Canon ผลิตเลนส์สองประเภทสำหรับกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS R ได้แก่ เลนส์ RF และเลนส์ RF-S หากเลนส์ทั้งสองใช้ได้กับกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS R ทุกรุ่น แล้วอะไรทำให้เลนส์เหล่านี้แตกต่างกัน มาหาคำตอบได้จากบทความนี้
คำตอบสั้นๆ คือ ออกแบบมาเพื่อเซนเซอร์ภาพที่แตกต่างกัน
คำตอบสั้นๆ คือ เลนส์ทั้งสองได้รับการออกแบบมาเพื่อเซนเซอร์ภาพที่มีขนาดแตกต่างกัน
เลนส์ RF | เลนส์ RF-S |
- ออกแบบมาสำหรับกล้องที่มีเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม - มีวงภาพขนาดใหญ่กว่า |
- ออกแบบมาสำหรับกล้องที่มีเซนเซอร์ภาพ APS-C - มีวงภาพขนาดเล็กกว่า |
เลนส์ RF ออกแบบมาสำหรับกล้องฟูลเฟรม เช่น EOS R8, R6 Mark II, R5 และ R3
ในขณะที่เลนส์ RF-S ออกแบบมาสำหรับกล้อง APS-C (เซนเซอร์แบบครอป) เช่น EOS R100, R50, R10 และ R7
ให้คิดว่า “S” ใน RF-S หมายถึง “small image circle” (วงภาพขนาดเล็ก) ก็ได้
เพราะเหตุใดจึงสำคัญ
เลนส์ RF และ RF-S สามารถต่อเข้ากับกล้องซีรีย์ EOS R ได้ทุกรุ่นไม่ว่าเซนเซอร์ภาพจะมีขนาดเท่าใด แต่ระยะชัดลึกและความละเอียดของภาพที่บันทึกของภาพถ่ายขั้นสุดท้ายจะแตกต่างกัน ซึ่งจะต่างกันอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานเลนส์และกล้องร่วมกัน เราจะมาอธิบายเพิ่มเติมต่อไปในบทความ
เนื่องจากเลนส์ RF-S ได้รับการออกแบบมาให้สร้างวงภาพที่มีขนาดเล็กกว่า จึงทำให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กกว่าและน้ำหนักเบากว่าเลนส์ RF
เลนส์ RF/RF-S จะไม่สามารถติดตั้งบนกล้อง EOS DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS M ได้ เนื่องจากมีเมาท์เลนส์ที่ต่างกัน กล้อง EOS DSLR ใช้เมาท์ EF ส่วนกล้องซีรีย์ EOS M ใช้เมาท์ EF-M
คำตอบเต็มๆ คือ ประเด็นอยู่ที่ขนาดของเซนเซอร์ภาพ
คำตอบเต็มๆ ตั้งแต่ต้น
เซนเซอร์ภาพคืออะไร
เซนเซอร์ภาพคือชิ้นส่วนของกล้องที่ทำหน้าที่รับแสงเพื่อสร้างภาพ ในกล้องมิเรอร์เลส Canon เซนเซอร์นี้จะมีสองขนาด (ฟอร์แมต) คือ ฟอร์แมตฟูลเฟรมหรือ APS-C
ความแตกต่างของขนาดระหว่างเซนเซอร์ภาพ APS-C และเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม
เซนเซอร์แบบฟูลเฟรม: ประมาณ 36 x 24 มม.
เซนเซอร์ APS-C: ประมาณ 22.3 x 14.9 มม.
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ฟอร์แมตเซนเซอร์ภาพส่งผลต่อภาพถ่ายของคุณได้ที่กล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C: ควรเลือกรุ่นไหนดี
ส่งผลต่อเลนส์อย่างไร
แสงที่ผ่านเข้ามาในเลนส์จะฉายภาพแบบวงกลมลงไปบนเซนเซอร์ภาพ ซึ่งเรียกว่า “วงภาพ” เนื่องจากเซนเซอร์ APS-C มีขนาดเล็กกว่าเซนเซอร์แบบฟูลเฟรม วงภาพที่ฉายด้วยเลนส์ RF-S จึงไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะครอบคลุมเซนเซอร์ทั้งหมดเมื่อเทียบกับเลนส์ RF
ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้กระจกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กๆ ในการสร้างเลนส์ เพื่อให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กลงและน้ำหนักเบาขึ้น
จะส่งผลต่อภาพถ่ายอย่างไร
คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า
ไม่ว่าจะใช้ทางยาวโฟกัสใดๆ ของเลนส์ เซนเซอร์ภาพ APS-C ที่มีขนาดเล็กกว่าจะบันทึกส่วนที่แคบกว่าของฉากได้มากกว่าเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม ทำให้ภาพที่ได้ดูเหมือนถูก “ซูมเข้า” หรือ “ครอป” ออก
ในกล้อง Canon APS-C มุมรับภาพของภาพที่ถูกซูมเข้านี้จะเหมือนกับภาพที่ถ่ายด้วยระยะ 1.6 เท่าของทางยาวโฟกัสในกล้องฟูลเฟรม คุณสมบัตินี้เรียกว่า “คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า” และยังสามารถใช้กับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ RF-S บนกล้องฟูลเฟรม เช่น EOS R8 ได้อีกด้วย
มาดูกันว่าการใช้งานกล้องและเลนส์ร่วมกันในแบบต่างๆ จะมีผลอย่างไร
- กล้อง APS-C ในซีรีย์ EOS R (EOS R100, R50, R10, R7 ฯลฯ)
- กล้องฟูลเฟรมในซีรีย์ EOS R (EOS R8, RP, R6 Mark II, R5, R3 ฯลฯ)
ผลที่ได้: เลนส์ RF/RF-S บนกล้อง APS-C
เลนส์ RF/RF-S บนกล้อง APS-C
กล้อง APS-C เลนส์ RF-S
เลนส์ RF-S ฉายวงภาพที่มีขนาดใหญ่พอที่จะครอบคลุมเซนเซอร์ภาพ APS-C
มุมรับภาพของภาพ: คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า
ความละเอียดสูงสุดของภาพที่บันทึก: เท่ากับเซนเซอร์ภาพ
กล้อง APS-C เลนส์ RF
เลนส์ RF ฉายวงภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าเลนส์ RF-S มาก คุณจะยังคงได้ภาพแบบเดียวกับที่ใช้เลนส์ RF-S กล่าวคือ เมื่อถ่ายด้วยคุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า แต่ข้อมูลภาพจากส่วน “พิเศษ” ของวงภาพ (ส่วนสีแดงอ่อนในภาพด้านบน) จะไม่ถูกนำมาใช้งาน
มุมรับภาพของภาพ: คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า
ความละเอียดสูงสุดของภาพที่บันทึก: เท่ากับเซนเซอร์ภาพ
ผลที่ได้: เลนส์ RF/RF-S บนกล้องฟูลเฟรม
เลนส์ RF/RF-S บนกล้องฟูลเฟรม
กล้องฟูลเฟรม เลนส์ RF
เลนส์ RF ฉายวงภาพที่ครอบคลุมเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรมได้ทั้งหมด
มุมรับภาพของภาพ: เท่ากับทางยาวโฟกัส
ความละเอียดของภาพที่บันทึกได้สูงสุด: เท่ากับเซนเซอร์ภาพ
กล้องฟูลเฟรม เลนส์ RF-S
เลนส์ RF-S ฉายวงภาพที่มีขนาดเล็กเกินกว่าจะครอบคลุมเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรมได้
เนื่องจากส่วนต่างๆ ของเซนเซอร์ที่วงภาพไม่ครอบคลุมนั้นไม่ได้รับข้อมูลแสงใดๆ เลย มุมของภาพจึงมักจะดูเป็นสีดำ แต่กล้องฟูลเฟรมในซีรีย์ EOS R จะเปลี่ยนไปใช้โหมดครอป 1.6 เท่าโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบว่าติดตั้งเลนส์ RF-S อยู่ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณสามารถถ่ายภาพได้ไกลขึ้นโดยอัตโนมัติ!
A: วงภาพของเลนส์ RF-S
B: พื้นที่การบันทึกของโหมดครอป 1.6 เท่า
C: เซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม
โหมดครอป 1.6 เท่า
ในโหมดนี้ พื้นที่เล็กๆ ของเซนเซอร์ภาพ (B) จะใช้ในการบันทึกภาพ
มุมรับภาพของภาพ: คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า
ความละเอียดสูงสุดของภาพที่บันทึก: น้อยกว่าเซนเซอร์ภาพ (สอดคล้องกับ B)
ความละเอียดของภาพที่ถ่ายได้ในพื้นที่ B จะขึ้นอยู่กับกล้องที่ใช้ หากกล้องของคุณมีจำนวนพิกเซลมากกว่า พื้นที่ B จะบันทึกภาพที่มีความละเอียดสูงๆ ได้ ตัวอย่างเช่น
ความละเอียดของภาพนิ่งสูงสุด | EOS R5 | EOS R6 Mark II |
โหมดฟูลเฟรม (3:2) (พื้นที่การบันทึก: เซนเซอร์ภาพทั้งหมด) |
8192 x 5464 (ประมาณ 44.8MP) |
6000 x 4000 (24MP) |
โหมดครอป 1.6 เท่า (พื้นที่การบันทึก: B) |
5088 x 3392 (ประมาณ 17.3MP) |
3744 x 2496 (ประมาณ 9.3MP) |
ตาราง: ข้อดีและข้อเสียของการใช้งานร่วมกันในแต่ละแบบ
ข้อดีและข้อเสียของการใช้งานกล้อง/เลนส์ร่วมกันในแต่ละแบบ
|
|
|
RF | ✓ มุมรับภาพ = ทางยาวโฟกัสของเลนส์ (ใช้งานเลนส์มุมกว้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ!) |
✓ ถ่ายภาพได้ไกลขึ้น 1.6 เท่า (เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบเทเลโฟโต้) ✓ คุณสามารถใช้เลนส์เดิมได้แม้จะเปลี่ยนไปใช้กล้องฟูลเฟรม × ไม่สามารถใช้งานเลนส์ได้อย่างเต็มศักยภาพ |
RF-S | ✓ ถ่ายภาพได้ไกลขึ้น 1.6 เท่า (เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบเทเลโฟโต้) ✓ พกพาสะดวก × ภาพที่บันทึกจะมีความละเอียดน้อยลง |
✓ เป็นชุดอุปกรณ์ที่พกพาสะดวกและคุ้มค่ามากที่สุด |
เลนส์ที่แนะนำ
เลนส์ RF ที่มีน้ำหนักเบาและขนาดกะทัดรัด
เลนส์เหล่านี้จะใช้งานร่วมกับกล้อง APS-C ได้ดีเช่นกัน!
RF28mm f/2.8 STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 44.8 มม.)
RF16mm f/2.8 STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 25.6 มม.)
RF24-50mm f/4.5-6.3 IS STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 38.4 มม. ถึง 80 มม.)
RF50mm f/1.8 STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 80 มม.)
เลนส์ RF-S ที่เหมาะสำหรับการเดินทาง
เลนส์เหล่านี้จะทำให้ได้ชุดอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบาเมื่อใช้ร่วมกับกล้องฟูลเฟรมในซีรีย์ EOS R เช่นกัน
RF-S55-210mm f/5-7.1 IS STM
(เทียบเท่า 88 มม. ถึง 336 มม.)
RF-S18-150mm f/3.5-6.3 IS STM
(เทียบเท่า 28 มม. ถึง 240 มม.)
คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้
เลนส์เดี่ยว RF 4 รุ่นที่ควรใช้กับกล้อง APS-C
10 แนวคิดที่คุณควรทราบก่อนซื้อเลนส์ตัวที่สอง