในระดับ C10 หรือ U3 เป็นอย่างน้อย แต่อาจยังไม่เพียงพอ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

- รุ่นของกล้อง
- ความละเอียดในการบันทึก
- อัตราเฟรม
- วิธีการบีบอัดข้อมูล (ALL-I, IPB หรือ IPB Light)
- ความลึกสี (10 บิต/8 บิต Canon Log และ HDR PQ เป็นรูปแบบการบันทึก 10 บิต)

ทั้งนี้เป็นเพราะกล้องแต่ละรุ่นจะบันทึกข้อมูลด้วยอัตราบิตต่างกัน (Mbps หรือเมกะบิตต่อวินาที ให้สังเกตว่าหน่วยคือ “Mb” ไม่ใช่ “MB” ทั้งนี้ 1MB = 8Mb) หากมีข้อสงสัย ให้ตรวจสอบคู่มือผู้ใช้ของกล้อง ประสิทธิภาพขั้นต่ำของการ์ดที่จำเป็นสำหรับฟังก์ชั่นวิดีโอต่างๆ มักจะระบุไว้ในส่วน “ข้อมูลจำเพาะ”

ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นข้อกำหนดขั้นต่ำสำหรับการตั้งค่าการบันทึกวิดีโอที่ใช้ทรัพยากรสูงบางอย่างของกล้อง 3 รุ่น หากคุณต้องการบันทึกวิดีโอโดยใช้การตั้งค่าที่สร้างข้อมูลปริมาณมาก ควรเลือกใช้การ์ด SD ที่มี V60 ขึ้นไปจึงจะดีที่สุด แต่สำหรับกล้อง EOS R5 คุณอาจต้องบันทึกลงในการ์ด CFexpress แทน

8K
EOS R5 IPB, 8 บิต: อย่างน้อย V60
IPB, 10 บิต: อย่างน้อย V90
IPB (Light), 8 บิต: อย่างน้อย U3
IPB (Light), 10 บิต: อย่างน้อย V60
4K 50 fps/ 60 fps,
10 บิต (เช่น Canon Log 3 หรือ HDR PQ)
EOS R5 IPB: อย่างน้อย V60
IPB (Light): อย่างน้อย U3
EOS R8
EOS R50 IPB: อย่างน้อย U3
IPB (Light): อย่างน้อย C10
อัตราต่อเฟรมสูงที่ Full HD 120 fps
EOS R5 ALL-I (ไม่บีบอัด): อย่างน้อย U3 (8 บิต), อย่างน้อย V60 (10 บิต)
EOS R8 IPB: อย่างน้อย U3 (ทั้ง 8 บิตและ 10 บิต)
EOS R50
วิดีโอแบบ Time-lapse 10 บิต
EOS R5 4K: อย่างน้อย V60
Full HD: อย่างน้อย U3
EOS R8 Full HD: ความเร็วในการอ่านที่ 30MB/sec เป็นอย่างน้อย
EOS R50


ข้อควรรู้: การ์ดไม่จำเป็นต้องมีโลโก้ “4K” หรือ “8K” เพื่อให้สามารถบันทึก 4K หรือ 8K ได้

ตราบใดที่การ์ดนั้นๆ ตรงตามข้อกำหนดประสิทธิภาพขั้นต่ำของกล้องสำหรับการบันทึกแบบ 4K หรือ 8K การ์ดน่าจะสามารถบันทึกวิดีโอ 4K หรือ 8K ได้ แม้ว่าจะไม่มีโลโก้ “4K” หรือ “8K” บนบรรจุภัณฑ์

 

4. UHS Bus Speed: UHS-I หรือ UHS-II ดีกว่ากัน

สำหรับผู้ที่ถ่ายลำดับภาพต่อเนื่องแบบ RAW นานๆ

การ์ด UHS-I (ซ้าย) มีพินอินเทอร์เฟส 1 แถว แต่การ์ด UHS-II (ขวา) มี 2 แถว แถวพินที่เพิ่มมานี้หมายความว่าการ์ด UHS-II จะสามารถถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วกว่า (สูงสุด 312 MB/sec) เมื่อเทียบกับการ์ด UHS-I (สูงสุด 104 MB/sec) คุณจะถ่ายภาพได้มากขึ้นในลำดับภาพต่อเนื่องชุดเดียว ก่อนที่กล้องของคุณจะง่วนอยู่กับการเขียนข้อมูลลงในการ์ด


อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะรีบซื้อการ์ด UHS-II คุณควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย

1. ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากล้องของคุณใช้งานร่วมกับ UHS-II ได้ กล้องบางรุ่นจะใช้ได้กับการ์ด UHS-I เท่านั้น แม้ว่าคุณสามารถใช้การ์ด UHS-II กับกล้องรุ่นดังกล่าวได้ แต่จะไม่ได้รับประโยชน์จากความเร็ว
2. ตรวจสอบความเร็วในการเขียนของการ์ด การ์ด UHS-II บางรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรุ่นที่มีราคาย่อมเยา อาจมีความเร็วในการอ่านสูงเป็นพิเศษแต่มีความเร็วในการเขียนช้ากว่ามาก ซึ่งอาจจะขัดกับจุดประสงค์ของคุณในการซื้อการ์ด UHS-II

 

สิ่งสำคัญอื่นๆ ที่ควรทราบเกี่ยวกับการ์ด SD

- การ์ดไม่ได้ถูกออกแบบมาให้จัดเก็บข้อมูลในระยะยาว ห้ามใช้การ์ดจัดเก็บภาพถ่ายและวิดีโอของคุณแบบถาวร!
- ต้องฟอร์แมตการ์ดก่อนใช้งาน ขั้นตอนนี้จะช่วยให้การ์ดใหม่พร้อมใช้งานสำหรับกล้อง หากเป็นการ์ดเก่า เพียงแค่ลบหรือนำไฟล์ออกจะไม่ทำให้ข้อมูลที่เหลือทั้งหมดถูกลบอย่างสมบูรณ์ การฟอร์แมตการ์ดจะทำให้การลบครบถ้วนยิ่งขึ้นและช่วยลดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะเสียหาย
- ต้องฟอร์แมตการ์ดในกล้องที่คุณใช้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงสร้างไฟล์ของการ์ดจะถูกปรับให้เหมาะสมที่สุดสำหรับกล้องนั้นๆ ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับความเร็วและความเสถียรในการบันทึกด้วย!
- หากคุณมีช่องใส่การ์ดแบบคู่ คุณสามารถกำหนดค่าได้ว่ากล้องจะบันทึกข้อมูลใดและเมื่อใดลงในการ์ดแต่ละช่อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในข้อ 4 ของบทความนี้

คุณอาจสนใจอ่านบทความต่อไปนี้เช่นกัน
โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: การถ่ายต่อเนื่องแบบ RAW และการถ่ายภาพล่วงหน้าคืออะไร
พื้นฐานของการถ่ายวิดีโอ

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา